พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2655/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุฎีกาไม่ชัดเจน ไม่โต้แย้งคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ และขาดเหตุผลสนับสนุนข้ออ้างเรื่องการครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัด
จำเลยฎีกาว่าเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการครอบครองที่ดินของจำเลยและโจทก์เป็นส่วนสัดก็ต้องแบ่งที่ดินตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏนั้น ฎีกาของจำเลยดังกล่าวนอกจากเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ โดยไม่มีเหตุผลสนับสนุนแล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ก็มิได้ฟังข้อเท็จจริงยุติดังที่จำเลยกล่าวอ้างดังกล่าว แต่วินิจฉัยว่าพยานหลักฐานไม่พอที่จะรับฟังได้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัดแน่นอนดังนี้ ฎีกาของจำเลยจึงมิได้โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ว่าไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องอย่างไร จะต้องรับฟังว่าข้อเท็จจริงเป็นดังที่จำเลยกล่าวอ้างด้วยเหตุประการใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยมาโดยไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5111/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ศาลยืนตามเดิม แม้จำเลยอ้างมีการตกลงเลิกสัญญา แต่เป็นเหตุสนับสนุนข้ออ้างเรื่องประสิทธิภาพการทำงาน
จำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์ที่อ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิดเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โดยจำเลยยกเหตุแห่งการปฏิเสธว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากการทำงานของโจทก์ไม่มีประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของโจทก์ทำให้จำเลยเสียหายจึงไม่ใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การที่จำเลยขอแก้ไขคำให้การเป็นเหตุประการที่สองว่า โจทก์ตกลงเลิกสัญญากับจำเลยซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยตกลงเลิกสัญญาจ้างกัน เห็นได้ว่าหากจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยจำเลยแสดงเจตนาฝ่ายเดียวตามเหตุประการแรกก็ไม่อาจมีกรณีตกลงเลิกสัญญาด้วยการแสดงเจตนาของโจทก์จำเลยร่วมกันทั้งสองฝ่ายเกิดขึ้นพร้อมกันอีก คำให้การที่จำเลยขอแก้ไขเพิ่มเติมที่อ้างว่า มีการตกลงเลิกสัญญาจ้างกันแล้วจึงเป็นเพียงเหตุผลสนับสนุนข้ออ้างของจำเลยที่ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะการทำงานของโจทก์ไม่มีประสิทธิภาพเท่านั้นหรืออีกนัยหนึ่งจำเลยอ้างว่า เมื่อโจทก์ไม่ลาออกจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ เหตุแห่งการปฏิเสธที่ว่า โจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญากันจึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดี ดังนั้นที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นธรรมเพราะไม่มีเหตุอันสมควรในการเลิกจ้างตามเหตุแห่งการปฏิเสธในคำให้การของจำเลยประการแรกโดยไม่วินิจฉัยเหตุที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ประการที่สองจึงชอบแล้ว
อุทธรณ์ของจำเลยเกี่ยวกับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยเมื่อไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง ศาลไม่จำต้องวินิจฉัย
อุทธรณ์ของจำเลยเกี่ยวกับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยเมื่อไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง ศาลไม่จำต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3607/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐาน – คำให้การชั้นสอบสวนมีน้ำหนักกว่าคำเบิกความในชั้นศาลเมื่อมีเหตุผลสนับสนุน
ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้ศาลฟังคำให้การชั้นสอบสวนประกอบการพิจารณาของศาลประจักษ์พยานโจทก์ให้การชั้นสอบสวนสอดคล้องกันเมื่อพิจารณาประกอบคำเบิกความของพยานโจทก์อีกปากแล้วมีเหตุผลให้เชื่อว่าประจักษ์พยานดังกล่าวเห็นเหตุการณ์ดังที่ให้การไว้จริงการที่ประจักษ์พยานนี้มาเบิกความในชั้นศาลเป็นการบ่ายเบี่ยงเพื่อช่วยเหลือจำเลยให้พ้นผิดคำให้การชั้นสอบสวนเชื่อได้ว่าเป็นความจริงยิ่งกว่าคำเบิกความในชั้นพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2090/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ต้องแสดงเหตุผลสนับสนุนให้เห็นโอกาสชนะคดี ไม่ใช่แค่ข้ออ้างเรื่องขาดนัด
