พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5650/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกเลิกการคุมความประพฤติและเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นไม่รอการลงโทษ การฎีกาคำสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย แต่โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้โดยให้คุมความประพฤติของจำเลย ต่อมาระหว่างคุมความประพฤติจำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งยกเลิกการคุมประพฤติและเปลี่ยนโทษจากการรอการลงโทษจำคุกเป็นไม่รอการลงโทษ ดังนี้ จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้และเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้ว คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดจะฎีกาต่อไปไม่ได้ตามพระราชบัญญัติวิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญาฯ มาตรา 17 วรรคสอง การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยมาจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องเงินฝากประจำ: การแก้ไขเปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจและเจตนาโอนสิทธิ
ฉ. อยู่กินฉันสามีภริยากับ ช. โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสและได้ร่วมกันทำมาหากินโดยการปล่อยเงินกู้ ซื้อขายที่ดินและเป็นนายหน้าขายที่ดิน เงินในบัญชีเงินฝากประจำเป็นทรัพย์สินที่ ช. และ ฉ. ทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา ช. และ ฉ. จึงต่างมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในเงินดังกล่าวและต้องแบ่งให้คนละเท่า ๆ กัน โดยเป็นทรัพย์มรดกของ ช. กึ่งหนึ่ง และเป็นทรัพย์มรดกของฉ. กึ่งหนึ่ง
การที่ ฉ. ฝากเงินประจำไว้แก่ธนาคารจำเลยที่ 2 เงินที่ฝากประจำย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 คงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ฝากประจำให้ครบจำนวนเมื่อถึงกำหนดแก่ ฉ.
ฉ. มีเจตนาเงินในบัญชีเงินฝากประจำให้แก่จำเลยที่ 1 และทำหนังสือถึงผู้จัดการจำเลยที่ 2 ให้เพิ่มชื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้แทนการถอนเงินออกมาฝากในนามจำเลยที่ 1 เนื่องจากเงินที่ฝากประจำยังไม่ครบกำหนด หากถอนเงินในขณะนั้นจะไม่ได้ดอกเบี้ย ถือได้ว่า ฉ. มีเจตนาโอนสิทธิเรียกร้องของฉ. ที่ฝากเงินไว้แก่จำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 ในลักษณะการโอนหนี้อันจะพึงชำระแก่เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจง เมื่อได้มีการปฏิบัติถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคหนึ่ง โดย ฉ. ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องการโอนสิทธิเรียกร้องในเงินฝากประจำของ ฉ. ให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นอันสมบูรณ์สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้เงินฝากประจำจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 กรณีไม่ใช่เป็นเพียงมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากแทน ฉ. เท่านั้น
การที่ ฉ. ฝากเงินประจำไว้แก่ธนาคารจำเลยที่ 2 เงินที่ฝากประจำย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 คงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ฝากประจำให้ครบจำนวนเมื่อถึงกำหนดแก่ ฉ.
ฉ. มีเจตนาเงินในบัญชีเงินฝากประจำให้แก่จำเลยที่ 1 และทำหนังสือถึงผู้จัดการจำเลยที่ 2 ให้เพิ่มชื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้แทนการถอนเงินออกมาฝากในนามจำเลยที่ 1 เนื่องจากเงินที่ฝากประจำยังไม่ครบกำหนด หากถอนเงินในขณะนั้นจะไม่ได้ดอกเบี้ย ถือได้ว่า ฉ. มีเจตนาโอนสิทธิเรียกร้องของฉ. ที่ฝากเงินไว้แก่จำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 ในลักษณะการโอนหนี้อันจะพึงชำระแก่เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจง เมื่อได้มีการปฏิบัติถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคหนึ่ง โดย ฉ. ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องการโอนสิทธิเรียกร้องในเงินฝากประจำของ ฉ. ให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นอันสมบูรณ์สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้เงินฝากประจำจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 กรณีไม่ใช่เป็นเพียงมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากแทน ฉ. เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2320/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงพื้นที่สาธารณูปโภคในโครงการจัดสรรที่ดินที่ขัดต่อภาระจำยอมและการใช้อำนาจโดยมิชอบของคณะกรรมการควบคุมการจัดสรร
จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้จัดสรรที่ดิน โดยมีเงื่อนไขระบุห้ามมิให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงบริเวณที่กันไว้เป็นบริการสาธารณะซึ่งมีขนาดและเนื้อที่เกินกว่ามาตรฐานไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น ที่ดินส่วนที่กันไว้เป็นบริการสาธารณะทั้งหมดจึงตกเป็นภาระจำยอมตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 หาใช่ตกเป็นภาระจำยอมเฉพาะแต่ส่วนตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2535 ข้อ 45 ไม่ จำเลยที่ 1 เปลี่ยนแปลงเนื้อที่ของบริการสาธารณะจากสวนพักผ่อนเป็นโรงเรียนอนุบาล แม้บริการสาธารณะทั้งสองต่างเป็นสาธารณูปโภค แต่ก็เป็นสาธารณูปโภคคนละประเภทกัน การเปลี่ยนแปลงขนาดเนื้อที่ของสวนพักผ่อนจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น แม้ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 17 จะให้อำนาจคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินอนุญาตให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงแผนผังโครงการได้ แต่ต้องมิใช่การลดขนาดสาธารณูปโภคและการจัดสรรนั้นยังต้องดำเนินการอยู่ด้วย จำเลยที่ 1 ได้จัดสรรที่ดินจำหน่ายไปหมดแล้ว จึงไม่สามารถขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขแผนผังโครงการได้อีก อำนาจของคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2535 ข้อ 4 เป็นอำนาจที่อาจผ่อนผันให้แก่ผู้ขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินบางราย หาใช่ว่าคณะกรรมการจะมีอำนาจอนุญาตให้ผู้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินรายใดผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อกำหนดได้ตามอำเภอใจอันเป็นการขัดต่อกฎหมายได้ มติของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ที่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 แก้ไขเปลี่ยนแปลงลดจำนวนพื้นที่สวนพักผ่อนจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2078/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้าง: อำนาจการพิจารณาขึ้นค่าจ้าง & การแก้ไขเปลี่ยนแปลง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยและลูกจ้างของจำเลยได้กำหนดระเบียบการขึ้นค่าจ้างไว้โดยระบุว่า การขึ้นค่าจ้างตามเวลาที่กำหนด พนักงานตั้งแต่ระดับหัวหน้าผู้ควบคุมงาน (CHIEF FOREMAN) ลงมาจะได้รับการพิจารณาขึ้นค่าจ้างปีละ 2 ครั้ง คือในวันที่ 21 มิถุนายน และวันที่ 21ธันวาคม ของทุกปี แต่ต้องเป็นผู้ที่ทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ 6 เดือนขึ้นไปเป็นข้อตกลงที่จำเลยและสหภาพแรงงาน ได้ร่วมกันพิจารณาและตกลงร่วมกันจึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทั้งสองฝ่ายคือ นายจ้างและลูกจ้างจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เมื่อข้อตกลงไม่มีข้อความระบุไว้โดยชัดแจ้งว่าการพิจารณาขึ้นค่าจ้างตามข้อตกลงในข้อนี้ ให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างใช้ดุลพินิจพิจารณาขึ้นค่าจ้างให้แก่พนักงานลูกจ้างของจำเลยตามสภาพความเป็นจริงได้จำเลยก็ไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ หากในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวมีผลใช้บังคับอยู่นั้น จำเลยได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ กิจการขาดทุนและจำเลยต้องการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างดังกล่าว จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยการแจ้งข้อเรียกร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเสียก่อน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งข้อเรียกร้องขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว จำเลยจึงต้องปฏิบัติตาม
แม้ว่าข้อตกลงจะใช้ถ้อยคำว่า "...จะได้รับการพิจารณาขึ้นค่าจ้างปีละ 2 ครั้ง" ก็ตาม ถ้อยคำดังกล่าวก็มีความหมายว่าจำเลยจะต้องพิจารณาว่าลูกจ้างคนใดมีผลงานประเมินอย่างไร อยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับการขึ้นค่าจ้างหรือไม่ หากอยู่ในเกณฑ์ได้รับการขึ้นค่าจ้าง ค่าจ้างที่ปรับขึ้นเป็นจำนวนเท่าใดเท่านั้นมิใช่เป็นการให้อำนาจแก่จำเลยที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาขึ้นค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ก็ได้
