พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7029/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารรับเงินพร้อมลายมือชื่อ ถือเป็นหลักฐานการกู้ยืมได้ หากจำเลยไม่โต้แย้งการรับเงินและไม่มีเหตุไม่ต้องรับผิด
ใบรับเงินพิมพ์เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษทั้งหมดมีชื่อบริษัทโจทก์ที่หัวกระดาษถัดลงมาเป็นช่องจ่ายให้แก่ใครซึ่งได้กรอกชื่อจำเลยถัดลงมาเป็นช่องCREDITA/CCODEDATE4-12-92ถัดลงมาเป็นช่องกรอกรายการและจำนวนเงินมีกรอกรายการเป็นอักษรภาษาไทยว่า"ได้รับเงินแล้วจำนวน"และกรอกจำนวนเงินเป็นตัวอักษรและตัวเลขว่า"สามแสนบาทถ้วน"และ"300,000"มุมล่างด้านขวามือมีช่องสำหรับลงชื่อผู้รับเงินมีลายเซ็นผู้รับเงินปรากฎอยู่ในช่องดังกล่าวซึ่งคำฟ้องระบุว่าจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับเงินจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ข้อความในเอกสารดังกล่าวจึงเป็นหลักฐานว่าจำเลยได้รับเงินไปจากโจทก์จำนวน300,000บาทโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินจำนวนนี้ไปจากโจทก์จำเลยให้การแต่เพียงว่าจำเลยไม่ได้กู้เงินโจทก์โดยไม่ปรากฎข้อต่อสู้ว่าเหตุใดจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินดังกล่าวคืนโจทก์ถือได้ว่าจำเลยมีหนี้ที่จะต้องชำระเงินจำนวนดังกล่าวคืนให้โจทก์จึงถือได้ว่าเอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5053/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความเอกสารการรับเงินมัดจำ และความรับผิดของจำเลยในการส่งคืนเงินเมื่อไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ตกลงซื้อที่ดินพร้อมตึกแถวจากจำเลย โดยโจทก์วางมัดจำให้จำเลยและจำเลยได้ออกใบเสร็จรับเงินไว้ให้ส่วนราคาที่เหลือโจทก์จะชำระให้จำเลยในวันที่จำเลยจัดการให้เจ้าของกรรมสิทธิ์จัดการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ได้ต่อมาจำเลยไม่สามารถนำเจ้าของที่ดินและตึกแถวมาทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ได้ โจทก์จึงให้จำเลยคืนเงินมัดจำ แต่จำเลยเพิกเฉย จึงขอให้จำเลยชำระเงินดังกล่าว จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยทำหรือให้สัญญาแก่โจทก์ว่าจะจัดการให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไปทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ตึกแถวและที่ดินแก่โจทก์ส่วนใบเสร็จรับเงินที่โจทก์กล่าวอ้างนั้นเป็นใบเสร็จรับเงินที่จำเลยออกเพื่อรับเงินไว้แทน ว.ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยว. รับเงินจำนวนดังกล่าวทั้งหมดไปแล้ว โจทก์ชอบที่จะไล่เบี้ยเอาจาก ว.ขอให้ยกฟ้อง ดังนี้ ในการตีความตามเอกสารใบเสร็จรับเงินที่จำเลยทำขึ้นแล้วมอบไว้ต่อโจทก์นั้น เมื่อไม่มีข้อความว่ารับเงินไว้แทนใครการที่จำเลยให้การว่ารับเงินไว้แทน ว. ลูกจ้างของจำเลย แต่โจทก์ไม่ได้สั่งให้จำเลยรับเงินไว้เพื่อให้จำเลยมอบต่อไปให้ผู้ใด โจทก์จึงเป็นฝ่ายผู้ต้องเสียหายในมูลหนี้ในเงินมัดจำที่มอบไว้ตามหลักฐานเป็นหนังสือ ในกรณีที่มีข้อสงสัยจึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่โจทก์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4973/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารรับเงิน ไม่ถือเป็นหลักฐานการกู้ยืม หากไม่มีข้อความระบุหนี้ชัดเจน
