คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แจ้งข้อหา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 72 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8316/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาพยายามฆ่า แม้ไม่ได้แจ้งในตอนแรก แต่หากสอบสวนแล้วพบความผิดฐานนี้ พนักงานอัยการก็มีอำนาจฟ้องได้
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 นั้น หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ เมื่อพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสแก่จำเลย แม้ไม่ได้แจ้งข้อหาพยายามฆ่า แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าด้วย ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในข้อหาพยายามฆ่าแล้ว พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3423/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาและอำนาจฟ้องในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด แม้คำร้องขอฝากขังไม่ได้ระบุข้อหา แต่หากมีหลักฐานภายหลังก็มีอำนาจฟ้องได้
การร้องขอฝากขังเป็นเรื่องที่พนักงานสอบสวนยื่นขอต่อศาลโดยอ้างเหตุเบื้องต้นเกี่ยวกับการกระทำความผิดของผู้ต้องหาเพื่อขอให้ควบคุมผู้ต้องหาไว้ทำการสอบสวน ดังนั้น แม้ตามคำร้องขอฝากขังจะมิได้ระบุข้อหาความผิดเกี่ยวกับเฮโรอีน แต่เมื่อผลการตรวจพิสูจน์ของกลางที่เจ้าพนักงานตรวจยึดได้เป็นเฮโรอีนพนักงานสอบสวนก็ได้แจ้งข้อหาเพิ่มเต็มต่อจำเลยทั้งสามว่า ร่วมกันมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (เฮโรอีน) ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายโดยผิดกฎหมายจึงฟังได้ว่ามีการแจ้งขอหาและสอบสวนในความผิดเกี่ยวกับเฮโรอีนแล้วโดยชอบโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามในความผิดเกี่ยวกับเฮโรอีนได้ และเมื่อจำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาโดยไม่ต้องสืบพยานเพราะความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามฟ้อง กฎหมายมิได้กำหนดอัตราโทษขั้นต่ำให้จำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่าจำคุก 5 ปี ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 176

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3423/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเฮโรอีนหลังการตรวจพิสูจน์ และการรับสารภาพที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา
คำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวนมิได้ระบุข้อหาความผิดเกี่ยวกับเฮโรอีน แต่ข้อเท็จจริงปรากฏตามสำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวนซึ่งศาลฎีกามีคำสั่งเรียกมาเพื่อประกอบการวินิจฉัยว่า เมื่อผลการตรวจพิสูจน์ของกลางที่เจ้าพนักงานตรวจยึดได้เป็นเฮโรอีน พนักงานสอบสวนก็ได้แจ้งข้อหาเพิ่มเติมต่อจำเลยทั้งสามว่า ร่วมกันมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (เฮโรอีน) ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายโดยผิดกฎหมาย กรณีจึงฟังได้ว่ามีการแจ้งข้อหาและสอบสวนในความผิดเกี่ยวกับเฮโรอีนแล้วโดยชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7422/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาที่ไม่ตรงกับความผิดที่สืบสวน และการลงโทษโดยไม่ใช้ข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
การสอบสวนเป็นการรวบรวมพยานหลักฐานและดำเนินการทั้งหลายอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหาเพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิด และเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ ซึ่งการแจ้งข้อหาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 ก็เป็นขั้นตอนหนึ่งของการสอบสวนเพื่อต้องการให้ผู้ต้องหารู้ตัวก่อนว่าตนจะถูกสอบสวนในคดีอาญาเรื่องใดเท่านั้น แม้เดิมจะแจ้งข้อหาหนึ่งแต่เมื่อสอบสวนไปแล้วปรากฏว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิดฐานอื่นก็ถือได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานดังกล่าวแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 มีโคคาอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 69 วรรคสาม จำคุกตั้งแต่สามปีถึงยี่สิบปี จึงไม่จำต้องสืบพยานโจทก์ประกอบคำให้การรับสารภาพตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง และเมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพตามฟ้องโดยสมัครใจ ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่โจทก์ฟ้อง แม้โคคาอีนที่จำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจะมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึงจำนวนถึงข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ศาลก็ลงโทษจำเลยที่ 1 ตามพฤติการณ์แห่งคดีที่ได้ความ หาได้ลงโทษจำเลยที่ 1 โดยฟังข้อสันนิษฐานของกฎหมายมาปรับใช้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7568/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาเพิ่มเติมโดยไม่แจ้งสิทธิในการปฏิเสธไม่กระทบความชอบด้วยกฎหมายของการสอบสวน
