คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เอกสารมหาชน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2867/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารมหาชนและเอกสารสำเนาใช้ได้เป็นหลักฐานได้หากไม่มีการคัดค้าน และการพิสูจน์ทรัพย์สินเพื่อการล้มละลาย
หนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของโจทก์เป็นเอกสารมหาชนซึ่งเจ้าพนักงานจัดทำขึ้น และต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายังต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสาร โจทก์จึงไม่จำต้องนำพยานบุคคลมาเบิกความรับรองเอกสารดังกล่าวอีก ส่วนหนังสือมอบอำนาจฟ้องคดีคำพิพากษาตามยอมคดีหมายเลขแดงที่ 15475/2537 ของศาลแพ่ง บัญชีแสดงรายการรับจ่ายเงินในการบังคับคดีทรัพย์สินจำเลยของกรมบังคับคดี รายละเอียดการคำนวณยอดหนี้ของจำเลย และคำขอตรวจสอบกรรมสิทธิ์ที่ดิน แม้โจทก์จะไม่ได้นำพยานที่จัดทำเอกสารดังกล่าวมาสืบแต่ก็ได้ทำเป็นสำเนาเอกสารท้ายฟ้องและอ้างไว้ในบัญชีระบุพยานเมื่อโจทก์นำสืบจำเลยก็ไม่ได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารว่าไม่มีต้นฉบับ จึงเป็นพยานหลักฐานที่ศาลรับพิจารณาได้ว่ามีข้อเท็จจริงอยู่อย่างไรโดยไม่ต้องมีพยานที่จัดทำเอกสารมาเบิกความรับรองหรือชี้แจงประกอบ
โจทก์ได้ตรวจสอบการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินต่อเจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครและเจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาลาดพร้าวซึ่งเป็นท้องที่ที่จำเลยมีภูมิลำเนาแล้วไม่พบชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ที่ดินถือได้ว่าโจทก์สืบหาทรัพย์สินของจำเลยแล้ว จำเลยไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้อีก กรณีต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 8(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7172/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน: โฉนดที่ดินเป็นเอกสารมหาชน สันนิษฐานถูกต้อง ผู้กล่าวอ้างต้องพิสูจน์ความไม่ถูกต้อง
สำเนาโฉนดที่ดินที่มีเจ้าหน้าที่ที่ดินรับรองความถูกต้องมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์คนเดียว จำเลยย่อมได้รับการสันนิษฐานจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 ว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทคนเดียว การที่โจทก์อ้างว่า ย. มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทครึ่งหนึ่ง โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่าโฉนดที่ดินไม่ถูกต้องอย่างไรการที่โจทก์มีเพียงโจทก์ที่ 6 เบิกความว่าทราบเรื่อง ย. ร่วมซื้อที่ดินกับจำเลยเมื่อปี 2524 แต่ก็ได้ความจากที่ทนายโจทก์ทั้งหกถามติงและทนายจำเลยถามค้านว่าตั้งแต่ปี 2524 ย. ไปอยู่บ้านจำเลย โจทก์ที่ 6 ไม่เคยไปบ้านจำเลยดังนั้น โจทก์ที่ 6 อาจไม่ได้พบ ย. เลย ที่โจทก์ที่ 6 เบิกความว่ารู้เรื่อง ย. ร่วมกับจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจึงไม่น่าเชื่อ คำเบิกความนอกจากนั้นเป็นการเบิกความลอย ๆ คำเบิกความของโจทก์ที่ 6 ยังไม่มีน้ำหนักพอที่จะรับฟังว่าโฉนดที่ดินพิพาทไม่ถูกต้องจึงต้องฟังตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าโฉนดที่ดินเป็นเอกสารที่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2265/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ตาม น.ส.3ก. และการสันนิษฐานถึงสิทธิครอบครองของผู้มีชื่อในเอกสาร
จำเลยเป็นผู้มีชื่อในที่ดินตาม น.ส.3 ก. ที่โจทก์นำยึดซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 สันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง ว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของผู้ร้องเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่แตกต่างไปจากหลักฐานที่ปรากฏตาม น.ส.3 ก. ซึ่งเป็นเอกสารมหาชนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง จึงเป็นกรณีที่มีพยานหลักฐาน เบื้องต้นแสดงว่าคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของผู้ร้อง ไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้า จึงเป็นการสมควร และเหมาะสมที่จะให้ผู้ร้องวางเงินประกันความเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 389/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสภาพทางสาธารณประโยชน์และทางจำเป็น: ข้อจำกัดในการนำสืบเปลี่ยนแปลงเอกสารมหาชน
