พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5553/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวบังคับจำนองและการแจ้งให้ทายาท/ผู้รับโอนทราบก่อนฟ้อง
ในกรณีที่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้รับจำนองประสงค์จะฟ้องบังคับจำนองป.พ.พ.มาตรา 728 บังคับให้เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้จำนองซึ่งเป็นลูกหนี้ ในคำบอกกล่าวนั้นเจ้าหนี้จะต้องกำหนดเวลาให้ผู้จำนองชำระหนี้จำนอง และกำหนดเวลาดังกล่าวจะต้องเป็นกำหนดเวลาอันสมควรด้วย เพื่อให้โอกาสผู้จำนองชำระหนี้จำนอง ทำให้ไม่ต้องถูกฟ้องให้ศาลสั่งยึดทรัพย์สินซึ่งจำนองไปขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระหนี้ การบอกกล่าวจึงเป็นเงื่อนไขที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจำนองจะต้องกระทำให้ถูกต้องก่อน จึงจะฟ้องบังคับจำนองได้ การบอกกล่าวดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาที่จะต้องมีผู้รับการแสดงเจตนา คือผู้จำนอง เมื่อผู้จำนองถึงแก่กรรมก่อนผู้รับจำนองมีหนังสือบอกกล่าว แม้จะมีผู้อื่นรับหนังสือนั้นไว้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 728
เมื่อผู้จำนองถึงแก่กรรม มรดกของผู้จำนองซึ่งรวมตลอดถึงสิทธิหน้าที่และความรับผิดของผู้จำนองย่อมตกทอดแก่ทายาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1599,1600 ถ้ามีผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองแล้ว โจทก์ผู้รับจำนองประสงค์จะบังคับจำนองโจทก์ต้องมีจดหมายบอกกล่าวแก่ผู้รับโอนล่วงหน้าเดือนหนึ่งก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา735 ถ้ายังไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง แต่ผู้จำนองมีทายาทหรือผู้จัดการมรดก โจทก์ต้องบอกกล่าวแก่บุคคลดังกล่าวซึ่งเป็นเสมือนผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนอง การบอกกล่าวนี้ต้องทำเป็นจดหมายหรือหนังสือ และต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน โจทก์จึงจะฟ้องบังคับจำนองได้ โจทก์มิได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทของผู้จำนองก่อนฟ้อง และการที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำนอง
เมื่อผู้จำนองถึงแก่กรรม มรดกของผู้จำนองซึ่งรวมตลอดถึงสิทธิหน้าที่และความรับผิดของผู้จำนองย่อมตกทอดแก่ทายาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1599,1600 ถ้ามีผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองแล้ว โจทก์ผู้รับจำนองประสงค์จะบังคับจำนองโจทก์ต้องมีจดหมายบอกกล่าวแก่ผู้รับโอนล่วงหน้าเดือนหนึ่งก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา735 ถ้ายังไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง แต่ผู้จำนองมีทายาทหรือผู้จัดการมรดก โจทก์ต้องบอกกล่าวแก่บุคคลดังกล่าวซึ่งเป็นเสมือนผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนอง การบอกกล่าวนี้ต้องทำเป็นจดหมายหรือหนังสือ และต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน โจทก์จึงจะฟ้องบังคับจำนองได้ โจทก์มิได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทของผู้จำนองก่อนฟ้อง และการที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำนอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5007/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์หลังคำพิพากษาถึงที่สุด: เจตนาครอบครองแทนโจทก์และการแจ้งให้ทราบ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารให้ออกจากที่ดินพิพาทคดีนี้ตามจำนวนเนื้อที่ดินเฉพาะส่วนของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ซึ่งจำเลยเคยฟ้องโจทก์ให้ไปจดทะเบียนโอนให้แก่จำเลย ซึ่งจำเลยทราบดีมาก่อนแล้วแม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้ชัดแจ้งว่าที่ดินพิพาทตามที่โจทก์อ้างว่าจำเลยอยู่อาศัยที่โจทก์ฟ้องนั้นอยู่ส่วนไหนของที่ดินและมีจำนวนเนื้อที่เท่าไหร่ก็ตาม ฟ้องโจทก์ก็ไม่เคลือบคลุม
