คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แก้ไขงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4087/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมา: ผู้รับจ้างต้องแก้ไขงานชำรุดตามสัญญา หากไม่ทำตาม ผู้ว่าจ้างมีสิทธิจ้างผู้อื่น แต่ต้องแจ้งให้แก้ไขก่อน
ตามหนังสือสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างเอกสารหมาย จ. 6 ข้อ 6 ระบุว่า "ภายในกำหนด 12 เดือน นับแต่วันที่ผู้ว่าจ้างได้รับมอบงานนี้จากผู้รับจ้างเป็นต้นไป ถ้ามีเหตุชำรุดเสียหายแก่งานจ้างนี้โดยผู้รับจ้างทำไว้ไม่เรียบร้อยหรือใช้สัมภาระที่ไม่ดี ผู้รับจ้างจะทำการแก้ไขใหม่ทันทีโดยไม่คิดราคาสิ่งของสัมภาระและค่าแรงงานจากผู้ว่าจ้างอีก ถ้าผู้รับจ้างบิดพริ้วไม่จัดการแก้ไขหรือซ่อมให้เป็นที่เรียบร้อยภายในกำหนดเวลาที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้าง ผู้ว่าจ้างมีอำนาจจ้างผู้อื่นทำแทนต่อไป โดยผู้รับจ้างยินยอมจ่ายเงินค่าจ้างในการแก้ไขเท่าที่สร้างจริงโดยสิ้นเชิง" จากข้อตกลงดังกล่าวมีความหมายว่า ภายใน 12 เดือน นับแต่วันรับมอบงานที่ก่อสร้าง ถ้ามีความชำรุดเสียหายเกิดขึ้นแก่งานที่ก่อสร้าง โจทก์มีอำนาจจ้างผู้อื่นแก้ไขซ่อมแซมงานได้ โดยมีเงื่อนไขว่า โจทก์ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างต้องมีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างให้แก้ไขซ่อมแซมภายในเวลาที่กำหนดก่อนแล้วจำเลยที่ 1 ไม่แก้ไขซ่อมแซม แต่หนังสือที่โจทก์แจ้งแก่จำเลยที่ 1 เป็นเพียงหนังสือแจ้งเกี่ยวกับเรื่องจำเลยที่ 1 ก่อสร้างบางรายการไม่ถูกต้องตามแบบ ไม่ดำเนินการเก็บงานให้เรียบร้อย จะให้บริษัท ป. เข้าดำเนินการตรวจสอบซ่อมแซมและก่อสร้างให้เรียบร้อยถูกต้องตามแบบโดยจำเลยที่ 1 ต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเท่านั้น ถึงจะมีบางฉบับระบุด้วยว่ามีความเสียหายเกิดขึ้น แต่ก็ไม่มีรายละเอียดว่าเป็นความเสียหายส่วนใดของงานก่อสร้าง และแม้บางฉบับโจทก์จะได้สรุปความเสียหายให้จำเลยที่ 1 ทราบถึงรายละเอียดงานก่อสร้างซ่อมแซม และขอให้จำเลยที่ 1 ส่งผู้ควบคุมงานเพื่อตรวจสอบงานก่อสร้างบางอย่างที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ก็ตาม แต่ในขณะที่โจทก์มีหนังสือฉบับดังกล่าวก็เป็นระยะเวลาภายหลังที่โจทก์ตัดสินใจให้บริษัท ป. เข้าซ่อมแซมงานก่อสร้างแล้ว ดังนั้น หนังสือที่โจทก์มีถึงจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่หนังสือที่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 1 แก้ไขซ่อมแซมความชำรุดเสียหายงานก่อสร้างภายในเวลาที่กำหนดตาม เงื่อนไขในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง เอกสารหมาย จ. 6 ข้อ 6 เท่ากับว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้แก้ไขซ่อมแซมงานก่อสร้างที่ชำรุดเสียหาย จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 519/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงค่าจ้างของผู้รับจ้างเมื่องานชำรุด และขอบเขตความรับผิดของผู้รับจ้างในการแก้ไขงาน
