คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แก้ไขข้อตกลง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำสัญญากู้เงินโดยความยินยอม การแก้ไขข้อตกลงเดิม และผลของการผิดสัญญา
จำเลยมีความรู้ด้านกฎหมายเป็นอย่างดี และมีประสบการณ์จากการเป็นทนายความ จึงย่อมต้องมีความระมัดระวัง และมีความละเอียดรอบคอบในการทำสัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำสัญญาที่ผูกพันตนเอง ไม่น่าเชื่อว่าจำเลยจะลงลายมือชื่อทำสัญญาในขณะที่ยังได้กรอกข้อความในเอกสารให้ครบถ้วน และแม้ในการขอกู้เงินจะกำหนดเวลาการผ่อนชำระหนี้ไว้เดือนละ 5,000 บาท ภายในกำหนดเวลา 5 ปี แต่ต่อมาเมื่อทำสัญญาเงินกู้กันโดยได้มีการกำหนดเวลาชำระหนี้ในสัญญาเงินกู้ว่าจะชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา 1 ปี ซึ่งจำแลยยินยอมลงลายมือชื่อโดยไม่โต้แย้งคัดค้านประการใด ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยสมัครใจยกเลิกกำหนดเวลาชำระหนี้ตามข้อตกลงเดิมและกำหนดชำระหนี้กันใหม่ตามที่ระบุในสัญญากู้เงินคือชำระภายในกำหนด 1 ปี จำเลยจึงมิได้ทำสัญญาเงินกู้โดยสำคัญผิดในเงื่อนกำหนดเวลาชำระหนี้ หรือเพราะถูกโจทก์ใช้กลฉ้อฉลแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9381-9407/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจรัฐวิสาหกิจแก้ไขข้อตกลงสภาพการจ้าง และการจ่ายเงินบำเหน็จตามมติคณะรัฐมนตรี
โจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.การปิโตเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2521 จึงต้องห้ามมิให้นำพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาใช้บังคับแก่โจทก์และพนักงานหรือลูกจ้างของโจทก์ตามมาตรา 4 (4) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือ ได้รับความยินยอมหรือต้องเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าแต่อย่างใด ประกอบกับพ.ร.บ. พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 มาตรา 11 (1), 18 (1) (3) และระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 49 ให้อำนาจรัฐวิสาหกิจแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างได้โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของฝ่ายบริหารพนักงาน ฐานะ ความรับผิดชอบ ความสามารถของรัฐวิสาหกิจ ตลอดจนผลกระทบต่อการบริการประชาชนเป็นสำคัญหาจำต้องได้รับความยินยอมจากพนักงานหรือลูกจ้างไม่ แม้ในมาตรา 54 วรรคสอง จะกำหนดให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งมีอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับให้ยังคงใช้บังคับต่อไปก็ตาม แต่ก็มิได้เป็นบทบัญญัติที่ห้ามมิให้แก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ทั้งโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจมีหน้าที่ต้องบริหารงานภายใต้นโยบายของรัฐบาลและต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีจึงมีอำนาจแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างได้โดยมีผลเป็นการแก้ไขและบังคับใช้ตั้งแต่วันลงมติ ส่วนที่มติดังกล่าวกำหนดให้แก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีด้วย ก็เพียงเพื่อให้ปรากฏการแก้ไขในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยมติคณะรัฐมนตรีเท่านั้น หาได้เป็นเงื่อนไขที่จะทำให้มติคณะรัฐมนตรีไม่มีผลใช้บังคับแต่อย่างใด จำเลยเป็นพนักงานของโจทก์ สิทธิของจำเลยจะได้รับเงินบำเหน็จเพียงใดต้องเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1128/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขข้อตกลงสภาพการจ้างต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง การเปลี่ยนแปลงโทษทางวินัยที่หนักขึ้นทำไม่ได้หากไม่ได้รับความยินยอม
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย มีสภาพเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เมื่อบริษัทจำเลยได้มีประกาศแก้ไขเปลี่ยนแปลงการลงโทษทางวินัยลูกจ้างที่ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหนักขึ้นกว่าที่กำหนดไว้ ซึ่งไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 13 กำหนดไว้ เมื่อไม่ปรากฏว่าบริษัทจำเลยได้แจ้งข้อเรียกร้องให้มีการแก้ไขข้อตกลง หรือฝ่ายลูกจ้างได้ให้ความยินยอมแต่อย่างใด เพียงแต่บริษัทจำเลยได้ปิดประกาศให้ลูกจ้างทราบ แม้จะไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านก็ตาม ก็ยังไม่อาจถือว่าลูกจ้างให้ความยินยอมที่บริษัทจำเลยเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว ดังนั้น ประกาศของจำเลย จึงไม่มีผลใช้บังคับกับบรรดาลูกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5348/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขข้อตกลงในสัญญากู้ยืมเงิน, ดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด, และอำนาจศาลในการสั่งค่าฤชาธรรมเนียม