คำขอให้มีการพิจารณาใหม่ ต้องมีเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 คำร้องของจำเลยระบุเพียงว่า ขณะจำเลยถูกโจทก์ฟ้องจำเลยทำงานอยู่ที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย จำเลยจึงขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาหากจำเลยไม่ขาดนัดพิจารณา จำเลยอาจสืบพยานถึงข้อเท็จจริง และศาลคงพิพากษายกฟ้องโจทก์ ดังนี้ คำร้องขอของจำเลยไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208 วรรคสอง ส่วนคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยอีกฉบับที่อ้างเหตุว่าจำเลยไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้อง ซึ่งเป็นการแสดงว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดเท่านั้น จำเลยมิได้อ้างเหตุผลที่จะแสดงให้เห็นเลยว่า หากมีการพิจารณาใหม่แล้วจำเลยอาจชนะคดีได้อย่างไร จึงยังคงเป็นคำร้องที่มิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้ง ซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลอยู่นั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 243/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: การต่อสู้เรื่องความสุจริตและการไม่มีมูลหนี้ต้องมีเหตุผลสนับสนุน หากไม่มีศาลชอบที่จะงดสืบพยาน
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็ค จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ได้รับเช็คพิพาทโดยไม่สุจริตแต่ไม่ได้ให้เหตุผลว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างใด จำเลยจึงไม่มีประเด็นจะนำสืบในข้อนี้ ที่จำเลยให้การว่าทำเช็คพิพาทหายไปไม่เป็นเหตุผลที่จะให้รับฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยไม่สุจริต
จำเลยให้การต่อสู้ว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ เป็นการปฏิเสธฟ้องโจทก์ที่ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยมีมูลหนี้เพราะผู้มีชื่อนำเช็คมาชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทโดยคบคิดกันฉ้อฉลร่วมกับผู้มีชื่อซึ่งจะเป็นเหตุผลที่แสดงว่าเช็คไม่มีมูลหนี้ จึงเท่ากับจำเลยไม่ได้ยกมาตรา 916 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขึ้นต่อสู้ จำเลยจึงไม่มีประเด็นจะนำสืบในข้อนี้อีกด้วย ชอบที่จะงดสืบพยานและพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คพิพาท
จำเลยให้การต่อสู้ว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ เป็นการปฏิเสธฟ้องโจทก์ที่ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยมีมูลหนี้เพราะผู้มีชื่อนำเช็คมาชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทโดยคบคิดกันฉ้อฉลร่วมกับผู้มีชื่อซึ่งจะเป็นเหตุผลที่แสดงว่าเช็คไม่มีมูลหนี้ จึงเท่ากับจำเลยไม่ได้ยกมาตรา 916 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขึ้นต่อสู้ จำเลยจึงไม่มีประเด็นจะนำสืบในข้อนี้อีกด้วย ชอบที่จะงดสืบพยานและพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 243/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้คดีเช็ค การยกข้อต่อสู้ไม่สุจริตและไม่มีมูลหนี้ต้องมีเหตุผลสนับสนุน
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็ค จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ได้รับเช็คพิพาทโดยไม่สุจริตแต่ไม่ได้ให้เหตุผลว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างใด จำเลยจึงไม่มีประเด็นจะนำสืบในข้อนี้ ที่จำเลยให้การว่าทำเช็คพิพาทหายไปไม่เป็นเหตุผลที่จะให้รับฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยไม่สุจริต
จำเลยให้การต่อสู้ว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ เป็นการปฏิเสธฟ้องโจทก์ที่ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยมีมูลหนี้เพราะผู้มีชื่อนำเช็คมาชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทโดยคบคิดกันฉ้อฉลร่วมกับผู้มีชื่อซึ่งจะเป็นเหตุผลที่แสดงว่าเช็คไม่มีมูลหนี้ จึงเท่ากับจำเลยไม่ได้ยกมาตรา 916 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขึ้นต่อสู้ จำเลยจึงไม่มีประเด็นจะนำสืบในข้อนี้อีกด้วยชอบที่จะงดสืบพยานและพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คพิพาท.
