พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7083/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต้องพิจารณาเหตุผลทางธุรกิจ หากกิจการยังไม่ขาดทุน การเลิกจ้างเพราะกำไรลดลงถือว่าไม่สมควร
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิเคราะห์ถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจำเป็นหรือสมควรในการเลิกจ้างหรือไม่ คดีนี้กิจการของจำเลยยังมีกำไรอยู่ เพียงแต่กำไรลดลงในปีที่ล่วงมาจำนวนมาก ยังไม่ได้ความว่าจำเลยขาดทุนจนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุที่กำไรของจำเลยลดลง ย่อมเป็นการเลิกจ้างที่ยังไม่มีเหตุอันควร จึงถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมมิใช่เป็นการที่ลูกจ้างเรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นจากนายจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) ที่มีอายุความ 2 ปี แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมมิใช่เป็นการที่ลูกจ้างเรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นจากนายจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) ที่มีอายุความ 2 ปี แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7083/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ต้องพิจารณาเหตุผลทางธุรกิจอย่างสมควร หากกำไรลดลงแต่ยังไม่ขาดทุน การเลิกจ้างถือว่าไม่เป็นธรรม
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิเคราะห์ถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจำเป็นหรือเหตุสมควรในการเลิกจ้างหรือไม่ ปรากฏผลการดำเนินงานของจำเลยในปี 2543 มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ 26.8 ปี 2544 ถึง 2546 ผลการดำเนินงานเป็นกำไรอยู่ เพียงแต่ในปี 2546 กำไรลดลงมาก ยังไม่ได้ความว่าจำเลยขาดทุนจนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุที่กำไรของจำเลยลดลง ย่อมเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุอันสมควรจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม มิใช่เป็นกรณีที่ลูกจ้างฟ้องเรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นจากนายจ้าง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) ที่มีอายุความ 2 ปี แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม มิใช่เป็นกรณีที่ลูกจ้างฟ้องเรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นจากนายจ้าง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) ที่มีอายุความ 2 ปี แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4874/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างโดยอาศัยเหตุผลทางธุรกิจและการไม่นำโครงการอาสาสมัครลาออกมาใช้โดยเท่าเทียมกัน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้ออุทธรณ์ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง
ปัญหาตามอุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่อ้างว่า ผู้ร้องมีโครงการอาสาสมัครลาออกเพื่อลดขนาดขององค์กรผู้ร้องและพนักงานก็ลาออก เมื่อผู้คัดค้านไม่สมัครใจลาออกก็ต้องถือว่าผู้คัดค้านได้ปฏิบัติตามโครงการดังกล่าวแล้ว หากผู้ร้องจะบังคับให้ผู้คัดค้านออกก็เท่ากับว่าผู้ร้องเลือกปฏิบัติไม่เอาโครงการดังกล่าวมาใช้เท่าเทียมกัน การที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้เลิกจ้างผู้คัดค้านได้ ถือว่าเป็นคำสั่งที่ขัดต่อโครงการอาสาลาออกและขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญในข้อบุคคลย่อมเสมอกันในทางกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันนั้น เป็นข้อที่ผู้คัดค้านไม่ได้ให้การไว้ ทั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านมิได้แถลงรับว่ามีโครงการดังกล่าวจริงอุทธรณ์ของผู้คัดค้านจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง ทั้งมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 362/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างภายใต้ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ นายจ้างมีเหตุผลทางธุรกิจสามารถเลิกจ้างได้ แม้มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123 มีความประสงค์ที่จะคุ้มครองลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องมิให้ถูกนายจ้างกลั่นแกล้งเลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ ซึ่งแม้จะมีข้อยกเว้นให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องได้ 