พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องในคดีแรงงานต้องยื่นก่อนสืบพยาน หากเลยกำหนดหรือไม่เข้าเหตุยกเว้น ศาลไม่อนุญาต
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มิได้บัญญัติถึงวิธีการหรือหลักเกณฑ์ในการขอแก้ไขคำฟ้องไว้ จึงต้องนำป.วิ.พ. มาตรา 180 มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ในคดีแรงงานถือได้ว่าไม่มีการชี้สองสถานเพราะการกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันสืบพยานเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ฉะนั้นโจทก์จะต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน เว้นแต่มีเหตุยกเว้นตามกฎหมายคดีนี้โจทก์ยื่นคำร้องวันที่ 7 กรกฎาคม 2543 ขอแก้ไขคำฟ้องภายหลังจากจำเลยสืบพยานเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งในขณะที่โจทก์ยื่นคำฟ้อง โจทก์ย่อมจะทราบถึงสิทธิที่โจทก์จะพึงได้รับดอกเบี้ยจากค่าชดเชย ค่าจ้างค้างจ่ายและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าซึ่งจำเลยผิดนัดไม่จ่ายให้โจทก์อยู่แล้วและคดีไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งมิใช่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยไม่จำต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์
ในคดีแรงงานถือได้ว่าไม่มีการชี้สองสถานเพราะการกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันสืบพยานเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ฉะนั้นโจทก์จะต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน เว้นแต่มีเหตุยกเว้นตามกฎหมายคดีนี้โจทก์ยื่นคำร้องวันที่ 7 กรกฎาคม 2543 ขอแก้ไขคำฟ้องภายหลังจากจำเลยสืบพยานเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งในขณะที่โจทก์ยื่นคำฟ้อง โจทก์ย่อมจะทราบถึงสิทธิที่โจทก์จะพึงได้รับดอกเบี้ยจากค่าชดเชย ค่าจ้างค้างจ่ายและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าซึ่งจำเลยผิดนัดไม่จ่ายให้โจทก์อยู่แล้วและคดีไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งมิใช่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยไม่จำต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1263/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลต่อความเสียหายสินค้า ผู้ขนส่งต้องรับผิดหากพิสูจน์ไม่ได้ว่าเกิดจากเหตุยกเว้น
การรับขนของทางทะเล ผู้ขนส่งต้องรับผิดเพื่อความเสียหายของสิ่งของที่รับขนนั้นต่อผู้ส่งตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 39 เว้นแต่ความเสียหายจะเกิดขึ้นหรือเป็นผลจากเหตุตามที่ระบุไว้ บทมาตราต่างๆ ในหมวด 5 ว่าด้วยข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ขนส่ง ผู้ขนส่งจึงไม่ต้องรับผิด
สินค้าปุ๋ยพิพาทบางส่วนเปียกน้ำและปนเปื้อนน้ำมันเสียหาย ซึ่งเป็นความเสียหายที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งโดยที่จำเลยที่ 2 มิได้นำสืบให้เห็นว่ามีเหตุที่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้า แม้ทางนำสืบของโจทก์ไม่มีหลักฐานแสดงว่าความเสียหายของสินค้าปุ๋ยพิพาทเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 2 หรือไม่และไม่ทราบว่าเกิดจากการกระทำของผู้ใดก็ตาม ก็หาเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง ต้องพ้นจากความรับผิดไม่
