คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แต่งกาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1798/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสมณเพศและการแต่งกายเป็นพระภิกษุโดยมิชอบ
ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 29 ที่ใช้บังคับอยู่ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2534 นั้น การสละสมณเพศเพราะถูกจับในข้อหาคดีอาญาแยกได้เป็น 3 กรณี คือ 1. เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราวและเจ้าอาวาสไม่ยอมรับตัวไว้ควบคุม พนักงานสอบสวนดำเนินการให้สละสมณเพศได้ 2. พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเห็นว่าไม่ควรปล่อยชั่วคราวและไม่ควรมอบตัวให้เจ้าอาวาสรับตัวไปควบคุม ก็ดำเนินการให้สละสมณเพศได้ และ3. พระภิกษุรูปนั้นไม่ได้สังกัดอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งหรือเป็นพระจรจัด ก็ดำเนินการให้สละสมณเพศได้ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2534 ร้อยตำรวจโท ส.นำจำเลยไปมอบให้พนักงานสอบสวนโดยมี ก.แจ้งว่าจำเลยแต่งกายเป็นพระภิกษุโดยมิชอบและยุ่งเกี่ยวกับพ.ภริยาของ ก. พนักงานสอบสวนจึงนำจำเลยไปพบเจ้าคณะเขตและพระภิกษุผู้ใหญ่อีกหลายรูปเพื่อสอบสวนจำเลย เมื่อไม่ได้ความชัดว่าขณะนั้นจำเลยจำพรรษาและสังกัดวัดใดแล้ว จำเลยได้ยินยอมสึกจากการเป็นพระภิกษุโดยเปลื้องจีวรออกแล้วแต่งกายด้วยชุดขาว เมื่อกรณีเห็นได้แจ้งชัดว่าจำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญาและพนักงานสอบสวนไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราว ทั้งจำเลยมิได้สังกัดในวัดใดวัดหนึ่ง พนักงานสอบสวนจึงได้ดำเนินการให้จำเลยสละสมณเพศ โดยนำจำเลยไปพบเจ้าคณะเขตและพระภิกษุผู้ใหญ่อีกหลายรูปเพื่อทำการสึกจำเลยจากการเป็นพระภิกษุ การที่จำเลยยินยอมเปลื้องจีวรออกแล้วแต่งกายด้วยชุดขาวเช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยได้สละสมณเพศแล้วเพราะพระภิกษุที่ไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยหรือต้องปาราชิกจะขาดจากการเป็นพระภิกษุทันทีโดยเจ้าคณะเขตหรือเจ้าคณะตำบลหรือเจ้าคณะแขวงสามารถให้พระภิกษุรูปนั้นสึกได้โดยไม่ต้องกล่าวคำอำลาสิกขา การที่จำเลยยินยอมเปลื้องจีวรออกเพื่อต่อสู้คดี ย่อมไม่เป็นเหตุให้จำเลยกลับมาเป็นพระภิกษุใหม่อีก ดังนั้น การที่ต่อมาจำเลยกลับมาแต่งกายเป็นพระภิกษุเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนเป็นพระภิกษุจึงเป็นการกระทำที่เป็นความผิดตามป.อ.มาตรา 208

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1798/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสมณเพศโดยพนักงานสอบสวน และความผิดแต่งกายเป็นพระภิกษุปลอม
ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 29ที่ใช้บังคับอยู่ ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2534 นั้น การสละสมณเพศเพราะถูกจับในข้อหาคดีอาญาแยกได้เป็น 3 กรณี คือ 1. เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราวและเจ้าอาวาสไม่ยอมรับตัวไว้ควบคุมพนักงานสอบสวนดำเนินการให้สละสมณเพศได้ 2. พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเห็นว่าไม่ควรปล่อยชั่วคราวและไม่ควร มอบตัวให้เจ้าอาวาสรับตัวไปควบคุม ก็ดำเนินการ ให้สละสมณเพศได้ และ 3. พระภิกษุรูปนั้นไม่ได้สังกัด อยู่ในวัดใดวัดหนึ่งหรือเป็นพระจรจัด ก็ดำเนินการ ให้สละสมณเพศได้ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2534 ร้อยตำรวจโท ส. นำจำเลยไปมอบให้พนักงานสอบสวนโดยมีก. แจ้งว่าจำเลยแต่งกายเป็นพระภิกษุโดยมิชอบและยุ่งเกี่ยวกับ พ.