เอกสารที่มีข้อความเพียงว่าจำเลยที่ ๑ รับเงินไปจากโจทก์ จำนวนหนึ่ง แม้จำเลยที่ ๑ ลงชื่อในเอกสารดังกล่าวก็ตามก็ไม่อาจแปล ได้ว่าจำเลยที่ ๑ กู้ยืมเงินโจทก์หรือเป็นหนี้โจทก์หรือมีหนี้ ที่ซึ่งจำเลยที่ ๑ จะต้องชำระแก่โจทก์แต่ประการใด จึงไม่ใช่หลักฐาน แห่งการกู้ยืมเงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4973/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารรับเงินไม่ใช่หลักฐานการกู้ยืม หากไม่มีเจตนาชัดเจนถึงหนี้สิน
เอกสารที่มีข้อความเพียงว่าจำเลยที่ 1 รับเงินไปจากโจทก์จำนวนหนึ่ง แม้จำเลยที่ 1 ลงชื่อในเอกสารดังกล่าวก็ตามก็ไม่อาจแปลได้ว่าจำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์หรือเป็นหนี้โจทก์หรือมีหนี้ที่ซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องชำระแก่โจทก์แต่ประการใด จึงไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารรับเงินไม่ถือเป็นหลักฐานการกู้ยืม หากข้อความไม่แสดงเจตนาการกู้ยืม
เอกสารท้ายฟ้องฉบับแรกมีข้อความว่า "โปรดมอบเงินจำนวน๑๕,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาท) ให้กับนาย นเรศ แซ่ทวยผู้ถือบัตรนี้มาด้วยครับ" และอีกฉบับหนึ่งมีข้อความว่า "ได้รับเงินจากพี่ เล็ก ๑๕,๐๐๐ บาท" ดังนี้ ข้อความในเอกสารทั้งสองฉบับไม่อาจแปลได้ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์หรือเป็นหนี้โจทก์ จึงไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๕๓วรรคหนึ่ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารรับเงินไม่ถือเป็นหลักฐานการกู้ยืม หากข้อความไม่แสดงเจตนาสร้างหนี้
เอกสารท้ายฟ้องฉบับแรกมีข้อความว่า "โปรดมอบเงินจำนวน 15,000บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาท) ให้กับนายนเรศแซ่ทวย ผู้ถือบัตรนี้มาด้วยครับ" และอีกฉบับหนึ่งมีข้อความว่า "ได้รับเงินจากพี่เล็ก15,000 บาท" ดังนี้ ข้อความในเอกสารทั้งสองฉบับไม่อาจแปลได้ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์หรือเป็นหนี้โจทก์ จึงไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารรับเงินไม่ถือเป็นหลักฐานการกู้ยืม หากเนื้อหาไม่ชัดเจนถึงการก่อหนี้
เอกสารท้ายฟ้องฉบับแรกมีข้อความว่า "โปรดมอบเงินจำนวน15,000 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาท) ให้กับนาย นเรศแซ่ทวยผู้ถือบัตรนี้มาด้วยครับ" และอีกฉบับหนึ่งมีข้อความว่า "ได้รับเงินจากพี่ เล็ก 15,000 บาท" ดังนี้ ข้อความในเอกสารทั้งสองฉบับไม่อาจแปลได้ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์หรือเป็นหนี้โจทก์ จึงไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653วรรคหนึ่ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2989-2991/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จโดยเอกสารรับเงิน: การระงับสิทธิและขอบเขตการเรียกร้อง
เงินบำเหน็จเป็นเงินที่นายจ้างตอบแทนคุณความดีของลูกจ้างที่ได้ทำงานร่วมกับนายจ้างด้วยดีตลอดมาเงินประเภทนี้กฎหมายมิได้บังคับนายจ้างว่าจะต้องจ่ายแก่ลูกจ้างนายจ้างจะจ่ายให้หรือไม่ ด้วยหลักเกณฑ์อย่างไรแล้วแต่จะเห็นสมควรข้อพิพาทเกี่ยวด้วยเงินบำเหน็จจึงมิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนนายจ้างและลูกจ้างทำข้อตกลงให้ระงับสิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จจากนายจ้างได้