5 ประการ ตามมาตรา 123 (1) ถึง (5) แต่ก็มิได้หมายความว่า เมื่อมีเหตุจำเป็นนอกเหนือจากข้อยกเว้นดังกล่าวแล้ว นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างไม่ได้ ถ้าหากนายจ้างมีเหตุอื่นที่จำเป็น นายจ้างก็สามารถยกขึ้นเป็นเหตุเลิกจ้างได้ เมื่อบริษัทจำเลยที่ 2 ประสบภาวะการขาดทุนจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง จำเป็นต้องลดค่าใช้จ่ายด้วยการลดขนาดขององค์กรให้เล็กลง โดยได้ยุบรวมหน่วยงานที่โจทก์ทำงานอยู่ และลดพนักงานในหน่วยงานของโจทก์ลงเพื่อให้เหมาะสมกับขนาดขององค์กร จำเลยที่ 2 ได้ย้ายโจทก์ไปทำงานที่หน่วยงานลูกค้าสัมพันธ์ แต่โจทก์ไม่ยอมไปทำงานที่หน่วยงานใหม่ จำเลยที่ 2 จึงเลิกจ้างโจทก์ เห็นได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลและความจำเป็นโดยมิได้กลั่นแกลงโจทก์ และมิใช่เป็นการเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง การเลิกจ้างดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2832-2833/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: เหตุผลทางธุรกิจต้องสมเหตุสมผลและเป็นธรรมต่อลูกจ้าง
ผู้ร้องประกอบกิจการสำรวจและขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติต้องใช้บุคลากรจำนวนมาก การดำเนินกิจการมีกำไรตลอดมา ทั้งปริมาณงานและผลผลิตมิได้ลดลง ส่วนที่มีการผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอื่นและแนวโน้มการใช้ไฟฟ้าลดลง ทำให้ต้องผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติลดลงนั้นเป็นเพียงการคาดคะเนแม้เป็นมูลเหตุให้ผู้ร้องต้องปรับโครงสร้างบุคลากร แต่ก็ไม่มีผลทำให้ต้องยุบหน่วยงานที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างทำงานอยู่ ผู้ร้องกลับจ้างลูกจ้างเพิ่มขึ้นอีกหลายคน แม้มิได้ให้ทำงานในแผนกที่ผู้คัดค้านทำงานอยู่ แต่ย่อมจะทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ส่วนการลดจำนวนบุคลากรลงให้เหมาะสมกับงาน แม้ผู้ร้องได้กำหนดหลักเกณฑ์ขึ้นพิจารณาแก่ลูกจ้างทุกคนแต่ผลการประเมินได้ระบุเพียงว่าผลปฏิบัติงานของผู้คัดค้านได้คะแนนต่ำสุดของหน่วยงานเท่านั้น โดยไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านไม่สามารถทำงานให้ดีได้หรือทำงานให้ผู้ร้องเสียหายอย่างไร หรือได้กระทำผิดประการใด หรือมีความจำเป็นเพียงใดที่จะต้องเลิกจ้างเฉพาะผู้คัดค้านเท่านั้น จึงไม่มีเหตุอันสมควรและเพียงพอถึงขนาดที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2813-2839/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างสามารถยกเหตุผลที่ไม่ได้ระบุในหนังสือเลิกจ้างได้ หากมีเหตุผลทางธุรกิจ เช่น ขาดทุน
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างนั้นอาจเป็นทั้งการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121, 123 และเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ก็ได้
การเลิกจ้างที่จะเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123 นั้น จะต้องปรากฏว่ามีการแจ้งข้อเรียกร้องเกี่ยวกับสภาพการจ้างและคู่กรณีสามารถตกลงกันได้หรือคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้มี คำชี้ขาดตามมาตรา 13, 22, 24 แล้วในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือคำชี้ขาดมีผลใช้บังคับ นายจ้างได้เลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องนั้นโดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดซึ่งเป็นข้อยกเว้นให้นายจ้างเลิกจ้างได้ ส่วนการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 หมายถึงการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุสมควร ซึ่งอาจเป็นเหตุที่เกิดจากการกระทำของลูกจ้างหรือเหตุอื่นที่ไม่ใช่ความผิดของลูกจ้างก็ได้
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 มิได้บัญญัติห้ามไม่ให้นายจ้าง ยกเหตุที่มิได้ระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้างขึ้นต่อสู้ดังที่โจทก์อ้างในอุทธรณ์ จำเลยจึงอ้างเหตุว่าจำเลยประสบภาวะ การขาดทุนต้องปิดกิจการสาขาในประเทศไทย มีความจำเป็นต้องเลิกจ้างโจทก์ขึ้นต่อสู้ได้ ศาลแรงงานกลางจึงสามารถรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวและนำมาวินิจฉัยว่าการเลิกจ้างของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