ภริยาของ ก. พนักงานสอบสวนจึงนำจำเลยไปพบเจ้าคณะเขตและพระภิกษุผู้ใหญ่อีกหลายรูปเพื่อ สอบสวนจำเลย เมื่อไม่ได้ความชัดว่าขณะนั้นจำเลยจำพรรษา และสังกัดวัดใดแล้ว จำเลยได้ยินยอมสึกจากการเป็นพระภิกษุ โดยเปลื้องจีวร ออกแล้ว แต่งกายด้วยชุดขาว เมื่อกรณีเห็นได้ แจ้งชัดว่าจำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญาและพนักงาน สอบสวนไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราว ทั้งจำเลยมิได้สังกัด ในวัดใดวัดหนึ่ง พนักงานสอบสวนจึงได้ดำเนินการให้จำเลย สละสมณเพศ โดยนำจำเลยไปพบเจ้าคณะเขตและพระภิกษุ ผู้ใหญ่อีกหลายรูปเพื่อทำการสึกจำเลยจากการเป็นพระภิกษุ การที่จำเลยยินยอมเปลื้องจีวร ออกแล้ว แต่งกายด้วยชุดขาว เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยได้สละสมณเพศแล้วเพราะพระภิกษุ ที่ไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยหรือต้องปาราชิก จะขาดจากการ เป็นพระภิกษุทันทีโดยเจ้าคณะเขตหรือเจ้าคณะตำบลหรือ เจ้าคณะแขวงสามารถให้พระภิกษุรูปนั้นสึกได้โดยไม่ต้อง กล่าวคำอำลาสิกขา การที่จำเลยยินยอมเปลื้องจีวร ออกเมื่อ ต่อสู้คดี ย่อมไม่เป็นเหตุให้จำเลยกลับมาเป็นพระภิกษุใหม่อีก ดังนั้น การที่ต่อมาจำเลยกลับมาแต่งกายเป็นพระภิกษุ เพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนเป็นพระภิกษุจึงเป็นการกระทำ ที่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4499/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งกายเลียนแบบพระภิกษุ และไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าอาวาส มีความผิดทางอาญาและกฎหมายคณะสงฆ์
คณะสงฆ์ผู้พิจารณาชั้นต้นมีคำวินิจฉัยว่า จำเลยกระทำผิดล่วงละเมิดพระธรรมวินัยให้จำเลยสึกจากการเป็นพระภิกษุ จำเลยได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยดังกล่าวต่อคณะสงฆ์ การยื่นอุทธรณ์จะกระทำโดยชอบหรือไม่ ก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยซึ่งได้สึกจากการเป็นพระภิกษุไปแล้ว กลับมาเป็นพระภิกษุใหม่อีก การที่จำเลยแต่งกายเป็นพระภิกษุเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนเป็นพระภิกษุ และไม่ยอมออกไปจากวัดตามคำสั่งของเจ้าอาวาสวัดดังกล่าว จึงเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 208, 368 วรรคแรก พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 38 (1), 45

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4499/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งกายเป็นพระภิกษุโดยไม่ได้รับอนุญาต และไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าอาวาส ถือเป็นความผิดตามกฎหมาย
คณะสงฆ์ผู้พิจารณาชั้นต้นมีคำวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำผิดล่วงละเมิดพระธรรมวินัยให้จำเลยลึกจากการเป็นพระภิกษุจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยดังกล่าวต่อคณะสงฆ์การยื่นอุทธรณ์จะกระทำโดยชอบหรือไม่ก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยซึ่งได้ลึกจากการเป็นพระภิกษุไปแล้วกลับมาเป็นพระภิกษุใหม่อีกการที่จำเลยแต่งกายเป็นพระภิกษุเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนเป็นพระภิกษุและไม่ยอมออกไปจากวัดตามคำสั่งของเจ้าอาวาสวัดดังกล่าวจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา208,368วรรคแรกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ.2505มาตรา38(1),45

