คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เสียหาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 120 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัยการใช้อำนาจสั่งไม่ฟ้องคดีโดยมิชอบ เพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหาและสร้างความเสียหายแก่ผู้เสียหาย ถือเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 157 และ 200
การวินิจฉัยสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องคดีของพนักงานอัยการมิใช่เป็นการวินิจฉัยว่าจำเลยมีความผิดหรือเป็นผู้บริสุทธิ์ดังเช่นกระบวนการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล แต่เป็นเพียงการวินิจฉัยมูลความผิดตามที่กล่าวหาเท่านั้น ซึ่งเกณฑ์วินิจฉัยมูลความผิดของพนักงานอัยการที่วินิจฉัยสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องผู้ต้องหาคือมีเหตุผลอันสมควรเพียงพอหรือไม่ที่จะนำผู้ต้องหาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาเพื่อให้ศาลวินิจฉัยชั้นสุดท้ายว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ ดังนั้น การใช้ดุลพินิจวินิจฉัยสั่งคดีของจำเลยทีมีคำสั่งไม่ฟ้องบริษัท ส. และ ป. ทั้งที่หนังสือพิมพ์ ซึ่งบริษัท ส. เป็นเจ้าของและ ป. เป็นบรรณาธิการลงข้อความเป็นความเท็จ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในกรณีนี้ เป็นการใช้ดุลพินิจที่มิได้อยู่บนรากฐานของความสมเหตุสมผล แต่เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ จึงเกินล้ำออกนอกขอบเขตของความชอบด้วยกฎหมาย และในฐานะที่จำเลยเป็นข้าราชการอัยการชั้นสูง จำเลยย่อมทราบดีถึงเกณฑ์วินิจฉัยมูลความผิดของพนักงานอัยการ การใช้ดุลยพินิจผิดกฎหมายในกรณีนี้ จำเลยเห็นได้อยู่ในตัวแล้วว่าเป็นการมิชอบและยังเห็นได้อีกว่าจำเลยเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหาย อีกทั้งเพื่อจะช่วยบริษัท ส. และ ป. มิให้ต้องโทษจากการกระทำความผิดของตนอีกด้วย จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 และมาตรา 200 วรรคหนึ่ง
การที่จำเลยใช้อำนาจในฐานะพนักงานอัยการสั่งไมฟ้องผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทโจทก์โดยมิชอบ ผลของการกระทำของจำเลยคือ โจทก์ในฐานะผู้เสียหายไม่ได้รับการเยียวยาตามกฎหมาย ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายจากการกระทำของจำเลยโดยตรง โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย
ตามฟ้องข้อ 1 (ก) แม้ข้อความว่า "เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์" จะอยู่ต่อจากและติดข้อความว่า "...ผู้ต้องหาทั้งสองมีเจตนาหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์" กล่าวคือ เมื่ออ่านรวมกันมีข้อความว่า "...ผู้ต้องหาทั้งสองมีเจตนาหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์" แต่การทำความเข้าใจข้อความในคำฟ้อง ต้องทำความเข้าใจในข้อความดังกล่าวประกอบข้อความส่วนอื่นๆ ของคำฟ้องด้วย ซึ่งเห็นได้ว่าข้อความดังกล่าวเป็นข้อความสืบเนื่องจากการสั่งไม่ฟ้องคดีของจำเลยดังที่โจทก์บรรยายไว้อย่างชัดเจนในตอนต้น จึงเข้าใจได้อยู่ในตัวว่า ในการอ้างว่าจำเลยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์หมายถึงเจตนาที่สืบเนื่องจากการใช้อำนาจสั่งฟ้องคดีของจำเลย ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3392/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสจากเงินได้ระหว่างสมรส แม้แยกกันอยู่ และการจัดการสินสมรสที่เสียหาย
