พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4677/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิพากษาส่งมอบที่ดินตามคำขอให้แก้ไขชื่อผู้ถือสิทธิ ถือเป็นการแบ่งที่ดินได้ ไม่เกินคำขอ
ตามคำขอท้ายฟ้องข้อ 2 โจทก์ทั้งเจ็ดขอให้บังคับจำเลยแก้ไขชื่อผู้ถือสิทธิตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. 1) เลขที่ 150 และ 151 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดกึ่งหนึ่ง คำขอท้ายฟ้องเช่นนั้นมีความหมายว่า ขอให้จำเลยแบ่งที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดกึ่งหนึ่งนั่นเอง ศาลจึงมีอำนาจพิพากษา ให้จำเลยส่งมอบการครอบครองที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ทั้งเจ็ดกึ่งหนึ่งได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6734/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขชื่อนิติบุคคลอาคารชุด และการคำนวณค่าใช้จ่ายร่วมกันตาม พ.ร.บ.อาคารชุด
ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 32 ชื่อนิติบุคคลอาคารชุดย่อมมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้เพียงแต่จะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้นำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้น และเมื่อ พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 ไม่ได้กำหนดมติเกี่ยวกับการเปลี่ยนชื่อนิติบุคคลอาคารชุดเป็นอย่างอื่น มติของที่ประชุมใหญ่ให้เปลี่ยนชื่อนิติบุคคลอาคารชุดจึงต้องได้รับคะแนนเสียงข้างมากของเจ้าของร่วมที่เข้าประชุมตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว หาใช่ต้องได้รับความยินยอมเห็นชอบจากเจ้าของร่วมทุกคนไม่
ค่าใช้จ่ายที่เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกตาม พ.ร.บ. อาคารชุดพ.ศ.2522 มาตรา 18 นั้น แยกค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง และมาตรา 18วรรคสอง ออกต่างหากจากกันโดยเด็ดขาด และการคิดส่วนค่าใช้จ่ายก็แตกต่างกันกล่าวคือ ค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ที่เกิดจากบริการส่วนรวม และค่าใช้จ่ายที่เกิดจากเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เป็นค่าใช้จ่ายที่เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุดและชำระกันตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ ซึ่งข้อบังคับเกี่ยวกับอัตราส่วนค่าใช้จ่ายร่วมกันของเจ้าของร่วมนี้สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ตามมาตรา 32 (10) ประกอบด้วยมาตรา 49 (1) ส่วนค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคสอง ได้แก่ ค่าภาษีอากรซึ่งจะต้องจ่ายในนามของอาคารชุดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลาง และค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลาง เป็นค่าใช้จ่ายที่เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกตามอัตราส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางตามมาตรา 14 กล่าวคือเป็นไปตามอัตราส่วนระหว่างราคาของห้องชุดแต่ละห้องชุด กับราคารวมของห้องชุดทั้งหมดในขณะที่ขอจดทะเบียนอาคารชุดตามมาตรา 6 และค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18วรรคสองนี้ ต้องเป็นไปตามที่ พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 กำหนดเท่านั้น คือตามอัตราส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางตามมาตรา 14หาใช่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ ซึ่งสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับได้ดังเช่นมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ไม่ ดังนั้น การที่ข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดจำเลยได้นำเอาค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง และมาตรา 18 วรรคสอง มาปะปนกันและให้ตัวอย่างค่าใช้จ่ายปะปนรวม ๆ กันมา จึงทำให้เกิดปัญหา เมื่อจำเลยประสงค์จะเปลี่ยนแปลงข้อบังคับเกี่ยวกับอัตราส่วนค่าใช้จ่ายที่ต้องร่วมกันออกตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แต่นำเอาค่าใช้จ่ายที่ต้องร่วมกันออกตามมาตรา 18วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยข้อบังคับไม่ได้มารวมเข้าด้วย เหตุนี้มติที่ประชุมใหญ่ให้แก้ไขข้อบังคับเกี่ยวกับอัตราส่วนค่าใช้จ่ายร่วมกันของเจ้าของร่วมเฉพาะค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคสอง ที่ให้ใช้อัตราส่วนระหว่างพื้นที่ห้องชุดพื้นที่ซักล้างและพื้นที่จอดรถของอาคารชุดทั้งหมด จึงขัดต่อกฎหมายและใช้บังคับกันไม่ได้