การเลิกจ้างที่จะเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123 นั้น จะต้องปรากฏว่ามีการแจ้งข้อเรียกร้องเกี่ยวกับสภาพการจ้างและคู่กรณีสามารถตกลงกันได้หรือคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้มี คำชี้ขาดตามมาตรา 13, 22, 24 แล้วในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือคำชี้ขาดมีผลใช้บังคับ นายจ้างได้เลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องนั้นโดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดซึ่งเป็นข้อยกเว้นให้นายจ้างเลิกจ้างได้ ส่วนการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 หมายถึงการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุสมควร ซึ่งอาจเป็นเหตุที่เกิดจากการกระทำของลูกจ้างหรือเหตุอื่นที่ไม่ใช่ความผิดของลูกจ้างก็ได้
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 มิได้บัญญัติห้ามไม่ให้นายจ้าง ยกเหตุที่มิได้ระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้างขึ้นต่อสู้ดังที่โจทก์อ้างในอุทธรณ์ จำเลยจึงอ้างเหตุว่าจำเลยประสบภาวะ การขาดทุนต้องปิดกิจการสาขาในประเทศไทย มีความจำเป็นต้องเลิกจ้างโจทก์ขึ้นต่อสู้ได้ ศาลแรงงานกลางจึงสามารถรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวและนำมาวินิจฉัยว่าการเลิกจ้างของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นกรรมการสหภาพแรงงาน จำเป็นต้องพิจารณาเหตุผลทางธุรกิจควบคู่กับกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
จำเลยประสบภาวะขาดทุนจำเป็นจะต้องลดจำนวนลูกจ้างและจำเลยได้ขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างประจำสถานประกอบการของจำเลยและเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน เนื่องจากสาเหตุดังกล่าวต่อศาลแรงงานก่อนที่สหภาพแรงงานจะยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างต่อจำเลยนานประมาณ 1 ปี และเมื่อศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงสืบเนื่องมาจากจำเลยประสบภาวะขาดทุน จำเป็นต้องลดจำนวนลูกจ้างและศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาตแล้ว มิใช่เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ ฉะนั้น แม้ว่าโจทก์จะเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องตามที่สหภาพแรงงานได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลย และขณะที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์นั้นจะอยู่ในระหว่างการเจรจาหรือการไกล่เกลี่ยหรือการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานที่ยังตกลงกันไม่ได้ก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าคำสั่งเลิกจ้างของจำเลยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องแรงงานภายใต้เหตุผลทางธุรกิจ มิใช่การกลั่นแกล้ง
บทบัญญัติมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มิได้หมายความว่าหากมีเหตุจำเป็นที่นอกเหนือจากเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติแล้ว นายจ้างจะเลิกจ้างหรือโยกย้ายหน้าที่การงานลูกจ้างไม่ได้เสียเลยทีเดียว
จำเลยประสบภาวะขาดทุนต้องลดจำนวนลูกจ้างและจำเลยได้ขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากสาเหตุดังกล่าวต่อศาลแรงงานกลางก่อนที่สหภาพแรงงานจะยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างต่อจำเลยนานประมาณ 1 ปี และเมื่อศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์จำเลยก็มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ มิใช่เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ ฉะนั้น แม้โจทก์จะเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องตามที่สหภาพแรงงานได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลยและเลิกจ้างขณะที่อยู่ในระหว่างการเจรจาหรือการไกล่เกลี่ยหรือการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานที่ยังตกลงกันไม่ได้ ก็ถือไม่ได้ว่าคำสั่งเลิกจ้างของจำเลยฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 31