ทางสาธารณประโยชน์ที่ระบุไว้ในแผนที่หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินโจทก์ปัจจุบันหมดสภาพเป็นทางสาธารณประโยชน์แล้วนอกจากทางพิพาทแล้วที่ดินโจทก์ไม่มีทางอื่นใดออกสู่ทางสาธารณะอีก ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นของที่ดินโจทก์ซึ่งโจทก์และบริวารใช้เป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะการที่จำเลยมาล้อมรั้วลวดหนามปิดกั้นทางดังกล่าว โจทก์ย่อมฟ้องขอให้รื้อถอนรั้วลวดหนามเพื่อเปิดทางพิพาทได้ ตามนัยแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง
ปัญหาว่า ตามแผนที่ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินโจทก์ระบุว่า ที่ดินโจทก์ตั้งอยู่ติดกับทางสาธารณประโยชน์ อันเป็นเอกสารมหาชนการที่โจทก์นำสืบว่าปัจจุบันทางสาธารณประโยชน์ดังกล่าวสิ้นสภาพ และไม่มีอีกต่อไปเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร ต้องห้ามมิให้นำสืบตาม ป.วิ.อ.มาตรา 94หรือไม่นั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จำเลยเพิ่งยกขึ้นมากล่าวอ้างในคำแก้ฎีกา จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีครอบครองปรปักษ์ จำเลยมีผลประโยชน์ร่วมกัน ศาลอนุญาตแก้ไขคำฟ้องได้ เอกสารมหาชนมีน้ำหนักในการพิจารณา
โจทก์มิได้ฟ้องจำเลยโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยเช่าที่ดินพิพาททำนาจำเลยก็มิได้ให้การต่อสู้ว่าเช่าที่พิพาททำนาคดีจึงไม่ตกอยู่ในบังคับที่จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524ก่อนฟ้อง โจทก์ฟ้องว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์เดิมมารดาโจทก์ให้ส.เช่าทำนาต่อมาส. เลิกทำนาและย้ายครอบครัวออกไปแต่จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นพี่น้องของส. ยังคงปลูกบ้านอยู่บนที่พิพาทโดยไม่มีสิทธิใดๆขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อบ้านแต่ละหลังออกไปเป็นการอ้างว่าจำเลยทั้งสามเข้าไปอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิส.และจำเลยทั้งสามก็ให้การว่าที่พิพาทเป็นของมารดาจำเลยทั้งสามจำเลยทั้งสามครอบครองที่พิพาทตลอดมาจำเลยทั้งสามจึงมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีโจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีเดียวกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา59 โจทก์บรรยายฟ้องว่าส. เช่าที่พิพาทโฉนดเลขที่7และ11จากมารดาโจทก์ต่อมารดาโจทก์ถึงแก่กรรมโจทก์และพี่น้องจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์มาแล้วต่อมาส. ได้เลิกทำนาและย้ายครอบครัวออกไปแล้วแต่จำเลยทั้งสามไม่ออกขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนบ้านออกไปตามพฤติการณ์เห็นได้ว่าโจทก์มีเจตนาจะขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่7และ11ตั้งแต่ต้นเหตุที่โจทก์ไม่ได้ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่11ด้วยก็เพราะพิมพ์ข้อความตกไปฉะนั้นการที่โจทก์ขอแก้ไขคำขอท้ายฟ้องโดยขอเพิ่มเติมที่ดินโฉนดเลขที่11จึงเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยไม่อยู่ในบังคับทีจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา180วรรคสองและอาจทำได้แต่ฝ่ายเดียวโดยไม่ต้องให้จำเลยทั้งสามมีโอกาสคัดค้านตามมาตรา21(2)และไม่ต้องส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยทั้งสามทราบล่วงหน้าอย่างน้อย3วันก่อนกำหนดนัดพิจารณาคำร้องตามมาตรา181(1) คดีมีประเด็นโต้เถียงกันแต่เพียงว่าที่พิพาทเป็นของฝ่ายใดเท่านั้นไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการครอบครองปรปักษ์ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อนี้จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142และมาตรา183ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่ถูกต้องได้ โฉนดที่ดินเป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นจึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องเป็นหน้าที่ของจำเลยต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา127