สินค้าปุ๋ยพิพาทบางส่วนเปียกน้ำและปนเปื้อนน้ำมันเสียหาย ซึ่งเป็นความเสียหายที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งโดยที่จำเลยที่ 2 มิได้นำสืบให้เห็นว่ามีเหตุที่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้า แม้ทางนำสืบของโจทก์ไม่มีหลักฐานแสดงว่าความเสียหายของสินค้าปุ๋ยพิพาทเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 2 หรือไม่และไม่ทราบว่าเกิดจากการกระทำของผู้ใดก็ตาม ก็หาเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง ต้องพ้นจากความรับผิดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1173/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้สั่งจ่ายเช็ค: ภาระการพิสูจน์และเหตุยกเว้นความรับผิด
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 วรรคหนึ่ง,914และมาตรา 989 วรรคหนึ่ง บุคคลผู้ลงลายมือชื่อในเช็คจะต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็ค ภาระการพิสูจน์ว่าเช็คพิพาทไม่มีลูกหนี้ต่อโจทก์จึงตกแก่จำเลยผู้สั่งจ่ายแต่ทางนำสืบของจำเลยไม่ปรากฏเหตุผลให้รับฟังได้ว่า หากจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อการร่วมลงทุนในบริษัท ย. เหตุใดเมื่อบริษัทเลิกกิจการ จำเลยจึงไม่ทวงเช็คพิพาทคืนจากโจทก์และในทางนำสืบของจำเลยก็ระบุว่านาย ข. กรรมการบริษัทดังกล่าวถูกโจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คซึ่งสั่งจ่ายให้ไว้แก่โจทก์เช่นเดียวกับจำเลยในวิสัยเช่นนี้ จำเลยก็ชอบที่จะสืบนาย ข. หรือกรรมการอีก 3 คน เป็น พยานสนับสนุนข้อต่อสู้ฝ่ายตนแต่จำเลยหากระทำไม่ ฉะนั้นพยานหลักฐาน จำเลยจึงยังไม่มีเหตุผลเพียงพอให้มีน้ำหนักรับฟังได้ว่า จำเลยไม่มีมูลหนี้ ตามเช็คพิพาทต่อโจทก์ตามหน้าที่ที่จำเลยมีภาระการพิสูจน์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3887/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุบันดาลโทสะต้องเกิดจากการถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง การผัดชำระหนี้ค่าจ้างไม่ถือเป็นการข่มเหง
พฤติการณ์ที่จำเลยมาทวงเงินค่าจ้างที่ค้างจากผู้เสียหายซึ่งเป็นนายจ้างแล้วถูกผัดชำระอยู่หลายครั้ง โดยไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้กระทำการอื่นใดต่อจำเลยอีก เพียงเท่านั้นถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกผู้เสียหายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จำเลยจะอ้างเหตุบันดาลโทสะเป็นประโยชน์แก่คดีของตนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3595/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเมื่อเอกสารหาย - ความประมาทเลินเล่อไม่เป็นเหตุยกเว้นการส่งเอกสาร
หลังจากที่สมุดบัญชีและเอกสารต่าง ๆ ของโจทก์สูญหายไปแล้วโจทก์เพียงแต่แจ้งความที่สถานีตำรวจเท่านั้น หาได้แจ้งต่อสำนักงานกลางบัญชีหรือสำนักงานบัญชีให้ชอบด้วยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 285 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 15 ไม่ ประกอบกับสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกให้โจทก์นำส่งล้วนแต่เป็นเอกสารสำคัญที่สมควรแก่เรื่องที่เจ้าพนักงานประเมินมีความจำเป็นต้องการตรวจสอบเพื่อประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ทั้งสิ้น โจทก์จะอ้างเอาความประมาทเลินเล่อของกรรมการผู้จัดการของโจทก์เองที่ทำให้สมุดบัญชีและเอกสารดังกล่าวสูญหายไป ซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัยมาเป็นข้อยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินหาได้ไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่นำสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีตามหมายเรียกมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการตรวจสอบตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ปี 2518 ในอัตราร้อยละ 2 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชีปีดังกล่าวแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่าได้ตามมาตรา 71(1)แห่งประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับในขณะนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2602/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิด: โจทก์ต้องระบุเหตุมีสิทธิฟ้องคดีแม้เกินหนึ่งปีนับจากวันที่รู้ตัวผู้กระทำละเมิด
เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องถึงวันที่ทำการละเมิดและรู้ตัวว่าจำเลยเป็นผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว โจทก์จึงต้องฟ้องคดีเสียภายในหนึ่งปีนับแต่นั้น โจทก์นำคดีมาฟ้องเกินหนึ่งปี โจทก์ก็จะต้องบรรยายในฟ้องให้เห็นว่าเหตุใดโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีเมื่อเกินหนึ่งปีได้ เมื่อโจทก์มิได้บรรยายเหตุที่โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีดังกล่าวได้ และเมื่อจำเลยยกอายุความขึ้นต่อสู้ศาลก็ต้องฟังว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอม สิทธิบังคับคดี และเหตุยกเว้นความรับผิด
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์จำเลยตกลงกันในศาล ได้กำหนดเวลาที่จำเลยจะต้องชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน.เมื่อจำเลยมิได้ชำระหนี้ตามกำหนด.จึงได้ชื่อว่าผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 โจทก์ขอให้ศาลบังคับคดีได้ทันที. ข้อที่จำเลยอ้างว่ามีกิจธุระจำเป็นต้องไปต่างจังหวัดและเกิดเจ็บป่วยระหว่างทาง.จึงไม่สามารถชำระหนี้ให้ทันตามกำหนดนั้น. ก็ไม่ปรากฏในคำร้องว่าจำเลยเจ็บป่วยขนาดไหน.เพราะการป่วยเป็นไข้และความดันโลหิตสูงในกรณีปกติก็เดินทางกันได้. ที่จำเลยอ้างว่าเดินทางต่อมาไม่ได้. จึงไม่พอรับฟัง. ถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่จำเลย.ไม่ต้องรับผิดชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา205.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขกฎหมายจราจรและการยกฟ้องข้อหาแซงซ้ายเมื่อมีเหตุยกเว้นตามกฎหมายใหม่
ขณะจำเลยกระทำความผิดพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 10 บัญญัติให้รถที่เดินสวนกันหลีกด้านซ้ายและเมื่อขึ้นหน้ารถคันอื่นให้ขึ้นด้านขวาผู้ใดฝ่าฝืนย่อมมีความผิดนั้น ต่อมาพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2508 มาตรา 4 บัญญัติให้ยกเลิกมาตรา 10 นั้นเสียและได้ยอมให้ขับรถขึ้นหน้ารถอื่นทางด้านซ้ายได้ เมื่อไม่มีอะไรกีดขวางและไม่กีดขวางรถอื่นทั้งผู้ขับขี่สามารถกระทำได้โดยปลอดภัยเมื่อจำเลยขับรถขึ้นหน้ารถอื่นทางด้านซ้ายและต้องด้วยข้อยกเว้นของกฎหมายดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1403/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความก่อน/หลังการกระทำความผิด และความยินยอมของผู้เสียหายเป็นเหตุยกเว้นความผิดอาญา
การยอมความในความผิดอันยอมความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 35 วรรค 2 และ 39(2) นั้น เป็นการกระทำภายหลังที่ความผิดได้เกิดขึ้นแล้ว มิใช่การที่จะกระทำกันไว้ล่วงหน้าก่อนการกระทำความผิด ข้อตกลงล่วงหน้าก่อนมีการกระทำความผิดจะถือเป็นการยอมความตามบทกฎหมายดังกล่าวไม่ได้
บุคคลจะตกลงกันไว้ก่อนว่าจะไม่ฟ้องคดีอาญา ถ้าหากจะมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นต่อไปข้างหน้านั้น ข้อตกลงนั้นหามีผลก่อให้เกิดหนี้ที่จะผูกพันคู่กรณีให้จำต้องงดเว้นไม่ฟ้องคดีอาญาเช่นว่านั้นแต่ประการใดไม่ เพราะอำนาจฟ้องคดีอาญาจะมีอยู่หรือไม่นั้น มิได้อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายลักษณะหนี้ในทางแพ่งหากอยู่ภายในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาอีกส่วนหนึ่ง
