คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เหตุอันควร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ฟ้องคดีอาญา: เหตุอันควร, รายละเอียดในฟ้อง, และผลกระทบต่อการต่อสู้คดีของจำเลย
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องคดีอาญาภายหลังสืบพยานจำเลยไปบ้างแล้วโดยอ้างเหตุผลว่าคำฟ้องของโจทก์บกพร่องเกี่ยวกับวันที่เกิดเหตุเนื่องจากพิมพ์ผิดพลาดก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา เหตุที่โจทก์อ้างถือได้ว่าเป็นเหตุอันควร ประกอบกับเป็นการแก้รายละเอียดซึ่งต้องแถลงในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 164 ทั้งจำเลยให้การและเบิกความก็เป็นเพียงการปฏิเสธลอย ๆ ไม่ได้ให้รายละเอียดว่าวันที่โจทก์ขอแก้จำเลยทำอะไรอยู่ที่ไหน นอกจากนี้ยังปรากฏข้อเท็จจริงว่า วันที่ระบุในคำฟ้องฉบับเดิมจำเลยก็ถูกขังในเรือนจำตามหมายขังระหว่างสอบสวนในคดีนี้ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยหลงต่อสู้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตแก้ฟ้องหลังสืบพยาน: เหตุผลอันควรและผลกระทบต่อการต่อสู้คดี
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องภายหลังสืบพยานจำเลยไปบ้างแล้วโดยอ้างเหตุผลว่าคำฟ้องของโจทก์บกพร่องเกี่ยวกับวันที่เกิดเหตุเนื่องจากพิมพ์ผิดพลาด ขอแก้คำว่า เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2541 เป็นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2541 เป็นการยื่นก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา และถือได้ว่าเป็นเหตุอันควรอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้เพราะอาจเกิดบกพร่องพิมพ์ผิดพลาดเช่นนั้นได้ ประกอบกับเป็นการแก้รายละเอียดซึ่งต้องแถลงในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 164 ทั้งจำเลยให้การและเบิกความปฏิเสธลอย ๆ ไม่ได้ให้รายละเอียดว่าวันที่ 26 ตุลาคม 2541 จำเลยทำอะไรอยู่ที่ไหน นอกจากนี้ยังปรากฏว่าวันที่ 29 ตุลาคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่ระบุในคำฟ้องฉบับเดิมจำเลยก็ถูกขังในเรือนจำตามหมายขังระหว่างสอบสวนในคดีนี้ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยหลงต่อสู้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6214-6216/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การในคดีอาญาต้องมีเหตุอันควร ศาลมีอำนาจพิจารณาโทษและนับโทษตามคำขอ
ในคดีอาญานั้น แม้จำเลยจะให้การหรือไม่เป็นสิทธิของจำเลยก็ตาม แต่การขอแก้ไขคำให้การจำเลยสามารถกระทำได้ต่อเมื่อมีเหตุอันสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 163 วรรคสอง เท่านั้น มิใช่เป็นไปตามอำเภอใจของจำเลยอีกทั้งเป็นดุลพินิจของศาลเห็นสมควรจึงอนุญาตให้แก้ไขได้ การที่จำเลยยื่นคำให้การใหม่โดยขอถอนคำให้การเดิมที่ให้การรับสารภาพและขอให้การใหม่เป็นปฏิเสธฟ้องของโจทก์ซึ่งมีผลเป็นการแก้ไขคำให้การเช่นนี้จึงเป็นกรณีที่ไม่มีเหตุอันควร คดีนี้มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ศาลไม่อนุญาตให้แก้ไขคำให้การแล้วจึงพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 176 วรรคหนึ่ง
โจทก์แยกฟ้องคดีเป็นสามสำนวนและมิได้ขอให้นับโทษติดต่อกันแม้จะรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ศาลพิพากษาให้นับโทษแต่ละสำนวนต่อกันจึงเป็นการเกินคำขอไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4220/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องคดีอาญา: เหตุอันควร, ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ, ก่อนสืบพยาน
คำร้องขอแก้ฟ้องโจทก์ อ้างเหตุว่า คำฟ้องของโจทก์มีข้อบกพร่องคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับน้ำหนักเฮโรอีนของกลาง ขอแก้ไขน้ำหนักเฮโรอีนของกลางจาก 1.52 กรัม เป็น 0.05 กรัม เนื่องจากพนักงานสอบสวนส่งรายงานการตรวจพิสูจน์ของกลางมาให้ผิดพลาด ถือได้ว่าเป็นเหตุอันควรอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้ และการที่โจทก์ขอแก้ฟ้องเกี่ยวกับจำนวนน้ำหนักเฮโรอีนของกลางให้ลดลงจากเดิมเป็นการแก้ไขรายละเอียดเรื่องของกลางซึ่งต้องแถลงในฟ้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 จึงไม่ถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 164ทั้งคดีนี้จำเลยเพียงแต่ให้การปฏิเสธลอย แม้โจทก์จะระบุน้ำหนักเฮโรอีนในฟ้องผิดแต่โจทก์ได้บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับของกลาง คือบรรยายว่า ของกลางที่ยึดได้เป็นเฮโรอีน ทั้งการขอแก้ฟ้องได้กระทำก่อนสืบพยานโจทก์เสร็จและจำเลยยังมิได้สืบพยาน จำเลยย่อมมีโอกาสต่อสู้คดีได้เต็มที่ จำเลยไม่มีทางหลงต่อสู้ในข้อที่ผิดไปนี้ได้ จึงชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4220/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตแก้ฟ้องคดีอาญา: เหตุผลความคลาดเคลื่อนของน้ำหนักของกลางไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