แบบพิมพ์ดีดเอกสารซึ่งนายจ้างจัดทำขึ้นระบุรายการเกี่ยวกับเงินต่าง ๆ ตามสิทธิและตามกฎหมายที่ลูกจ้างจะได้รับจากนายจ้างและระบุว่าลูกจ้างได้รับเงินค่าชดเชยและเงินบำเหน็จตามจำนวนที่ระบุไว้ เมื่อเอกสารดังกล่าวมีข้อความระบุไว้ด้วยว่าลูกจ้างไม่ติดใจเรียกร้องเงิน สิทธิ และประโยชน์อื่นใดจากนายจ้างอีกทั้งสิ้น ดังนี้ ลูกจ้างได้สละสิทธิเรียกร้องบำเหน็จนอกเหนือจากที่ปรากฏในเอกสารดังกล่าวแล้ว ลูกจ้างย่อมถูกผูกพันตามข้อความนั้นและไม่มีสิทธิจะเรียกร้องเงินบำเหน็จส่วนที่ขาดอีก
แบบพิมพ์ดีดเอกสารซึ่งนายจ้างจัดทำขึ้นระบุรายการเกี่ยวกับเงินต่าง ๆ ตามสิทธิและตามกฎหมายที่ลูกจ้างจะได้รับจากนายจ้างและระบุว่าลูกจ้างได้รับเงินค่าชดเชยและเงินบำเหน็จตามจำนวนที่ระบุไว้ เมื่อเอกสารดังกล่าวมีข้อความระบุไว้ด้วยว่าลูกจ้างไม่ติดใจเรียกร้องเงิน สิทธิ และประโยชน์อื่นใดจากนายจ้างอีกทั้งสิ้น ดังนี้ ลูกจ้างได้สละสิทธิเรียกร้องบำเหน็จนอกเหนือจากที่ปรากฏในเอกสารดังกล่าวแล้ว ลูกจ้างย่อมถูกผูกพันตามข้อความนั้นและไม่มีสิทธิจะเรียกร้องเงินบำเหน็จส่วนที่ขาดอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1627/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารรับเงินที่มิได้มีแบบพิมพ์และไม่มีลายมือชื่อกรรมการ ถือเป็นใบรับตามประมวลรัษฎากร ต้องปิดอากรแสตมป์
ในการลงบัญชีของบริษัทโจทก์ได้ลงตามใบสำคัญ รายการใดไม่มีใบสำคัญแต่มีบันทึกของผู้จัดการเป็นภาษาจีน ผู้ช่วยสมุห์บัญชีก็จะคัดลอกเป็นภาษาไทยไว้เป็นเอกสารลงบัญชี เอกสารดังกล่าวนี้จึงเป็นเอกสารของบริษัทโจทก์ ทำขึ้นเพื่อประกอบการลงบัญชีของโจทก์ ไม่ใช่ทำขึ้นเป็นการส่วนตัวของผู้ช่วยสมุห์บัญชี เมื่อเอกสารดังกล่าวมีข้อความโจทก์ได้รับเงินตามรายการในเอกสารนั้น และโจทก์เป็นผู้ทำขึ้นแล้วจะมีลายมือชื่อของบุคคลใด ๆ หรือไม่ไม่สำคัญ ถือได้ว่าเป็นใบรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 103 แล้ว และเมื่อเป็นใบรับแล้วแม้จะไม่ใช่แบบพิมพ์ของบริษัทโจทก์ ไม่มีกรรมการบริษัทเซ็นชื่อ หรือไม่ใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องทำใบรับก็ตาม ใบรับนั้นก็ต้องปิดอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28 ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่จะได้รับยกเว้นตามกฎหมาย
เมื่อบริษัทโจทก์เริ่มก่อตั้งเงินของบริษัทไม่พอใช้ บรรดาผู้ถือหุ้นได้ออกเงินทดรองให้บริษัทโจกท์ เงินนี้บริษัทโจทก์ไม่ให้ดอกเบี้ยเพราะถือเป็นกันเองระหว่างญาติ ดังนี้เมื่อบริษัทโจทก์เป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นให้บริษัทโจทก์ยืมเงินในฐานะส่วนตัวของผู้ถือหุ้นแต่ละคน การที่บริษัทโจทก์ออกใบรับในกรณีรับเงินนี้ มิใช่ใบรับที่บุคคลในคณะบุคคลซึ่งกระทำกิจการร่วมกันออกให้ซึ่งกันและกันตามหน้าที่เพื่อดำเนินกิจการของคณะบุคคลนั้น โจทก์จึงจำต้องปิดอากรแสตมป์ในใบรับรองดังกล่าว เพราะไม่เข้าข้อยกเว้นตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 25 ฒ.
ผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ยืมเงินบริษัทโจทก์ไปใช้สอยส่วนตัวแล้วชำระคืนให้โจทก์ในการรับชำระเงินคืน บริษัทโจทก์ได้ออกใบรับให้ผู้จัดการไปด้วย แต่ฟังไม่ได้ว่าใบรับนั้นได้ปิดอากรแสตมป์แล้ว ฉะนั้น ใบรับเงินชำระหนี้ที่ค้างดังกล่าวซึ่งโจทก์ทำขึ้นและโจทก์เป็นผู้ทรงอยู่ โจทก์จึงต้องเป็นผู้ปิดแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28
เมื่อโจทก์ต้องเสียอากรสำหรับใบรับเงินทดรองและใบรับชำระหนี้ค้าง แต่โจทก์ไม่ได้ปิดแสตมป์ให้ถูกต้องจนพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบ พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจที่จะเรียกเงินอากรจนครบ และเงินเพิ่มอากรจากโจทก์ได้
บริษัทโจทก์กู้เงินจากบุคคลภายนอกและได้ทำใบรับเงินกู้ไว้ เมื่อการกู้นั้นมีสัญญากู้ซึ่งปิดอากรแสตมป์มีจำนวนไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้ว โจทก์ก็ไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ซ้ำในใบรับอีก แม้ปรากฏว่าแสตมป์ปิดในสัญญากู้ไม่ได้ลงวัน เดือน ปี ก็ตาม แต่เมื่อสัญญากู้ได้ปิดอากรแสตมป์เป็นราคาไม่น้อยกว่า อากรที่ต้องเสียและได้ขีดฆ่าที่ปิดทับกระดาษเพื่อมิให้แสตมป์ใช้ได้อีก ก็ย่อมเป็นการปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามมาตรา 103 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 561/2487 และ 461/2488)
เมื่อบริษัทโจทก์เริ่มก่อตั้งเงินของบริษัทไม่พอใช้ บรรดาผู้ถือหุ้นได้ออกเงินทดรองให้บริษัทโจกท์ เงินนี้บริษัทโจทก์ไม่ให้ดอกเบี้ยเพราะถือเป็นกันเองระหว่างญาติ ดังนี้เมื่อบริษัทโจทก์เป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นให้บริษัทโจทก์ยืมเงินในฐานะส่วนตัวของผู้ถือหุ้นแต่ละคน การที่บริษัทโจทก์ออกใบรับในกรณีรับเงินนี้ มิใช่ใบรับที่บุคคลในคณะบุคคลซึ่งกระทำกิจการร่วมกันออกให้ซึ่งกันและกันตามหน้าที่เพื่อดำเนินกิจการของคณะบุคคลนั้น โจทก์จึงจำต้องปิดอากรแสตมป์ในใบรับรองดังกล่าว เพราะไม่เข้าข้อยกเว้นตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 25 ฒ.
ผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ยืมเงินบริษัทโจทก์ไปใช้สอยส่วนตัวแล้วชำระคืนให้โจทก์ในการรับชำระเงินคืน บริษัทโจทก์ได้ออกใบรับให้ผู้จัดการไปด้วย แต่ฟังไม่ได้ว่าใบรับนั้นได้ปิดอากรแสตมป์แล้ว ฉะนั้น ใบรับเงินชำระหนี้ที่ค้างดังกล่าวซึ่งโจทก์ทำขึ้นและโจทก์เป็นผู้ทรงอยู่ โจทก์จึงต้องเป็นผู้ปิดแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28
เมื่อโจทก์ต้องเสียอากรสำหรับใบรับเงินทดรองและใบรับชำระหนี้ค้าง แต่โจทก์ไม่ได้ปิดแสตมป์ให้ถูกต้องจนพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบ พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจที่จะเรียกเงินอากรจนครบ และเงินเพิ่มอากรจากโจทก์ได้
บริษัทโจทก์กู้เงินจากบุคคลภายนอกและได้ทำใบรับเงินกู้ไว้ เมื่อการกู้นั้นมีสัญญากู้ซึ่งปิดอากรแสตมป์มีจำนวนไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้ว โจทก์ก็ไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ซ้ำในใบรับอีก แม้ปรากฏว่าแสตมป์ปิดในสัญญากู้ไม่ได้ลงวัน เดือน ปี ก็ตาม แต่เมื่อสัญญากู้ได้ปิดอากรแสตมป์เป็นราคาไม่น้อยกว่า อากรที่ต้องเสียและได้ขีดฆ่าที่ปิดทับกระดาษเพื่อมิให้แสตมป์ใช้ได้อีก ก็ย่อมเป็นการปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามมาตรา 103 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 561/2487 และ 461/2488)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1765/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารรับเงินชำระหนี้ที่ไม่ใช่ใบรับตามประมวลรัษฎากร ใช้เป็นหลักฐานการใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้
เอกสารที่มีข้อความว่า "วันนี้ ข้าพเจ้านายสำราญ พานิชย์ ตัวแทนของนายยักโม ฮัลซิงห์ ได้รับชำระหนี้จากนายชัยยุทธ วงษ์เมธา ลูกหนี้ของนายยักโม ฮัลซิงห์ตามสัญญากู้ลงวันที่ 1 มกราคม 2506เป็นเงิน 14,800 บาท พร้อมดอกเบี้ยครบถ้วนแล้ว และข้าพเจ้าจะได้นำเงินทั้งหมดนี้ไปชำระให้นายยักโม ฮัลซิงห์ เจ้าหนี้ต่อไปจึงได้ลงชื่อไว้เป็นหลักฐาน" นั้น เป็นหลักฐานแสดงถึงฐานะของนายสำราญตัวแทนโจทก์ในอันที่จะรับชำระหนี้จากลูกหนี้เป็นหลักฐานแสดงว่าตัวแทนได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้แทนตัวการแล้วและเป็นหลักฐานแสดงว่าตัวแทนจะเอาเงินดังกล่าวไปส่งแก่ตัวการต่อไป เช่นนี้ ไม่เป็นใบรับตามประมวลรัษฎากร แต่เป็นหลักฐานการใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรค 2(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2515)