แม้ว่าข้อตกลงจะใช้ถ้อยคำว่า "...จะได้รับการพิจารณาขึ้นค่าจ้างปีละ 2 ครั้ง" ก็ตาม ถ้อยคำดังกล่าวก็มีความหมายว่าจำเลยจะต้องพิจารณาว่าลูกจ้างคนใดมีผลงานประเมินอย่างไร อยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับการขึ้นค่าจ้างหรือไม่ หากอยู่ในเกณฑ์ได้รับการขึ้นค่าจ้าง ค่าจ้างที่ปรับขึ้นเป็นจำนวนเท่าใดเท่านั้นมิใช่เป็นการให้อำนาจแก่จำเลยที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาขึ้นค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารสัญญากู้เงินและค้ำประกันที่ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้รับความยินยอม ทำให้สัญญาเป็นโมฆะและไม่มีผลผูกพัน
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์ มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน โดยจำเลยทั้งสองได้ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญากู้เงินในหนังสือสัญญาค้ำประกันให้โจทก์ไว้การที่โจทก์มากรอกข้อความในหนังสือสัญญากู้เงินและค้ำประกันในภายหลังผิดไปจากความเป็นจริงตามที่ตกลงทำสัญญากันไว้ในภายหลัง เกินกว่าความเป็นจริง โดยไม่ได้รับความยินยอมของจำเลยทั้งสอง สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอม ถือได้ว่าการกู้ยืมเงินและการค้ำประกันคดีนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้ จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยที่ 1กู้เงินโจทก์ และจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้โจทก์เพียง 30,000 บาท และได้ลงชื่อไว้ในสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันโดยยังไม่ได้กรอกข้อความ โจทก์ปลอมแปลงเอกสารสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันโดยกรอกข้อความและจำนวนเงินเป็น 300,000บาท โดยจำเลยทั้งสองมิได้ยินยอม แม้ตามสัญญาทั้งสองจะระบุจำนวนเงินไว้ 300,000บาท และสัญญากู้จะระบุว่าได้รับเงินครบถ้วนแล้ว จำเลยทั้งสองก็มีสิทธินำสืบพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2514/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งรื้ออาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ต้องพิจารณาความสามารถในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารที่ผิดกฎหมาย
โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ขอให้ลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522 มาตรา 66 ทวิ วรรคสอง ซึ่งความผิดฐานขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารได้ตามกฎหมายหรือนัยหนึ่งคำสั่งดังกล่าวต้องเป็นคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายและได้มีการแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
อำนาจในการสั่งให้รื้อถอนอาคาร พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 บัญญัติว่า ถ้าการกระทำตามมาตรา 40 เป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ หรือเจ้าของอาคารมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 41 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ดำเนินการรื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวัน โดยให้ดำเนินการรื้อถอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 (11)หรือข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ข้อเท็จจริงที่ว่าอาคารส่วนที่ก่อสร้างโดยผิดกฎหมายของจำเลยสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้หรือไม่จึงเป็นสาระสำคัญในการพิจารณาถึงอำนาจในการออกคำสั่งให้รื้อถอนอาคารของเจ้าพนักงานท้องถิ่น แต่ฟ้องโจทก์บรรยายเพียงว่า จำเลยได้บังอาจก่อสร้างอาคารให้ผิดไปจากแบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากเทศบาลเมืองอุดรธานีและเป็นแบบแปลนที่ไม่อาจอนุญาตให้ก่อสร้างได้อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ย่อมไม่พอแปลหรือไม่อาจอนุมานได้ว่าเป็นกรณีเดียวกันกับที่กฎหมายบัญญัติว่า ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นการตีความให้เป็นผลร้ายเพื่อลงโทษจำเลย เมื่อฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่า การกระทำของจำเลยเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตามบทบัญญัติใน มาตรา 42 กรณีย่อมรับฟังไม่ได้ว่า มีกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะใช้อำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารได้ การที่จำเลยไม่รื้อถอนอาคารจึงไม่มีความผิด
ปัญหาที่ว่าคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารชอบหรือไม่ ย่อมกระทบกระเทือนถึงความสงบสุขและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร แต่ดำเนินการก่อสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต จึงไม่อาจปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21 ซึ่งเป็นกรณีก่อสร้างอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตด้วย