คำร้องขอแก้ฟ้อง โจทก์อ้างเหตุว่า คำฟ้องของโจทก์มีข้อบกพร่องคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับน้ำหนักเฮโรอีนของกลาง ขอแก้ไขน้ำหนักเฮโรอีนของกลางจาก 1.52 กรัม เป็น 0.05 กรัม เนื่องจากพนักงานสอบสวนส่งรายงานการตรวจพิสูจน์ของกลางมาให้ผิดพลาด ถือได้ว่าเป็นเหตุอันควรอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้ และการที่โจทก์ขอแก้ฟ้องเกี่ยวกับจำนวนน้ำหนักเฮโรอีนของกลางให้ลดลงจากเดิม เป็นการแก้ไขรายละเอียดเรื่องของกลางซึ่งต้องแถลงในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 จึงไม่ถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 164 ทั้งคดีนี้จำเลยเพียงแต่ให้การปฏิเสธลอย แม้โจทก์จะระบุน้ำหนักเฮโรอีนในฟ้องผิดแต่โจทก์ได้บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับของกลาง คือ บรรยายว่า ของกลางที่ยึดได้เป็นเฮโรอีน ทั้งการขอแก้ฟ้องได้กระทำก่อนสืบพยานโจทก์เสร็จและจำเลยยังมิได้สืบพยาน จำเลยย่อมมีโอกาสต่อสู้คดีได้เต็มที่ จำเลยไม่มีทางหลงต่อสู้ในข้อที่ผิดไปนี้ได้ จึงชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6210/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้คำให้การในคดีอาญา: เหตุอันควรและอำนาจดุลพินิจศาล
แม้คดีอาญาจำเลยจะให้การหรือไม่เป็นสิทธิของจำเลยก็ตามแต่คดีนี้จำเลยได้ให้การไว้แล้วโดยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการ ซึ่งแสดงว่าจำเลยยอมรับว่าตนกระทำความผิดตามที่โจทก์กล่าวหามาในคำฟ้อง และการขอแก้คำให้การของจำเลย จำเลยสามารถยื่นคำร้องขอแก้คำให้การได้ต่อเมื่อมีเหตุอันควรตาม ป.วิ.อ.มาตรา 163 วรรคสอง เท่านั้น มิใช่เป็นไปตามอำเภอใจของจำเลย อีกทั้งเป็นดุลพินิจของศาลเห็นสมควรจึงอนุญาตให้แก้ได้ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้คำให้การในคดีนี้ เป็นที่เห็นได้ชัดว่า จำเลยกระทำเพื่อประวิงคดี จึงเป็นกรณีที่ไม่มีเหตุอันควร ที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้จำเลยแก้คำให้การจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6210/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้คำให้การในคดีอาญา: เหตุอันควรและเจตนาประวิงคดี
แม้คดีอาญาจำเลยจะให้การหรือไม่เป็นสิทธิของจำเลยก็ตามแต่คดีนี้จำเลยได้ให้การไว้แล้วโดยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการ ซึ่งแสดงว่าจำเลยยอมรับว่าตนกระทำความผิดตามที่โจทก์กล่าวหามาในคำฟ้อง และการขอแก้คำให้การของจำเลย จำเลยสามารถ ยื่นคำร้องขอแก้คำให้การได้ต่อเมื่อมีเหตุอันควรตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคสองเท่านั้น มิใช่เป็นไปตามอำเภอใจของจำเลยอีกทั้งเป็นดุลพินิจของศาลเห็นสมควรจึงอนุญาตให้แก้ได้การที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้คำให้การในคดีนี้เป็นที่เห็นได้ชัดว่า จำเลยกระทำเพื่อประวิงคดีจึงเป็นกรณีที่ไม่มีเหตุอันควร ที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้จำเลยแก้คำให้การจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5254/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอแก้คำให้การต้องแสดงเหตุอันควรครบถ้วนตามกฎหมาย
เมื่อจำเลยขอแก้คำให้การจำเลยก็ต้องแสดงเหตุอันควรมาในคำร้องให้ครบถ้วนตาม ป.วิ.อ.มาตรา 163 วรรคสอง ด้วย แต่ตามคำร้องขอแก้คำให้การของจำเลย จำเลยมิได้อ้างเหตุขอแก้มาในคำร้อง ดังนี้ ที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5254/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอแก้คำให้การต้องแสดงเหตุอันควร หากมิได้อ้างเหตุ ศาลมีอำนาจสั่งยกคำร้องได้
เมื่อจำเลยขอแก้คำให้การจำเลยก็ต้องแสดงเหตุอันควรมาในคำร้องให้ครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 163 วรรคสอง ด้วย แต่ตามคำร้องขอแก้คำให้การของจำเลยจำเลยมิได้อ้างเหตุขอแก้มาในคำร้อง ดังนี้ ที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6825/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์โดยมีเหตุอันควรเข้าเคหสถานและการเข้าถือเอาทรัพย์สินโดยไม่มีเจตนาลักทรัพย์
จำเลยได้ยินเสียง ย. ร้องครวญครางด้วยความเจ็บปวดจำเลยจึงเข้าไปในห้องผู้เสียหายและทำการช่วยเหลือถือได้ว่าจำเลยเข้าไปโดยมีเหตุอันควรและได้รับอนุญาตให้เข้าไปได้โดยปริยายแม้ ย. จะมิใช่เจ้าของห้องแต่เป็นมารดาของผู้เสียหายย่อมมีอำนาจที่จะอนุญาตให้บุคคลใดเข้าไปในห้องได้ตามสมควรการที่จำเลยพบเห็นเงินอยู่ในลิ้นชักตู้เสื้อผ้าจึงถือโอกาสเอาไปเสียจำเลยจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา335(1)วรรคแรกแต่ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหสถานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา335(8)
of 6