จำเลยให้การต่อสู้ว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ เป็นการปฏิเสธฟ้องโจทก์ที่ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยมีมูลหนี้เพราะผู้มีชื่อนำเช็คมาชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทโดยคบคิดกันฉ้อฉลร่วมกับผู้มีชื่อซึ่งจะเป็นเหตุผลที่แสดงว่าเช็คไม่มีมูลหนี้ จึงเท่ากับจำเลยไม่ได้ยกมาตรา 916 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขึ้นต่อสู้ จำเลยจึงไม่มีประเด็นจะนำสืบในข้อนี้อีกด้วยชอบที่จะงดสืบพยานและพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คพิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 880/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฟ้องเท็จต้องชัดเจน แม้เครื่องหมายการค้าแตกต่างเล็กน้อย หากมีเหตุผลสนับสนุนคำฟ้อง ไม่ถือเป็นความผิด
ความผิดฐานฟ้องเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 175 นั้น นอกจากจะต้องเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่า กระทำผิดอาญาแล้ว ผู้กระทำจะต้องมีเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 ด้วย เมื่อปรากฏว่าเหตุผลที่จำเลยกล่าวอ้างในคำฟ้องในคดีอาญาที่จำเลยฟ้องโจทก์มีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์สนับสนุนและเครื่องหมายการค้าที่จำเลยใช้แตกต่างจากเครื่องหมายการค้าที่จำเลยจดทะเบียนไว้เพียงเล็กน้อย แม้จำเลยจะอ้างว่าเครื่องหมายการค้าที่จำเลยประทับลงบนผ้าในผ้าและในฉลาก เป็นเครื่องหมายการค้าที่จำเลยจดทะเบียนไว้ ก็ยังไม่พอฟังว่า จำเลยมีเจตนาฟ้องเท็จ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 175
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4815/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐาน: คำให้การชั้นสอบสวนมีน้ำหนักกว่าคำเบิกความในศาลเมื่อมีเหตุผลสนับสนุน
คำให้การชั้นสอบสวนของประจักษ์พยานโจทก์ทั้งสองสอดคล้องตรงกันและได้ให้การหลังเกิดเหตุทันทีโดยไม่มีเวลาคิดไตร่ตรองเพื่อช่วยเหลือหรือปรักปรำผู้หนึ่งผู้ใด เชื่อว่าได้ให้การไปตามความจริงตามที่ได้รู้ได้เห็นโดยไม่มีเหตุจูงใจ หรือถูกบังคับขู่เข็ญแต่อย่างใด พนักงานสอบสวนจึงได้บันทึกและให้พยานลงชื่อไว้เป็นหลักฐาน การที่พยานโจทก์ทั้งสองมาเบิกความในชั้นพิจารณาของศาลปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้เป็นคนแทงผู้ตายก็คงเพื่อช่วยเหลือจำเลยให้พ้นผิดเชื่อได้ว่าคำให้การชั้นสอบสวนของพยานทั้งสองเป็นความจริงยิ่งกว่าคำเบิกความชั้นศาล ทั้งคำให้การพยานชั้นสอบสวนก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไม่ให้รับฟังประกอบเป็นข้อพิจารณาของศาลประการใด เมื่อรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นตลอดจนพฤติการณ์แห่งคดี เช่น จำเลยนำสืบรับว่าก่อนเกิดเหตุได้มีเหตุวิวาทกับผู้ตาย ย่อมมีน้ำหนักมั่นคงฟังลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2323/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำชี้ขาดคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไม่เป็นที่สุดหากไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือขาดเหตุผลสนับสนุน ผู้เสียหายมีสิทธิฟ้อง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 25 วรรคสอง และประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับลงวันที่ 14 ตุลาคม 2519 ข้อ 1 บัญญัติว่า คำชี้ขาดของคณะบุคคล (คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์) นั้นให้เป็นที่สุด หมายความว่า เป็นคำชี้ขาดที่ถูกต้องตามที่กฎหมายให้อำนาจที่จะชี้ขาดเช่นนั้นได้ หากคำชี้ขาดใดไม่มีกฎหมายให้อำนาจ หรือปราศจากพยานหลักฐานและเหตุผลสนับสนุนเพียงพอ คำชี้ขาดนั้นย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นที่สุด ผู้ที่ได้รับความเสียหายเพราะคำชี้ขาดย่อมมีอำนาจฟ้องคดีขอให้ศาลเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ต้องท้ายตามมาตรา 25 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อตามคำฟ้องกล่าวอ้างว่า คำชี้ขาดจำเลยเป็นคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่มีเหตุผลเพียงพอในการทำคำวินิจฉัยแล้ว จึงเป็นคำฟ้องที่จะต้องรับไว้พิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 420/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการแก้ไขคำพิพากษาเมื่อมีเหตุผลสนับสนุนการลงโทษฐานอื่น แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานกรรโชก ชิงทรัพย์ และพาอาวุธไปในเมืองโดยไม่มีเหตุสมควร ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์และพาอาวุธไปในเมือง โดยไม่มีเหตุสมควร จำเลยมิได้อุทธรณ์ แต่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานกรรโชกด้วยเมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคดียังไม่พอฟังได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายชิงทรัพย์และพาอาวุธไปในเมืองโดยไม่มีเหตุสมควร แต่เชื่อว่าจำเลยเป็นคนร้ายกรรโชกทรัพย์ผู้เสียหาย ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้เสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 โดยไม่ใช่กรณีที่ต้องอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 เพราะมิใช่เป็นเหตุในลักษณะคดี แต่เป็นเรื่องคดียังไม่ถึงที่สุดซึ่งศาลอาจพิพากษาเป็นอย่างอื่นได้