จำเลยซื้อแผ่นพลาสติกพร้อมติดตั้งจากโจทก์เพื่อใช้ปูบ่อบำบัดน้ำเสียของจำเลยโจทก์ส่งมอบงานปูแผ่นพลาสติกในบ่อบำบัดน้ำเสียให้จำเลยเรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นจำเลยใช้บ่อบำบัดน้ำเสียได้ประมาณ 2 ถึง 3 เดือน แผ่นพลาสติกที่ปูไว้ได้โป่งพองลอยขึ้นอันเป็นความบกพร่องซึ่งไม่พึงพบได้ในขณะเมื่อส่งมอบ โจทก์จึงต้องรับผิดต่อจำเลยอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 598 โดยจำเลยมีสิทธิยึดหน่วงค่าจ้างไว้ได้แต่เพียงเพื่อให้โจทก์แก้ไขซ่อมแซมความชำรุดบกพร่องดังกล่าวเท่านั้น เมื่อโจทก์ติดต่อกับจำเลยขอเข้าไปแก้ไขซ่อมแซมหลายครั้ง แต่จำเลยไม่ยอมโดยอ้างถึงความจำเป็นที่ต้องใช้บ่อบำบัดน้ำเสียดังกล่าว ไม่สามารถสูบน้ำออกจากบ่อได้เพราะจะทำให้เสียรายได้ ถือเป็นข้ออ้างที่ไม่อยู่ในวิสัยที่โจทก์ซึ่งเป็นเพียงผู้รับจ้างจะสามารถดำเนินการได้โดยลำพัง ดังนั้นการที่โจทก์ไม่สามารถแก้ไขซ่อมแซมความชำรุดบกพร่องของงานได้จึงไม่ใช่ความผิดของโจทก์ จำเลยไม่มีสิทธิยึดหน่วงค่าจ้างที่ค้างชำระอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5234/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแก้ไขงานต้องตกลงราคากันใหม่ การตกลงด้วยวาจาและผู้ไม่มีอำนาจไม่ผูกพันจำเลย
สัญญาจ้างที่พิพาทข้อ 18 มีข้อความว่า ผู้ว่าจ้างมีสิทธิที่จะทำการแก้ไขหรือเพิ่มเติมหรือลดงานจากแบบรูปและรายละเอียดตามสัญญาได้ทุกอย่างโดยไม่ต้องเลิกสัญญานี้การเพิ่มเติมหรือลดงานจะต้องคิดและตกลงราคากันใหม่และถ้าต้องเพิ่มหรือลดเงินหรือยึดเวลาออกไปอีกก็จะได้ตกลงกัน ณ บัดนั้น และได้ระบุรายละเอียดส่วนหนึ่งของสัญญาว่าสำนักงานงบประมาณอนุมัติให้จำเลยลดจำนวนการถมดินลงพร้อมส่วนประกอบอื่น ๆ รวม 5 รายการ วงเงิน 3,473,900 บาทซึ่งเป็นจำนวนเงินค่าจ้างตามสัญญาจ้างพิพาทเท่านั้น ซึ่งโจทก์ผู้รับจ้างทราบแต่ต้นแล้วว่าจำเลยเป็นหน่วยงานของรัฐบาลมีวงเงินที่จะชำระหนี้ให้โจทก์เป็นค่าจ้างได้ไม่เกินจำนวนดังกล่าว ทั้งการเพิ่มวงเงินจำเลยจะต้องขออนุมัติตามขั้นตอนของระเบียบทางราชการก่อน ส่วนการถมดินเพิ่มและการต่อฐานรากเสาเข็มเพิ่ม ปรากฏว่าโจทก์จำเลยตกลงกันด้วยวาจาไม่ได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษร และฝ่ายจำเลยซึ่งตกลงกับโจทก์คือคณะกรรมการตรวจการจ้างซึ่งไม่มีอำนาจตกลงเพิ่มหรือลดเงินแทนจำเลย ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยมิได้ทราบและโจทก์จำเลยมิได้ตกลงราคากันใหม่ตามสัญญาจ้างที่พิพาทข้อ 18 การถมดินเพิ่มและการต่อสู้ฐานรากเสาเข็มเพิ่มจึงไม่ผูกพันจำเลย จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3184/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องผิดสัญญาจ้าง: ใช้ 10 ปี ไม่ใช่ 1 ปี หากสัญญาตกลงเรื่องการแก้ไขงานชำรุด
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระค่าจ้างที่โจทก์จะต้องจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมแก้ไขความชำรุดบกพร่องของสิ่งก่อสร้างตามที่โจทก์จำเลยได้ทำสัญญากันไว้เป็นเรื่องฟ้องให้รับผิดตามข้อสัญญาที่ผูกพันกันอยู่อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความสิบปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 เดิม หาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องอันมีอายุความหนึ่งปีตาม มาตรา 601 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3979/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งมอบงานก่อสร้าง, การแก้ไขงาน, และสิทธิเรียกร้องค่าจ้างเพิ่มเติม