การที่จำเลยกับโจทก์สมัครใจแยกกันอยู่ แต่มิได้จดทะเบียนหย่ากัน จำเลยกับโจทก์ก็ยังคงมีฐานะเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาในระหว่างสมรสย่อมเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) ดังนั้น เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินชดเชย เงินค่าตอนแทนพิเศษเนื่องจากการลาออก เงินค่าหุ้นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ และเงินโบนัส ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิในจำนวนเงินพิพาทร่วมกับจำเลย
การจัดการสินสมรสนอกเหนือจากกรณีตามมาตรา 1476 วรรคหนึ่ง จำเลยหรือโจทก์ย่อมมีอำนาจจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง แต่การจัดการสินสมรสจะต้องจัดการด้วยความระมัดระวังไม่ให้เป็นที่เสียหายและต้องไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความเสียหายแก่สินสมรสตามมาตรา 1476 วรรคสอง และมาตรา 1484 (1) ถึง (5) เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายจัดการสินสมรส แต่การที่จำเลยมอบอำนาจให้สหกรณ์ออมทรัพย์ฯ รับเงินต่าง ๆ ที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากการไฟฟ้านครหลวง รวมทั้งค่าหุ้นของจำเลยในสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ ไปชำระหนี้จำนอง โดยโจทก์มิได้รู้เห็นหรือให้สัตยาบันในหนี้จำนองส่วนนี้ และเมื่อชำระหนี้จำนองของจำเลยบางส่วนแล้ว จำเลยยังได้รับเงิน 564,825 บาท ไปจากการไฟฟ้านครหลวงอีกด้วย ซึ่งจำเลยก็นำไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยฝ่ายเดียวโดยโจทก์และบุตรมิได้รับการช่วยเหลือหรือเลี้ยงดูจากจำเลยแต่อย่างใด เมื่อโจทก์ขอแบ่งสินสมรสที่คงเหลือกึ่งหนึ่ง จำเลยไม่ยินยอมและอ้างว่าเงินดังกล่าวไม่ใช่สินสมรส พฤติการณ์ของจำเลยเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการจัดสินสมรสเป็นที่เสียหายถึงขนาด และทำความเสียหายให้แก่สินสมรส รวมทั้งไม่นำเงินสินสมรสนั้นมาอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ด้วย โจทก์จึงมีเหตุสมควรขอให้แยกสินสมรสได้ตามมาตรา 1484 (1) (2) (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3392/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการสินสมรสที่เสียหายและการแยกสินสมรสเมื่อสามีจัดการสินสมรสไม่ระมัดระวัง
จำเลยกับโจทก์สมัครใจแยกกันอยู่ แต่เมื่อยังมิได้จดทะเบียนหย่ากัน จำเลยกับโจทก์จึงยังมีฐานะเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาในระหว่างสมรสย่อมเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานการไฟฟ้านครหลวง เงินชดเชย เงินค่าตอบแทนพิเศษเนื่องจากการลาออก เงินค่าหุ้นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ และเงินโบนัส ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรส
การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1476 วรรคหนึ่ง จำเลยหรือโจทก์ซึ่งเป็นสามีภริยาย่อมมีอำนาจจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง แต่การจัดการสินสมรสจะต้องจัดการด้วยความระมัดระวังไม่ให้เป็นที่เสียหายและต้องไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความเสียหายแก่สินสมรสตามมาตรา 1476 วรรคสอง และมาตรา 1484 (1) (5)