อำนาจในการสั่งให้รื้อถอนอาคาร พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 บัญญัติว่า ถ้าการกระทำตามมาตรา 40 เป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ หรือเจ้าของอาคารมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 41 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ดำเนินการรื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวัน โดยให้ดำเนินการรื้อถอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 (11)หรือข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ข้อเท็จจริงที่ว่าอาคารส่วนที่ก่อสร้างโดยผิดกฎหมายของจำเลยสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้หรือไม่จึงเป็นสาระสำคัญในการพิจารณาถึงอำนาจในการออกคำสั่งให้รื้อถอนอาคารของเจ้าพนักงานท้องถิ่น แต่ฟ้องโจทก์บรรยายเพียงว่า จำเลยได้บังอาจก่อสร้างอาคารให้ผิดไปจากแบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากเทศบาลเมืองอุดรธานีและเป็นแบบแปลนที่ไม่อาจอนุญาตให้ก่อสร้างได้อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ย่อมไม่พอแปลหรือไม่อาจอนุมานได้ว่าเป็นกรณีเดียวกันกับที่กฎหมายบัญญัติว่า ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นการตีความให้เป็นผลร้ายเพื่อลงโทษจำเลย เมื่อฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่า การกระทำของจำเลยเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตามบทบัญญัติใน มาตรา 42 กรณีย่อมรับฟังไม่ได้ว่า มีกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะใช้อำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารได้ การที่จำเลยไม่รื้อถอนอาคารจึงไม่มีความผิด
ปัญหาที่ว่าคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารชอบหรือไม่ ย่อมกระทบกระเทือนถึงความสงบสุขและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร แต่ดำเนินการก่อสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต จึงไม่อาจปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21 ซึ่งเป็นกรณีก่อสร้างอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5376/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาซื้อขาย และสิทธิในการนำสืบพยานหักล้างข้อกล่าวอ้างเรื่องการปลอมแปลงสัญญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์จำเลยให้การว่าจำเลยตกลงขายเฉพาะที่ดินให้โจทก์ไม่ได้ขายบ้านพิพาทให้ด้วยจำเลยเคยไปตรวจสอบสัญญาซื้อขายแล้วเดิมมีข้อความระบุไว้เพียงว่าขายเฉพาะที่ดินแต่ภายหลังกลับมีข้อความเพิ่มเติมขึ้นมาว่าจำเลยขายบ้านพิพาทด้วยศาลชั้นต้นสอบถามโจทก์จำเลยแล้วต่างแถลงรับตรงกันว่าวันทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทบ้านพิพาทได้ปลูกสร้างอยู่ในที่ดินพิพาทแล้วและนอกจากทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทแล้วทั้งสองฝ่ายไม่ได้ตกลงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการซื้อขายบ้านพิพาทอีกดังนี้คำแถลงรับของคู่ความดังกล่าวเมื่อพิจารณาประกอบกับสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทที่มีการระบุว่าขายบ้านพิพาทด้วยก็แสดงว่ามีการเพิ่มเติมข้อความส่วนนี้เข้าไปในสัญญาดังกล่าวตามข้อต่อสู้ของจำเลยซึ่งเท่ากับจำเลยต่อสู้ว่ามีการปลอมข้อความของสัญญาขึ้นบางส่วนนั่นเองจำเลยย่อมมีสิทธิจะนำพยานบุคคลมาสืบหักล้างได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94วรรคท้ายข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์กับข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยจำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดต่อไปแม้ว่าศาลชั้นต้นได้สอบถามคู่ความแล้วก็ตามจึงไม่ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งงดสืบพยานโจทก์พยานจำเลยและพิพากษาขับไล่จำเลยตามฟ้องโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7948/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความขัดแย้งในคำให้การของผู้สลักหลังเช็ค, การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช็ค, และความรับผิดของผู้สลักหลัง
