พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6647/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานต่างประเทศ: จำเป็นต้องพิสูจน์สถานะภาคีอนุสัญญาในเวลาที่กระทำผิด
แม้โจทก์จะได้บรรยายฟ้องว่า บริษัท ก.(เมืองฮ่องกง)เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานโสตทัศนวัสดุแถบบันทึกเสียงและภาพ (วีดีทัศน์) เรื่อง โหด เลว ดี ภาค 3 ตามกฎหมายของเมืองฮ่องกง ซึ่งเมืองฮ่องกงเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม ทำ ณ กรุงเบอร์นซึ่งแก้ไข ณ กรุงเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายนค.ศ. 1908 และสำเร็จบริบูรณ์ด้วยโปรโตคอล เพิ่มเติมลงนาม ณ กรุงเบอร์น เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1914ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอนุสัญญาดังกล่าว และกฎหมายของ เมืองฮ่องกงให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ซึ่งได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบข้อเท็จจริง เพราะพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนไขเพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ พ.ศ. 2536 ได้มีบัญชีรายชื่อประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย การคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม ทำ ณ กรุงเบอร์นท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวแล้ว และข้อเท็จจริงเป็นที่ทราบกัน ทั่วไปว่า เมืองฮ่องกงอยู่ภายใต้อาณัติ ของ สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ ดังนั้นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายของเมืองฮ่องกงจึงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ ด้วยนั้นก็เป็นการบรรยาย ข้อเท็จจริงให้ครบองค์ประกอบของความผิดในกรณีที่ผู้มีลิขสิทธิ์ ได้สร้างสรรค์งานของตนตามกฎหมายในต่างประเทศที่มีกฎหมาย ให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ เพื่อ ให้เห็นว่าการกระทำของจำเลยนั้นเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ งานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ฯ ให้ความคุ้มครองไว้เท่านั้น แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบ ให้เห็นว่า เมืองฮ่องกง เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม ทำ ณ กรุงเบอร์นในเวลาที่จำเลยกระทำผิด ทั้งรายชื่อประเทศที่เป็นภาคีอนุสัญญา ดังกล่าวตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนไขเพื่อ คุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ พ.ศ. 2536 ที่โจทก์ กล่าวอ้างนั้น ก็เป็นรายชื่อประเทศที่เป็นภาคีในเวลา พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับคือในปี 2536 ไม่อาจรับฟัง เป็นยุติว่าประเทศตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกานั้นจะเป็น ภาคีอนุสัญญาในเวลาที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดในคดีนี้คือ ในช่วงปี 2533 ด้วย จึงยังฟังไม่ได้ว่าเมืองฮ่องกงเป็นภาคีอนุสัญญาในเวลาที่จำเลยกระทำผิดตามที่โจทก์กล่าวอ้าง อันจะมีผลให้วีดีโอเทปภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวได้รับ ความคุ้มครองพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 42 ดังนี้ ย่อมไม่อาจฟังว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐาน ละเมิดลิขสิทธิ์ ลงโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5629/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอคืนรถยนต์ที่ถูกริบ: เจ้าของกรรมสิทธิ์ ณ เวลาที่กระทำผิดเป็นผู้มีสิทธิ
ขณะจำเลยกระทำความผิด ผู้ร้องเป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์ของกลางยังไม่ใช่เจ้าของผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอคืน. (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1578/2522).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3841/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายอาญาต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติในขณะกระทำผิด แม้กฎหมายใหม่มีผลใช้บังคับภายหลัง
การที่จะลงโทษบุคคลใดในทางอาญาได้ ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้