จำเลยเป็นฝ่ายจัดการสินสมรส แต่จำเลยมอบอำนาจให้สหกรณ์ออมทรัพย์รับเงินค่าตอบแทนพิเศษ เงินชดเชย เงินโบนัส และเงินได้อื่น ๆ ที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากการไฟฟ้านครหลวง รวมทั้งเงินค่าหุ้นของจำเลยในสหกรณ์ออมทรัพย์ชำระหนี้จำนองโดยโจทก์มิได้รู้เห็นหรือให้สัตยาบันในหนี้จำนองส่วนนี้ และสหกรณ์ออมทรัพย์ได้รับเงินค่าหุ้นของจำเลย 186,000 บาท และรับเงินจากการไฟฟ้านครหลวง 300,000 บาท รวมเป็นเงิน 486,000 บาท นำมาชำระหนี้จำนองของจำเลยบางส่วนแล้ว จำเลยยังได้รับเงิน 564,825 บาท ไปจากการไฟฟ้านครหลวงอีกด้วย ซึ่งเงินจำนวนหลังนี้จำเลยได้นำไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยฝ่ายเดียวโดยโจทก์และบุตรมิได้รับการช่วยเหลือเลี้ยงดูจากจำเลย คงเหลือเงินสินสมรสอยู่เพียง 1,221,340 บาท ถือได้ว่าเป็นการจัดการสินสมรสเป็นที่เสียหายถึงขนาด และทำความเสียหายให้แก่สินสมรส รวมทั้งไม่นำเงินสินสมรสนั้นมาอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ด้วย โจทก์จึงมีเหตุสมควรร้องขอให้แยกสินสมรสได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1484 (1) (2) (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8141/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างลักทรัพย์และทำให้เสียหายซึ่งเอกสารการเงินของนายจ้าง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อโรงเรียน
โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของโรงเรียนสอนภาษา อ. โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินทุกประเภทรวมทั้งสองเอกสารใบเสร็จรับเงินและเงินค่าสมัครเรียนซึ่งเป็นของกิจการโรงเรียนดังกล่าว ส่วนการได้รับอนุญาตให้โอนโรงเรียนเพื่อดำเนินกิจการในนามของโจทก์ร่วมเมื่อใดนั้น หาได้กระทบถึงความเป็นเจ้าของกิจการโรงเรียนของโจทก์ร่วมไม่ เมื่อมีการรับเงินค่าสมัครเรียนดังกล่าวโดยมีการออกใบเสร็จรับเงินในนามของโรงเรียนโจทก์ร่วมให้แก่ผู้สมัครเรียน ซึ่งจำเลยลูกจ้างโจทก์ร่วมทำหน้าที่รับเงินค่าสมัครเรียนไว้ต้องส่งมอบเงินนั้นให้แก่โจทก์ร่วมผู้เป็นนายจ้าง การที่จำเลยเอาเอกสารใบเสร็จรับเงินและเงินดังกล่าวไปเสียโดยทุจริตย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4691/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงลงทุนซื้อเบี้ยเลี้ยงทหารเพื่อผลประโยชน์ เป็นเหตุให้โจทก์เสียหายตามกฎหมายอาญา
การที่จำเลยหลอกลวงโจทก์ร่วมโดยกล่าวเท็จชักชวนโจทก์ร่วมให้นำเงินไปซื้อเบี้ยเลี้ยงทหารรายละ 2,000 บาท ในระยะเวลา 1 เดือน จะได้กำไรรายละ 600 บาท แบ่งให้เจ้าหน้าที่การเงินของทหารรายละ 50 บาท เหลือกำไรซึ่งจะทำให้โจทก์ได้ผลประโยชน์ตอบแทนรายละ 550 บาท ไม่ใช่กิจการที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้าม แต่เป็นเพียงข้ออ้างของจำเลยเพื่อจูงใจให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อและยินยอมมอบเงินให้จำเลย โจทก์ร่วมได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลย โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4492/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งในคดีแรงงานไม่เป็นฟ้องซ้ำ หากประเด็นเสียหายต่างจากคดีอาญา แม้มีมูลเหตุจากเหตุการณ์เดียวกัน
ในคดีอาญา อัยการโจทก์กล่าวหาว่าโจทก์ในคดีนี้ซึ่งครอบครองดูแลรักษาสินค้าของผู้เสียหาย (จำเลยในคดีนี้) แล้วโจทก์ได้เบียดบังเอาไปเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต และมีคำขอให้โจทก์คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไปเป็นเงิน 310,145 บาทพร้อมดอกเบี้ย แต่คดีนี้นอกจากจำเลยจะอ้างว่าโจทก์ร่วมกับบุคคลอื่นยักยอกทรัพย์ของจำเลยไปแล้ว จำเลยยังอ้างในฟ้องแย้งด้วยว่าโจทก์ครอบครองทรัพย์สินของจำเลย โจทก์มีหน้าที่จะต้องส่งคืนทรัพย์สินดังกล่าวแก่จำเลย แต่โจทก์มิได้ส่งคืนให้กลับนำไปมอบให้แก่บุคคลอื่น จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย เป็นการกระทำผิดต่อสัญญาจ้างแรงงาน ดังนี้ เห็นได้ว่าข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งนั้นมาจากข้ออ้างเนื่องจากการกระทำผิดทางอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลละเมิด แต่คดีนี้จำเลยอ้างว่าโจทก์ทำผิดสัญญาจ้างแรงงานเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายรวมอยู่ด้วย แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้องคดีอาญา แต่ก็วินิจฉัยเพียงว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่เพียงพอที่จะฟังว่าจำเลย (โจทก์คดีนี้) มีส่วนร่วมรู้เห็นกับผู้ที่มารับสินค้า ซึ่งเท่ากับฟังว่ายังไม่เป็นความผิดฐานยักยอกเท่านั้น โดยยังมิได้วินิจฉัยว่าการกระทำดังกล่าวของโจทก์เป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานทำให้จำเลยได้รับความเสียหายดังที่จำเลยถือเป็นข้ออ้างในคดีนี้หรือไม่ ที่จำเลยฟ้องแย้งจึงมิใช่เป็นกรณีที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1646/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล ไม่ครอบคลุมกรณีผิดสัญญา แต่ครอบคลุมเฉพาะกรณีของสูญหายหรือเสียหาย
ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งจำนวน 10,000 บาท ต่อหนึ่งหน่วยการขนส่ง ตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 58 ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่ของซึ่งผู้ขนส่งได้รับมอบหมายสูญหายหรือเสียหายเท่านั้น กรณีที่ผู้ขนส่งผิดสัญญาไม่ส่งของไปยังเมืองท่าปลายทางตามสัญญาหาใช่เป็นกรณีของสูญหายหรือเสียหายไม่ จึงไม่อาจนำข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งดังกล่าวมาใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9335/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลกรณีส่งมอบของผิดบุคคล แม้ของไม่สูญหาย
ตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง เป็นเรื่องที่ผู้ขนส่งต้องรับผิดในกรณีที่ของที่ผู้ขนส่งได้รับมอบหมายเกิดสูญหายหรือเสียหายไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งความรับผิดดังกล่าวหมายถึง กรณีเกิดการสูญหายหรือเสียหายแก่ของที่ผู้ขนส่งรับมอบหมาย การสูญหายนี้หมายถึงของไม่อยู่ในวิสัยที่ผู้ขนส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่งได้ตามสัญญา ดังนั้นกรณีที่ผู้ขนส่งไม่ยอมส่งมอบของให้แก่ผู้รับตราส่ง แต่ได้ส่งมอบของดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อซึ่งมิใช่เป็นบุคคลที่มีชื่อแสดงในใบตราส่งว่าเป็นผู้รับตราส่ง จึงไม่เข้ากรณีของสูญหายหรือเสียหายตามบทบัญญัติดังกล่าว ผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดไม่จำกัดจำนวน
การพิพากษาให้ชำระหนี้เป็นเงินต่างประเทศ ท่านให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนในเวลาที่ใช้เงินตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 196

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6270-6271/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางภารจำยอม-ทางจำเป็น: การใช้ที่ดินของผู้อื่นเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะเกิน 10 ปี และการเสียหายจากการถูกปิดกั้น
ที่ดินของโจทก์ทั้งสองและจำเลยเป็นที่ดินแปลงเดียวกันมาก่อน ต่อมามีการแบ่งแยกที่ดินเป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ทั้งสองไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะส่วนที่ดินของจำเลยอยู่ติดถนนและอยู่ด้านหน้าที่ดินของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงเรียกร้องที่ดินของจำเลยให้เป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 แม้โจทก์ทั้งสองจะไม่เคยยกข้อต่อสู้เรื่องทางจำเป็นในคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ทั้งสองปลูกโรงเรือนรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของจำเลยก็ตาม ก็หาทำให้ทางจำเป็นซึ่งเป็นผลโดยกฎหมายเสียไปไม่