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาท จำเลยที่ 3 ยื่นคำให้การปฏิเสธในข้อ 1 ว่า ไม่เคยลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาท ลายมือชื่อดังกล่าวเป็นลายมือชื่อปลอม แต่ในข้อ 2 กลับปฏิเสธว่ามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทซึ่งเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญโดยไม่มีการแจ้งให้จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้สลักหลังเช็คก่อน เมื่อจำเลยที่ 3ไม่ให้ความยินยอมด้วย จำเลยที่ 3 จึงหลุดพ้นความรับผิด ดังนี้เป็นการยอมรับว่าจำเลยที่ 3 เป็นคู่สัญญาในเช็คพิพาทฐานะผู้สลักหลัง และคำให้การของจำเลยที่ 3ในข้อ 1 และข้อ 2 จึงขัดแย้งกัน ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 3 ปฏิเสธหรือรับตามข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์โดยชัดแจ้ง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นนำสืบตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 3 แต่คำให้การของจำเลยที่ 3 เป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 3ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง คดีจึงยังมีประเด็นข้อพิพาท ที่โจทก์ยังต้องนำสืบให้ได้ความตามฟ้องจึงจะชนะคดีได้
จำเลยที่ 3 ได้ทราบหรือยินยอมในการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงวันที่สั่งจ่ายในขณะลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาทแล้ว เช็คพิพาทจึงไม่เสียไปและใช้ได้กับจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้สลักหลัง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1007 วรรคหนึ่งจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้สลักหลังเช็คผู้ถือ ต้องร่วมกับผู้สั่งจ่ายรับผิดต่อโจทก์ผู้ทรงตาม ป.พ.พ.มาตรา 921, 967 ประกอบมาตรา 989
จำเลยที่ 3 ได้ทราบหรือยินยอมในการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงวันที่สั่งจ่ายในขณะลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาทแล้ว เช็คพิพาทจึงไม่เสียไปและใช้ได้กับจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้สลักหลัง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1007 วรรคหนึ่งจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้สลักหลังเช็คผู้ถือ ต้องร่วมกับผู้สั่งจ่ายรับผิดต่อโจทก์ผู้ทรงตาม ป.พ.พ.มาตรา 921, 967 ประกอบมาตรา 989
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4700/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเติมวันที่ในพินัยกรรมก่อนลงลายมือชื่อไม่ถือเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ทำให้พินัยกรรมสมบูรณ์ตามกฎหมาย
การที่ผู้ทำพินัยกรรมได้เติมวันที่และเดือนในพินัยกรรมที่ ส.พิมพ์มาให้ตามความต้องการแล้วลงลายมือชื่อในพินัยกรรมหลังจากนั้นพยานอีก3คนจึงลงลายมือชื่อมิใช่เป็นการตกเติมแก้ไขเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมทั้งเป็นการเติมก่อนที่ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อในพินัยกรรมจึงไม่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1656วรรคสองพินัยกรรมจึงสมบูรณ์ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4687/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คลงวันที่ไม่สมบูรณ์-แก้ไขเปลี่ยนแปลง-อายุความ: ผลกระทบต่อความรับผิดของผู้สั่งจ่าย
การที่ผู้สั่งจ่ายออกเช็คโดยไม่ลงวันที่ แต่ได้ลงชื่อกำกับไว้ย่อมมีความหมายว่าผู้สั่งจ่ายตกลงยินยอมให้ผู้ทรงโดยสุจริตจดวันที่เอาเองได้โดยถือว่าได้รับความยินยอมจากผู้สั่งจ่ายตามลายมือชื่อที่ลงกำกับไว้
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช็คซึ่งกระทำหลังจากเช็คนั้นไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารไม่ได้ โดยปกติผู้ทรงเช็คจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังไม่ใช่ปล่อยให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามความพอใจ เมื่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงวันออกเช็ค ไม่ปรากฏว่ามีการลงลายมือชื่อกำกับไว้อันเป็นการผิดปกติกับที่เคยปฏิบัติมา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ทำหรือยินยอมด้วยในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเมื่อผู้ทรงนำเช็คมาฟ้องให้ผู้สั่งจ่ายรับผิดเกิน 1 ปี นับแต่วันเช็คถึงกำหนดครั้งแรกคดีจึงขาดอายุความ
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช็คซึ่งกระทำหลังจากเช็คนั้นไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารไม่ได้ โดยปกติผู้ทรงเช็คจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังไม่ใช่ปล่อยให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามความพอใจ เมื่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงวันออกเช็ค ไม่ปรากฏว่ามีการลงลายมือชื่อกำกับไว้อันเป็นการผิดปกติกับที่เคยปฏิบัติมา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ทำหรือยินยอมด้วยในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเมื่อผู้ทรงนำเช็คมาฟ้องให้ผู้สั่งจ่ายรับผิดเกิน 1 ปี นับแต่วันเช็คถึงกำหนดครั้งแรกคดีจึงขาดอายุความ