ค่าใช้จ่ายที่เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกตาม พ.ร.บ. อาคารชุดพ.ศ.2522 มาตรา 18 นั้น แยกค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง และมาตรา 18วรรคสอง ออกต่างหากจากกันโดยเด็ดขาด และการคิดส่วนค่าใช้จ่ายก็แตกต่างกันกล่าวคือ ค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ที่เกิดจากบริการส่วนรวม และค่าใช้จ่ายที่เกิดจากเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เป็นค่าใช้จ่ายที่เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุดและชำระกันตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ ซึ่งข้อบังคับเกี่ยวกับอัตราส่วนค่าใช้จ่ายร่วมกันของเจ้าของร่วมนี้สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ตามมาตรา 32 (10) ประกอบด้วยมาตรา 49 (1) ส่วนค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคสอง ได้แก่ ค่าภาษีอากรซึ่งจะต้องจ่ายในนามของอาคารชุดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลาง และค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลาง เป็นค่าใช้จ่ายที่เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกตามอัตราส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางตามมาตรา 14 กล่าวคือเป็นไปตามอัตราส่วนระหว่างราคาของห้องชุดแต่ละห้องชุด กับราคารวมของห้องชุดทั้งหมดในขณะที่ขอจดทะเบียนอาคารชุดตามมาตรา 6 และค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18วรรคสองนี้ ต้องเป็นไปตามที่ พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 กำหนดเท่านั้น คือตามอัตราส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางตามมาตรา 14หาใช่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ ซึ่งสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับได้ดังเช่นมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ไม่ ดังนั้น การที่ข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดจำเลยได้นำเอาค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง และมาตรา 18 วรรคสอง มาปะปนกันและให้ตัวอย่างค่าใช้จ่ายปะปนรวม ๆ กันมา จึงทำให้เกิดปัญหา เมื่อจำเลยประสงค์จะเปลี่ยนแปลงข้อบังคับเกี่ยวกับอัตราส่วนค่าใช้จ่ายที่ต้องร่วมกันออกตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แต่นำเอาค่าใช้จ่ายที่ต้องร่วมกันออกตามมาตรา 18วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยข้อบังคับไม่ได้มารวมเข้าด้วย เหตุนี้มติที่ประชุมใหญ่ให้แก้ไขข้อบังคับเกี่ยวกับอัตราส่วนค่าใช้จ่ายร่วมกันของเจ้าของร่วมเฉพาะค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคสอง ที่ให้ใช้อัตราส่วนระหว่างพื้นที่ห้องชุดพื้นที่ซักล้างและพื้นที่จอดรถของอาคารชุดทั้งหมด จึงขัดต่อกฎหมายและใช้บังคับกันไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2317/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมไม่สมบูรณ์จากการแก้ไขชื่อผู้รับมรดกโดยไม่มีการลงลายมือชื่อ ทำให้ทรัพย์มรดกตกแก่ทายาทโดยธรรม
เมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าโจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยจำเลยสละการครอบครองให้แล้ว และพิพากษาให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทเท่าที่โจทก์ครอบครองให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องอุทธรณ์ว่าพินัยกรรมที่จำเลยอ้างว่า ม. ยกที่พิพาทให้จำเลยตามเอกสารหมาย ล.1 สมบูรณ์หรือไม่ เพราะโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีอยู่แล้ว แต่เมื่อจำเลยอุทธรณ์ในประเด็นข้ออื่น โจทก์ได้กล่าวในคำแก้อุทธรณ์ถึงประเด็นข้อนี้ด้วยว่า