สัญญากู้ยืมเงินมีข้อความระบุชัดเจนว่าจำเลยได้รับเงิน80,000 บาท ไปแล้วในวันทำสัญญา การที่จำเลยนำสืบว่าไม่ได้รับเงินเต็มตามจำนวน 80,000 บาท ตามที่ระบุไว้ในสัญญา เนื่องจากโจทก์นำหนี้เงินกู้เดิม 10,000 บาทรวมกับยอดหนี้เงินกู้ใหม่ 13,000 บาท แล้วโจทก์คิดต้นเงินรวมกับดอกเบี้ยเป็นจำนวน 70,000 บาท โดยให้จำเลยผ่อนชำระเดือนละ 1,000 บาท เป็นเวลา 70 เดือน เป็นการนำสืบว่าจำเลยได้รับเงินไปจากโจทก์จำนวนเท่าใด ไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญากู้ยืมเงินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)แต่เป็นการนำพยานบุคคลมาสืบถึงความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้ตามมาตรา 94 วรรคท้าย จำเลยย่อมนำสืบได้ จำเลยกู้เงินโจทก์ 23,000 บาท มิใช่ 80,000 บาท ตามที่ระบุในสัญญากู้ยืมเงิน และโจทก์คิดดอกเบี้ยโดยนำต้นเงินรวมกับดอกเบี้ยเป็นจำนวน 70,000 บาท แล้วให้จำเลยชำระเดือนละ 1,000 บาท เป็นเวลา 70 เดือน เมื่อคำนวณแล้วได้เป็นอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ดอกเบี้ยจึงเป็นโมฆะ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161และ 167 บัญญัติให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ ดังนั้น แม้ว่าในคำให้การของจำเลยมิได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแก่จำเลย ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนจำเลยคดีนี้จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้ง คำให้การของจำเลยที่ขอให้ศาลไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทและที่จำเลยไม่ได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแทนจำเลยไม่ใช่คำขอท้ายคำฟ้อง จึงไม่มีกรณีที่ศาลจะพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4961/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยนายจ้างที่ไม่ขัดต่อกฎหมายแรงงานสัมพันธ์
ระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 67 ว่าด้วยเงินทุนเลี้ยงชีพของพนักงานธนาคารออมสินเป็นระเบียบที่จำเลยประกาศใช้บังคับขึ้นเอง ไม่ได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้อง แม้โจทก์จำเลยจะเคยมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องกำหนดให้ข้อบังคับ ระเบียบการ และคำสั่งของจำเลยเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีอยู่ ให้ถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ก็ไม่ทำให้ระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 67 ซึ่งมิได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องกลายเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องไปได้ การที่จำเลยประกาศใช้ระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 202 ว่าด้วยเงินทุนเลี้ยงชีพของพนักงานธนาคารออมสิน (แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 9) เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2527 โดยเพิ่มเงื่อนไขที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับเงินทุนเลี้ยงชีพมากกว่าระเบียบฉบับที่ 67 อีกสองข้อ แล้วใช้บังคับแก่พนักงานใหม่ทีเข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2527 เท่านั้น จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4961/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแรงงาน ต้องเกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้อง หากมิได้แจ้งข้อเรียกร้อง นายจ้างมีสิทธิกำหนดเงื่อนไขใหม่แก่ลูกจ้างใหม่ได้
ระเบียบการธนาคาร ออมสิน ฉบับที่ 67 ว่าด้วยเงินทุนเลี้ยงชีพของพนักงานธนาคาร ออมสิน เป็นระเบียบที่จำเลยประกาศใช้บังคับขึ้นเอง ไม่ได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องแม้โจทก์จำเลยจะเคยมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องกำหนดให้ข้อบังคับ ระเบียบการ และคำสั่งของจำเลยเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีอยู่ ให้ถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ก็ไม่ทำให้ระเบียบการธนาคาร ออมสิน ฉบับที่ 67 ซึ่งมิได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องกลายเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องไปได้ การที่จำเลยประกาศใช้ระเบียบการธนาคาร ออมสิน ฉบับที่ 202 ว่าด้วยเงินทุนเลี้ยงชีพของพนักงานธนาคาร ออมสิน (แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 9) เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม2527 โดยเพิ่มเงื่อนไขที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับเงินทุนเลี้ยงชีพมากกว่าระเบียบฉบับที่ 67 อีกสองข้อ แล้วใช้บังคับแก่พนักงานใหม่ทีเข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2527 เท่านั้น จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3514/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขข้อตกลงสภาพการจ้างต้องได้รับความยินยอมจากทุกฝ่าย และต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย มิฉะนั้นไม่มีผลบังคับ
การแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนอกจากจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนตามที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์กำหนดไว้แล้ว ยังจะต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งด้วยมิฉะนั้นจะไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3073/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การแก้ไขข้อตกลงสภาพการจ้าง และอำนาจสั่งจ่ายค่าเสียหายของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
การที่นายจ้างกับลูกจ้างจะทำข้อตกลงกันใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นทั้งสองฝ่ายจะต้องกระทำให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518มาตรา 13 แล้วดำเนินการตามบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 13 ด้วย นายจ้างไม่อาจกระทำได้ฝ่ายเดียว
การที่ลูกจ้างเล่นการพนันในบริเวณโรงงานเป็นครั้งแรกไม่ถือว่าลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างในกรณีที่ร้ายแรง นายจ้างจึงไม่มีสิทธิเลิกจ้าง โดยมิได้ว่ากล่าวและตักเตือนเป็นหนังสือก่อน ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123(3)
ในการชี้ขาดคำร้องตามมาตรา 125 เมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เห็นว่าการกระทำของนายจ้างตามที่ถูกลูกจ้างยื่นคำร้องกล่าวหาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก็มีอำนาจสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายได้ โดยไม่ต้องมีคำขอเรียกร้องค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1734/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขข้อตกลงสัญญาประนีประนอมยอมความและการไม่ติดใจในประเด็นที่เคยกล่าวอ้าง
จำเลยยื่นคำร้องว่าห้องที่โจทก์จะจัดให้จำเลยเช่าตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีความกว้างเพียง 2.20 เมตรผิดไปจากข้อตกลง โจทก์จึงยื่นคำคัดค้านและว่าห้องที่จำเลยอ้างมิใช่ห้องที่จะจัดให้จำเลยเช่า โจทก์จะจัดให้จำเลยได้ตึกแถว 2 ชั้นที่ก่อสร้างขึ้นใหม่ 1 ห้องมีความกว้าง 3.50 เมตรตามข้อตกลงคู่ความแถลงว่า กรณีอาจตกลงกันได้ แล้วคู่ความได้ยื่นคำแถลงร่วมกันว่าโจทก์ตกลงให้จำเลยเช่าตึกแถว 2 ชั้น 1 ห้องกว้างไม่น้อยกว่า3.50 เมตรลึกประมาณ 9 เมตร ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องว่าจำเลยได้ตรวจตึกแถวที่โจทก์จะให้จำเลยเช่า ปรากฏว่าด้านหลังมีความกว้างเพียง 3 เมตร และไม่ถูกต้องตามแบบแปลน ห้องชั้นล่างไม่มีช่องระบายอากาศ ไม่มีประตู ไม่มีท่อระบายน้ำ ดังนี้ เห็นว่าจำเลยตั้งประเด็นตามคำร้องฉบับนี้ขึ้น 5 ประการ คือ ความกว้างของตึกด้านหลัง การก่อสร้างผิดแบบแปลน ห้องชั้นล่างไม่มีช่องระบายอากาศ ไม่มีประตู ไม่มีท่อระบายน้ำ โจทก์แถลงรับว่ายังไม่ได้ทำช่องระบายอากาศ เพราะติดอาคารโรงแรม ถ้าจำเลยมีความประสงค์ก็จะทำให้ ส่วนประตูกับท่อระบายน้ำมีแล้ว จำเลยแถลงขอเวลาไปตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งจะแถลงในนัดต่อไป ต่อมาคู่ความแถลงตกลงกันให้สถาปนิกแก้ไขให้มีช่องลมหรือหน้าต่างเฉพาะห้องชั้นที่สองดังนี้ เห็นได้ว่าจำเลยติดใจในประเด็นที่ว่า จะให้สถาปนิกแก้ไข ให้มีช่องลมหรือหน้าต่างเฉพาะห้องชั้นที่สองเท่านั้น ส่วนประเด็นที่จำเลยอ้างว่าด้านหลังห้องมีความกว้างเพียง 3 เมตรก็ดีการก่อสร้างไม่ถูกแบบแปลนก็ดี จำเลยไม่ติดใจต่อไปแล้วจำเลยจะกลับยกขึ้นมาเป็นประเด็นอีกหาได้ไม่
ข้อที่ว่า จนบัดนี้เป็นเวลาเกิน 1 ปีตามสัญญาประนีประนอมยอมความจำเลยยังไม่ได้รับมอบห้องแถวดังที่ตกลงไว้นั้น จำเลยมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในคำร้องที่อ้างว่า โจทก์ปฏิบัติผิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นเรื่องนอกประเด็น ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วน การสืบพยานเพื่อแก้ไขข้อตกลงในสัญญาขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
จำเลยทำหนังสือสัญญาขายที่ดินให้โจทก์มีข้อความว่า"การขายรายนี้เป็นการขายเฉพาะส่วนของผู้ขายเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ของผู้มีส่วนร่วมอื่น ทั้งไม่ทราบเขตและเนื้อที่มากน้อยเพียงใดด้วย" ซึ่งปรากฏว่าจำเลยมีส่วนอยู่ 1 ใน 4 อันเป็นส่วนเฉพาะในโฉนดที่ดินแปลงนั้นดังนี้ จำเลยจะขอสืบว่าได้ตกลงจะขายเป็นบางส่วนของตนไม่ได้ เพราะเป็นการสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
of 2