คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เลื่อนขั้นเงินเดือน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3060-3064/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเลื่อนขั้นเงินเดือนของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจต้องเป็นไปตามข้อบังคับขององค์กร ไม่สามารถอ้างสิทธิจากหนังสือเวียนของกระทรวงการคลัง
หนังสือกระทรวงการคลัง เรื่อง มาตรการปรับลดอัตราเลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างของรัฐวิสาหกิจประจำปี 2544 เป็นเพียงการผ่อนปรนจำนวนเงินปรับเลื่อนขั้นเงินเดือนหลังปรับลดร้อยละ 1 ตามมติคณะรัฐมนตรีให้กับรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาจำนวนวงเงินเลื่อนขั้นเงินเดือนหลังปรับลดไม่เพียงพอที่จะเลื่อนขั้นเงินเดือนค่าจ้างแก่พนักงานผู้มีสิทธิเลื่อนขั้นคนละ 1 ขั้น เนื่องจากรัฐวิสาหกิจไม่มีข้อบังคับ/คำสั่งกำหนดความดีความชอบเลื่อนขั้นเงินเดือนครึ่งขึ้นหรือมีระเบียบแต่จำนวนเงินเลื่อนขั้นเงินเดือนหลังปรับลดไม่เพียงพอเท่านั้น ส่วนการจะปรับเลื่อนขั้นเงินเดือนให้พนักงานคนใดบ้างเป็นเรื่องที่รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งต้องไปพิจารณาเองตามระเบียบของรัฐวิสาหกิจนั้นๆ หนังสือกระทรวงการคลังดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นการผ่อนปรนให้ปรับเลื่อนขั้นเงินเดือนครึ่งขั้นไปก่อนแล้วจ่ายเพิ่มหรือปรับให้ภายหลัง จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิใดแก่โจทก์ สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับการปรับเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือไม่ เพียงใด ย่อมต้องเป็นไปตามข้อบังคับของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2632-2654/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินเดือนค่าจ้างสุดท้ายสำหรับคำนวณเงินตอบแทนความชอบคือเงินเดือนที่จ่ายจริง ไม่ใช่เงินเดือนที่เลื่อนขั้นเพื่อใช้คำนวณบำเหน็จ
เดิมจำเลยจ่ายเงินเดือนให้แก่พนักงานก่อนวันจ่ายเงินเดือนทางราชการ 1 วัน ตามคำสั่ง เรื่อง ระเบียบการจ่ายเงินเดือนพนักงานธนาคารออมสิน ต่อมาจำเลยมีคำสั่งใหม่ ยกเลิกคำสั่งเดิมและกำหนดให้จ่ายเงินเดือนให้แก่พนักงานในวันที่ 25 ของทุกเดือน เงินเดือนที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานในวันที่ 25 ของแต่ละเดือน จึงเป็นเงินเดือนค่าจ้างสำหรับเดือนนั้น ๆ ทั้งเดือน ไม่ใช่เงินเดือนค่าจ้างเพียงแค่วันที่ 25 ของแต่ละเดือน การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานในปีที่ครบเกษียณอายุของจำเลยที่กำหนดว่า "การเลื่อนขั้นเงินเดือนตามคำสั่งนี้ให้ขึ้นให้ในวันที่ 30 กันยายน ของปีที่พนักงานผู้นั้นครบเกษียณอายุ โดยให้อยู่ในเงื่อนไขที่จะไม่มีการจ่ายเงินเดือนที่เพิ่มให้ และให้นำไปใช้เฉพาะการคำนวณบำเหน็จหรือบำนาญเท่านั้น" มีวัตถุประสงค์เพื่อให้พนักงานของจำเลยที่ต้องเกษียณอายุได้รับการพิจารณาความดีความชอบในการเลื่อนขั้นเงินเดือนเพียงเพื่อประโยชน์ในอันที่จะได้รับบำเหน็จหรือบำนาญเพิ่มขึ้น โดยให้นำเงินเดือนที่ได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นแล้วมาเป็นเกณฑ์คำนวณบำเหน็จหรือบำนาญเท่านั้น เงินที่ได้รับหลังจาก เกษียณอายุแล้วเป็นการจ่ายตอบแทนความชอบที่ได้ปฏิบัติงานมาจนครบเกษียณอายุ ถือไม่ได้ว่าเป็นเงินเดือนค่าจ้าง เพราะมิใช่จ่ายเป็นการตอบแทนการทำงาน การที่โจทก์ฟ้องโดยถือเอาอัตราเงินเดือนที่ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือน ในปีที่ครบเกษียณอายุ มาคำนวณเป็นเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานจึงไม่ถูกต้อง โดยต้องคิดคำนวณจากอัตราเงินเดือนที่ได้รับจริงเมื่อวันที่ 25 กันยายน ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2032-2033/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานที่ลาออกก่อนเกษียณ: การพิจารณาตามหลักเกณฑ์เฉพาะและการไม่มีสิทธิในกรณีทั่วไป