พินัยกรรมไม่สมบูรณ์เพราะเหตุใดคดีจึงมีประเด็นตามคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองตามเอกสารหมาย ล.1 มีรอยน้ำยาลบหมึกสีขาวลบชื่อผู้รับมรดกแล้วพิมพ์ใหม่เป็นชื่อจำเลย โดยมิได้มีผู้ทำพินัยกรรม พยานและกรรมการอำเภอลงลายมือชื่อกำกับไว้ จึงทำให้พินัยกรรมไม่สมบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1658วรรคสอง จำเลยจึงมิใช่เป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมดังกล่าว ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ทำพินัยกรรมคือตกได้แก่โจทก์ซึ่งรับมรดกแทนที่บิดา กับตกได้แก่จำเลยซึ่งเป็นพี่บิดาโจทก์คนละครึ่ง แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ในประเด็นนี้โจทก์จึงได้รับส่วนแบ่งที่ดินพิพาทตามคำพิพากษาศาลล่าง คดีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยสละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2172/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินก่อนล้มละลาย: การจดทะเบียนแก้ไขชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ มิใช่การโอนทรัพย์สินเพื่อเลี่ยงการบังคับชำระหนี้
ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้คัดค้านที่ 1 และ ส. มิใช่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนการโอนที่ดินดังกล่าว เป็นเพียงจดทะเบียนใส่ชื่อผู้คัดค้านที่ 1 และ ส.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินให้ถูกต้องตามความเป็นจริงเท่านั้นหาใช่เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 โอนทรัพย์สินหรือกระทำการใด ๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้น อันจะทำให้ผู้ร้องมีสิทธิขอให้เพิกถอนตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3214/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกที่ดินและกรรมสิทธิ์ตามการครอบครองจริง แม้ชื่อในโฉนดจะสลับกัน ศาลมีสิทธิแก้ไขชื่อให้ตรงตามการครอบครอง
โจทก์ และ ล. ได้รับมรดกตามพินัยกรรมเป็นที่ดิน 1 แปลงโดยลงชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดร่วมกัน ต่อมาโจทก์และ ล.ได้ขอแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวออกไป 2 โฉนด โดยขอแบ่งแยกตามส่วนที่แต่ละคนครอบครอง แต่มีการระบุชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินสลับกันกรณี เช่นนี้ต้องถือว่าแต่ละฝ่ายมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินในส่วนที่ตนครอบครองอย่างเป็นเจ้าของจริง ๆ ตลอดมา และมีสิทธิขอแก้ไขชื่อในโฉนดให้ตรงตามความจริงได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3232-3233/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ การขอแก้ไขชื่อในโฉนดเป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลย
จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์จะขอให้เจ้าพนักงานที่ดินจัดการเพิกถอนชื่อโจทก์แล้วใส่ชื่อจำเลยหาได้ไม่ เพราะโจทก์ไม่มีหน้าที่อย่างใดในทางนิติกรรมที่จะต้องโอนที่พิพาทให้แก่จำเลย เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องดำเนินการให้มีชื่อของตนในโฉนดต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3121/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขชื่อจำเลยในชั้นบังคับคดี: ศาลอนุญาตได้หากชื่อผิดพลาด ไม่เปลี่ยนแปลงผลคำพิพากษา
โจทก์ขอแก้ไขชื่อของจำเลยที่ 2 ในชั้นบังคับคดี เมื่อปรากฏชัดเจนว่าชื่อของจำเลยที่ 2 ผิดพลาด และมิใช่เป็นการฟ้องคดีต่างบุคคลกันโจทก์จึงมีสิทธิขอแก้ไขชื่อของจำเลยที่ 2 ให้ถูกต้องได้ แม้จะอยู่ในชั้นบังคับคดี เนื่องจากมิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาหรือเป็นการบังคับนอกเหนือไปจากคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3310/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจร้องทุกข์: การแก้ไขชื่อกรรมการในรายงานประจำวัน ไม่กระทบการฟ้องคดี
ตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่า ร้องทุกข์โดยได้รับมอบอำนาจจากนายประสิทธิ์กรรมการของบริษัทโจทก์ ครั้นเมื่อสืบพยานโจทก์และจำเลยเสร็จแล้วระหว่างนัดฟังคำพิพากษา โจทก์ยื่นคำร้องว่า เสมียนเวรของสถานีตำรวจฯ เขียนชื่อกรรมการผู้มอบอำนาจผิดพลาดไป ความจริงมีชื่อว่านายไกรสิทธิ์ ตามรายชื่อกรรมการที่ได้จดทะเบียนไว้ และพนักงานสอบสวนได้จัดการแก้ไขชื่อผู้มอบอำนาจเป็นชื่อนายไกรสิทธิ์ เป็นการถูกต้องแล้ว ปรากฏตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่โจทก์แนบมาพร้อมกับคำร้อง ดังนี้ ฟังได้ว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ร้องทุกข์แล้ว การที่เสมียนประจำวันจดบันทึกชื่อกรรมการผิดพลาดเพราะพลั้งเผลอ โดยจำเลยมิได้หลงต่อสู้แต่ประการใด ถือว่าโจทก์ได้ร้องทุกข์แล้วโดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขชื่อในสูติบัตรตามหน้าที่และความถูกต้องของข้อมูลแจ้งเกิด ศาลต้องยึดตามข้อเท็จจริงในคำพิพากษาคดีอาญา
โจทก์ฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญามาด้วยกัน ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องทั้งหมด คงมีการอุทธรณ์ฎีกาต่อมาเฉพาะคดีส่วนแพ่งในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลสูงจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาซึ่งถึงที่สุดไปแล้วนั้น
มารดาได้แจ้งการเกิดของบุตรต่อจำเลยซึ่งเป็นสารวัตรกำนันผู้ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่รับแจ้งการเกิดโดยระบุแจ้งชื่อโจทก์เป็นบิดาเด็กที่เกิดนั้นแต่จำเลยยังไม่แน่ใจที่จะกรอกลงไปในสูติบัตร จึงได้เว้นว่างไว้แล้วนายอำเภอเป็นผู้สั่งให้จำเลยแก้โดยให้เติมชื่อและนามสกุลของโจทก์ลงไปในสูติบัตร โดยจำเลยมิได้มีเจตนาร้ายต่อโจทก์หากแต่ได้แก้ไขเพิ่มเติมไปโดยหน้าที่และตรงตามที่มารดาของเด็กแจ้งดังนี้ จำเลยย่อมไม่มีความผิดโจทก์จะขอให้บังคับจำเลยแก้ชื่อและนามสกุลของโจทก์ออกจากสูติบัตรนั้นไม่ได้
มารดาได้แจ้งการเกิดของบุตรต่อจำเลยซึ่งเป็นสารวัตรกำนันผู้ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่รับแจ้งการเกิดโดยระบุแจ้งชื่อโจทก์เป็นบิดาเด็กที่เกิดนั้นแต่จำเลยยังไม่แน่ใจที่จะกรอกลงไปในสูติบัตร จึงได้เว้นว่างไว้แล้วนายอำเภอเป็นผู้สั่งให้จำเลยแก้โดยให้เติมชื่อและนามสกุลของโจทก์ลงไปในสูติบัตร โดยจำเลยมิได้มีเจตนาร้ายต่อโจทก์หากแต่ได้แก้ไขเพิ่มเติมไปโดยหน้าที่และตรงตามที่มารดาของเด็กแจ้งดังนี้ จำเลยย่อมไม่มีความผิดโจทก์จะขอให้บังคับจำเลยแก้ชื่อและนามสกุลของโจทก์ออกจากสูติบัตรนั้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขชื่อในสูติบัตรตามหน้าที่และความถูกต้องของข้อมูลแจ้งเกิด โดยไม่มีเจตนาร้าย
โจทก์ฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญามาด้วยกัน ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องทั้งหมด คงมีการอุทธรณ์ฎีกาต่อมาเฉพาะคดีส่วนแพ่ง. ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลสูงจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาซึ่งถึงที่สุดไปแล้วนั้น.
มารดาได้แจ้งการเกิดของบุตรต่อจำเลยซึ่งเป็นสารวัตรกำนัน ผู้ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่รับแจ้งการเกิด. โดยระบุแจ้งชื่อโจทก์เป็นบิดาเด็กที่เกิดนั้น. แต่จำเลยยังไม่แน่ใจที่จะกรอกลงไปในสูติบัตร จึงได้เว้นว่างไว้.แล้วนายอำเภอเป็นผู้สั่งให้จำเลยแก้โดยให้เติมชื่อและนามสกุลของโจทก์ลงไปในสูติบัตร โดยจำเลยมิได้มีเจตนาร้ายต่อโจทก์. หากแต่ได้แก้ไขเพิ่มเติมไปโดยหน้าที่และตรงตามที่มารดาของเด็กแจ้ง. ดังนี้ จำเลยย่อมไม่มีความผิด. โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยแก้ชื่อและนามสกุลของโจทก์ออกจากสูติบัตรนั้นไม่ได้.
มารดาได้แจ้งการเกิดของบุตรต่อจำเลยซึ่งเป็นสารวัตรกำนัน ผู้ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่รับแจ้งการเกิด. โดยระบุแจ้งชื่อโจทก์เป็นบิดาเด็กที่เกิดนั้น. แต่จำเลยยังไม่แน่ใจที่จะกรอกลงไปในสูติบัตร จึงได้เว้นว่างไว้.แล้วนายอำเภอเป็นผู้สั่งให้จำเลยแก้โดยให้เติมชื่อและนามสกุลของโจทก์ลงไปในสูติบัตร โดยจำเลยมิได้มีเจตนาร้ายต่อโจทก์. หากแต่ได้แก้ไขเพิ่มเติมไปโดยหน้าที่และตรงตามที่มารดาของเด็กแจ้ง. ดังนี้ จำเลยย่อมไม่มีความผิด. โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยแก้ชื่อและนามสกุลของโจทก์ออกจากสูติบัตรนั้นไม่ได้.