คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เลิกห้างหุ้นส่วน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365-388/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดและการรับผิดชอบหนี้ของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด
ศาลแพ่งกรุงเทพใต้มีคำสั่งให้เลิกจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 แต่ ป.พ.พ. มาตรา 1249 ให้พึงถือว่าจำเลยที่ 1 ยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีส่วนการตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีนั้นก็มีผลเพียงให้ผู้นั้นเป็นผู้มีอำนาจในการกระทำการต่าง ๆ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1259 และจำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 เท่านั้น จำเลยที่ 2 ยังคงเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของจำเลยที่ 1 ไม่จำกัดจำนวน ตามมาตรา 1077 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนและการไม่มีอำนาจฟ้องเมื่อไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการชำระบัญชี
โจทก์จำเลยเป็นหุ้นส่วนประกอบกิจการบังกะโลให้เช่า จำเลยไม่จัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย งบกำไรขาดทุน ไม่แบ่งปันผลกำไรให้โจทก์ ถือได้ว่าเป็นการประพฤติผิดสัญญาหุ้นส่วนในสาระสำคัญ เป็นเหตุที่จะเลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (1), 1061 และ 1062 การที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาส่วนแบ่งผลกำไรหรือขอบังคับจำเลยขนย้ายทรัพย์สินอันมีลักษณะคืนทุนโดยที่ยังมิได้ชำระบัญชีหรือตกลงให้จัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนด้วยวิธีอื่นระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้และไม่มีฝ่ายใดฎีกาในปัญหานี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนและการแบ่งผลกำไรที่ผิดสัญญา ห้างหุ้นส่วนต้องชำระบัญชีตามกฎหมาย
โจทก์จำเลยเป็นหุ้นส่วนประกอบกิจการบังกะโลให้เช่า จำเลยไม่จัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย งบกำไรขาดทุน ไม่แบ่งปันผลกำไรให้แก่โจทก์ ถือว่าเป็นการประพฤติผิดสัญญาหุ้นส่วนในสาระสำคัญเป็นเหตุที่จะเลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1057(1) มาตรา 1061 และมาตรา 1062 การที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาส่วนแบ่งผลกำไรหรือขอบังคับจำเลยขนย้ายทรัพย์สินออกไปอันมีลักษณะคืนทุนโดยที่ยังมิได้ชำระบัญชีหรือตกลงให้จัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนด้วยวิธีอื่นระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4204/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ: การชำระบัญชีและการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี
โจทก์และจำเลยทั้งสองร่วมเป็นหุ้นส่วนดำเนินกิจการห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ต่อมาวันที่ 22 เมษายน 2538 โจทก์และจำเลยทั้งสองโต้เถียงกันเพราะไม่ต้องการให้โจทก์เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการของร้านค้าอีกต่อไป จ. ทนายความของโจทก์จึงเสนอให้เลิกหุ้นส่วนกัน และในวันเดียวกันนั้นก็มีการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของร้านค้าทันที หลังจากนั้นจำเลยทั้งสองก็แยกไปเปิดบัญชีกระแสรายวันแทนบัญชีเดิมของห้างหุ้นส่วนสามัญดังกล่าว และมีการร้องทุกข์และฟ้องคดีอาญาต่อกันอีกด้วย ย่อมเห็นได้ว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายต่างมีเจตนาเลิกห้างหุ้นส่วนกันแล้วในวันที่ 22 เมษายนส่วนการชำระบัญชีที่ยังไม่แล้วเสร็จหามีผลให้รับฟังว่าคู่กรณียังคงมีเจตนาร่วมดำเนินกิจการอยู่เช่นเดิมไม่ เพราะเป็นคนละขั้นตอนกัน ส่วนการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของร้านค้าแม้จะเริ่มกระทำตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน แต่ก็ยังไม่แล้วเสร็จเพราะคู่กรณียังตกลงกันไม่ได้เกี่ยวกับผลการตรวจสอบ กรณีจึงมีเหตุจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1061 ที่ต้องตั้งผู้ชำระบัญชีเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์สินและหนี้สินดังกล่าวให้ถูกต้องและยุติเสียก่อน ฉะนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นคนกลางเป็นผู้ชำระบัญชีจึงชอบด้วยเหตุผลแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3671/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีหลังเลิกห้างหุ้นส่วน: การชำระบัญชีทรัพย์สินและขอบเขตการยึดทรัพย์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนสามัญแสดงบัญชีกำไรขาดทุนและให้นำเงินค่าเช่ามาแบ่งสรร ให้หุ้นส่วนทั้งหลายตามสัดส่วน เมื่อเงินดังกล่าวเป็นรายรับทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งจำเลยเป็นหุ้นส่วนอยู่ด้วย จำเลยย่อมมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากเงินจำนวนดังกล่าวตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย โจทก์จะกล่าวอ้างในชั้นบังคับคดีว่าเงินดังกล่าวไม่เกี่ยวกับกิจการของห้างหุ้นส่วนสามัญเพื่อนำยึดทรัพย์สินของจำเลยมาขายทอดตลาดชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาหาได้ไม่ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนสามัญพ.เลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1057(3)และให้โจทก์ จำเลย และผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดช่วยกันจัดทำหรือให้บุคคลอื่นซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนแต่งตั้งขึ้นเป็นผู้จัดทำ และชำระบัญชีโดยลำดับตามกฎหมาย กรณีจึงต้องจัดให้มีการชำระบัญชีตามมาตรา 1061 และเป็นหน้าที่ของ ผู้ชำระบัญชีที่จะต้องดำเนินการเกี่ยวกับหนี้สินและทรัพย์สิน ของห้างดังกล่าวต่อไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1062 และ 1063 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงไม่อาจขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยมาขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งสรร ให้หุ้นส่วนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้กรณีถือได้ว่าการบังคับคดีส่วนนี้ไม่เปิดช่องให้ทำได้โดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการยึดทรัพย์ของจำเลย เพราะเจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานมาตามหน้าที่เมื่อไม่เกี่ยวกับจำเลย ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์สั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ จึงชอบแล้วแม้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4357/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน: การแบ่งทรัพย์สินหลังเลิกห้างหุ้นส่วนและการพิพากษาคืนทุน/แบ่งผลกำไรโดยไม่ต้องชำระบัญชี
จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทจาก ท.ด้วยราคาเพียง 850,000 บาทแต่ห่างกันเพียง 15 วัน จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์กลับตั้งราคาสูงถึง 4,500,000 บาท โดยมีข้อสัญญาข้อ 2.1 ที่ระบุว่า จ่ายวันที่ 10 ธันวาคม2526 เป็นเงิน 1,000,000 บาท ข้อ 2.2 ว่า เมื่อโครงการผ่านไปได้ 70เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 22 เดือน จ่าย 1,500,000 บาท ข้อ 3 ว่า เมื่อเสร็จโครงการแล้วจะแบ่งผลกำไรให้อีกเป็นเงิน 2,000,000 บาท สำหรับข้อสามนี้ส่วนแบ่งอาจจะเพิ่มขึ้นเมื่อผลลัพธ์ของงานได้ผลดี และหรืออาจจะลดลงตามส่วนเมื่อผลลัพธ์ของงานไม่ดี ลักษณะข้อความเรื่องการแบ่งปันกำไร ประกอบกับจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือถึงโจทก์ขอรับโฉนดคืนจากโจทก์โดยเสนอให้ที่ดินแก่โจทก์ 9 ล็อกเช่นนี้แสดงว่าโจทก์ สามีโจทก์และจำเลยทั้งสองได้ตกลงเข้ากันเพื่อทำโครงการบ้านจัดสรรขายเพื่อประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้ แต่กิจการที่ทำนั้น สัญญาซื้อขายที่ดินเช่นนี้จึงต้องฟังว่าเป็นสัญญาเข้าหุ้นส่วนทำบ้านจัดสรรขายด้วยกัน เมื่อสามีโจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้หนึ่งถึงแก่ความตาย ห้างหุ้นส่วนที่ร่วมลงทุนทำกิจการค้าจึงต้องเลิกกันและแบ่งทรัพย์สินระหว่างกัน
การเข้าหุ้นประกอบกิจการค้าระหว่างโจทก์ สามีโจทก์ และจำเลยทั้งสองเป็นหุ้นส่วนสามัญมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เมื่อเลิกห้างหุ้นส่วนกันแล้วจะต้องมีการชำระบัญชีกันก่อนเพื่อทราบกำไรขาดทุน แต่เมื่อโจทก์ฟ้องขอคืนเงินทุนกับแบ่งผลกำไร จำเลยทั้งสองก็ให้การปฏิเสธว่าโจทก์กับสามีโจทก์ไม่ได้เข้าเป็นหุ้นส่วนกับจำเลยทั้งสอง จำเลยที่ 1 ได้ขายที่ดินและบ้านไปแล้วโดยไม่มีกำไร ดังนั้นการที่จะให้ไปดำเนินการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนเสียก่อน ย่อมไม่เป็นประโยชน์เพราะจำเลยทั้งสองก็ยังยืนยันว่าโจทก์และสามีโจทก์ไม่ได้เข้าเป็นหุ้นส่วนและจำเลยขายที่ดินและบ้านไปโดยไม่มีกำไร ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีการคืนทุนและแบ่งผลกำไรตามที่พิจารณาได้ความไปทีเดียว โดยไม่ต้องให้มีการชำระบัญชีได้