เหตุที่จำเลยอ้างถึงการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์สืบเนื่องมาจากกรณีจำเลยเคยฟ้องโจทก์เกี่ยวกับที่ดินพิพาทต่อศาลชั้นต้นให้โจทก์โอนแก่จำเลย ซึ่งจำเลยได้อยู่อาศัยมาก่อนโดยศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายกฟ้องจำเลยและคดีถึงที่สุด แม้จำเลยยังคงครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาจนถึงโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ก็ตาม แต่ผลของคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์เกี่ยวกับที่ดินพิพาทมาก่อนนั้น ยังคงผูกพันจำเลยตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ถึงที่สุด ซึ่งฟังว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลยอยู่ ฉะนั้นในการครอบครองของจำเลยนับแต่วันที่ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษามา จึงฟังได้ว่าจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์นั่นเองเหตุที่ว่านี้จำเลยจะเปลี่ยนแปลงอ้างเหตุได้ก็โดยจำเลยจะต้องเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือการครอบครองแทนโจทก์ได้ก็โดยจำเลยจะต้องแสดงเจตนาแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ผู้มีสิทธิครอบครองว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะยึดถือแทนโจทก์ผู้มีสิทธิครอบครองต่อไป ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1381 แต่ตามคำให้การของจำเลยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้มีการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้นให้โจทก์ทราบ จำเลยจึงไม่อาจอ้างเหตุแห่งอายุความตามที่จำเลยให้การมายันโจทก์ได้
เหตุที่จำเลยอ้างถึงการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์สืบเนื่องมาจากกรณีจำเลยเคยฟ้องโจทก์เกี่ยวกับที่ดินพิพาทต่อศาลชั้นต้นให้โจทก์โอนแก่จำเลย ซึ่งจำเลยได้อยู่อาศัยมาก่อนโดยศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายกฟ้องจำเลยและคดีถึงที่สุด แม้จำเลยยังคงครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาจนถึงโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ก็ตาม แต่ผลของคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์เกี่ยวกับที่ดินพิพาทมาก่อนนั้น ยังคงผูกพันจำเลยตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ถึงที่สุด ซึ่งฟังว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลยอยู่ ฉะนั้นในการครอบครองของจำเลยนับแต่วันที่ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษามา จึงฟังได้ว่าจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์นั่นเองเหตุที่ว่านี้จำเลยจะเปลี่ยนแปลงอ้างเหตุได้ก็โดยจำเลยจะต้องเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือการครอบครองแทนโจทก์ได้ก็โดยจำเลยจะต้องแสดงเจตนาแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ผู้มีสิทธิครอบครองว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะยึดถือแทนโจทก์ผู้มีสิทธิครอบครองต่อไป ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1381 แต่ตามคำให้การของจำเลยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้มีการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้นให้โจทก์ทราบ จำเลยจึงไม่อาจอ้างเหตุแห่งอายุความตามที่จำเลยให้การมายันโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4432/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์หุ้นตกแก่ผู้ซื้อทันทีเมื่อซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ การจดทะเบียนโอนหุ้นเป็นเพียงการแจ้งให้ทราบ
ตาม พ.ร.บ.ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2517มาตรา 20 ได้บัญญัติให้การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์กระทำได้เฉพาะหลักทรัพย์จดทะเบียนหรือหลักทรัพย์รับอนุญาตและโดยสมาชิกเท่านั้น สมาชิกจะทำการเป็นนายหน้าของบุคคลใด ๆ หรือเป็นตัวแทนบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งมิได้เป็นสมาชิกก็ได้ดังนั้นการซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ มิใช่เป็นเรื่องการซื้อขายหุ้นตามปกติ แต่เป็นการซื้อขายหุ้นในกรณีพิเศษ และผู้ดำเนินการซื้อขายหุ้นแทนลูกค้ากับลูกค้ามีเจตนาผูกพันขอให้เป็นหุ้น ประเภท จำนวนและราคา ตามที่ตกลงสั่งซื้อหรือตกลงขายไว้ต่อกันเป็นปัจจัยสำคัญ จึงเป็นนิติกรรมอย่างหนึ่งซึ่งสามารถแยกจากการจดทะเบียนโอนหุ้นได้โดยเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในหุ้นตกแก่ผู้ซื้อทันทีที่มีการซื้อขายกันโดยไม่จำต้องทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน ทั้งไม่ต้องจดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1129 การจดทะเบียนโอนหุ้นเป็นเพียงเพื่อให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้นใช้ยันต่อบริษัทที่ออกหุ้นหรือต่อบุคคลภายนอก หาได้เกี่ยวข้องถึงความสมบูรณ์ของการซื้อขายหุ้นไม่