การที่จำเลยใช้เหล็กขูดชาฟท์ยาว 1 คืบ แทงที่บริเวณลิ้นปี่ของผู้เสียหายนั้นอาจเป็นความผิดฐานทำร้ายร่ายกายผู้อื่นจนได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ หรือรับอันตรายสาหัส หรือพยายามฆ่าผู้อื่นอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ เมื่อพนักงานสอบสวนได้สอบสวนถึงการกระทำนั้นของจำเลย ทั้งมีการแจ้งข้อหาแก่จำเลยตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 แล้ว แต่การแจ้งข้อหาก็หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจำต้องแจ้งข้อหา ทุกกระทงความผิดที่เกี่ยวกับการกระทำอันเดียวกันไม่ ซึ่งในการสอบสวนจำเลยครั้งแรกพนักงานสอบสวนได้แจ้ง ข้อหาฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจให้จำเลยทราบแล้วว่าคำให้การอาจใช้ยันจำเลย ในชั้นพิจารณาของศาลได้และจำเลยให้การปฏิเสธ แม้จะมีการสอบสวนโดยแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่จำเลยอีกสองครั้ง แต่พนักงานสอบสวนไม่ได้แจ้งแก่จำเลยว่าคำให้การเพิ่มเติมอาจใช้ยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้ มิได้ทำให้การสอบสวนของพนักงานสอบสวนเป็นการไม่ชอบเพราะบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 เพียงแต่บัญญัติว่าคำให้การจำเลยไม่อาจใช้ยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้เท่านั้น ซึ่งตามคำให้การเพิ่มเติมของจำเลยอีกสองครั้ง ก็มีเพียงว่า ขอให้การปฏิเสธตามที่ให้การในครั้งแรก จึงไม่มีข้อความใดที่จะใช้ยันจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6321/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาซ้ำซ้อนและการแจ้งข้อหาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกายืนคำพิพากษาเดิม
คดีก่อนจำเลยถูกจับกุมและดำเนินคดีในข้อหาปลอมและใช้ตั๋วแลกเงินปลอมแต่พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องจำเลยข้อหาปลอมและใช้ตั๋วแลกเงินอันเป็นเอกสารสิทธิปลอมโดยให้เหตุผลว่า ตั๋วแลกเงินดังกล่าวไม่ใช่เอกสารสิทธิ ศาลอาญากรุงเทพใต้จึงมีคำสั่งปล่อยตัวจำเลย และในวันเดียวกันจำเลยถูกจับและควบคุมตัวในคดีอื่นข้อหาปลอม ใช้หนังสือใบรับฝากตั๋วแลกเงินปลอมรวม16 กรรมแต่ต่อมาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว จนกระทั่งโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 264,268 ดังนี้ แม้ว่าตั๋วแลกเงินที่ถูกฟ้องในคดีนี้เป็นฉบับเดียวกับที่จำเลยถูกดำเนินคดีเป็นคดีแรก เมื่อปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนคดีนี้แล้วโดยจำเลยมิได้โต้แย้งว่าการสอบสวนไม่ชอบ จึงย่อมจะผ่านขั้นตอนการแจ้งข้อกล่าวหาที่จำเลยอ้างว่าคดีนี้ไม่ได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาจำเลยแล้ว ฎีกาจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้จำเลยถูกฟ้องในคดีอื่นต่อศาลอาญากรุงเทพใต้แม้จำเลยจะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ก็ต้องถือว่าจำเลยอยู่ในอำนาจศาลแล้วโจทก์จึงไม่ต้องนำตัวจำเลยมาศาล เมื่อจำเลยไม่ได้ถูกควบคุมตัวในคดีนี้จึงไม่ต้องขอผลัดฟ้องหรือขออนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ (อัยการสูงสุด)ฟ้องคดีนี้ตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 7 และ 9

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5875/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและแจ้งข้อหาจำหน่ายยาเสพติดโดยไม่มีพยานหลักฐานชัดเจน ศาลยกประโยชน์แห่งความสงสัย
ก่อนจับกุมจำเลย พยานผู้จับกุมสืบทราบเพียงว่ามีหญิงคนหนึ่งลักลอบจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจึงไปที่หมู่บ้านที่เกิดเหตุพบจำเลยยืนอยู่ข้างทางท่าทางมีพิรุธจะเดินหนีจึงแสดงตัวเข้าตรวจค้นจับกุมพบเมทแอมเฟตามีนอยู่ในมือจำเลยและเงินสดอยู่ในกระเป๋ากางเกง จึงแจ้งข้อหาว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ชั้นจับกุมและสอบสวนจำเลยให้การรับสารภาพ ดังนี้ พยานผู้จับกุมก็ไม่ทราบแน่ชัดว่าจำเลยจะเป็นหญิงตามที่สืบทราบมาหรือไม่ เหตุที่จับจำเลยได้น่าจะเป็นเหตุบังเอิญมากกว่า นอกจากจำเลยแล้วก็ยังมีการจับกุมผู้ต้องหารายอื่น ๆ อีก ทั้งบันทึกคำให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนก็มีร่องรอยการแก้ไขในช่องแจ้งข้อหา