พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7168/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีต้องเป็นไปตามเสียงข้างมากของคณะกรรมการมัสยิดตาม พ.ร.บ. มัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490
พ.ร.บ. มัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 มาตรา 9 บัญญัติว่า ในการดำเนินงานของคณะกรรมการมัสยิดให้เป็นไปตามเสียงข้างมากของคณะกรรมการมัสยิด และมีระเบียบการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (สุเหร่า) และวิธีดำเนินการอันเกี่ยวแก่ศาสนกิจของมัสยิด (สุเหร่า) พ.ศ. 2492 ข้อ 4 ระบุว่า คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดจะพึงมีได้แห่งละไม่เกิน 15 คน กอร์ปด้วยอิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง อิหม่ามเป็นประธานกรรมการ คอเต็บเป็นรองประธานกรรมการ คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดโจทก์มีทั้งหมดรวม 15 คน การดำเนินงานของคณะกรรมการมัสยิดโจทก์จึงต้องกระทำโดยเสียงข้างมากคือตั้งแต่ 8 คน ขึ้นไป แต่ปรากฏว่าหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ให้ฟ้องคดีนี้มีคณะกรรมการมัสยิดโจทก์ลงชื่อในฐานะผู้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้เพียง 7 คน ถึงแม้ว่ากรรมการมัสยิดโจทก์อีก 1 คน จะลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวด้วย แต่ก็เป็นเพียงการลงชื่อในฐานะเป็นผู้รับมอบอำนาจ หาได้ลงชื่อในฐานะเป็นผู้มอบอำนาจไม่ หนังสือมอบอำนาจของโจทก์จึงเป็นการดำเนินงานที่มิได้เป็นไปตามเสียงข้างมากของคณะกรรมการมัสยิดโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7168/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของคณะกรรมการมัสยิดต้องเป็นไปตามเสียงข้างมากตามกฎหมาย หากไม่เป็นไปตามนั้น ถือไม่มีอำนาจฟ้อง
การดำเนินงานของคณะกรรมการมัสยิดโจทก์ต้องกระทำโดยเสียงข้างมากคือตั้งแต่ 8 คนขึ้นไป แต่หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ให้ฟ้องคดีมีคณะกรรมการมัสยิดโจทก์ลงชื่อในฐานะผู้มอบอำนาจเพียง7 คน แม้กรรมการมัสยิดโจทก์อีก 1 คนจะลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจด้วยแต่ก็เป็นเพียงการลงชื่อในฐานะเป็นผู้รับมอบอำนาจเท่านั้น หาได้ลงชื่อในฐานะเป็นผู้มอบอำนาจไม่ หนังสือมอบอำนาจของโจทก์จึงเป็นการดำเนินงานที่มิได้เป็นไปตามเสียงข้างมากของคณะกรรมการมัสยิดโจทก์ตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลามฯ เป็นการกระทำโดยไม่มีสิทธิและปราศจากอำนาจ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง และเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 551/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยผู้จัดการหลายคนต้องอาศัยเสียงข้างมากในการดำเนินการบังคับคดี
โจทก์ทั้งสามเป็นผู้จัดการมรดกของ พ. ได้ร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารให้ออกไปจากตึกแถวพิพาทจนมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์ทั้งสามเป็นฝ่ายชนะคดีและได้มีการบังคับคดีในเวลาต่อมา โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1และที่ 2 ไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ กรณีเป็นเรื่องมีผู้จัดการมรดกหลายคน โจทก์ทั้งสามแต่ละคนจะจัดการโดยลำพังไม่ได้ การกระทำตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกต้องถือเอาเสียงข้างมาก ดังนั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 และที่ 2คัดค้านคำร้อง ของ โจทก์ที่ 3 ที่ขอให้งดการบังคับคดีกรณีต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1726 โจทก์ที่ 3 ไม่อาจกระทำได้โดยลำพัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2567-2568/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกมูลนิธิเนื่องจากกรรมการไม่ครบองค์ประชุมและไม่สามารถหาเสียงข้างมากได้ตามกฎหมาย