ข้อตกลงว่าจะไม่ฟ้องคดีอาญานั้น อาจถือเป็นความยินยอมให้กระทำการที่ตามปกติต้องด้วยบทบัญญัติว่าเป็นความผิดได้ มีหลักทั่วไปเป็นเหตุยกเว้นความผิดอาญาตามนัยฎีกาที่ 616/2482 และ 787/2483 ว่า ความยินยอมอันบริสุทธิ์ของผู้เสียหายให้ผู้ใดกระทำการที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดนั้น ถ้าความยินยอมนั้นไม่ขัดต่อความสำนึกในศีลธรรมอันดีและมีอยู่จนถึงขณะกระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่า เป็นความผิดนั้นแล้ว ความยินยอมนั้นเป็นข้อยกเว้นมิให้การกระทำนั้นเป็นความผิดขึ้นได้
ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลย แม้ไม่ผูกพันโจทก์ให้ยินยอมอยู่เช่นนั้นตลอดไป แต่โจทก์ก็ได้ยินยอมให้จำเลยออกเช็คโดยจะไม่ฟ้องเป็นความผิดอาญา เป็นความยินยอมที่มีอยู่จนถึงขณะที่จำเลย+++++++ โดยรู้ว่าไม่มีเงินในธนาคารอันเป็นการกระทำโดยเจตนาที่+++++++ความผิดประการหนึ่งซึ่งจำเลยได้กระทำลงตามความยินยอม+++++ความผิดกรณีนี้เป็นความผิดอันยอมความได้ ถือได้ว่าความ++++ผู้เสียหายในการกระทำฐานนี้ไม่ขัดต่อความสำนึกในศีลธรรมอันดี การกระทำที่โจทก์ฟ้องจึงไม่เป็นความผิดในทางอาญา (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2508)
บุคคลจะตกลงกันไว้ก่อนว่าจะไม่ฟ้องคดีอาญา ถ้าหากจะมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นต่อไปข้างหน้านั้น ข้อตกลงนั้นหามีผลก่อให้เกิดหนี้ที่จะผูกพันคู่กรณีให้จำต้องงดเว้นไม่ฟ้องคดีอาญาเช่นว่านั้นแต่ประการใดไม่ เพราะอำนาจฟ้องคดีอาญาจะมีอยู่หรือไม่นั้น มิได้อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายลักษณะหนี้ในทางแพ่งหากอยู่ภายในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาอีกส่วนหนึ่ง
ข้อตกลงว่าจะไม่ฟ้องคดีอาญานั้น อาจถือเป็นความยินยอมให้กระทำการที่ตามปกติต้องด้วยบทบัญญัติว่าเป็นความผิดได้ มีหลักทั่วไปเป็นเหตุยกเว้นความผิดอาญาตามนัยฎีกาที่ 616/2482 และ 787/2483 ว่า ความยินยอมอันบริสุทธิ์ของผู้เสียหายให้ผู้ใดกระทำการที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดนั้น ถ้าความยินยอมนั้นไม่ขัดต่อความสำนึกในศีลธรรมอันดีและมีอยู่จนถึงขณะกระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่า เป็นความผิดนั้นแล้ว ความยินยอมนั้นเป็นข้อยกเว้นมิให้การกระทำนั้นเป็นความผิดขึ้นได้
ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลย แม้ไม่ผูกพันโจทก์ให้ยินยอมอยู่เช่นนั้นตลอดไป แต่โจทก์ก็ได้ยินยอมให้จำเลยออกเช็คโดยจะไม่ฟ้องเป็นความผิดอาญา เป็นความยินยอมที่มีอยู่จนถึงขณะที่จำเลย+++++++ โดยรู้ว่าไม่มีเงินในธนาคารอันเป็นการกระทำโดยเจตนาที่+++++++ความผิดประการหนึ่งซึ่งจำเลยได้กระทำลงตามความยินยอม+++++ความผิดกรณีนี้เป็นความผิดอันยอมความได้ ถือได้ว่าความ++++ผู้เสียหายในการกระทำฐานนี้ไม่ขัดต่อความสำนึกในศีลธรรมอันดี การกระทำที่โจทก์ฟ้องจึงไม่เป็นความผิดในทางอาญา (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2508)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1403/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความก่อนหรือหลังเกิดความผิดทางอาญา และความยินยอมของผู้เสียหายเป็นเหตุยกเว้นความผิด
การยอมความในความผิดอันยอมความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 วรรคสอง และ39(2) นั้น เป็นการกระทำภายหลังที่ความผิดได้เกิดขึ้นแล้ว มิใช่การที่จะกระทำกันไว้ล่วงหน้าก่อนการกระทำความผิด ข้อตกลงล่วงหน้าก่อนมีการกระทำความผิดจะถือเป็นการยอมความตามบทกฎหมายดังกล่าวไม่ได้