กรณียังมีเหตุน่าสงสัยอยู่ว่าจำเลยกระทำผิดในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายหรือไม่คงลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5433/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาและพิสูจน์ความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติด การเติมคำในเอกสารประกอบการสอบสวนไม่ทำให้การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การแจ้งข้อหาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134นั้น แม้พนักงานสอบสวนจะมิได้แจ้งข้อหาจำเลยทุกข้อหาทุกกระทงความผิดก็ตามแต่เมื่อภายหลังได้ดำเนินการสอบสวนแล้วปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานอื่นด้วย จึงถือได้ว่าได้มีการสอบสวนในข้อหาฐานอื่นที่มิได้แจ้งข้อหาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 แล้ว ดังนั้นการเติมคำว่า "จำหน่าย" ในบัญชีของกลางในคดีอาญา คำให้การในชั้นสอบสวนและบันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพ จึงหาทำให้การสอบสวนเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7628/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องความผิดหลายฐาน: แจ้งข้อหาความผิดหลักเพียงพอต่อการดำเนินคดีความผิดอื่นที่เกี่ยวพัน
บทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134ที่บังคับให้พนักงานสอบสวนต้องแจ้งข้อหาให้ผู้ต้องหาทราบเจตนารมณ์ก็เพื่อให้ผู้ต้องหาทราบว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิด และเพื่อให้ผู้ต้องหาเข้าใจถึงการกระทำของตนโดยไม่ต้องระบุอ้างถึงตัวบทกฎหมายที่กระทำผิด และในกรณีที่การกระทำนั้นผิดกฎหมายหลายบทหรือหลายกรรมต่างกันก็ตามพนักงานสอบสวนก็หาจำต้องระบุถึงกฎหมายที่เป็นความผิดทุกบทมาตราหรือทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไม่ แต่ เมื่อได้แจ้งข้อหา อันเป็นหลักความผิดทั่วไปแล้ว ก็ไม่จำต้องแจ้งข้อหาความผิด อันเกี่ยวพันกันด้วยอีกพนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนความผิด ทุกข้อหาได้ ฉะนั้น การที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลย ว่านำหรือพาของที่ยังมิได้เสียภาษีหรือยังมิได้ผ่านศุลกากร เข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว แม้ไม่แจ้งข้อหาว่ามีไม้สักแปรรูป ไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตซึ่งเป็นความผิดอีกฐานหนึ่ง อันมีองค์ประกอบความผิดแตกต่างออกไปและอยู่ในกฎหมายต่างฉบับกัน ก็มีอำนาจสอบสวนความผิดฐานมีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครอง โดยมิได้รับอนุญาตได้ ถือได้ว่ามีการสอบสวนความผิด ฐานนี้แล้ว พนักงานอัยการโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย ในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ ฐานมีไม้สักแปรรูป ไว้ในครอบครองโดยไม่รับอนุญาตได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนและฟ้องคดีอาญา: เขตอำนาจ, การแจ้งข้อหา, ความผิดต่างกรรม
คดีนี้ไม่ว่าความผิดอาญาได้เกิดในเขตอำเภอดอนสัก จังหวัด-สุราษฎร์ธานี หรือเกิดในเขตอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ก็ตามแต่เมื่อปรากฎว่าจำเลยทั้งเจ็ดมีที่อยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนสถานี-ตำรวจภูธรอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชแล้ว พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอขนอม ย่อมมีอำนาจสอบสวนความผิดคดีนี้ได้ การสอบสวนจึงชอบแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนในท้องที่ดังกล่าวได้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธี-พิจารณาความอาญา มาตรา 134 นั้น หาได้หมายความว่า พนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ แม้เดิมตั้งข้อหาหนึ่ง แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหาอื่นด้วย ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหาหลังตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 120 แล้ว ทั้งการทำไม้หวงห้าม การแปรรูปไม้ในเขตควบคุม การมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครอง และการมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป โดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการกระทำอันเป็นความผิดต่างกรรมกัน ดังนั้นแม้จะมิได้มีการแจ้งข้อหาจำเลยที่ 4 และที่ 7 ฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหานี้ด้วย ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหานี้แล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้อง ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 4 และที่ 7ในความผิดข้อหานี้ได้
of 8