พบผลลัพธ์ทั้งหมด 86 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3388/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีแพ่ง: การมาศาลหลังเวลาที่กำหนดถือว่าขาดนัดและไม่อาจยื่นคำร้องใหม่ได้
การที่โจทก์ต้องมาศาลในวันนัดสืบพยาน โจทก์ต้องมาตรงตามเวลานัดด้วยมิใช่ว่าโจทก์จะมาศาลในเวลาใดก็ได้ก่อนสิ้นเวลาทำการของศาล เมื่อศาลชั้นต้นออกนั่งพิจารณาในวันนัดสืบพยานโจทก์เวลา 10.30 นาฬิกา เกินเวลานัดไปถึง 1 ชั่วโมง 30 นาทีฝ่ายโจทก์ก็ยังไม่มา โดยมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องจึงต้องถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 วรรคสอง (เดิม) ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความอันเป็นคำสั่งตามบทบัญญัติมาตรา 132(2) ประกอบมาตรา 201 วรรคหนึ่ง (เดิม) จึงชอบแล้ว หลังจากนั้นโจทก์มาศาลและยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นนำคดีขึ้นมาดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปย่อมมีผลเท่ากับการขอให้พิจารณาคดีใหม่ ซึ่งต้องห้ามตามมาตรา 201 วรรคหนึ่ง (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1947/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ: การกำหนดเวลาและสถานที่ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระเป็นเงินตราต่างประเทศพร้อมกับให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทตามอัตราเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมหานคร ณ สิ้นวันทำการในวันที่มีคำพิพากษาเป็นเกณฑ์นั้น เป็นการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่สอดคล้องกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 196 วรรคสอง ที่ให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงินปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ แต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7812-7813/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงาน: การยกข้อต่อสู้เรื่องอำนาจศาลต้องทำในชั้นศาลแรงงานก่อน หากไม่ทำในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้
การที่จำเลยจะยกข้อต่อสู้ในเรื่องอำนาจศาลว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานหรือไม่ จำเลยจะต้องยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การเพื่อให้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้เพื่อศาลแรงงานกลางจะได้ส่งปัญหา ดังกล่าวไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะพิพากษาคดี ซึ่งคำวินิจฉัยของ อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางนั้นเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 9 จำเลยมิได้ยกปัญหาเรื่องศาลแรงงานกลางไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาเกี่ยวกับค่าคอมมิชชั่นขึ้นต่อสู้ไว้ใน คำให้การ แสดงว่าจำเลยยอมรับอำนาจของศาลแรงงานที่จะวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวได้ เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษาคดีแล้ว จำเลยเพิ่งยกปัญหานี้ขึ้นมาในชั้นอุทธรณ์ กรณีจึงล่วงเลยเวลาที่จะพิจารณาปัญหานี้แล้ว จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5719/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการเพิกถอนการขายทอดตลาด: สิทธิโจทก์ยังคงอยู่แม้เวลาผ่านพ้น
โจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาภายใน 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 แล้ว แต่คดีมีปัญหาเฉพาะขั้นตอนการขายทอดตลาด ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับโจทก์หรือผู้แทนโจทก์ แม้จำเลยร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและขายทอดตลาดใหม่และศาลฎีกาเห็นว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาดไปโดยไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบคำสั่งของศาลที่อนุญาตให้ขายทอดตลาดและวันขายทอดตลาด จึงพิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและขายทอดตลาดใหม่ แม้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้คู่ความฟังเมื่อเกิน 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น ก็ไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์ที่จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการขายทอดตลาดใหม่ต่อไปตามคำพิพากษาศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2269/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องคดีบุกรุก: การพิสูจน์เวลาบุกรุกและการร้องทุกข์ภายในกำหนด