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4586/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารมหาชนสันนิษฐานว่าแท้จริง ผู้ถูกอ้างต้องพิสูจน์ความไม่ถูกต้อง, คำร้องอนาถาต้องพิจารณาก่อนไต่สวน
หนังสือสัญญาให้ที่ดินที่ทำต่อเจ้าพนักงานที่ดินในการที่ พ.จดทะเบียนยกที่ดินให้แก่จำเลยเป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นย่อมสันนิษฐานว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่ถูกอ้างเอกสารฉบับนี้มายันต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารตาม ป.วิ.พ.มาตรา 127 เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นได้ว่าหนังสือสัญญาให้ที่ดินดังกล่าวไม่บริสุทธิ์หรือไม่ถูกต้อง ก็ต้องฟังว่าเอกสารดังกล่าวเป็นของแท้จริงและถูกต้อง
ศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาให้ครบถ้วนตามราคาที่ดินที่พิพาทก่อนอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา แต่โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีในชั้นฎีกาอย่างคนอนาถา ในกรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นมีหน้าที่จะต้องสั่งคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกาของโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา156 วรรคสาม การที่ศาลชั้นต้นไต่สวนพยานโจทก์จนเสร็จสิ้นแล้วส่งสำนวนมาให้ศาลฎีกาสั่งจึงเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้ไต่สวนพยานมาในชั้นนี้เสร็จสิ้นแล้วศาลฎีกาจึงมีคำสั่งไปเสียทีเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4586/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารมหาชนมีน้ำหนักเบา สิทธิในที่ดินพิพาท การพิสูจน์ความไม่ถูกต้องของเอกสาร
หนังสือสัญญาให้ที่ดินที่ทำต่อเจ้าพนักงานที่ดินในการที่ พ.จดทะเบียนยกที่ดินให้แก่จำเลยเป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นย่อมสันนิษฐานว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่ถูกอ้างเอกสารฉบับนี้มายันต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นได้ว่าหนังสือสัญญาให้ที่ดินดังกล่าวไม่บริสุทธิ์หรือไม่ถูกต้อง ก็ต้องฟังว่าเอกสาร ดังกล่าวเป็นของแท้จริงและถูกต้อง ศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาให้ครบถ้วนตามราคาที่ดินที่พิพาทก่อนอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา แต่โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีในชั้นฎีกาอย่างคนอนาถา ในกรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นมีหน้าที่จะต้องสั่งคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกาของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสามการที่ศาลชั้นต้นไต่สวนพยานโจทก์จนเสร็จสิ้นแล้วส่งสำนวนมาให้ศาลฎีกาสั่งจึงเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้ไต่สวนพยานมาในชั้นนี้เสร็จสิ้นแล้ว ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งไปเสียทีเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9239/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารจำนองเป็นเอกสารมหาชน สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยตามสัญญา
เอกสารการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นเอกสารมหาชนซึ่งป.วิ.พ.มาตรา 127 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ถูกเอกสารมายันจะต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสาร แต่จำเลยไม่มีพยานหลักฐานอย่างใด ดังนั้น โจทก์จึงนำสืบผู้รับมอบอำนาจโจทก์ประกอบเอกสารดังกล่าวก็เป็นการเพียงพอแล้ว ไม่จำต้องนำสืบเจ้าพนักงานที่ดินผู้จดทะเบียนอีก