จำเลยประสบภาวะขาดทุนต้องลดจำนวนลูกจ้างและจำเลยได้ขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากสาเหตุดังกล่าวต่อศาลแรงงานกลางก่อนที่สหภาพแรงงานจะยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างต่อจำเลยนานประมาณ 1 ปี และเมื่อศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์จำเลยก็มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ มิใช่เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ ฉะนั้น แม้โจทก์จะเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องตามที่สหภาพแรงงานได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลยและเลิกจ้างขณะที่อยู่ในระหว่างการเจรจาหรือการไกล่เกลี่ยหรือการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานที่ยังตกลงกันไม่ได้ ก็ถือไม่ได้ว่าคำสั่งเลิกจ้างของจำเลยฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8193/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งหยุดงานชั่วคราวของนายจ้างชอบด้วยกฎหมายหากมีเหตุผลทางธุรกิจ และจ่ายค่าจ้างตามที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ประสบปัญหาด้านการตลาด คำสั่งซื้อสินค้าลดลงมาก ทำให้การดำเนินงานของโจทก์ในส่วนการประกอบชิ้นส่วนลดน้อยลง ถือเป็นเหตุจำเป็นที่โจทก์สามารถสั่งให้หยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวได้ การที่โจทก์สั่งให้ลูกจ้างที่ทำงานในส่วนการประกอบหยุดงานชั่วคราวเป็นเวลา 2 เดือนจึงชอบด้วยกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 ได้กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของค่าจ้างในช่วงที่นายจ้างหยุดกิจการชั่วคราว เมื่อโจทก์ได้จ่ายค่าจ้างในอัตราร้อยละ 70 ของค่าจ้างในวันทำงาน รวมทั้งเบี้ยขยันและค่าอาหาร รวมแล้วประมาณร้อยละ 80 ของค่าจ้าง นับว่าเป็นคุณแก่ลูกจ้างอยู่แล้ว โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างปกติเต็มจำนวนให้แก่ลูกจ้างที่โจทก์สั่งให้หยุดงานชั่วคราวอีก
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 ได้กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของค่าจ้างในช่วงที่นายจ้างหยุดกิจการชั่วคราว เมื่อโจทก์ได้จ่ายค่าจ้างในอัตราร้อยละ 70 ของค่าจ้างในวันทำงาน รวมทั้งเบี้ยขยันและค่าอาหาร รวมแล้วประมาณร้อยละ 80 ของค่าจ้าง นับว่าเป็นคุณแก่ลูกจ้างอยู่แล้ว โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างปกติเต็มจำนวนให้แก่ลูกจ้างที่โจทก์สั่งให้หยุดงานชั่วคราวอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2347/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการจ่ายค่าชดเชย แม้มีเหตุผลทางธุรกิจ นายจ้างยังต้องปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน
การพิจารณาว่า การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมอันเป็นเหตุให้นายจ้างต้องใช้ค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 หรือไม่ ต้องพิจารณาที่เหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจริงหรือไม่ และเหตุนั้นเป็นเหตุสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างหรือไม่ซึ่งเหตุดังกล่าวอาจเป็นเหตุที่เกิดขึ้นจากการกระทำของลูกจ้าง หรือเหตุอื่นที่ไม่ใช่ความผิดของลูกจ้างก็ได้
ส่วนการเลิกจ้างที่นายจ้างจะเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านั้นจะต้องปรากฏว่าลูกจ้างได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 และการเลิกจ้างที่นายจ้าง ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย จะต้องปรากฏว่าลูกจ้างได้กระทำความผิดตามที่ บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119ข้อใดข้อหนึ่ง
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่จำเลยขาดสภาพคล่องทางการเงินและไม่มีผู้ร่วมลงทุนใหม่ แม้เป็นเหตุอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แต่ก็ไม่ใช่เหตุเลิกจ้างที่ทำให้จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ทั้งมิได้เป็นเหตุที่ทำให้จำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามที่กฎหมายกำหนดไว้
ส่วนการเลิกจ้างที่นายจ้างจะเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านั้นจะต้องปรากฏว่าลูกจ้างได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 และการเลิกจ้างที่นายจ้าง ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย จะต้องปรากฏว่าลูกจ้างได้กระทำความผิดตามที่ บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119ข้อใดข้อหนึ่ง
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่จำเลยขาดสภาพคล่องทางการเงินและไม่มีผู้ร่วมลงทุนใหม่ แม้เป็นเหตุอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แต่ก็ไม่ใช่เหตุเลิกจ้างที่ทำให้จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ทั้งมิได้เป็นเหตุที่ทำให้จำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามที่กฎหมายกำหนดไว้