คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แจ้งการประเมิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1738/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งการประเมินภาษีที่ชอบแล้ว และเหตุจำเป็นในการขยายเวลาอุทธรณ์
บทบัญญัติตาม ป. รัษฎากรมาตรา 3 อัฏฐ วรรคหนึ่ง มีความหมายว่าอธิบดีกรมสรรพากรจะเห็นสมควรสั่งให้ขยายกำหนดเวลาหรือเลื่อนกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการ หรือการอุทธรณ์ หรือกำหนดเวลาการ เสียภาษีอากรตามที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากรออกไปได้เมื่อผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกำหนดเวลาดังกล่าวมิได้อยู่ในประเทศไทยหรือมีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถจะปฏิบัติตามกำหนดเวลาได้
โจทก์เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย จึงมิใช่ผู้ที่มิได้อยู่ในประเทศไทย จำเลยได้แจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบรวม 7 ฉบับ โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับในประเทศจ่าหน้าซองระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับตามภูมิลำเนาของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้ต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดตรัง เลขที่ 71 หมู่ที่ 2 ตำบลเกาะเปียะ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ 92140 โดยมี พ. ซึ่งบรรลุนิติภาวะและอยู่ที่นั่นรับไว้แล้ว จึงเป็นการ แจ้งการประเมินที่ชอบและถือว่าโจทก์ได้รับทราบการแจ้งการประเมินแล้ว ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 8 กรณีจึงมิใช่ มีเหตุจำเป็นจนโจทก์ไม่สามารถจะยื่นอุทธรณ์ตามกำหนดเวลาได้ การที่อธิบดีกรมสรรพากรมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ขยายกำหนดเวลาการอุทธรณ์ จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4543/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้ภาษีอากรหลังการชำระบัญชี: ผลของการแจ้งการประเมินภาษีและการสั่งบังคับ
แม้มูลหนี้ตามฟ้องจะเป็นหนี้ค่าภาษีอากร แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องเรียกหนี้สินจากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและผู้ชำระบัญชีของห้างุ้นส่วนจำกัด น. ซึ่งจดทะเบียนเสร็จสิ้นการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2530 จึงมีอายุความห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1272 แต่เมื่อโจทก์มีหนังสือเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2532 แจ้งให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันรับหนังสือ การที่พนักงานมีหนังสือถึงจำเลยให้ชำระภาษีอากรดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการสั่งบังคับตามอำนาจกฎหมายเพื่อให้จำเลยชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามที่เรียกร้อง อันมีผลให้จำเลยอาจถูกยึดทรัพย์สินขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องร้องคดีต่อศาล การสั่งบังคับดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้กระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) จำเลยรับหนังสือเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2532 อายุความจึงสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่พ้นกำหนด 30 วันที่กำหนดให้จำเลยนำเงินภาษีอากรไปชำระ ดังนั้น อายุความเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าภาษีอากรดังกล่าวจึงเริ่มนับใหม่นับแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2532 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/15 โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด น. เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2542 จึงพ้น 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1272

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4389/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์เรื่องภาษีอากรต้องมีเหตุผลตามหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
มาตรา 86/4 (2) แห่ง ป.รัษฎากร บัญญัติว่า ใบกำกับภาษีต้องมีรายการ ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี... แต่ใบกำกับภาษีซื้อที่โจทก์นำมาคำนวณภาษีขายโจทก์ไม่ได้เป็นผู้ออก แต่ผู้ขายสินค้าให้แก่โจทก์เป็นผู้ออกใบกำกับภาษีดังกล่าว กรณีของโจทก์จึงไม่ใช่กรณีตามมาตรา 86/4 (2) แต่เป็นกรณีตามมาตรา 86/4 (3) คือ รายการชื่อที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าซึ่งตามบทบัญญัติข้างต้นระบุแต่เพียงว่าใบกำกับภาษีต้องมีชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าเท่านั้น เมื่อโจทก์มีที่อยู่จริงตรงตามที่ระบุไว้ในใบกำกับภาษีซื้อที่โจทก์นำมาคำนวณหักภาษีขาย แม้จะไม่ตรงกับที่อยู่ตามที่จดทะเบียนตั้งบริษัทและที่อยู่ตามที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในครั้งแรกก่อนที่โจทก์จะขอจดทะเบียนแก้ไข ใบกำกับภาษีดังกล่าวย่อมชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 86/4 ไม่ถือว่าไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามมาตรา 86/4 (2) โจทก์จึงสามารถนำใบกำกับภาษีซื้อดังกล่าวมาคำนวณหักภาษีขายในเดือนนั้นได้
หนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่างก็เป็นคำสั่งทางปกครองทั้งสิ้น เพราะเป็นคำสั่งตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมาย ซึ่งมีผลในอันที่จะก่อนิติสัมพันธ์ขึ้น และมีผลกระทบต่อสถานภาพทางสิทธิและหน้าที่ของบุคคล ซึ่งจะต้องทำให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ใน พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติทางปกครองฯ มาตรา 37 กล่าวคือ จะต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย ทั้งเหตุผลในข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ เหตุผลในข้อกฎหมายที่อ้างอิง และเหตุผลในข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ แม้มาตรา 20 แห่ง ป.รัษฎากรซึ่งเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการแจ้งประเมินจะไม่ได้ระบุวิธีการแจ้งว่าจะต้องทำเป็นหนังสือหรือไม่ และมิได้บังคับว่าจะต้องให้เหตุผลก็ตาม ส่วนการทำคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น มาตรา 34 แห่ง ป.รัษฎากรบัญญัติให้ทำเป็นหนังสือและมิได้บังคับว่าจะต้องให้เหตุผลเช่นเดียวกันนั้นก็ตาม แต่เมื่อเจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินโดยทำเป็นหนังสือไปยังผู้เสียภาษีอากรแล้ว หนังสือแจ้งการประเมินซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองก็ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ และแม้ว่าการแจ้งการประเมินและการทำคำวินิจฉัยอุทธรณ์จะได้กระทำตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน ป.รัษฎากรเป็นการเฉพาะก็ตาม แต่ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ กำหนดว่า วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองตามกฎหมายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎหมายนี้ เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายใดกำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเรื่องใดไว้โดยเฉพาะ และมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายนี้ เมื่อ ป.รัษฏากร มาตรา 20 และ 34 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะแต่มีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติทางปกครองฯ มาตรา 37 จึงต้องใช้หลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ แทน หนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่มและคำวินิจฉัยอุทธรณ์พิพาทจึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ ไม่อาจใช้บังคับแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8879/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีโดยผู้รับมอบอำนาจของนิติบุคคล ถือเป็นการได้รับแจ้งการประเมินตามกฎหมาย
คำว่า "บุคคล" ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8 ย่อมหมายความรวมถึงบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลด้วย ดังนั้น เมื่อผู้รับมอบอำนาจของโจทก์รับหนังสือแจ้งการประเมินจากเจ้าพนักงานสรรพากรแล้ว ก็ต้องถือว่าโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินให้ไปเสียภาษีในวันดังกล่าวแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8879/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งการประเมินภาษี การรับหนังสือโดยผู้รับมอบอำนาจ และกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์
คำว่า "บุคคล" ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8 หมายความรวมถึงบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2459/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ภาษีที่ยังมิได้ประเมินและแจ้งให้ทราบชัดเจน ไม่อาจนำมาฟ้องล้มละลายได้
โจทก์ไม่มีสิทธินำหนี้ค่าภาษีการค้าซึ่งยังมิได้มีการประเมินและยังไม่ได้แจ้งการประเมินให้จำเลยทราบโดยชอบมาฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้ เนื่องจากเป็นกรณีที่จำเลยไม่อาจใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนตามมาตรา 9(3) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ เพราะหนี้ค่าภาษีการค้าตามฟ้องอาจถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือ เพิกถอนโดยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6059/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องล้มละลาย เริ่มนับจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมินภาษีเพิ่มเติม
เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบภาษีได้ตรวจสอบและคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยรอบปีภาษี 2523 - 2524 แล้วปรากฏว่าจำเลยจะต้องชำระเงินค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมและเงินเพิ่ม จึงมีหนังสือลงวันที่31 พฤษภาคม 2527 เรื่องแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลถึงจำเลยให้ชำระเงินค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมและเงินเพิ่มสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1มกราคม 2523 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2523 และค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมและเงินเพิ่มสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2524 ถึงวันที่ 31ธันวาคม 2524 จำเลยได้รับหนังสือแจ้งการประเมินดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 2กรกฎาคม 2527 ต่อมาจำเลยได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ครั้นวันที่ 14 สิงหาคม 2532 คณะกรรมการดังกล่าวพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยแล้วได้มีคำวินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของจำเลย และจำเลยมิได้ยื่นฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ การที่เจ้าพนักงานประเมินได้ส่งหนังสือแจ้งการประเมินภาษีให้จำเลยซึ่งเป็นบุคคลผู้มีหน้าที่ต้องชำระภาษีเพิ่มทราบแล้ว โดยจำเลยได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีจากเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์แจ้งให้จำเลยชำระค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมและเงินเพิ่มทั้ง 2 รายการดังกล่าว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2527อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าว มิใช่นับแต่วันที่โจทก์มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมและเงินเพิ่มไปยังจำเลย ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายในวันที่ 1 กรกฎาคม 2537 จึงเป็นการฟ้องภายในกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6059/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องล้มละลาย: เริ่มนับจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมินภาษี ไม่ใช่หนังสือแจ้งการประเมิน
เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบภาษีได้ตรวจสอบและคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยรอบปีภาษี 2523-2524แล้วปรากฏว่าจำเลยจะต้องชำระเงินค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมและเงินเพิ่ม จึงมีหนังสือลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 เรื่องแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคล ถึงจำเลยให้ชำระเงินค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม และเงินเพิ่มสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2523 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2523 และ ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมและเงินเพิ่มสำหรับ รอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2524 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2524 จำเลยได้รับหนังสือแจ้งการประเมินดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2527 ต่อมาจำเลยได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ครั้นวันที่ 14 สิงหาคม 2532 คณะกรรมการดังกล่าวพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยแล้วได้มีคำวินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของจำเลย และจำเลยมิได้ยื่นฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การที่เจ้าพนักงานประเมินได้ส่งหนังสือแจ้งการประเมินภาษีให้จำเลยซึ่งเป็นบุคคลผู้มีหน้าที่ต้องชำระภาษีเพิ่มทราบแล้ว โดยจำเลยได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีจากเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์แจ้งให้จำเลย ชำระค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมและเงินเพิ่มทั้ง 2 รายการดังกล่าว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2527 อายุความจึงเริ่ม นับตั้งแต่วันดังกล่าว มิใช่นับแต่วันที่โจทก์มีหนังสือ แจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม และเงินเพิ่มไปยังจำเลย ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลย เป็นบุคคลล้มละลายในวันที่ 1 กรกฎาคม 2537 จึงเป็นการฟ้องภายในกำหนดอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1817/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งการประเมินภาษีไปยังทายาทผู้เสียภาษีถึงแก่กรรม
หลังจาก ว.ถึงแก่กรรม จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาของ ว.ได้รับแบบแจ้งการประเมินอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลจากเจ้าหน้าที่ประเมิน ถือได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินไปยังจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภรรยาและทายาทของ ว.ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 18 วรรคสอง แล้ว การที่แบบแจ้งการประเมินระบุชื่อ ว.เป็นผู้รับแจ้งผลการประเมินโดยมิได้ระบุชื่อจำเลยทั้งสามคนใดคนหนึ่งลงในแบบแจ้งการประเมินว่าเป็นผู้รับแจ้งการประเมิน แม้จะไม่ถูกต้องแต่ก็ได้มีการแจ้งการประเมินไปยังจำเลยที่ 1 ผู้เป็นภรรยาและทายาทของ ว.ผู้ต้องเสียภาษีซึ่งถึงแก่ความตายนั้นแล้ว จึงถือได้ว่าได้มีการแจ้งการประเมินไปยังทายาทของ ว.ผู้มีหน้าที่เสียภาษีทราบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 55/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกค่าภาษีซ้ำซ้อนเมื่อคดีภาษีอยู่ระหว่างพิจารณา และผลของการแจ้งการประเมินภาษีต่ออายุความ
ก่อนฟ้องคดีนี้ จำเลยที่ 1 ได้ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เกี่ยวกับภาษีที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระในคดีนี้ และคดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 ฟ้องคดีดังกล่าวต่อศาลเท่ากับเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลตามความในมาตรา 30 (2) แห่ง ป.รัษฎากร คำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวจึงอาจถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนโดยคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลได้ โจทก์จะมีสิทธิได้รับชำระเงินค่าภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยแล้วหรือไม่ จึงต้องรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเสียก่อน ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ภาษีอากรที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยเป็นคดีนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีดังกล่าว นอกจากนี้การที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ชำระเงินค่าภาษีอากรตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ก็ไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ และไม่เป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ การที่โจทก์แจ้งการประเมินภาษีให้จำเลยที่ 1 ทราบ เท่ากับเป็นการสั่งให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าภาษีอากรประเมินตามที่ ป.รัษฎากรบัญญัติให้อำนาจไว้ ซึ่งถ้าหากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าภาษีอากรภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดก็อาจถูกยึดทรัพย์มาขายทอดตลาดโดยไม่จำต้องมีการฟ้องคดีอีก การที่โจทก์แจ้งการประเมินให้จำเลยที่ 1 ทราบจึงมีผลบังคับตามกฎหมายที่ถือได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้ทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการที่เจ้าหนี้ฟ้องคดีเพื่อให้ใช้หนี้ตามที่เรียกร้อง ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 173 เดิม ซึ่งมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลง คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
of 3