บุคคลจะตกลงกันไว้ก่อนว่าจะไม่ฟ้องคดีอาญา ถ้าหากจะมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นต่อไปข้างหน้านั้น ข้อตกลงนั้นหามีผลก่อให้เกิดหนี้ที่จะผูกพันคู่กรณีให้จำต้องงดเว้นไม่ฟ้องคดีอาญาเช่นว่านั้นแต่ประการใดไม่ เพราะอำนาจฟ้องคดีอาญาจะมีอยู่หรือไม่นั้น มิได้อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายลักษณะหนี้ในทางแพ่ง หากอยู่ภายในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาอีกส่วนหนึ่ง
ข้อตกลงว่าจะไม่ฟ้องคดีอาญานั้น อาจถือเป็นความยินยอมให้กระทำการที่ตามปกติต้องด้วยบทบัญญัติว่าเป็นความผิดได้มีหลักทั่วไปเป็นเหตุยกเว้นความผิดอาญาตามนัยฎีกาที่616/2482 และ 787/2483 ว่า ความยินยอมอันบริสุทธิ์ของผู้เสียหายให้ผู้ใดกระทำการที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดนั้น ถ้าความยินยอมนั้นไม่ขัดต่อความสำนึกในศีลธรรมอันดีและมีอยู่จนถึงขณะกระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดนั้นแล้ว ความยินยอมนั้นเป็นข้อยกเว้นมิให้การกระทำนั้นเป็นความผิดขึ้นได้
ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลย แม้ไม่ผูกพันโจทก์ให้ยินยอมอยู่เช่นนั้นตลอดไป แต่โจทก์ก็ได้ยินยอมให้จำเลยออกเช็คโดยจะไม่ฟ้องเป็นความผิดอาญา เป็นความยินยอมที่มีอยู่จนถึงขณะที่จำเลยออกเช็ค โดยรู้ว่าไม่มีเงินในธนาคาร อันเป็นการกระทำโดยเจตนาที่เป็นองค์ความผิดประการหนึ่งซึ่งจำเลยได้กระทำลงตามความยินยอมของโจทก์ ความผิดกรณีนี้เป็นความผิดอันยอมความได้ ถือได้ว่าความยินยอมของผู้เสียหายในการกระทำฐานนี้ไม่ขัดต่อความสำนึกในศีลธรรม การกระทำที่โจทก์ฟ้องจึงไม่เป็นความผิดในทางอาญา(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2508)
บุคคลจะตกลงกันไว้ก่อนว่าจะไม่ฟ้องคดีอาญา ถ้าหากจะมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นต่อไปข้างหน้านั้น ข้อตกลงนั้นหามีผลก่อให้เกิดหนี้ที่จะผูกพันคู่กรณีให้จำต้องงดเว้นไม่ฟ้องคดีอาญาเช่นว่านั้นแต่ประการใดไม่ เพราะอำนาจฟ้องคดีอาญาจะมีอยู่หรือไม่นั้น มิได้อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายลักษณะหนี้ในทางแพ่ง หากอยู่ภายในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาอีกส่วนหนึ่ง
ข้อตกลงว่าจะไม่ฟ้องคดีอาญานั้น อาจถือเป็นความยินยอมให้กระทำการที่ตามปกติต้องด้วยบทบัญญัติว่าเป็นความผิดได้มีหลักทั่วไปเป็นเหตุยกเว้นความผิดอาญาตามนัยฎีกาที่616/2482 และ 787/2483 ว่า ความยินยอมอันบริสุทธิ์ของผู้เสียหายให้ผู้ใดกระทำการที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดนั้น ถ้าความยินยอมนั้นไม่ขัดต่อความสำนึกในศีลธรรมอันดีและมีอยู่จนถึงขณะกระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดนั้นแล้ว ความยินยอมนั้นเป็นข้อยกเว้นมิให้การกระทำนั้นเป็นความผิดขึ้นได้
ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลย แม้ไม่ผูกพันโจทก์ให้ยินยอมอยู่เช่นนั้นตลอดไป แต่โจทก์ก็ได้ยินยอมให้จำเลยออกเช็คโดยจะไม่ฟ้องเป็นความผิดอาญา เป็นความยินยอมที่มีอยู่จนถึงขณะที่จำเลยออกเช็ค โดยรู้ว่าไม่มีเงินในธนาคาร อันเป็นการกระทำโดยเจตนาที่เป็นองค์ความผิดประการหนึ่งซึ่งจำเลยได้กระทำลงตามความยินยอมของโจทก์ ความผิดกรณีนี้เป็นความผิดอันยอมความได้ ถือได้ว่าความยินยอมของผู้เสียหายในการกระทำฐานนี้ไม่ขัดต่อความสำนึกในศีลธรรม การกระทำที่โจทก์ฟ้องจึงไม่เป็นความผิดในทางอาญา(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2508)