เมื่อหุ้นพิพาทมีชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ถือหุ้นและสลักหลังลอยให้แก่ ส. วันที่ 23 เมษายน 2535 ส.ได้มอบหุ้นพิพาทให้แก่ผู้ร้องเป็นตัวแทนนำไปขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้ร้องจึงเสนอขายให้แก่บริษัท-เงินทุนหลักทรัพย์ อ. บริษัทดังกล่าวขายหุ้นพิพาทให้แก่ผู้ซื้อในวันนั้นเอง กรรมสิทธิ์ในหุ้นพิพาทย่อมตกเป็นของผู้ซื้อทันที โจทก์นำยึดหุ้นพิพาทเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน2535 เป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจเพราะขณะนั้นจำเลยที่ 2 มิได้เป็นเจ้าของหุ้นพิพาทแล้ว ผู้ร้องซึ่งรับหุ้นพิพาทคืนมาไว้ในครอบครอง จึงเป็นเจ้าของผู้ถือหุ้นมีสิทธิร้องขอให้ปล่อยหุ้นดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องลงทะเบียนการโอน
เมื่อหุ้นพิพาทมีชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ถือหุ้นและสลักหลังลอยให้แก่ ส. วันที่ 23 เมษายน 2535 ส.ได้มอบหุ้นพิพาทให้แก่ผู้ร้องเป็นตัวแทนนำไปขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้ร้องจึงเสนอขายให้แก่บริษัท-เงินทุนหลักทรัพย์ อ. บริษัทดังกล่าวขายหุ้นพิพาทให้แก่ผู้ซื้อในวันนั้นเอง กรรมสิทธิ์ในหุ้นพิพาทย่อมตกเป็นของผู้ซื้อทันที โจทก์นำยึดหุ้นพิพาทเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน2535 เป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจเพราะขณะนั้นจำเลยที่ 2 มิได้เป็นเจ้าของหุ้นพิพาทแล้ว ผู้ร้องซึ่งรับหุ้นพิพาทคืนมาไว้ในครอบครอง จึงเป็นเจ้าของผู้ถือหุ้นมีสิทธิร้องขอให้ปล่อยหุ้นดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องลงทะเบียนการโอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9934/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดต้องแจ้งให้ผู้ค้างภาษีทราบที่ภูมิลำเนา หากไม่สามารถส่งได้จึงแจ้งโดยวิธีอื่นได้ การแจ้งเฉพาะทางหนังสือพิมพ์จึงไม่ชอบ
โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่เป็นที่แน่นอน กรรมสรรพากรจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องส่งประกาศแจ้งกำหนดวันเวลาและสถานที่การขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ให้โจทก์ทราบ ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ดังกล่าวซึ่งถ้าไม่สามารถส่งได้ จึงจะส่งโดยวิธีอื่นหรือประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์ได้ การที่จำเลยแจ้งเรื่องการขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์โดยวิธีประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์โดยไม่เข้าข้อยกเว้นที่ให้ทำได้ จึงไม่ชอบการขายทอดตลาดที่จำเลยดำเนินการไปจึงไม่ชอบด้วยระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากรตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2525 และระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร พ.ศ. 2532
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7287/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิต การปรับอัตราดอกเบี้ยต้องแจ้งให้ทราบ และสิทธิในการคิดดอกเบี้ยหลังสัญญาเลิก
ตามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการใช้บัตรเครดิต ให้คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี แต่ในกรณีที่มีกฎหมายหรือประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยยินยอมให้ธนาคารเรียกดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าที่กำหนดไว้ จำเลยตกลงยินยอมให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยได้และให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติในการคิดดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีของโจทก์ แต่ข้อตกลงดังกล่าวมิได้กำหนดให้โจทก์มีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยได้พลการเองโดยมิต้องแจ้งให้จำเลยทราบก่อน เมื่อโจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบก่อนว่าจะปรับดอกเบี้ยเป็นอัตราร้อยละเท่าใดแล้วจึงต้องถือว่าโจทก์ยังคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ15 ต่อปี ตามข้อสัญญาเดิม โจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้โดยการประกาศหนังสือพิมพ์ระบุว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่พร้อมดอกเบี้ยให้นำมาชำระภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2535ซึ่งโจทก์ยังคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่ 16ตุลาคม 2535 เมื่อจำเลยไม่นำเงินมาชำระตามกำหนดที่โจทก์ทวงถาม สัญญาจึงเป็นอันเลิกกัน โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นนับแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2535 เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4365/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้และสิทธิการขึ้นดอกเบี้ย: ต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบ
ตามสัญญากู้ยืมเงินมีข้อความว่า ผู้ให้กู้จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแล้ว ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีสิทธิขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ตามแต่จะเห็นสมควร โดยเพียงแต่แจ้งให้ผู้กู้ทราบเท่านั้น ข้อความที่ระบุไว้ดังกล่าว แม้จะให้สิทธิโจทก์ขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ก็มีเงื่อนไขว่าต้องแจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบด้วย โจทก์จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยไม่แจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบหาได้ไม่ แต่ตามคำฟ้องและการนำสืบของโจทก์ในชั้นพิจารณา ไม่ปรากฎว่าโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบว่า โจทก์ขอขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราร้อยละ 18 และ 19 ต่อปี โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวจากจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7290/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขึ้นทะเบียนโบราณสถานและการเวนคืนที่ดิน: การแจ้งเจ้าของและการมีอยู่ของโบราณสถาน
พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถาน-แห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 7 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "การขึ้นทะเบียนโบราณสถานตามความในวรรคก่อน ถ้าโบราณสถานนั้นมีเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ให้อธิบดีแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองทราบ ถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองไม่พอใจ ก็ให้มีสิทธิร้องต่อศาลภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่อธิบดีแจ้งให้ทราบ ขอให้ศาลมีคำสั่งให้อธิบดีระงับการขึ้นทะเบียนและหรือการกำหนดเขตที่ดินให้เป็นโบราณสถาน แล้วแต่กรณีได้ ถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองมิได้ร้องขอต่อศาล หรือศาลมีคำสั่งถึงที่สุดให้ยกคำร้องขอของเจ้าของหรือผู้ครอบครอง ให้อธิบดีดำเนินการขึ้นทะเบียนได้" นั้น มีความมุ่งหมายเพียงให้อธิบดีกรมศิลปากรแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองโบราณสถานทราบเท่านั้น มิใช่เป็นการขออนุญาตแต่อย่างใด แม้จะมีการประกาศกำหนดเขตที่ดินเป็นเขตโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 28,217 ไร่ โดยกรมศิลปากรจำเลยที่ 1 ไม่ได้แจ้งเป็นหนังสือให้โจทก์ผู้อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวทราบเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนประกาศ แต่ก็ได้มีการประชาสัมพันธ์ให้ราษฎรในพื้นที่ดังกล่าวทราบว่าจำเลยที่ 1จะดำเนินการประกาศกำหนดเขตที่ดินบริเวณนั้นให้เป็นเขตโบราณสถาน จึงถือได้ว่าเป็นการประกาศขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นโบราณสถานโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ที่ดินพิพาทเป็นที่ตั้งของกำแพงเมืองเชลียงซึ่งเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ โดยมีร่องรอยเป็นแนวกำแพงเมืองผ่านตลอดริมฝั่งใต้ของแม่น้ำยมในบริเวณที่ดินพิพาทมีก้อนศิลาแลงโบราณปรากฏอยู่ นอกจากนี้ในที่ดินพิพาทยังมีบ่อน้ำโบราณอยู่โดยมีก้อนศิลาแลงโบราณทรงโค้งซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบ่อน้ำโบราณถูกนำมาก่อสร้างเป็นขั้นบันไดริมตลิ่งแม่น้ำยมด้วย แม้จะไม่มีแนวกำแพงเมืองในที่ดินพิพาทเนื่องจากมีการขุด ทำลายกำแพงเมืองในที่ดินพิพาทและที่ดินส่วนอื่นแต่ก็ยังมีซากหรือเศษส่วนของแนวกำแพง ก้อนศิลาแลงปรากฎอยู่เป็นหลักฐานถือได้ว่าบริเวณที่พิพาทมีโบราณสถานอยู่จริง การกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยและคำสั่งให้โจทก์ระงับการก่อสร้างและรื้อถอนสิ่งก่อสร้างของจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ที่ดินพิพาทเป็นที่ตั้งของกำแพงเมืองเชลียงซึ่งเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ โดยมีร่องรอยเป็นแนวกำแพงเมืองผ่านตลอดริมฝั่งใต้ของแม่น้ำยมในบริเวณที่ดินพิพาทมีก้อนศิลาแลงโบราณปรากฏอยู่ นอกจากนี้ในที่ดินพิพาทยังมีบ่อน้ำโบราณอยู่โดยมีก้อนศิลาแลงโบราณทรงโค้งซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบ่อน้ำโบราณถูกนำมาก่อสร้างเป็นขั้นบันไดริมตลิ่งแม่น้ำยมด้วย แม้จะไม่มีแนวกำแพงเมืองในที่ดินพิพาทเนื่องจากมีการขุด ทำลายกำแพงเมืองในที่ดินพิพาทและที่ดินส่วนอื่นแต่ก็ยังมีซากหรือเศษส่วนของแนวกำแพง ก้อนศิลาแลงปรากฎอยู่เป็นหลักฐานถือได้ว่าบริเวณที่พิพาทมีโบราณสถานอยู่จริง การกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยและคำสั่งให้โจทก์ระงับการก่อสร้างและรื้อถอนสิ่งก่อสร้างของจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 502/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดกิจการโรงแรมชั่วคราวไม่ถือเป็นการละเมิดสัญญาเช่า หากเป็นการกระทำที่ชอบธรรมและแจ้งให้เช่าทราบตามสัญญา
จำเลยได้ให้โจทก์เช่าสถานที่ซึ่งอยู่ที่ชั้นสองและเป็นส่วนการค้าของโรงแรมเพื่อประกอบกิจการตัดผมสุภาพบุรุษอาบ อบ นวด จำเลยปิดกิจการโรงแรมชั่วคราวเพื่อปรับปรุงและปิดประตูใหญ่ภายหลังจากที่โจทก์ปิดกิจการร้านของโจทก์แล้วแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าขณะจำเลยปิดประตูใหญ่ โจทก์ยังมีสิทธิการเช่าอยู่ก็ยังถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่โจทก์จึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดิน: การแจ้งขายก่อนครบกำหนดสัญญา และอำนาจฟ้องของผู้ให้เช่า
สัญญาเช่าที่ดินข้อ 6 ระบุว่า "ถ้าผู้ให้เช่าตกลงขายทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้ใดก่อนครบกำหนดการเช่าตามสัญญาแล้ว ผู้ให้เช่าจะแจ้งให้ผู้เช่าทราบล่วงหน้าเพื่อผู้เช่าเตรียมตัวออกจากทรัพย์สินที่เช่าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองเดือน และผู้ให้เช่าจะแจ้งให้ผู้เช่าทราบด้วยว่าจะตกลงขายให้แก่ผู้ใดเป็นเงินเท่าใด เพื่อผู้เช่าจะได้มีโอกาสตกลงซื้อได้ก่อนในเมื่อเห็นว่าเป็นราคาสมควรฯลฯ" ตามข้อสัญญาดังกล่าวหมายถึงกรณีที่โจทก์ผู้ให้เช่าจะขายที่ดินพิพาทก่อนครบกำหนดการเช่าเท่านั้น จึงจะต้องแจ้งให้จำเลยผู้เช่าทราบ หากโจทก์ไม่ได้ขายที่ดินพิพาทก่อนครบกำหนดการเช่าก็ไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยทราบ ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นเห็นว่าประเด็นข้อนี้ที่ว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญาเช่าข้อ 6 ข้อเท็จจริงจากคำคู่ความเพียงพอยุติแล้ว คู่ความไม่จำต้องนำสืบก็ตาม หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์ได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว จำเลยก็สามารถนำสืบตามประเด็นข้อต่อไปที่ว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทหรือไม่ เพื่อแสดงให้ศาลเห็นได้ว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในขณะยื่นคำฟ้อง แต่ทางนำสืบของจำเลยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ใดโดยมิได้แจ้งให้จำเลยทราบ กลับปรากฏจากทางนำสืบของโจทก์ว่าโจทก์ยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในขณะยื่นคำฟ้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4041/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินโดยอาศัยอยู่เดิม หากต้องการแย่งครอบครองต้องแจ้งให้ทราบ การไม่แจ้งถือเป็นการครอบครองแทน
การที่จำเลยอาศัยที่ดินพิพาทของโจทก์อยู่ หากต่อมาประสงค์จะแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยต้องแจ้งให้แก่โจทก์ผู้ครอบครองทราบ เพื่อเปลี่ยนลักษณะแห่งการครอบครองว่าต่อไปจะครอบครองเพื่อตนเอง เมื่อจำเลยมิได้กระทำอย่างใดให้เห็นว่าเป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยจึงเป็นการครอบครองแทนโจทก์