จำเลยมีหลักเกณฑ์การเลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานอยู่ 2 กรณี คือ เลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานทั่วไปซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ของปีถัดไปและเลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานที่พ้นจากตำแหน่งหรือพ้นจากเป็นพนักงานของจำเลยเพราะเกษียณอายุเป็นกรณีพิเศษในวันที่ 30 กันยายน ของปีที่ครบเกษียณอายุ โดยมิได้มีการชำระเงินจริงเพียงแต่ให้นำไปใช้ในการคำนวณบำเหน็จหรือบำนาญเท่านั้น โจทกลาออกจากงานก่อนครบกำหนดเกษียณอายุและพ้นจากการเป็นพนักงานตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2543 โจทก์จึงพ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลยก่อนที่จะมีการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี 2544 จึงไม่มีสิทธิได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี 2544

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการเลื่อนขั้นเงินเดือน: ผู้อำนวยการใช้อำนาจขัดระเบียบเมื่อมีมติเลื่อนขั้นแล้ว
แม้ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยการพนักงานจะระบุว่า การเลื่อนขั้นเงินเดือนของพนักงานทุกตำแหน่ง เป็นอำนาจของผู้อำนวยการก็ตาม แต่ก็ยังมีระเบียบของจำเลยว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างประจำปีของพนักงานระบุว่า กรณีจะรอการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างไว้ก่อนได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่พนักงานอยู่ในระหว่างถูกสอบสวนทางวินัยหรือทางคดีอาญา เมื่อยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์อยู่ในระหว่างสอบสวนทางวินัย ประกอบคณะกรรมการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างของจำเลยมีมติให้เลื่อนขั้นเงินเดือนโจทก์ 1 ขั้นแล้วผู้อำนวยการของจำเลยจึงไม่มีอำนาจชะลอการเลื่อนขั้นเงินเดือนของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการชะลอการเลื่อนขั้นเงินเดือนของพนักงานรัฐวิสาหกิจ ต้องเป็นไปตามระเบียบ หากไม่มีเหตุตามระเบียบ ผู้อำนวยการไม่มีอำนาจ
แม้ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยการพนักงานจะระบุว่าการเลื่อนขั้นเงินเดือนของพนักงานทุกตำแหน่ง เป็นอำนาจของผู้อำนวยการก็ตาม แต่ก็ยังมีระเบียบของจำเลยว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างประจำปีของพนักงานระบุว่ากรณีจะรอการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างไว้ก่อนได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่พนักงานอยู่ในระหว่างถูกสอบสวนทางวินัยหรือทางคดีอาญา เมื่อยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์อยู่ในระหว่างสอบสวนทางวินัย ประกอบคณะกรรมการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างของจำเลยมีมติให้เลื่อนขั้นเงินเดือนโจทก์ 1 ขั้นแล้ว ผู้อำนวยการของจำเลยจึงไม่มีอำนาจชะลอการเลื่อนขั้นเงินเดือนของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4018/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างต้องรับผิดในความเสียหายจากการบาดเจ็บของลูกจ้างที่เกิดจากความประมาทในการขับรถ และค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ในการเลื่อนขั้นเงินเดือน
