พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 256/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุผลอันสมควร กรณีละเลยหน้าที่จนเกิดความเสียหายต่อธนาคาร
โจทก์เป็นหัวหน้าสินเชื่อมีหน้าที่ในการพิจารณา กลั่นกรอง ตรวจสอบ ควบคุมการปล่อยสินเชื่อให้ถูกต้องเป็นไปตามระเบียบ แบบแผน คำสั่ง และวิธีปฏิบัติของธนาคารจำเลยอย่างเคร่งครัด แต่โจทก์กลับปล่อยปละละเลยให้มีการปล่อยสินเชื่อไปอย่างเร่งรีบ ไม่ตรวจสอบการวิเคราะห์สินเชื่อและผ่านงานเสนอขออนุมัติสินเชื่อไปโดยไม่พิจารณากลั่นกรองตรวจสอบให้รอบคอบ การปล่อยสินเชื่อโครงการมีการตีราคาประเมินสูงกว่าความเป็นจริง งดเว้น ละเลย ไม่ตรวจสอบเอกสารให้ถูกต้องตรงตามระเบียบของธนาคารจำเลย การกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบคำสั่งและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย จนทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเกิดหนี้ค้างชำระเป็นจำนวนมาก แม้จะไม่มีพฤติการณ์ว่าโจทก์ตั้งใจหรือเจตนาเอื้อประโยชน์ให้บุคคลเป็นพิเศษ แต่การทำงานที่ไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่และทำงานผิดพลาดของโจทก์เช่นนี้ ย่อมมีเหตุที่จำเลยจะไม่ไว้วางใจให้โจทก์ทำงานกับจำเลยต่อไป จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลอันสมควร มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าเสียหายหรือรับโจทก์กลับเข้าทำงานกับจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11394-11547/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนประกันสังคม: เหตุผลอันสมควรล่าช้าการยื่นคำขอ
วันที่มีการคลอดบุตรหรือตายแล้วแต่กรณีตามฟ้องของโจทก์นั้น โจทก์ยังมิได้จ่ายเงินสมทบให้แก่จำเลยครบถ้วนตามกฎหมาย อันจะทำให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน เพราะอยู่ในระหว่างที่มีการโต้แย้งขององค์การค้าของคุรุสภาซึ่งเป็นนายจ้างกับจำเลยว่าจะต้องจ่ายเงินสมทบในกรณีคลอดบุตรหรือกรณีตายเพียงใด ดังนั้น โจทก์จึงยังมิอาจใช้สิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันคลอดบุตรหรือวันตายแล้วแต่กรณีตาม พ.ร.บ. ประกันสังคมฯ มาตรา 56 วรรคหนึ่ง แต่มาตรา 56 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บัญญัติตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอไว้โดยเด็ดขาด การที่ผู้ยื่นคำขอยื่นคำขอเกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี อันจะทำให้ผู้ยื่นคำขอต้องเสียสิทธินั้น ต้องเป็นกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือความจำเป็นที่จะต้องใช้สิทธิล่าช้า หากผู้ยื่นคำขอมีเหตุผลอันสมควรหรือความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้าก็จะนำระยะเวลาดังกล่าวมาตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอเสียทีเดียวหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่า องค์การค้าของคุรุสภาออกประกาศแจ้งให้ลูกจ้างทั้งหมดรวมทั้งโจทก์ทราบเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2543 ว่าจะต้องหักเงินสมทบส่วนของลูกจ้างเพิ่มเติมในกรณีคลอดบุตรและกรณีตาย โดยจะหักย้อนหลังไปจนถึงเดือนเมษายน 2538 และองค์การค้าของคุรุสภาได้สำรองจ่ายแทนเงินสมทบส่วนของลูกจ้างส่งไปให้จำเลยเมื่อประมาณเดือนสิงหาคม 2543 และหักเงินสมทบจากลูกจ้างทั้งหมดครบถ้วน เมื่อประมาณเดือนสิงหาคม 2544 ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนสำหรับกรณีคลอดบุตรหรือกรณีตายที่เกิดขึ้นในระหว่างเดือนเมษายน 2538 ถึงเดือนสิงหาคม 2544 เกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันคลอดบุตรหรือวันตายอันเป็นวันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนนั้น เป็นกรณีที่โจทก์มีเหตุผลอันสมควรหรือความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้า โจทก์จึงยื่นคำขอเกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1907/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม, ค่าชดเชย, สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า, เหตุผลอันสมควร, การไม่ปฏิบัติตามระเบียบ
คดีแรกโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้พักงานโจทก์และขอให้จ่ายค่าจ้างซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิในขณะที่โจทก์ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลย แต่มูลคดีที่โจทก์ฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากโจทก์อ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นครั้งที่สองโดยโจทก์ไม่มีความผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า ส่วนที่โจทก์เคยฟ้องจำเลยเป็นอีกคดีหนึ่งโดยมูลเหตุสืบเนื่องมาจากการที่ถูกจำเลยเลิกจ้างและเรียกร้องในทำนองเดียวกันกับคดีนี้ ก็เป็นการเรียกร้องที่สืบเนื่องมาจากการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ครั้งแรกแม้คดีทั้งสองจะถึงที่สุดแล้ว แต่ทั้งสองคดีมูลคดีมิได้เกิดขึ้นในคราวเดียวกันและประเด็นข้อพิพาทก็แตกต่างกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเกี่ยวกับเงินทดรองโดยโจทก์ค้างชำระเงินทดรองแก่จำเลยแต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่แสดงว่าโจทก์ได้ยืมเงินทดรองจากจำเลยแล้วนำไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่มีเจตนาจะส่งคืน จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่และจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายและการค้าชำระเงินทดรองยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในกรณีร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวจึงไม่เป็นข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119
โจทก์ค้างชำระเงินทดรองแก่จำเลย ศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินทดรองและคดีถึงที่สุดแล้ว แต่โจทก์ก็เพิกเฉยไม่คืนเงินทดรองให้แก่จำเลยทั้ง ๆ ที่จำเลยได้จ่ายเงินค่าเสียหายในระหว่างที่มีคำสั่งพักงานโจทก์ให้แก่โจทก์ไปแล้ว และแม้จำเลยจะมีคำสั่งรับโจทก์กลับเข้าทำงานและมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ในวันเดียวกันก็เป็นเพียงวิธีการที่จำเลยจำต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคำพิพากษาที่ให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานก่อนเท่านั้น มิใช่เป็นการกระทำเพื่อกลั่นแกล้งโจทก์ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และการที่โจทก์ไม่คืนเงินทดรองให้แก่จำเลยก็เป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในเรื่องเงินทดรองอันเป็นการกระทำที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตจำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583
โจทก์ไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเกี่ยวกับเงินทดรองโดยโจทก์ค้างชำระเงินทดรองแก่จำเลยแต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่แสดงว่าโจทก์ได้ยืมเงินทดรองจากจำเลยแล้วนำไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่มีเจตนาจะส่งคืน จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่และจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายและการค้าชำระเงินทดรองยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในกรณีร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวจึงไม่เป็นข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119
โจทก์ค้างชำระเงินทดรองแก่จำเลย ศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินทดรองและคดีถึงที่สุดแล้ว แต่โจทก์ก็เพิกเฉยไม่คืนเงินทดรองให้แก่จำเลยทั้ง ๆ ที่จำเลยได้จ่ายเงินค่าเสียหายในระหว่างที่มีคำสั่งพักงานโจทก์ให้แก่โจทก์ไปแล้ว และแม้จำเลยจะมีคำสั่งรับโจทก์กลับเข้าทำงานและมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ในวันเดียวกันก็เป็นเพียงวิธีการที่จำเลยจำต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคำพิพากษาที่ให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานก่อนเท่านั้น มิใช่เป็นการกระทำเพื่อกลั่นแกล้งโจทก์ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และการที่โจทก์ไม่คืนเงินทดรองให้แก่จำเลยก็เป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในเรื่องเงินทดรองอันเป็นการกระทำที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตจำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5483/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกเคหสถานและการข่มขืนใจให้ผู้อื่นออกจากทรัพย์สินโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