จำเลยมีอาวุธปืนเอ็ม 16 และกระสุนปืนเอ็ม 16 ซึ่งเป็นอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2522) ไว้ในครอบครองและจำหน่าย ในขณะที่พระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2522 ใช้บังคับแล้ว แต่กฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2522) ซึ่งกำหนดประเภท ชนิดและขนาดของอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ยังไม่ได้ประกาศใช้บังคับแม้ต่อมาภายหลังที่จำเลยกระทำผิดกฎกระทรวงฉบับที่ 11 (พ.ศ.2522) จะประกาศใช้บังคับก็จะนำกฎกระทรวงฉบับนี้มาใช้บังคับย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่จำเลยหาได้ไม่การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯพ.ศ.2490 มาตรา 55, 78 ที่ได้แก้ไขแล้ว (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2524)
จำเลยมีอาวุธปืนเอ็ม 16 และกระสุนปืนเอ็ม 16 ซึ่งเป็นอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2522) ไว้ในครอบครองและจำหน่าย ในขณะที่พระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2522 ใช้บังคับแล้ว แต่กฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2522) ซึ่งกำหนดประเภท ชนิดและขนาดของอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ยังไม่ได้ประกาศใช้บังคับแม้ต่อมาภายหลังที่จำเลยกระทำผิดกฎกระทรวงฉบับที่ 11 (พ.ศ.2522) จะประกาศใช้บังคับก็จะนำกฎกระทรวงฉบับนี้มาใช้บังคับย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่จำเลยหาได้ไม่การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯพ.ศ.2490 มาตรา 55, 78 ที่ได้แก้ไขแล้ว (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2524)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2547/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางวินัยข้าราชการ: การใช้กฎหมายที่บังคับใช้ ณ เวลาที่กระทำผิด แม้หลังมีการเปลี่ยนกฎหมาย
กำหนดเวลา 1 ปีตามมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 หมายถึงระยะเวลาที่ให้นำพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2497 มาใช้บังคับไปพลางก่อนในระหว่างที่ ก.พ. ยังมิได้กำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 ส่วนมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2518 บัญญัติถึงเมื่อ ก.พ. ได้กำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนตามมาตรา 32 แล้ว หากข้าราชการพลเรือนผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยหรือกรณีที่สมควรให้ออกจากราชการก่อนวันที่ ก.พ. กำหนดตำแหน่งก็ให้ผู้บังคับบัญชาการดำเนินการเพื่อสั่งลงโทษผู้นั้น หรือสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ดังนั้น เมื่อกรณีการกระทำที่โจทก์ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนลงโทษทางวินัยได้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2517 ก่อนที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 ใช้บังคับ แม้โจทก์จะไปให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2519 ภายหลังที่โจทก์ได้รับราชการกำหนดตำแหน่งตามมาตรา 32 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขได้ถูกยกเลิก และใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 แทนแล้วก็ตาม การดำเนินการเพื่อสั่งลงโทษโจทก์หรือสั่งให้โจทก์ออกจากราชการก็ต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขซึ่งใช้อยู่ในขณะโจทก์กระทำผิดวินัยหรือมีกรณีที่สมควรให้ออกจากราชการก่อนวันที่ ก.พ. กำหนดตำแหน่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 121 ดังนั้นที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ไล่โจทก์ออกจากราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2497 และที่แก้ไขจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายอาญาใหม่ย้อนหลังไม่ได้ แม้จะเป็นคุณต่อจำเลย ศาลต้องใช้กฎหมายเดิมที่ใช้ ณ เวลาที่กระทำผิด
เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2514 จำเลยกระทำความผิดสามกรรมต่างกัน คือฐานมีอาวุธปืนฯไว้ในครอบครองโดยไม่รับอนุญาต ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ กระทงหนึ่ง ฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารและกระทำอนาจารแก่หญิงนั้น (กระทงหนึ่ง) สองบท และฐานประทุษร้ายหญิงผู้ถูกพาไปนั้นถึงอันตรายแก่กายอีกกระทงหนึ่งซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยกระทำความผิด ให้อำนาจศาลที่จะลงโทษผู้กระทำความผิดทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป หรือจะลงเฉพาะกระทงที่หนักที่สุดก็ได้ ต่อมาได้มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 2514 เป็นต้นไป ข้อ 2 ของประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวให้ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา91 