การดำเนินกิจการของมูลนิธิต้องเป็นไปตามเสียงข้างมากของกรรมการมูลนิธิ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 แต่กรรมการมูลนิธิบางคนตายคงเหลือเพียง 2 คน และไม่อาจหาเสียงข้างมากได้ ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ตามมาตรา 131(3) จึงต้องเลิกมูลนิธิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5843/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการมรดกต้องใช้เสียงข้างมากของผู้จัดการมรดก สัญญาเช่าที่ทำโดยผู้จัดการมรดกคนเดียวไม่ผูกพันกองมรดก
ผู้จัดการมรดกของ พ.มีสามคน คือ อ. ช. และจำเลย ขณะจำเลยทำสัญญาเช่ากับโจทก์ในคดีนี้ อ.และ ช.ผู้จัดการมรดกอีกสองคนถึงแก่กรรมแล้ว ดังนี้จำเลยแต่เพียงผู้เดียวย่อมไม่มีอำนาจจัดการมรดกต่อไปตามลำพัง เพราะในกรณีมีผู้จัดการมรดกหลายคนจะต้องจัดการโดยถือเอาเสียงข้างมากของผู้จัดการมรดกร่วมกัน สัญญาเช่าที่พิพาทจึงไม่ผูกพันกองมรดก การที่ศาลตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการ-มรดกแต่เพียงผู้เดียวในภายหลังไม่มีผลทำให้สัญญาเช่าที่พิพาทผูกพันกองมรดก
โจทก์ฎีกาอ้างเพียงว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังได้ว่า ทายาทของ พ.ได้เชิดจำเลยให้แสดงออกว่าจำเลยเป็นตัวแทนจัดการทรัพย์มรดกของ พ.แต่เพียงผู้เดียว โดยโจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร และที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฎีกาอ้างเพียงว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังได้ว่า ทายาทของ พ.ได้เชิดจำเลยให้แสดงออกว่าจำเลยเป็นตัวแทนจัดการทรัพย์มรดกของ พ.แต่เพียงผู้เดียว โดยโจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร และที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5843/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ทำกับผู้จัดการมรดกที่ไม่มีอำนาจ ผู้จัดการมรดกต้องจัดการโดยเสียงข้างมาก สัญญาไม่ผูกพันกองมรดก
ผู้จัดการมรดกของ พ.มีสามคนคืออ.ช. และจำเลยขณะจำเลยทำสัญญาเช่ากับโจทก์ในคดีนี้ อ.และช.ผู้จัดการมรดกอีกสอบคนถึงแก่กรรมแล้ว ดังนี้จำเลยแต่เพียงผู้เดียวย่อมไม่มีอำนาจจัดการมรดกต่อไปตามลำพัง เพราะในกรณีมีผู้จัดการมรดกหลายคนจะต้องจัดการโดยถือเอาเสียงข้างมากของผู้จัดการมรดกร่วมกัน สัญญาเช่าที่พิพาทจึงไม่ผูกพันกองมรดก การที่ศาลตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียวในภายหลังไม่มีผลทำให้สัญญาเช่าที่พิพาทผูกพันกองมรดก โจทก์ฎีกาอ้างเพียงว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังได้ว่าทายาทของ พ. ได้เชิดจำเลยให้แสดงออกว่าจำเลยเป็นตัวแทนจัดการทรัพย์มรดกของ พ.แต่เพียงผู้เดียวโดยโจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร และที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5767/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยผู้จัดการหลายคน: เสียงข้างมากมีอำนาจตัดสินใจ ไม่จำเป็นต้องให้ศาลชี้ขาดเมื่อเสียงไม่เท่ากัน
ผู้ร้องทั้งสามเป็นผู้จัดการมรดกของ น. ร่วมกันตามคำสั่งของศาลเมื่อผู้ร้องที่ 1 ที่ 3 ยินยอมให้ผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้เข้ารับโอนใบอนุญาตโรงเรียนสืบต่อจาก น. แต่ผู้ร้องที่ 2คัดค้าน ดังนี้เป็นการจัดการมรดกซึ่งผู้จัดการมรดกทำการตามหน้าที่โดยเป็นฝ่ายเสียงข้างมาก ไม่ใช่เสียงเท่ากันในอันที่จะร้องขอให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726
ตามคำร้องของผู้ร้องที่ 1 ที่ 3 เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้สิทธิที่จะร้องขอให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดได้ จึงไม่จำเป็นที่ศาลต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวส่วนการที่ผู้ร้องที่ 2 โต้แย้งคัดค้านการที่ผู้ร้องที่ 1 ขอเข้าเป็นผู้รับโอนใบอนุญาตโรงเรียนนั้น หากต้องเสียหาย ก็ชอบที่จะว่ากล่าวกับผู้ร้องที่ 2เป็นคดีใหม่.