โจทก์เป็นสถาบันการเงิน มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการเงินทุนโดยได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินเป็นความสมัครใจของจำเลยเอง อันเป็นการตกลงในเรื่องดอกเบี้ยสองลักษณะคือดอกเบี้ยปกติ (ร้อยละ 14.5 ต่อปี )กับดอกเบี้ยผิดนัด (ร้อยละ 18.5 ต่อปี)หากจำเลยได้ชำระหนี้ตามปกติโจทก์ย่อมไม่คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด แต่เมื่อจำเลยผิดนัดโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยเอาแก่จำเลยในอัตราผิดนัดตามที่ตกลงกันส่วนดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามหนังสือต่ออายุสัญญานั้น โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 ได้ตาม พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ.2523และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง การกำหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชนและการกำหนดอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่บริษัทเงินทุนอาจจ่ายหรืออาจเรียกได้ ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2533 ข้อตกลงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวตามสัญญากู้เงินย่อมผูกพันใช้บังคับกันได้ หาใช่เป็นเบี้ยปรับเป็นการเอารัดเอาเปรียบประชาชนไม่ จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7404/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารมหาชนเป็นหลักฐานได้ & อายุความการแบ่งมรดก: ศาลฎีกาพิพากษากลับ ให้แบ่งมรดกแม้เลยอายุความ
สำนวนคดีของศาลในคดีเรื่องอื่นซึ่งเป็นรายงานและสำนวนความของศาลที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน โดยให้ประชาชนได้ตรวจดูและอ้างเป็นพยาน ในสำนวนได้ ถือว่าเป็นเอกสารมหาชน จึงได้รับประโยชน์จาก ข้อสันนิษฐานเป็นคุณไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5411/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือสัญญาจำนองเป็นเอกสารมหาชน คู่ความต้องนำสืบหักล้างหากอ้างว่าไม่ถูกต้อง อำนาจฟ้องมีอยู่แล้ว
หนังสือสัญญาจำนองเป็นเอกสารราชการที่เจ้าพนักงานที่ดินได้ทำขึ้นและเป็นเอกสารมหาชน จึงต้องถือว่าข้อความถูกต้องตรงตามความเป็นจริงผู้ที่อ้างว่าไม่ถูกต้องจึงมีหน้าที่นำสืบหักล้างว่าเอกสารไม่ถูกต้องอย่างไร ตามป.วิ.พ. มาตรา 127
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่รับผิดต่อโจทก์ตามสัญญากู้ สัญญาค้ำประกัน และสัญญาจำนอง จำเลยทั้งสี่ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ทำสัญญากับโจทก์ตามฟ้อง ภายหลังวันชี้สองสถานและสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว จำเลยทั้งสี่ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ไม่มีหนังสือมอบอำนาจของโจทก์จากสำนักงานใหญ่ให้ผู้จัดการสาขาของโจทก์ที่จังหวัดพิษณุโลกหรือพนักงานอื่นใดทำสัญญาดังกล่าวแทน จึงขอตัดฟ้องว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องทั้งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยทั้งสี่จึงยื่นภายหลังวันชี้สองสถานได้ ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าตามฟ้องและพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสี่เป็นคู่สัญญากู้ สัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองกับโจทก์โดยตรง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยทั้งสี่ตามสัญญากู้ สัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองได้อยู่แล้ว แม้จำเลยทั้งสี่จะอ้างว่าข้อตัดฟ้องนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ตาม ก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์ที่มีอยู่แล้วเสียไป ทั้งไม่ทำให้รูปคดีของจำเลยทั้งสี่ดีขึ้นแต่อย่างใด กรณีจึงไม่มีเหตุอนุญาตให้จำเลยทั้งสี่แก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ
of 5