เดิมนั้นเสีย โดยให้ใช้ข้อความในประกาศดังกล่าวนั้นแทน ซึ่งให้ศาลลงโทษผู้กระทำความผิดหลายกรรมทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป เมื่อมีประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวออกมาบัญญัติการวางโทษแตกต่างกับกฎหมายเดิมที่ใช้ในขณะจำเลยกระทำความผิดเช่นนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 บัญญัติให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด ประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวจึงไม่เป็นคุณแก่จำเลย ศาลจึงต้องใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เดิมแก่จำเลย และลงโทษจำเลยเฉพาะฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร ซึ่งเป็นกระทง(และบท) ที่หนักที่สุดแต่กระทงเดียวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา: การระบุเวลาที่กระทำผิดและการเข้าใจข้อหาของจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยฝ่าฝืนไม่ไปรับการตรวจคัดเลือกเพื่อเข้ารับราชการทหารในวันที่ 8 เมษายน 2498 แม้จะไม่ได้กล่าวว่าเวลากระทำผิดเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืนก็ตาม เมื่อเป็นที่เข้าใจทั่วไปแล้วว่าการตรวจคัดเลือก ตามปกติเป็นเวลากลางวัน และในฟ้องกล่าวว่าจำเลยทราบกำหนดแล้ว ประกอบกับจำเลยรับสารภาพ ดังนี้ ย่อมแสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาดีแล้วมิได้หลงข้อต่อสู้ ฟ้องโจทก์ที่เกี่ยวกับวันเวลาจึงสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1357/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญาฐานฉ้อโกง: ความครบถ้วนของฟ้องและการระบุเวลาที่กระทำผิด
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานฉ้อโกงโดยกล่าวว่า เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2496 จำเลยเอาที่ดินซึ่งอ้างว่าเป็นของจำเลยมาประกันเงินกู้ โจทก์หลงเชื่อจึงให้จำเลยกู้เงินไป และจำเลยได้เขียนระบุที่ดินนั้นไว้ในสัญญากู้ด้วย ความจริงปรากฏต่อมาว่าที่ดินนั้นเป็นของผู้อื่น
สำหรับกรณีเช่นนี้ ไม่จำเป็นต้องระบุว่าเกิดเหตุเวลากลางวันหรือกลางคืน เพราะกิจการที่กล่าวอ้างในฟ้องเป็นเครื่องแสดงให้บังเกิดความหมายและเข้าใจได้แล้วซึ่งจำเลยเองก็มิได้ปฏิเสธความข้อนี้ และจำเลยยอมรับว่าได้ทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้จริงซึ่งหมายความทำกันในวันนั้น หากแต่โต้เถียงว่ามิได้หลอกลวงซึ่งเป็นข้อเท็จจริงส่วนหนึ่งจะเรียกว่าโจทก์ฟ้องเคลือบคลุม (เพราะไม่มีเวลาเกิดเหตุ)ไม่ได้
สำหรับกรณีเช่นนี้ ไม่จำเป็นต้องระบุว่าเกิดเหตุเวลากลางวันหรือกลางคืน เพราะกิจการที่กล่าวอ้างในฟ้องเป็นเครื่องแสดงให้บังเกิดความหมายและเข้าใจได้แล้วซึ่งจำเลยเองก็มิได้ปฏิเสธความข้อนี้ และจำเลยยอมรับว่าได้ทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้จริงซึ่งหมายความทำกันในวันนั้น หากแต่โต้เถียงว่ามิได้หลอกลวงซึ่งเป็นข้อเท็จจริงส่วนหนึ่งจะเรียกว่าโจทก์ฟ้องเคลือบคลุม (เพราะไม่มีเวลาเกิดเหตุ)ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาฐานปลอมแปลงเอกสาร จำเป็นต้องระบุเวลาที่กระทำผิดอย่างชัดเจนหรือประมาณได้ หากฟ้องไม่ระบุเวลา อาจขาดความสำคัญทำให้ศาลยกฟ้อง
ฟ้องว่าจำเลยปลอมหนังสือซึ่งโจทก์กู้เงินจำเลยฟ้องของโจทก์กล่าวถึงวันที่โจทก์ไปร้องต่ออำเภอขอชำระหนี้แก่จำเลยอย่างเดียวดังนี้ ถือว่าฟ้องไม่ระบุเวลาที่หาว่ากระทำผิดตามสมควร ต้องยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาฐานปลอมแปลงเอกสารต้องระบุเวลาที่กระทำผิดโดยละเอียดเพื่อให้จำเลยเข้าใจข้อหา
ฟ้องว่าจำเลยปลอมหนังสือซึ่งโจทก์กู้เงินจำเลย ฟ้องของโจทก์กล่าวถึงวันที่โจทก์ไปร้องต่ออำเภอขอชำระหนี้แก่จำเลยอย่างเดียวดังนี้ ถือว่าฟ้องไม่ระบุเวลาที่หาว่ากระทำผิดตามสมควร ต้องยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1104/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางอาญา: การพิจารณาความผิดและบทลงโทษตามกฎหมายที่มีผล ณ เวลาที่กระทำผิด
จำเลยสูบฝิ่นนอกโรงและมีฝิ่นไว้ ศาลลงโทษฐานเดียว
วิธีพิจารณาอาชญา จำเลยทำผิดเวลาใดที่มีกฎหมายบัญญัติไว้อย่างไร จำเลยก็ต้องควรได้รับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้อย่างนั้น กฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง
วิธีพิจารณาอาชญา จำเลยทำผิดเวลาใดที่มีกฎหมายบัญญัติไว้อย่างไร จำเลยก็ต้องควรได้รับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้อย่างนั้น กฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง