คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แจ้งเจ้าของ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินร่วม: ต้องเปลี่ยนลักษณะการยึดถือและแจ้งเจ้าของรวม มิฉะนั้นไม่เกิดสิทธิ
จำเลยทั้งห้าฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ ม. แบ่งที่ดินมรดกแก่จำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นทายาทของ ม. โดยให้เป็นของจำเลยที่ 1 จำนวน 2 ไร่ 3 งาน5 ตารางวา และของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จำนวน 3 ไร่ 3 งาน 85 ตารางวา คิดเป็นเงินรวม313,833.32 บาท แม้จำเลยทั้งห้าฟ้องแย้งรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 แยกกันเพราะเป็นเรื่องจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ใช้สิทธิเฉพาะของตน เมื่อที่ดินพิพาทที่จำเลยทั้งห้าตีราคาเป็นทุนทรัพย์รวมกันมีราคา 313,833.32 บาท ที่ดินแต่ละส่วนที่จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ฟ้องแย้งจึงมีราคาไม่เกิน 20,000 บาท ดังนั้น ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 แต่ละส่วนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
จำเลยทั้งห้าได้ให้การในตอนต้นว่าที่ดินพิพาททั้งแปลงเป็นกรรมสิทธิ์ของ ม. เจ้ามรดกแต่ผู้เดียว แต่จำเลยทั้งห้าก็ให้การอีกตอนหนึ่งว่าจำเลยทั้งห้าได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทในส่วนของ ก. ด้วยการครอบครองปรปักษ์ ดังนั้น ฎีกาของจำเลยทั้งห้าที่ว่าม. ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทคนเดียวมิใช่ ก. ถือกรรมสิทธิ์ร่วมด้วย จึงขัดแย้งกับคำให้การของจำเลยทั้งห้า ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินซึ่งมีจำเลยที่ 1 พ. และ ก. ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1358 ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรวมมีสิทธิจัดการทรัพย์สินรวมกันและเจ้าของรวมคนอื่น ๆ มีสิทธิใช้ทรัพย์สินได้ แต่การใช้นั้นต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ ตามมาตรา 1360 ตราบใดที่ยังไม่มีการแบ่งแยกที่ดินกันเป็นส่วนสัด การที่ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์คนหนึ่งคนใดเข้าครอบครองส่วนหนึ่งส่วนใดของที่ดินก็ต้องถือว่าครอบครองที่ดินส่วนนั้น ๆ ในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งเท่านั้น หาก่อให้เริ่มเกิดสิทธิที่จะอ้างว่าตนครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเสียแต่คนเดียวไม่ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5ทายาทผู้สืบสิทธิจาก พ. ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท หาทำให้จำเลยทั้งห้าได้กรรมสิทธิ์ทางปรปักษ์ไม่ เว้นเสียแต่จะได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ เมื่อจำเลยทั้งห้าไม่ได้บอกกล่าวไปยัง ก. ว่าจะไม่ยึดถือทรัพย์สินแทน ก. อีกต่อไปตามมาตรา 1381 จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงฐานะยึดถือแทนผู้มีสิทธิครอบครองได้ และไม่อาจถือได้ว่ามีการแย่งการครอบครอง
ท้ายอุทธรณ์โจทก์ทั้งสองมิได้ขอให้จำเลยทั้งห้าใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ทั้งสองในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยทั้งห้าใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นด้วย เป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ใช้ดุลพินิจกำหนดให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแก่ฝ่ายที่ชนะคดีไม่ว่าคู่ความฝ่ายนั้นจะมีคำขอหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 และมาตรา 167 ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2514/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งรื้อถอนอาคารต้องชอบด้วยกฎหมายและแจ้งให้เจ้าของทราบชัดเจน หากไม่เป็นไปตามขั้นตอน เจ้าของไม่ต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ขอให้ลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 66 ทวิ วรรคสองซึ่งความผิดฐานขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารได้ตามกฎหมายหรือนัยหนึ่งคำสั่งดังกล่าวต้องเป็นคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายและได้มีการแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว อำนาจในการสั่งให้รื้อถอนอาคาร พระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 42 บัญญัติว่า ถ้าการกระทำตามมาตรา 40เป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้หรือเจ้าของอาคารมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 41 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ดำเนินการ รื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดแต่ต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวัน โดยให้ดำเนินการรื้อถอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8(11) หรือข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามมาตรา 9หรือมาตรา 10 ข้อเท็จจริงที่ว่าอาคารส่วนที่ก่อสร้างโดยผิดกฎหมายของจำเลยสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้หรือไม่ จึงเป็นสาระสำคัญในการพิจารณาถึงอำนาจในการออกคำสั่งให้รื้อถอนอาคารของเจ้าพนักงานท้องถิ่น แต่ฟ้องโจทก์บรรยายเพียงว่า จำเลยได้บังอาจก่อสร้างอาคารให้ผิดไปจากแบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากเทศบาลเมืองอุดรธานีและเป็นแบบแปลนที่ไม่อาจอนุญาตให้ก่อสร้างได้อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ย่อมไม่พอแปลหรือไม่อาจอนุมานได้ว่าเป็นกรณีเดียวกันกับที่กฎหมายบัญญัติว่าไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นการตีความให้เป็นผลร้ายเพื่อลงโทษจำเลย เมื่อฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่า การกระทำของจำเลยเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตามบทบัญญัติใน มาตรา 42กรณีย่อมรับฟังไม่ได้ว่า มีกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะใช้อำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารได้ การที่จำเลยไม่รื้อถอนอาคารจึงไม่มีความผิด ปัญหาที่ว่าคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารชอบหรือไม่ ย่อมกระทบกระเทือนถึงความสงบสุขและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225 จำเลยได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร แต่ดำเนินการก่อสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต จึงไม่อาจปรับบทลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 21 ซึ่งเป็นกรณีก่อสร้างอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7290/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขึ้นทะเบียนโบราณสถาน: การแจ้งเจ้าของที่ดินไม่จำเป็นต้องเป็นลายลักษณ์อักษร การประชาสัมพันธ์ถือว่าชอบด้วยกฎหมาย
พระราชบัญญัติโบราณสถานโบราณวัตถุศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพ.ศ.2504มาตรา7วรรคสองมีความมุ่งหมายเพียงให้อธิบดีกรมศิลปากรแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองโบราณสถานทราบถึงการขึ้นทะเบียนโบราณสถานเท่านั้นมิใช่เป็นการขออนุญาตดังนั้นเมื่อมีการประกาศกำหนดเขตที่ดินใดเป็นเขตโบราณสถานแล้วแม้กรมศิลปากรจำเลยไม่ได้แจ้งเป็นหนังสือให้โจทก์ผู้อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวทราบเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนประกาศก็ถือได้ว่าเป็นการประกาศขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นโบราณสถานโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5527/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องแจ้งให้เจ้าของทราบ การครอบครองแทนไม่ถือเป็นการครอบครองปรปักษ์
ผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ย. ผู้เป็นเจ้าของเท่ากับผู้ร้องถือแทน ย. ตลอดมาเมื่อ ย. ถึงแก่กรรมก็ต้องถือว่าถือแทนผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทของ ย. เมื่อไม่ได้ความว่าผู้ร้องได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือเป็นการครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1381ก็ต้องถือว่าผู้ร้องยังคงครอบครองที่ดินพิพาทแทน ย.แม้ผู้ร้องจะครอบครองที่ดินพิพาทติดต่อกันมาเกินกว่า10ปีแล้วผู้ร้องก็หาได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3747/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องแจ้งให้เจ้าของทราบ หากยังไม่แจ้ง แม้ครอบครองนาน ก็ไม่เกิดกรรมสิทธิ์
การที่ ป. สามีผู้ร้องและผู้ร้องเข้าครอบครองที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายเป็นการยึดถือแทนหรือครอบครองโดยอาศัยสิทธิของผู้คัดค้านที่7ซึ่งเป็นผู้จะขายต่อมาผู้คัดค้านที่7ผิดสัญญาและ ป. ได้ยื่นฟ้องแล้วศาลมีคำพิพากษาตามยอมโดยผู้คัดค้านที่7ยินยอมให้ผู้ร้องลงชื่อมีกรรมสิทธิ์ร่วมภายใน3วันนับแต่วันทำยอมและจะแบ่งแยกโฉนดที่ดินในวันดังกล่าวแสดงว่าผู้คัดค้านที่7ยังมิได้สละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ป. เมื่อ ป. หรือผู้ร้องมิได้บอกกล่าวเปลี่ยนแปลงลักษณะแห่งการยึดถือไปยังผู้คัดค้านที่7แม้ผู้ร้องครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทติดต่อกันมาเกิน10ปีก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2905/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายที่ดินทำให้สิทธิความเป็นเจ้าของสิ้นสุด การครอบครองหลังการขายเป็นเพียงการครอบครองแทน หากต้องการเปลี่ยนเป็นครอบครองเพื่อตนเอง ต้องแจ้งเจ้าของ
การที่ผู้ร้องโอนขายที่ดินให้ ว. เป็นการสละกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ทำให้ ว.เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท แม้ผู้ร้องจะยังอาศัยหรือให้ผู้อื่นอยู่อาศัยในที่ดินพิพาทต่อไป ก็เป็นเพียงอาศัยสิทธิของ ว. การครอบครองของผู้ร้องหลังจากขายที่ดินพิพาทเป็นการครอบครองแทน ว.เมื่อ ว.โอนที่ดินพิพาทให้ผู้อื่นถือว่าผู้ร้องยังครอบครองแทนเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ ถ้าผู้ร้องจะเปลี่ยนลักษณะการครอบครองมาเป็นของผู้ร้อง ต้องบอกกล่าวไปยังเจ้าของที่ดินว่าไม่ครอบครองแทน แต่ผู้ร้องมิได้กระทำเช่นนั้น ทั้งผู้ร้องมิได้อาศัยอำนาจอื่นใดว่าครอบครองเพื่อผู้ร้องเอง ผู้ร้องจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4480/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องแจ้งให้เจ้าของทราบ หากไม่แจ้งสิทธิจะยังไม่สมบูรณ์
บิดาโจทก์ครอบครองที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของเจ้าของที่ดินโจทก์ครอบครองสืบสิทธิต่อจากบิดาในฐานะผู้อาศัย เจ้าของที่ดินได้ขอออกโฉนดและโอนกรรมสิทธิ์ต่อมาจนถึงจำเลยซึ่งยังคงปล่อยให้โจทก์อยู่ต่อมา เป็นเรื่องของการให้อยู่อาศัยในฐานะเป็นญาติตามที่เคยเป็นมาสมัยบิดาโจทก์ ตราบใดที่โจทก์ไม่บอกกล่าวไปยังเจ้าของที่พิพาทว่าไม่ยึดถือที่พิพาทแทนผู้เป็นเจ้าของอีกต่อไป โจทก์จะอ้างการครอบครองปรปักษ์เหนือที่พิพาทยันจำเลยไม่ได้ที่พิพาทไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4283/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพบกระบือที่ถูกลัก แต่ไม่แจ้งเจ้าของและเรียกค่าตอบแทนเข้าข่ายรับของโจร
จำเลยทั้งสองติดตามไปพบกระบือผู้เสียหายที่ถูกลักไป แต่ไม่นำมาให้ผู้เสียหายหรือบอกให้ผู้เสียหายทราบตามที่ขอให้ช่วย เป็นเพียงปกปิดความจริงที่ควรบอกให้ผู้เสียหายทราบ ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้รับกระบือไว้จากคนร้าย หรือเอากระบือที่พบไปไว้ที่อื่นก่อน หรือร่วมรู้กับคนร้ายมาเรียกค่าไถ่กระบือจากผู้เสียหาย ไม่มีความผิดฐานรับของโจร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2050/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินในเขตโบราณสถานไม่ใช่ที่สาธารณสมบัติ โจทก์มีอำนาจฟ้อง การครอบครองต้องแจ้งเจ้าของ
ปัญหาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเนื่องจากที่ดินนั้นอยู่ในเขตโบราณสถานที่ทางราชการขึ้นทะเบียนไว้ตามพระราชบัญญัติโบราณสถานฯนั้น.เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ให้เป็นประเด็นข้อพิพาท ศาลฎีการับวินิจฉัยให้. ที่ดินบริเวณใดที่ทางราชการขึ้นทะเบียนเป็นเขตโบราณสถานแล้วไม่มีผลทำให้ที่ดินบริเวณนั้นเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินทั้งหมด. เพียงแต่เจ้าของหรือผู้ครอบครองถูกจำกัดสิทธิบางอย่างในที่ดินของตนตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติโบราณสถานฯเท่านั้น. ที่ดินนั้นจึงไม่ใช่ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินอันจะมีผลให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง. ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์ให้ ล. ครอบครองแทนจำเลยสืบสิทธิจาก ล. จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้ครอบครองแทนเช่นเดียวกัน. หากจำเลยจะแย่งการครอบครองหรือเปลี่ยนแปลงลักษณะแห่งการยึดถือครอบครอง ก็ต้องบอกกล่าวให้โจทก์ทราบก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381. เมื่อจำเลยไม่ได้บอกกล่าวเปลี่ยนแปลงการยึดถือครอบครอง จึงไม่ใช่เรื่องที่ดินพิพาทถูกแย่งการครอบครองซึ่งโจทก์จะต้องฟ้องเรียกเอาคืนภายใน 1 ปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3341/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ทางภารจำยอมโดยไม่แจ้งเจ้าของที่ดิน และระยะเวลาการครอบครองไม่ถึง 10 ปี ไม่เกิดภารจำยอม
ทางที่จำเลยปิดกั้นเป็นทางคันลำกระโดงสวนในที่ดินของจำเลยซึ่งโจทก์เจ้าของที่ดินอีกแปลงหนึ่งได้ใช้เดินเข้าออกสู่ทางสาธารณะ เป็นเวลาติดต่อกันมาไม่น้อยกว่า 30 ปีก็ตามแต่เมื่อโจทก์เบิกความว่า โจทก์เดินมาโดยถือวิสาสะกันโดยไม่ต้องบอกกล่าวเจ้าของที่ดิน และพยานโจทก์ปากอื่นก็เบิกความว่า ที่โจทก์เดินผ่านก็โดยอาศัยความคุ้นเคยกัน ดังนี้โจทก์จะเถียงว่าเป็นการใช้สิทธิโดยปรปักษ์หาได้ไม่ เมื่อจำเลยซื้อที่ดินนั้นมาแล้ว และจำเลยได้ทำทางขึ้นใหม่แม้จะฟังว่าโจทก์ได้ใช้ทางที่จำเลยทำขึ้นใหม่นี้โดยปรปักษ์ แต่นับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี ทางพิพาทจึงไม่ตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์
of 2