ตามคำร้องของผู้ร้องที่ 1 ที่ 3 เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้สิทธิที่จะร้องขอให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดได้ จึงไม่จำเป็นที่ศาลต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวส่วนการที่ผู้ร้องที่ 2 โต้แย้งคัดค้านการที่ผู้ร้องที่ 1 ขอเข้าเป็นผู้รับโอนใบอนุญาตโรงเรียนนั้น หากต้องเสียหาย ก็ชอบที่จะว่ากล่าวกับผู้ร้องที่ 2เป็นคดีใหม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5767/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยผู้จัดการมรดกเสียงข้างมาก ไม่ต้องขอศาลชี้ขาดหากไม่ใช่กรณีเสียงเท่ากัน
ผู้ร้องทั้งสามเป็นผู้จัดการมรดกของ น. ร่วมกันตามคำสั่งของศาลเมื่อผู้ร้องที่ 1 ที่ 3 ยินยอมให้ผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้เข้ารับโอนใบอนุญาตโรงเรียนสืบต่อจาก น. แต่ผู้ร้องที่ 2คัดค้าน ดังนี้เป็นการจัดการมรดกซึ่งผู้จัดการมรดกทำการตามหน้าที่โดยเป็นฝ่ายเสียงข้างมาก ไม่ใช่เสียงเท่ากันในอันที่จะร้องขอให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726 ตามคำร้องของผู้ร้องที่ 1 ที่ 3 เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้สิทธิที่จะร้องขอให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดได้ จึงไม่จำเป็นที่ศาลต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวส่วนการที่ผู้ร้องที่ 2 โต้แย้งคัดค้านการที่ผู้ร้องที่ 1 ขอเข้าเป็นผู้รับโอนใบอนุญาตโรงเรียนนั้น หากต้องเสียหาย ก็ชอบที่จะว่ากล่าวกับผู้ร้องที่ 2เป็นคดีใหม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4480/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของคณะกรรมการมัสยิด: เสียงข้างมากมีอำนาจดำเนินการแทนมัสยิดได้
มัสยิดโจทก์จดทะเบียนแล้ว มีคณะกรรมการมัสยิดจำนวน 15คนกรรมการมัสยิดโจทก์จำนวน 12 คน ลงชื่อแต่งทนายความฟ้องคดีนี้ ถือได้ว่าเป็นเสียงข้างมากของคณะกรรมการมัสยิดโจทก์ จึงมีอำนาจฟ้องในนามมัสยิดโจทก์ได้.
พระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 ไม่ได้บัญญัติให้สิทธิหรืออำนาจแก่อิหม่ามฟ้องคดีแทนมัสยิดได้โดยลำพังคณะกรรมการมัสยิดซึ่งเป็นเสียงข้างมากจึงฟ้องคดีในนามมัสยิดได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับมอบอำนาจจากอิหม่าม
พระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 ไม่ได้บัญญัติให้สิทธิหรืออำนาจแก่อิหม่ามฟ้องคดีแทนมัสยิดได้โดยลำพังคณะกรรมการมัสยิดซึ่งเป็นเสียงข้างมากจึงฟ้องคดีในนามมัสยิดได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับมอบอำนาจจากอิหม่าม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจฟ้องคดีของสหกรณ์: เสียงข้างมากของคณะกรรมการเพียงพอทำให้หนังสือมอบอำนาจสมบูรณ์
จำเลยให้การว่า ค. จะได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ฟ้องคดีหรือไม่ จำเลยไม่ทราบและไม่รับรอง คำให้การเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การรับ โจทก์จึงยังมีหน้าที่นำสืบถึงประเด็นข้อนี้
พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2511 มาตรา 24 บัญญัติให้คณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์จำกัดเป็นผู้ดำเนินการและเป็นผู้แทนสหกรณ์จำกัด ในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอกและคณะกรรมการจะมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนทำการแทนก็ได้ แต่ตามกฎหมายและข้อบังคับของสหกรณ์โจทก์มิได้กำหนดไว้ว่าในการดำเนินกิจการต่าง ๆ คณะกรรมการดังกล่าวจะต้องลงชื่อครบทุกคนหรือไม่เพียงใด จึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปเกี่ยวกับนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับ ซึ่งมาตรา 77 กำหนดให้เป็นไปตามเสียงข้างมาก ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ 6 คนในจำนวน 7 คนได้ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้ ค. ฟ้องคดี จึงเป็นเสียงข้างมากตามนัยแห่งบทกฎหมายดังกล่าว หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ซึ่งสมบูรณ์ตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2511 มาตรา 24 บัญญัติให้คณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์จำกัดเป็นผู้ดำเนินการและเป็นผู้แทนสหกรณ์จำกัด ในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอกและคณะกรรมการจะมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนทำการแทนก็ได้ แต่ตามกฎหมายและข้อบังคับของสหกรณ์โจทก์มิได้กำหนดไว้ว่าในการดำเนินกิจการต่าง ๆ คณะกรรมการดังกล่าวจะต้องลงชื่อครบทุกคนหรือไม่เพียงใด จึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปเกี่ยวกับนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับ ซึ่งมาตรา 77 กำหนดให้เป็นไปตามเสียงข้างมาก ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ 6 คนในจำนวน 7 คนได้ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้ ค. ฟ้องคดี จึงเป็นเสียงข้างมากตามนัยแห่งบทกฎหมายดังกล่าว หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ซึ่งสมบูรณ์ตามกฎหมาย