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งกายด้วยเครื่องแบบทหารบางส่วนไม่ถือเป็นความผิดฐานแต่งเครื่องแบบทหาร
จำเลยแต่งกายด้วยกางเกงขายาวสีกากีแกมเขียวรองเท้าหุ้มข้อหนังสีดำเข็มขัดผ้าสีกากีแกมเขียว มีหัวเข็มขัดโลหะทองเหลืองเครื่องหมายกองทัพบกซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเครื่องแบบทหารตามพระราชบัญญัติเครื่องแบบทหาร พ.ศ.2477มาตรา 4 ยังไม่เรียกว่า แต่งเครื่องแบบทหารตามความหมายในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องแบบทหาร (ฉบับที่ 3)พ.ศ.2485 ที่ยกเลิกแก้ไขมาตรา 6 เดิม จำเลยจึงยังไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งกายด้วยเครื่องแบบทหารบางส่วนไม่ถือเป็นความผิดฐานแต่งเครื่องแบบทหารโดยไม่มีสิทธิ
จำเลยแต่งกายด้วยกางเกงขายาวสีกากีแกมเขียว รองเท้าหุ้มข้อหนังสีดำเข็มขัดผ้าสีกากีแกมเขียว มีหัวเข็มขัดโลหะทองเหลืองเครื่องหมายกองทัพบกซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเครื่องแบบทหารตามพระราชบัญญัติเครื่องแบบทหาร พ.ศ.2477 มาตรา 4 ยังไม่เรียกว่า แต่งเครื่องแบบทหาร ตามความหมายในมาตรา 3แห่งพระราชบัญญัติเครื่องแบบทหาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2485 ที่ยกเลิกแก้ไขมาตรา 6 เดิม จำเลยจึงยังไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1023/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งกายคล้ายตำรวจไม่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องแบบตำรวจ หากไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด
เครื่องแบบตำรวจครบถ้วนมีระบุไว้หลายสิ่งหลายอย่าง จำเลยเพียงแต่แต่งตัวสรวมกางเกงขาสั้นสีกากีสรวมเสื้อเชิ๊ตแขนยาวสีกากีมีเครื่องหมาย "น." และ "ร" ติดที่ปกคอเสื้อ 2 ข้าง ยังไม่เรียกว่าจำเลยได้แต่งเครื่องแบบตำรวจตามความหมายใน พ.ร.บ.เครื่องแบบตำรวจ(ฉะบับที่ 3) พ.ศ.2483 มาตรา 3 ซึ่งแก้ไขมาตรา 6 เดิม จึงยังไม่เป็นผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1023/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งกายคล้ายตำรวจไม่ถึงขั้นเป็นความผิดฐานแต่งเครื่องแบบตำรวจ
เครื่องแบบตำรวจครบถ้วนมีระบุไว้หลายสิ่งหลายอย่าง จำเลยเพียงแต่แต่งตัวสวมกางเกงขาสั้นสีกากีสวมเสื้อเชิ๊ตแขนยาวสีกากีมีเครื่องหมาย "น." และ"ร"ติดที่ปกคอเสื้อ 2 ข้าง ยังไม่เรียกว่าจำเลยได้แต่งเครื่องแบบตำรวจตามความหมายในพระราชบัญญัติเครื่องแบบตำรวจ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2483 มาตรา 3 ซึ่งแก้ไขมาตรา 6 เดิม จึงยังไม่เป็นผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1479/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งกายเลียนแบบตำรวจโดยไม่ได้รับอนุญาตเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องแบบตำรวจ
จำเลยแต่งตัวสวมเสื้อแบบตำรวจมีเครื่องหมายที่คอเสื้อทั้งสองข้าง ใส่หมวกแก๊บแบบตำรวจ มีเครื่องหมายที่หน้าหมวก และถือปืนยาวของตำรวจแต่นุ่งกางเกงดำขาสั้นแบบกางเกงจีนพะยานว่า ถ้าไม่รู้จักจำเลยมาก่อนพะยานต้องเข้าใจว่าจำเลยเป็นตำรวจดังนี้ จำเลยย่อมผิดฐานแต่งเครื่องแบบตำรวจโดยไม่มีสิทธิจะแต่งได้โดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 503/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งกายในที่สาธารณะ: ความผิดเกิดขึ้นเฉพาะในเขตเทศบาล
การไม่สวมเสื้อในที่สาธารณะสถานแต่อยู่นอกเขตเทศบาลไม่มีความผิด จะเป็นผิดต่อเมื่ออยู่ภายในเขตเทศบาล
of 2