จำเลยบุกรุกที่ดินโจทก์ แต่ในทางพิจารณาโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยเริ่มบุกรุกที่ดินของโจทก์ในเวลากลางวันหรือกลางคืน จึงฟังให้เป็นคุณแก่จำเลยว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์ในเวลากลางวัน ความผิดฐานบุกรุกเกิดขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่จำเลยเข้าไปรบกวนการครอบครองที่ดินของโจทก์ ส่วนการที่จำเลยครอบครองที่ดินต่อมาเป็นเพียงผลของการบุกรุกไม่ใช่เป็นความผิดต่อเนื่องการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 362 บทเดียว หาเป็นความผิดตามมาตรา 365 (3) อีกบทหนึ่งไม่ ซึ่งมาตรา 366 บัญญัติว่า เป็นความผิดอันยอมความได้ อายุความฟ้องร้องตามมาตรา 95 ต้องอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา96 ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดมิฉะนั้นขาดอายุความ โจทก์มาร้องทุกข์เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2534ทั้งๆที่ทราบเรื่องจำเลยบุกรุกตั้งแต่ต้นปี 2526 คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตาม.อ.มาตรา 96
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2269/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีบุกรุก: การพิสูจน์เวลากระทำผิดและการร้องทุกข์ภายในกำหนด
จำเลยบุกรุกที่ดินโจทก์แต่ในทางพิจารณาโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยเริ่มบุกรุกที่ดินของโจทก์ในเวลากลางวันหรือกลางคืนจึงฟังให้เป็นคุณแก่จำเลยว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์ในเวลากลางวันความผิดฐานบุกรุกเกิดขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่จำเลยเข้าไปรบกวนการครอบครองที่ดินของโจทก์ส่วนการที่จำเลยครอบครองที่ดินต่อมาเป็นเพียงผลของการบุกรุกไม่ใช่เป็นความผิดต่อเนื่องการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา362บทเดียวหาเป็นความผิดตามมาตรา365(3)อีกบทหนึ่งไม่ซึ่งมาตรา366บัญญัติว่าเป็นความผิดอันยอมความได้อายุความฟ้องร้องตามมาตรา95ต้องอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา96ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดมิฉะนั้นขาดอายุความโจทก์มาร้องทุกข์เมื่อวันที่7พฤษภาคม2534ทั้งๆที่ทราบเรื่องจำเลยบุกรุกตั้งแต่ต้นปี2526คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา96
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6273/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและคำร้องขอพิจารณาใหม่ โดยมีเหตุผลจากความผิดพลาดเรื่องเวลา
วันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์ไม่ไปศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและให้เลื่อนไปนัดสืบ-พยานจำเลย ในวันเดียวกันโจทก์ยื่นคำร้องว่าไม่ได้จงใจขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้พิจารณาใหม่
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งว่า จำเลยไม่เห็นด้วยกับข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้พิจารณาคดีโจทก์ใหม่ เพราะโจทก์จงใจขาดนัดและต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 201 แม้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวจะไม่มีผลเป็นอุทธรณ์เพราะต้องห้ามตามกฎหมาย แต่ก็มีผลเป็นการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) แล้ว จำเลยจึงอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ได้
ศาลนัดสืบพยานโจทก์เวลา 9.00 นาฬิกา แต่โจทก์และทนายโจทก์มาศาลในวันนัดเวลาประมาณ 12.30 นาฬิกา เนื่องจากเสมียนทนาย-โจทก์บอกเวลานัดของศาลแก่ทนายโจทก์ผิดไปเป็นเวลา 13.30 นาฬิกา ทั้งตามคำร้องขอพิจารณาใหม่ โจทก์และทนายโจทก์ได้ลงชื่อในคำร้องที่ยื่นต่อศาลในวันเดียวกัน แสดงว่าโจทก์และทนายโจทก์ไปศาลในวันนัดจริง แต่ไปไม่ตรงตามเวลาเพราะเสมียนทนายบอกเวลานัดพิจารณาคลาดเคลื่อน โจทก์จึงมิได้จงใจขาดนัดพิจารณาและเมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งจำหน่ายคดี จึงไม่ต้องห้ามที่โจทก์จะขอให้พิจารณาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 201
ประเด็นข้อพิพาทมีว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์กับเจ้าของรวมหรือเป็นของจำเลยเท่านั้น ศาลจึงไม่ต้องรับฟังเอกสารสำเนาภาพถ่ายโฉนดที่ดินของโจทก์กับเจ้าของรวม และหนังสือให้ความยินยอมของเจ้าของรวมให้โจทก์ฟ้องคดี ส่วนแผนที่พิพาทซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินเป็นผู้ทำขึ้นตามคำสั่งศาล มิใช่เอกสารที่โจทก์เป็นฝ่ายอ้าง โจทก์จึงไม่ต้องเสียค่าอ้างเอกสารตามตาราง 2 ท้าย ป.วิ.พ.
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งว่า จำเลยไม่เห็นด้วยกับข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้พิจารณาคดีโจทก์ใหม่ เพราะโจทก์จงใจขาดนัดและต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 201 แม้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวจะไม่มีผลเป็นอุทธรณ์เพราะต้องห้ามตามกฎหมาย แต่ก็มีผลเป็นการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) แล้ว จำเลยจึงอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ได้
ศาลนัดสืบพยานโจทก์เวลา 9.00 นาฬิกา แต่โจทก์และทนายโจทก์มาศาลในวันนัดเวลาประมาณ 12.30 นาฬิกา เนื่องจากเสมียนทนาย-โจทก์บอกเวลานัดของศาลแก่ทนายโจทก์ผิดไปเป็นเวลา 13.30 นาฬิกา ทั้งตามคำร้องขอพิจารณาใหม่ โจทก์และทนายโจทก์ได้ลงชื่อในคำร้องที่ยื่นต่อศาลในวันเดียวกัน แสดงว่าโจทก์และทนายโจทก์ไปศาลในวันนัดจริง แต่ไปไม่ตรงตามเวลาเพราะเสมียนทนายบอกเวลานัดพิจารณาคลาดเคลื่อน โจทก์จึงมิได้จงใจขาดนัดพิจารณาและเมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งจำหน่ายคดี จึงไม่ต้องห้ามที่โจทก์จะขอให้พิจารณาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 201
ประเด็นข้อพิพาทมีว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์กับเจ้าของรวมหรือเป็นของจำเลยเท่านั้น ศาลจึงไม่ต้องรับฟังเอกสารสำเนาภาพถ่ายโฉนดที่ดินของโจทก์กับเจ้าของรวม และหนังสือให้ความยินยอมของเจ้าของรวมให้โจทก์ฟ้องคดี ส่วนแผนที่พิพาทซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินเป็นผู้ทำขึ้นตามคำสั่งศาล มิใช่เอกสารที่โจทก์เป็นฝ่ายอ้าง โจทก์จึงไม่ต้องเสียค่าอ้างเอกสารตามตาราง 2 ท้าย ป.วิ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3572/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องฎีกาและการขอพิจารณาใหม่: ข้อจำกัดด้านเวลาและคุณสมบัติ
จำเลยที่ 3 มิได้แต่งตั้งให้ ป.เป็นทนายความหรือมอบอำนาจให้ป.ฟ้องคดีแทน ป.จึงไม่มีอำนาจยื่นฎีกาแทนจำเลยที่ 3 ฎีกาในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3จึงเป็นคำคู่ความที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ขึ้นมา ศาลฎีกาก็วินิจฉัยให้ไม่ได้
พนักงานเดินหมายนำคำบังคับไปส่งให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2โดยวิธีปิดหมาย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง ถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2ทราบคำบังคับหลังจากล่วงพ้นไปแล้ว 15 วัน จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ เมื่อล่วงเลยระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันที่การส่งคำบังคับมีผลจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่ได้
กำหนดระยะเวลา 6 เดือน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208ตอนท้าย จะนำมาใช้บังคับต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษนอกเหนือไม่อาจบังคับได้อันเป็นผลให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่อาจยื่นคำขอภายในกำหนด 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือภายในระยะเวลาตามคำกำหนดของศาล แต่ตามคำขอของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้อ้างพฤติการณ์พิเศษนอกเหนือไม่อาจบังคับได้ไว้ จึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พนักงานเดินหมายนำคำบังคับไปส่งให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2โดยวิธีปิดหมาย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง ถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2ทราบคำบังคับหลังจากล่วงพ้นไปแล้ว 15 วัน จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ เมื่อล่วงเลยระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันที่การส่งคำบังคับมีผลจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่ได้
กำหนดระยะเวลา 6 เดือน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208ตอนท้าย จะนำมาใช้บังคับต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษนอกเหนือไม่อาจบังคับได้อันเป็นผลให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่อาจยื่นคำขอภายในกำหนด 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือภายในระยะเวลาตามคำกำหนดของศาล แต่ตามคำขอของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้อ้างพฤติการณ์พิเศษนอกเหนือไม่อาจบังคับได้ไว้ จึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บันดาลโทสะต้องกระทำต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น การกระทำหลังเวลาผ่านไปไม่ถือเป็นบันดาลโทสะ
การจะอ้างว่าเป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะนั้น นอกจากจะต้องถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมแล้วยังต้องกระทำต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้นด้วย แม้การที่ผู้เสียหายเป็นชู้กับภรรยาจำเลยจะเป็นการข่มเหงจำเลยซึ่งเป็นสามีอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมก็ตามแต่การที่จำเลยทราบเรื่องจากภรรยาแล้วภายหลังจากนั้นเป็นเวลานานถึง 3ชั่วโมง จึงได้ใช้อาวุธมีดฟันผู้เสียหายนั้น การกระทำของจำเลยมิใช่การกระทำในขณะกระชั้นชิดต่อเนื่องยังไม่ขาดตอน จึงมิใช่การกระทำต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้นการกระทำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บันดาลโทสะต้องกระทำต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น การปล่อยเวลาผ่านไปนานถึง 3 ชั่วโมง ไม่อาจอ้างบันดาลโทสะได้
ขณะที่จำเลยทราบว่าภรรยาจำเลยถูกผู้เสียหายปลุกปล้ำกระทำชำเรานั้น จำเลยไม่ได้แสดงอาการโกรธหรือจะทำร้ายผู้เสียหายแต่ได้ออกไปหาปลาร่วมกับผู้เสียหายโดยมีเวลานานถึง 3 ชั่วโมงนับแต่ทราบเหตุดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงได้ใช้มีดฟันทำร้ายผู้เสียหายจึงมิใช่เป็นการกระทำต่อผู้ถูกข่มเหงในขณะนั้นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 72