โจทก์โดยสารรถยนต์ที่ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับขี่ลูกจ้างจำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับบาดเจ็บโจทก์ต้องลางานเพื่อพักรักษาตัวจนเกินกว่าระยะเวลาที่นายจ้างของโจทก์กำหนดให้ นายจ้างจึงไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนให้โจทก์เพราะลาเกินสิทธิ เมื่อการพิจารณาขั้นเงินเดือนมีอัตรากำหนดแน่นอนอยู่แล้ว การที่โจทก์ไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน จึงเป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิดของลูกจ้าง ซึ่งกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6386/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพักงานลูกจ้างทุจริต และสิทธิในการเลื่อนขั้นเงินเดือน สิทธิลูกจ้างขาดหายเมื่อไม่ได้ปฏิบัติงาน
ลูกจ้างที่ถูกสั่งพักงานเพื่อรอฟังผลการดำเนินคดี เนื่องจากมีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริต ซึ่งนายจ้างมีสิทธิสั่งพักงานลูกจ้างได้โดยชอบ เมื่อลูกจ้างมิได้ทำงานในระหว่างพักงานตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม 2522 ถึงวันที่ 1 ธันวาคม 2529 ย่อมไม่มีงานที่มีคุณภาพและปริมาณงานอันสมควรที่จะได้เลื่อนบำเหน็จเพื่อตอบแทนผลงานที่ได้ปฏิบัติในรอบปีนั้นตามระเบียบ จึงไม่มีสิทธิได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนในระหว่างพักงาน เมื่อลูกจ้างกลับเข้าทำงานตามเดิมจึงไม่มีค่าจ้างในส่วนที่เพิ่มขึ้นที่จะเรียกร้องจากนายจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6386/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพักงานลูกจ้างส่อทุจริต ทำให้สิทธิเลื่อนขั้นเงินเดือนระงับตามระเบียบของนายจ้าง
ลูกจ้างที่ถูกสั่งพักงานเพื่อรอฟังผลการดำเนินคดี เนื่องจากมีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริต ซึ่งนายจ้างมีสิทธิสั่งพักงานลูกจ้างได้โดยชอบ เมื่อลูกจ้างมิได้ทำงานในระหว่างพักงานตั้งแต่วันที่21 สิงหาคม 2522 ถึงวันที่ 1 ธันวาคม 2529 ย่อมไม่มีงานที่มีคุณภาพและปริมาณงานอันสมควรที่จะได้เลื่อนบำเหน็จเพื่อตอบแทนผลงานที่ได้ปฏิบัติในรอบปีนั้นตามระเบียบ จึงไม่มีสิทธิได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนในระหว่างพักงาน เมื่อลูกจ้างกลับเข้าทำงานตามเดิมจึงไม่มีค่าจ้างในส่วนที่เพิ่มขึ้นที่จะเรียกร้องจากนายจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ดุลพินิจเลื่อนขั้นเงินเดือนและการกระทำละเมิด: การกระทำของลูกจ้างที่อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดและส่งผลต่อการพิจารณา
โจทก์เป็นลูกจ้างของธนาคาร อ. ซึ่งมีจำเลยที่ 1 ผู้จัดการหรือจำเลยที่ 2 รองผู้จัดการเป็นผู้กระทำการแทน นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 จึงเป็นไปตามสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยที่ 1 มีคำสั่งไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนให้โจทก์ ฝ่าฝืนข้อบังคับธนาคาร อ.แต่ปรากฏว่าข้อบังคับดังกล่าวกำหนดให้ผู้จัดการมีอำนาจใช้ดุลพินิจในการสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างได้ ดังนี้ ถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 ใช้ดุลพินิจผิดไปจากข้อบังคับ โจทก์ก็ชอบที่จะว่ากล่าวกับจำเลยที่ 1 ฐานผิดสัญญาจ้างแรงงาน จะอ้างว่ากระทำละเมิดต่อโจทก์หาได้ไม่ เว้นแต่โจทก์จะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อขึ้นอีกต่างหากนอกเหนือจากการปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงาน
โจทก์แต่งชุดดำมาทำงานในวันที่มีข่าวว่าจะมีพนักงานธนาคาร อ. ร่วมกันแต่งชุดดำประท้วงจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการประชุมแต่งตั้งพนักงานในสำนักงานผู้จัดการซึ่งนอกจากโจทก์แล้วยังมีพนักงานธนาคารอีก 3 คน แต่งชุดดำมาทำงานด้วย แม้จะเป็นการบังเอิญมาตรงกัน แต่การกระทำของโจทก์ก็เป็นมูลเหตุให้จำเลยที่ 2 เข้าใจไปได้ว่าโจทก์แต่งมาเพื่อประท้วงจำเลยที่ 1 จึงได้ทำความเห็นเสนอจำเลยที่ 1 ว่าไม่ควรเลื่อนเงินเดือนให้โจทก์ และจำเลยที่ 1 มีความเห็นด้วยกับจำเลยที่ 2 การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 เช่นนี้ แม้จะเป็นการใช้ดุลพินิจโดยขาดความละเอียดรอบคอบจนอาจเรียกได้ว่าขาดความเป็นธรรม ก็เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำนาจในการบริหารที่ตนมีอยู่ โดยโจทก์เองมีส่วนทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เข้าใจผิดและใช้ดุลพินิจดังกล่าว กรณีเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจการเลื่อนขั้นเงินเดือนและการกระทำละเมิด: การเข้าใจผิดและอำนาจบริหาร
โจทก์แต่งชุดดำมาทำงานในวันที่มีข่าวว่าจะมีพนักงานธนาคารอ. ร่วมกันแต่งชุดดำประท้วงจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการประชุมแต่งตั้งพนักงานในสำนักงานผู้จัดการซึ่งนอกจากโจทก์แล้วยังมีพนักงานธนาคารอีก 3 คน แต่งชุดดำมาทำงานด้วย แม้จะเป็นการบังเอิญมาตรง กัน แต่การกระทำของโจทก์ก็เป็นมูลเหตุให้จำเลยที่ 2 เข้าใจไปได้ว่าโจทก์แต่งมาเพื่อประท้วงจำเลยที่ 1 จึงได้ทำความเห็นเสนอจำเลยที่ 1 ว่า ไม่ควรเลื่อนเงินเดือนให้โจทก์ และจำเลยที่ 1มีความเห็นด้วยกับจำเลยที่ 2 การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 เช่นนี้แม้จะเป็นการใช้ดุลพินิจโดยขาดความละเอียดรอบคอบ จนอาจเรียกได้ว่าขาดความเป็นธรรม ก็เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำนาจในการบริหารที่ตนมีอยู่ โดยโจทก์เองมีส่วนทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เข้าใจผิดและใช้ดุลพินิจดังกล่าว กรณีเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์เป็นลูกจ้างของธนาคาร อ. ซึ่งมีจำเลยที่ 1 ผู้จัดการหรือจำเลยที่ 2 รองผู้จัดการเป็นผู้กระทำการแทน นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 จึงเป็นไปตามสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยที่ 1 มีคำสั่งไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนให้โจทก์ ฝ่าฝืนข้อบังคับธนาคาร อ. แต่ปรากฏว่าข้อบังคับดังกล่าวกำหนดให้ผู้จัดการมีอำนาจใช้ดุลพินิจในการสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างได้ ดังนี้ ถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 ใช้ดุลพินิจผิดไปจากข้อบังคับ โจทก์ก็ชอบที่จะว่ากล่าวกับจำเลยที่ 1 ฐานผิดสัญญาจ้างแรงงาน จะอ้างว่ากระทำละเมิดต่อโจทก์หาได้ไม่ เว้นแต่โจทก์จะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อขึ้นอีกต่างหากนอกเหนือจากการปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงาน
of 2