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์เข้าเป็นหุ้นส่วนกับจำเลยทั้งสองหรือไม่ จำเลยทั้งสองต้องคืนทุนและแบ่งผลกำไรให้โจทก์หรือไม่เพียงใดดังนั้น หากข้อเท็จจริงได้ความว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญที่โจทก์และสามีโจทก์เป็นหุ้นส่วนอยู่นั้นยังมีที่ดินเหลืออยู่ ก็จำต้องนำที่ดินที่เหลือมาแบ่งส่วนให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนกัน โดยถือเป็นกำไรของห้างหุ้นส่วน การที่ศาลพิพากษาให้นำที่ดินที่เหลือจำนวน 10 โฉนด มาแบ่งส่วนให้แก่โจทก์ผู้เป็นหุ้นส่วน จึงหาเป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4961/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดและการตั้งผู้ชำระบัญชีที่ถูกต้องตามกฎหมาย
กรณีห้างหุ้นส่วนจำกัดจะต้องเลิกกันเมื่อปรากฏว่าข้อสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์หรือข้อความในหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของโจทก์ไม่มีข้อกำหนดให้บุคคลอื่นเป็นผู้ทำหน้าที่ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ได้ในกรณีหุ้นส่วนผู้จัดการถึงแก่ความตายการจัดการชำระบัญชีจึงต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1251วรรคสองซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะซึ่งต้องทำโดยพนักงานอัยการหรือบุคคลอื่นผู้มีส่วนได้เสียในการนี้เท่านั้นที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้ชำระบัญชีเมื่อปรากฏว่าผู้เป็นหุ้นส่วนของโจทก์และผู้จัดการมรดกของช.หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ประชุมลงคะแนนเสียงตั้งบ. เป็นผู้ชำระบัญชีของโจทก์เสียเองจึงเป็นการตั้งผู้ชำระบัญชีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายบ. จึงไม่ใช่ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ที่จะมีอำนาจทำการแทนโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6366/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนเลิกแล้วต้องชำระบัญชีก่อนฟ้องเรียกเงิน หากไม่ปฏิบัติตาม โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ห้างหุ้นส่วนมีทั้งทรัพย์สินและหนี้สิน มีทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันจึงต้องจัดให้มีการชำระบัญชีหรือตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1061 วรรคแรก การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกเงินค่าก่อสร้างที่โจทก์ลงทุนไปทั้ง ๆ ที่ยังมิได้มีการชำระบัญชีหรือตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนโดยวิธีอื่นระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันแต่อย่างใดนั้น เป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6366/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนสามัญเลิก: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหากยังมิได้จัดการทรัพย์สินตามกฎหมาย
ห้างหุ้นส่วนมีทั้งทรัพย์สินและหนี้สินมีทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันจึงต้องจัดให้มีการชำระบัญชีหรือตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1061วรรคแรก การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกเงินค่าก่อสร้างที่โจทก์ลงทุนไปทั้งๆที่ยังมิได้มีการชำระบัญชีหรือตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนโดยวิธีอื่นระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันแต่อย่างใดนั้นเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบด้วยมาตรา246และมาตรา247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6366/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญต้องมีการชำระบัญชี หากยังไม่ได้ชำระบัญชี โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าก่อสร้าง
ห้างหุ้นส่วนมีทั้งทรัพย์สินและหนี้สินมีทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันจึงต้องจัดให้มีการชำระบัญชีหรือตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1061วรรคแรก การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกเงินค่าก่อสร้างที่โจทก์ลงทุนไปทั้งๆที่ยังมิได้มีการชำระบัญชีหรือตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนโดยวิธีอื่นระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันแต่อย่างใดนั้นเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบด้วยมาตรา246และมาตรา247
of 8