โจทก์ส่งมอบงานงวดสุดท้ายให้แก่จำเลยแล้ว ต่อมาจำเลยแจ้งให้โจทก์ก่อสร้างท่อระบายน้ำแก้ไขงานที่ยังไม่เรียบร้อยอีก 9 รายการ โจทก์มีหนังสือลงวันที่ 30 ตุลาคม 2529 แจ้งจำเลยว่าแก้ไขงานเสร็จเรียบร้อยแล้วแต่จำเลยแจ้งว่างานรายการที่ 5 คือบ่อพักบางจุดไม่มีขอบรัดฝาบ่อพัก และฝาบ่อพักไม่วางบนขอบบ่อพัก ให้โจทก์แก้ไขโดยไม่โต้แย้งงานอีก 8 รายการ แสดงว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์แก้ไขงานอื่นตามที่จำเลยแจ้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว สำหรับงานรายการที่ 5 นั้น นับแต่เริ่มทำการก่อสร้างปรากฏว่าแนวของท่อระบายน้ำไปติดกับท่อเมนประปาและบ้านเรือนของราษฎร เป็นอุปสรรคไม่สามารถก่อสร้างตามแบบแปลนได้ ช่างควบคุมงานก่อสร้างของจำเลยทำบันทึกลงวันที่ 26 พฤษภาคม2529 ขออนุมัติจำเลยเปลี่ยนแปลงแนวท่อ จำเลยอนุมัติในวันเดียวกันนั้น โจทก์ได้ก่อสร้างท่อระบายน้ำทางเท้าตามแบบแปลนที่แก้ไขใหม่ โดยย้ายแนวท่อตามที่ช่างควบคุมงานก่อสร้างของจำเลยกำหนด ถือได้ว่าจำเลยอนุมัติให้แก้ไขรายการก่อสร้างให้ไม่ต้องมีขอบรัดฝาบ่อพักสำหรับบ่อพักที่เป็นปัญหาตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2529แล้ว ดังนี้ย่อมถือว่าโจทก์ได้ส่งมอบงานงวดสุดท้ายให้จำเลยแล้วเสร็จบริบูรณ์ในวันที่ 30 ตุลาคม 2529 จำเลยจึงมีสิทธิปรับโจทก์เป็นรายวันนับแต่วันที่ 12 ตุลาคม2529 อันเป็นวันหลังวันที่โจทก์จะต้องทำงานแล้วเสร็จตามสัญญาจนถึงวันที่ 29 ตุลาคม2529 รวมเป็นเวลา 18 วันเท่านั้น
ตามสัญญาจ้างมีข้อความว่า จำเลยตกลงจ้างโจทก์ทำการก่อสร้างท่อระบายน้ำทางเท้าคันหินรางตื้นถนนประชาสัมพันธ์ฝั่งด้านทิศใต้จากถนนอุทัยรามฤทธิ์ถึงถนนวารีราชเดช..ความยาวไม่น้อยกว่า 555 เมตร เป็นราคารวมทั้งสิ้น1,026,000 บาท เป็นการว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างโดยกำหนดจุดที่จะก่อสร้างไว้โดยชัดเจน และกำหนดราคาจ้างเหมาทั้งสิ้น โดยกำหนดความยาวของท่อระบายน้ำทางเท้าไม่น้อยกว่า 555 เมตร เมื่อโจทก์ก่อสร้างท่อระบายน้ำทางเท้ายาวเกินกว่ากว่า 555 เมตร ออกไปอีก 9.20 เมตร แต่ส่วนที่ก่อสร้างเพิ่มเติมยังอยู่ในช่วงถนนตามสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าก่อสร้างเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าจ้างงวดสุดท้ายแก่โจทก์พร้อมค่าเสียหายในอัตราดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงินค่าจ้างนับแต่วันแก้ไขงานเรียบร้อยถึงวันฟ้อง และค่าเสียหายในอัตราดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ดังนี้โจทก์ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอนาคต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3979/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้าง: การส่งมอบงาน, การแก้ไขงานเพิ่มเติม, และสิทธิในการเรียกค่าจ้าง
โจทก์ส่งมอบงานงวดสุดท้ายให้แก่จำเลยแล้วต่อมาจำเลยแจ้งให้โจทก์ก่อสร้างท่อระบายน้ำแก้ไขงานที่ยังไม่เรียบร้อยอีก 9 รายการ โจทก์มีหนังสือลงวันที่ 30 ตุลาคม 2529 แจ้งจำเลยว่าแก้ไขงานเสร็จเรียบร้อยแล้วแต่จำเลยแจ้งว่างานรายการที่ 5คือบ่อพักบางจุดไม่มีขอบรัดฝาบ่อพัก และฝาบ่อพักไม่วางบนขอบบ่อพัก ให้โจทก์แก้ไขโดยไม่โต้แย้งงานอีก 8 รายการ แสดงว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์แก้ไขงานอื่นตามที่จำเลยแจ้งเสร็จเรียบร้อยแล้วสำหรับงานรายการที่ 5 นั้น นับแต่เริ่มทำการก่อสร้างปรากฏว่าแนวของท่อระบายน้ำไปติดกับท่อเมนประปาและบ้านเรือนของราษฎร เป็นอุปสรรคไม่สามารถก่อสร้างตามแบบแปลนได้ ช่างควบคุมงานก่อสร้างของจำเลยทำบันทึกลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2529ขออนุมัติจำเลยเปลี่ยนแปลงแนวท่อ จำเลยอนุมัติในวันเดียวกันนั้น โจทก์ได้ก่อสร้างท่อระบายน้ำทางเท้าตามแบบแปลนที่แก้ไขใหม่ โดยย้ายแนวท่อตามที่ช่างควบคุมงานก่อสร้างของจำเลยกำหนด ถือได้ว่าจำเลยอนุมัติให้แก้ไขรายการก่อสร้างให้ไม่ต้องมีขอบรัดฝา บ่อพักสำหรับบ่อพักที่เป็นปัญหาตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2529 แล้ว ดังนี้ย่อมถือว่าโจทก์ได้ส่งมอบงานงวดสุดท้าย ให้จำเลยแล้วเสร็จบริบูรณ์ในวันที่ 30 ตุลาคม 2529 จำเลยจึงมีสิทธิปรับโจทก์เป็นรายวันนับแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2529 อันเป็นวันหลังวันที่โจทก์จะต้องทำงาน แล้วเสร็จตามสัญญาจนถึงวันที่ 29 ตุลาคม 2529 รวมเป็นเวลา 18 วันเท่านั้น ตามสัญญาจ้างมีข้อความว่า จำเลยตกลงจ้างโจทก์ทำการก่อสร้างท่อระบายน้ำทางเท้าคันหินรางตื้นถนนประชาสัมพันธ์ฝั่งด้านทิศใต้จากถนนอุทัยรามฤทธิ์ความยาวไม่น้อยกว่า 555 เมตร เป็นราคารวมทั้งสิ้น1,026,000 บาท เป็นการว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างโดยกำหนดจุดที่จะก่อสร้างไว้โดยชัดเจน และกำหนดราคาจ้างเหมาทั้งสิ้น โดยกำหนดความยาวของท่อระบายน้ำทางเท้าไม่น้อยกว่า 555 เมตรเมื่อโจทก์ก่อสร้างท่อระบายน้ำทางเท้ายาวเกินกว่า555 เมตร ออกไปอีก 9.20 เมตร แต่ส่วนที่ก่อสร้างเพิ่มเติมยังอยู่ในช่วงถนนตามสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียก ค่าก่อสร้างเพิ่มเติม โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าจ้างงวดสุดท้ายแก่โจทก์พร้อมค่าเสียหายในอัตราดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงินค่าจ้างนับแต่วันแก้ไข งานเรียบร้อยถึงวันฟ้อง และค่าเสียหายในอัตราดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ดังนี้โจทก์ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล อนาคต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2131/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้าง: การแก้ไขงานที่ผิดสัญญาและการบอกเลิกสัญญาต้องพิจารณาความสาระสำคัญและโอกาสแก้ไข
แม้สัญญาจ้างก่อสร้างข้อหนึ่งระบุว่า ถ้าผู้รับจ้างทำผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ แต่สัญญาข้อต่อไปได้ระบุว่า ผู้รับจ้างสัญญาว่าจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขและจัดทำงานที่ไม่ได้ทำไปโดยความซื่อสัตย์สุจริตและปรากฏว่าไม่ประณีตเรียบร้อยให้เรียบร้อยดีภายใน 15 วัน ดังนี้ หมายความว่าผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้เมื่อผู้รับจ้างผิดสัญญาในข้อที่เป็นสาระสำคัญที่ไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้เพราะมิฉะนั้นแล้วก็ไม่จำเป็นต้องมีข้อสัญญากำหนดระยะเวลาให้ผู้รับจ้างแก้ไขให้ถูกต้องไว้ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้แก้ไขการก่อสร้างส่วนที่ผิดสัญญาให้ถูกต้องตรงตามสัญญาจนโจทก์ตรวจรับงานและชำระเงินค่าจ้างสำหรับงานงวดนั้นแล้วโจทก์จึงไม่สามารถหยิบยกเอาเหตุดังกล่าวมาบอกเลิกสัญญาได้
จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 1 จะฎีกาเพียงผู้เดียว เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาที่โจทก์มีสิทธิเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหาย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2131/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้าง: การแก้ไขงานที่ชำรุด และผลกระทบต่อสิทธิบอกเลิกสัญญาของผู้ว่าจ้าง
แม้สัญญาจ้างก่อสร้างข้อหนึ่งระบุว่า ถ้าผู้รับจ้างทำผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ แต่สัญญาข้อต่อไปได้ระบุว่าผู้รับจ้างสัญญาว่าจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขและจัดทำงานที่ไม่ได้ทำไปโดยความซื่อสัตย์สุจริตและปรากฏว่าไม่ประณีตเรียบร้อยให้เรียบร้อยดีภายใน 15 วัน ดังนี้ หมายความว่าผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้เมื่อผู้รับจ้างผิดสัญญาในข้อที่เป็นสาระสำคัญที่ไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะมิฉะนั้นแล้วก็ไม่จำเป็นต้องมีข้อสัญญากำหนดระยะเวลาให้ผู้รับจ้างแก้ไขให้ถูกต้องไว้ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้แก้ไขการก่อสร้างส่วนที่ผิดสัญญาให้ถูกต้องตรงตามสัญญาจนโจทก์ตรวจรับงานและชำระเงินค่าจ้างสำหรับงานงวดนั้นแล้ว โจทก์จึงไม่สามารถหยิบยกเอาเหตุดังกล่าวมาบอกเลิกสัญญาได้ จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 1 จะฎีกาเพียงผู้เดียวเมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาที่โจทก์มีสิทธิเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหาย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2131/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้าง: การแก้ไขงานที่ผิดสัญญา และผลกระทบต่อการบอกเลิกสัญญา
แม้สัญญาจ้างก่อสร้างข้อหนึ่งระบุว่า ถ้าผู้รับจ้างทำผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ แต่สัญญาข้อต่อไปได้ระบุว่า ผู้รับจ้างสัญญาว่าจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขและจัดทำงานที่ไม่ได้ทำไปโดยความซื่อสัตย์สุจริตและปรากฏว่าไม่ประณีตเรียบร้อยให้เรียบร้อยดีภายใน 15 วัน ดังนี้ หมายความว่าผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้เมื่อผู้รับจ้างผิดสัญญาในข้อที่เป็นสาระสำคัญที่ไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้เพราะมิฉะนั้นแล้วก็ไม่จำเป็นต้องมีข้อสัญญากำหนดระยะเวลาให้ผู้รับจ้างแก้ไขให้ถูกต้องไว้ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้แก้ไขการก่อสร้างส่วนที่ผิดสัญญาให้ถูกต้องตรงตามสัญญาจนโจทก์ตรวจรับงานและชำระเงินค่าจ้างสำหรับงานงวดนั้นแล้วโจทก์จึงไม่สามารถหยิบยกเอาเหตุดังกล่าวมาบอกเลิกสัญญาได้
จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 1 จะฎีกาเพียงผู้เดียว เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาที่โจทก์มีสิทธิเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหาย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบด้วยมาตรา247.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 867/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้าง: การแก้ไขงานและค่าขาดกำไร
จำเลยจ้างโจทก์ปลูกตึกแถวโดยเจ้าของที่ดินควบคุมงาน ท.สั่งให้แก้ไขรายการก่อสร้าง จำเลยเสนอเพิ่มค่าจ้างแต่โจทก์มิได้ตกลงด้วยจำเลยไม่สามารถให้โจทก์ทำตามรายการเดิม จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์นำสืบค่าขาดกำไรไม่ได้ชัดเจนพอ ศาลกำหนดค่าขาดกำไรให้โจทก์ตามที่เห็นสมควร
of 2