โจทก์ทำสัญญาเช่าร้านอาหารพิพาทจากจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 2 กับชายคนหนึ่งซึ่งพกอาวุธปืนติดตัวได้พากันไปที่ร้านอาหารพิพาทซึ่งมีลูกจ้างโจทก์เฝ้าดูแลอยู่ จำเลยที่ 2สั่งลูกจ้างโจทก์ให้ออกจากร้านมิฉะนั้นจะปิดกุญแจขังลูกจ้างโจทก์กลัวจึงยอมออกจากร้าน จำเลยที่ 2 ได้ปิดกุญแจร้านอาหารพิพาททำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถประกอบกิจการร้านอาหารและไม่สามารถนำอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ของโจทก์ซึ่งซื้อมาใช้ในการประกอบกิจการออกจากร้านอาหารพิพาทได้ หลังจากนั้นอีก 3 ถึง 4 วัน จำเลยที่ 1ได้ให้บุคคลอื่นเข้าทำกิจการร้านอาหารพิพาทแทน โจทก์ยังได้นำสืบอีกว่าไม่เคยค้างชำระค่าเช่าจำเลยที่ 1 ดังนี้ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเกี่ยวกับความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362,364 และ365 จึงมีมูล ศาลล่างทั้งสองด่วนวินิจฉัยว่าโจทก์ผิดสัญญาเช่าจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจกลับเข้าครอบครองทรัพย์ที่เช่าตามสัญญา จึงไม่ชอบ
จำเลยที่ 2 ให้ จ. ออกจากร้านอาหารพิพาทเพื่อปิดร้านมิใช่การกระทำเพื่อให้ได้รับประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก
จำเลยที่ 2 ให้ จ. ออกจากร้านอาหารพิพาทเพื่อปิดร้านมิใช่การกระทำเพื่อให้ได้รับประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4426/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวต้องมีเหตุผลอันสมควร การนำที่ดินมาเป็นหลักประกันต้องมีราคาที่แท้จริงและสามารถใช้ชำระหนี้ได้
ตามบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 261 วรรคสาม ศาลจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาต่อเมื่อจำเลยยื่นคำขอให้เห็นว่าวิธีการที่กำหนดไว้ตามมาตรา 254 นั้น ไม่มีเหตุเพียงพอหรือมีเหตุอันสมควรประการอื่น คำร้องของจำเลยที่ว่าฟ้องของโจทก์ไม่มีมูลที่จะชนะคดีก็ดี โจทก์มีเจตนาทุจริตในการร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยึดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของจำเลยก็ดี เป็นการคัดค้านว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบไม่พอที่จะออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา หาใช่วิธีการกำหนดไปนั้นไม่มีเหตุเพียงพอหรือมีเหตุอันสมควรประการอื่นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6695/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การเกี่ยวกับอำนาจฟ้องคดีสินสมรสต้องยื่นก่อนวันสืบพยาน เว้นแต่มีเหตุผลอันสมควร
ป.วิ.พ.มาตรา 180 บัญญัติหลักเกณฑ์กำหนดระยะเวลาแก้ไขคำให้การไว้ว่า ต้องยื่นก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่ายี่สิบเอ็ดวันหรือก่อนวันสืบพยานแล้วแต่กรณี มีข้อยกเว้น 3 กรณี คือ กรณีที่หนึ่งมีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้นประการหนึ่ง กรณีที่สองเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนอีกประการหนึ่ง และกรณีที่สามเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอีกประการหนึ่ง
จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การว่า"มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้เป็นสินสมรสที่โจทก์และสามีทำมาหาได้ร่วมกันมา จึงต้องจัดการทรัพย์สินดังกล่าวร่วมกัน เมื่อโจทก์มิได้รับความยินยอมจากสามีตาม ป.พ.พ.มาตรา 1476 (4) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องดำเนินคดีนี้กับจำเลยทั้งสอง" แต่เมื่อ ป.พ.พ.มาตรา 1477 บัญญัติว่า สามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องคดีเกี่ยวกับการสงวนสินสมรสได้ ดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ยืมเงินเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับการสงวนสินสมรส โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากสามี ฉะนั้นเมื่อคำร้องของจำเลยที่ขอแก้คำให้การไม่เกี่ยวกับข้อที่จะทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นให้จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การหลังวันสืบพยานตาม ป.วิ.พ.มาตรา 180 ดังกล่าว
จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การว่า"มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้เป็นสินสมรสที่โจทก์และสามีทำมาหาได้ร่วมกันมา จึงต้องจัดการทรัพย์สินดังกล่าวร่วมกัน เมื่อโจทก์มิได้รับความยินยอมจากสามีตาม ป.พ.พ.มาตรา 1476 (4) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องดำเนินคดีนี้กับจำเลยทั้งสอง" แต่เมื่อ ป.พ.พ.มาตรา 1477 บัญญัติว่า สามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องคดีเกี่ยวกับการสงวนสินสมรสได้ ดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ยืมเงินเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับการสงวนสินสมรส โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากสามี ฉะนั้นเมื่อคำร้องของจำเลยที่ขอแก้คำให้การไม่เกี่ยวกับข้อที่จะทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นให้จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การหลังวันสืบพยานตาม ป.วิ.พ.มาตรา 180 ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 648/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเลื่อนการพิจารณาคดีซ้ำๆ และการไม่แสดงเหตุผลอันสมควร ศาลมีสิทธิไม่อนุญาตให้เลื่อนได้
ข้อความที่โจทก์กล่าวมาในฎีกาเป็นไปในทำนองเดียวกับที่จำเลยกล่าวไว้ในอุทธรณ์อันเป็นการโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นซึ่งศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยไว้โดยละเอียดแล้วข้อความที่โจทก์กล่าวมาดังกล่าวไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบอย่างไรและที่ถูกต้องควรจะเป็นอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งย่อมไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์ขอเลื่อนการพิจารณาโดยขาดเหตุผลอันสมควรหลายครั้งหลายหนทั้งในการขอเลื่อนการพิจารณาเมื่อวันที่15มิถุนายน2532โจทก์ก็ไม่ได้อ้างและแสดงให้เป็นที่พอใจของศาลได้ว่าถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรมดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ประวิงคดีให้ชัดช้าและไม่อนุญาตให้เลื่อนการพิจารณาอีกจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา40วรรคหนึ่งแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5192/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานละทิ้งหน้าที่ และขาดงานโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยมานานหลายปี ในปีสุดท้ายที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยฝ่ายบริหารซึ่งเป็นตำแหน่งชั้นสูง โจทก์ควรจะมีความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่ การที่โจทก์ลากิจโดยไม่มีกำหนดเวลาแสดงให้เห็นถึงการขาดความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่ของโจทก์ที่ปฏิบัติอยู่ และเมื่อโจทก์ยื่นใบลาแล้วโจทก์หยุดงานทันทีโดยไม่รอฟังว่าจำเลยที่ 1 อนุมัติหรือไม่เป็นการขัดต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่าด้วยการลาของจำเลยที่ 1ในที่สุดเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่อนุมัติการลา จึงต้องถือว่าโจทก์ขาดงาน และโจทก์ก็ยังคงหยุดงานติดต่อกันมาจนจำเลยมีหนังสือเลิกจ้าง หากโจทก์มิได้จงใจขาดงานหรือละทิ้งหน้าที่ โจทก์สามารถติดต่อแจ้งให้จำเลยที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครทราบได้โดยสะดวกถึงความจำเป็นของโจทก์เพราะโจทก์ไปเฝ้าบุตรที่ป่วยที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครเช่นเดียวกัน แต่โจทก์หาได้ปฏิบัติเช่นนั้นไม่ ตั้งแต่วันที่โจทก์หยุดงานจนถึงวันที่จำเลยเลิกจ้าง โจทก์ไม่เคยติดต่อจำเลย พฤติการณ์ที่โจทก์ขาดงานติดต่อกันดังกล่าวเกิน 3 วัน และเป็นเวลานานเกือบหนึ่งเดือนจนจำเลยมีหนังสือเลิกจ้าง ถือได้ว่าเป็นการละทิ้งการงานไปเสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ทั้งถือได้ว่าโจทก์จงใจละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (5) และกรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายและค่าชดเชยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: หลักเกณฑ์การเพิ่มค่ารายปีและเหตุผลอันสมควร
กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 ประเมินค่ารายปีของอาคารโจทก์ในส่วนที่เป็นลานจอดรถ และอาคารชั้นที่ 5 โดยได้ประเมินเท่ากับค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้ว ซี่งในส่วนที่เป็นลานจอดรถนั้น จำเลยที่ 1 เคยกำหนดค่ารายปีให้เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากอาคาร แม้ค่าเช่าลานจอดรถจะรวมอยู่ในค่าเช่าอาคารด้วยก็ตาม เมื่อโจทก์ยอมรับว่าลานจอดรถสามารถคิดค่าเช่าได้เป็นส่วนหนึ่ง เพียงแต่โจทก์คิดรวมอยู่ในค่าเช่าอาคารด้วยเท่านั้น ดังนั้น จำเลยที่ 1 ย่อมจะประเมินจำนวนเงินที่สมควรจะให้เช่าลานจอดรถได้ เมื่อโจทก์ยอมชำระภาษีไปแล้วโดยมิได้ร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ เท่ากับโจทก์เห็นด้วยว่าจำเลยที่ 1 ได้ประเมินราคาค่าเช่าอันสมควรแล้ว โจทก์จึงมิอาจยกมาโต้เถียงได้อีก
จำเลยที่ 1 ประเมินค่ารายปีในส่วนเป็นอาคารชั้นล่างและชั้นที่ 7 ถึงที่ 10 โดยได้ประเมินเพิ่มขึ้นจากการประเมินค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วและปีก่อนหน้านั้น ซึ่งตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 18การประเมินค่ารายปีจะต้องอาศัยค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษีในปีต่อมา แม้ค่ารายปีอาจจะมีค่าไม่เท่ากัน แต่จำเลยที่ 1 ก็ต้องมีเหตุผลอันสมควรที่จะเพิ่มค่ารายปีขึ้นจากค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้ว เมื่อปรากฏว่าอาคารต่าง ๆ หลายอาคารที่ตั้งอยู่บนถนนเดียวกับอาคารของโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ประเมินค่ารายปีเท่ากับปีที่ล่วงมาแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 นำอาคารของโจทก์ไปเปรียบเทียบกับอาคารบริเวณใกล้เคียงแล้วประเมินค่ารายปีเฉพาะบางชั้นของอาคารโจทก์ให้สูงขึ้น จึงไม่มีเหตุผลอันสมควร การประเมินในส่วนที่เพิ่มขึ้นนี้จึงไม่ชอบ
จำเลยที่ 1 ประเมินค่ารายปีในส่วนเป็นอาคารชั้นล่างและชั้นที่ 7 ถึงที่ 10 โดยได้ประเมินเพิ่มขึ้นจากการประเมินค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วและปีก่อนหน้านั้น ซึ่งตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 18การประเมินค่ารายปีจะต้องอาศัยค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษีในปีต่อมา แม้ค่ารายปีอาจจะมีค่าไม่เท่ากัน แต่จำเลยที่ 1 ก็ต้องมีเหตุผลอันสมควรที่จะเพิ่มค่ารายปีขึ้นจากค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้ว เมื่อปรากฏว่าอาคารต่าง ๆ หลายอาคารที่ตั้งอยู่บนถนนเดียวกับอาคารของโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ประเมินค่ารายปีเท่ากับปีที่ล่วงมาแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 นำอาคารของโจทก์ไปเปรียบเทียบกับอาคารบริเวณใกล้เคียงแล้วประเมินค่ารายปีเฉพาะบางชั้นของอาคารโจทก์ให้สูงขึ้น จึงไม่มีเหตุผลอันสมควร การประเมินในส่วนที่เพิ่มขึ้นนี้จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3532/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่นัดหยุดงานแล้วละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
สหภาพแรงงานได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้างเพื่อขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง และต่อมามีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยกำหนดให้ลูกจ้างที่นัดหยุดงานกลับเข้าทำงานภายในเวลาที่กำหนด ระหว่างนั้นลูกจ้างบางส่วนได้ร่วมกันทุกทำลายทรัพย์สินของนายจ้างได้รับความเสียหายนายจ้างจึงมีอำนาจออกใบรายงานตัวให้ลูกจ้างลงชื่อก่อนเข้าทำงานได้ เมื่อลูกจ้างไม่ยอมลงชื่อในใบรายงานตัวและไม่ยอมเข้าทำงานในช่วงเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย ย่อมเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร นายจ้างเลิกจ้างได้หากลูกจ้างนั้นละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันขึ้นไป