การสร้างอาคารพาณิชย์หรือตึกแถวต้องเว้นที่ว่างด้านหน้าอาคารพาณิชย์หรือตึกแถวไม่น้อยกว่า 6 เมตรตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295(ว่าด้วยกฎหมายเกี่ยวกับทางหลวง) แสดงว่าผู้ซื้อที่ดินและอาคารพาณิชย์ดังกล่าวจาก ว. และ ช. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเดิมสามารถใช้ที่ดินของจำเลยที่เหลือจากการแบ่งแยก ซึ่งเป็นที่ดินที่เว้นไว้ห่างหน้าอาคารพาณิชย์ 6 เมตร ตามกฎหมาย โดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้ใดและไม่ใช่เป็นการใช้ที่ดินดังกล่าวออกสู่ทางสาธารณะโดยถือวิสาสะด้วย เมื่อโจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินและอาคารพาณิชย์ดังกล่าวจึงสามารถใช้ที่ดินออกสู่ทางสาธารณะ เมื่อโจทก์ที่ 1 ได้รับโอนที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์มาเมื่อกลางปี 2525 ส่วนจำเลยได้รับโอนที่ดินมาเมื่อปลายปี 2535 จึงฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 ใช้ที่ดินของจำเลยเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี ก่อนที่จำเลยจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวแล้ว ที่ดินของจำเลยจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ที่ 1 สำหรับโจทก์ที่ 2 รับโอนที่ดินมาในปี 2526 และ2527 แม้คำนวณระยะเวลาถึงวันที่จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินยังไม่ถึง 10 ปี แต่เมื่อนับถึงปี 2538 ที่จำเลยปิดกั้นไม่ให้ใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะแล้วเป็นระยะเวลาเกิน 10 ปี ที่ดินของจำเลยจึงตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ที่ 2 ด้วย
การที่จำเลยปิดกั้นที่ดินมิให้โจทก์ที่ 2 ใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะย่อมทำให้โจทก์ที่ 2 เสียหายเพราะโจทก์ที่ 2 ค้าขายวัสดุก่อสร้าง จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายส่วนนี้เดือนละ 10,000 บาท โดยคำนึงถึงการใช้ที่ดินของจำเลยเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะด้วย จึงนับว่าเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1237/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งเท็จประวัติคู่สมรส จดทะเบียนสมรสได้ หากไม่มีคู่สมรสขณะจดทะเบียน ไม่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย
ขณะที่จำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ส. ในวันที่ 10 สิงหาคม2531 จำเลยไม่มีคู่สมรสเพราะจำเลยจดทะเบียนหย่ากับ ค. แล้วตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2515 จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 การที่จำเลยไม่มีคู่สมรสอยู่ในขณะที่จดทะเบียนสมรส แม้จำเลยจะแจ้งว่าจำเลยเคยสมรสแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสก็มีผลอย่างเดียวกันว่าจำเลยไม่มีคู่สมรสในขณะที่จำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ส. นั่นเองการที่นายทะเบียนจดทะเบียนสมรสให้จำเลยกับ ส. โดยเชื่อว่าจำเลยไม่เคยสมรสมาก่อนจึงไม่อาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหายและไม่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 และมาตรา 267
of 12