คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แบบพิมพ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4259/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รูปแบบคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง: การใช้แบบพิมพ์ที่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 67 และ 156
ป.วิ.พ.มาตรา 67 วรรคท้าย ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้การยื่นหรือส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดอันจะต้องทำตามแบบพิมพ์ที่จัดไว้ เจ้าพนักงานคู่ความ หรือบุคคลผู้เกี่ยวข้องจะต้องใช้กระดาษแบบพิมพ์นั้น..." และมาตรา 156วรรคท้าย บัญญัติโดยชัดแจ้งให้การอุทธรณ์คำสั่งต้องทำเป็นคำร้อง ดังนั้น การอุทธรณ์คำสั่งจึงต้องทำตามรูปแบบอุทธรณ์คำสั่งโดยใช้แบบพิมพ์คำร้อง(แบบ 7) เท่านั้นหาใช่ต้องทำตามรูปแบบอุทธรณ์คำสั่งทั่วไปโดยใช้แบบพิมพ์อุทธรณ์ (แบบ 32) ไม่เมื่อจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำขอของจำเลยที่ขอฎีกาอย่างคนอนาถาโดยใช้แบบพิมพ์คำร้อง (แบบ 7) ตามที่ศาลจัดไว้ตามรูปแบบอุทธรณ์คำสั่งจึงเป็นการใช้แบบพิมพ์ถูกต้องแล้ว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 จัดทำอุทธรณ์คำสั่งโดยใช้แบบพิมพ์อุทธรณ์ (แบบ 32) ย่อมเป็นการสั่งโดยผิดหลงและไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว เมื่อต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา และให้ยกคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีของจำเลยที่ 1 เสียด้วยก็เป็นการสั่งและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบเช่นกัน ศาลฎีกาเห็นสมควรเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นทั้งหมดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 (1) และมาตรา 27 ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4259/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้แบบพิมพ์คำร้องอุทธรณ์คำสั่งต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ศาลสั่งผิดพลาด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67 วรรคท้ายได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้การยื่นหรือส่งคำคู่ความหรือ เอกสารอื่นใดอันจะต้องทำตามแบบพิมพ์ที่จัดไว้ เจ้าพนักงานคู่ความ หรือบุคคลผู้เกี่ยวข้องจะต้องใช้กระดาษแบบพิมพ์นั้น และมาตรา 156 วรรคท้าย บัญญัติโดยชัดแจ้งให้การอุทธรณ์คำสั่งต้องทำเป็นคำร้อง ดังนั้น การอุทธรณ์คำสั่งจึงต้องทำตามรูปแบบอุทธรณ์คำสั่งโดยใช้แบบพิมพ์คำร้อง (แบบ 7)เท่านั้น หาใช่ต้องทำตามรูปแบบอุทธรณ์คำสั่งทั่วไปโดยใช้แบบพิมพ์อุทธรณ์ (แบบ 32) ไม่ เมื่อจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยก คำขอของจำเลยที่ขอฎีกาอย่างคนอนาถาโดยใช้แบบพิมพ์คำร้อง(แบบ 7) ตามที่ศาลจัดไว้ตามรูปแบบอุทธรณ์คำสั่ง จึงเป็นการใช้แบบพิมพ์ถูกต้องแล้ว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยจัดทำอุทธรณ์คำสั่งโดยใช้แบบพิมพ์อุทธรณ์ (แบบ 32)ย่อมเป็นการสั่งโดยผิดหลงและไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ดังกล่าว ทั้งต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง ไม่รับฎีกาและให้ยกคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีของจำเลย เสียด้วย ก็เป็นการสั่งและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบเช่นกัน ศาลฎีกาเห็นสมควรเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นทั้งหมดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(1) และมาตรา 27 ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9502/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แบบพิมพ์อุทธรณ์ที่ใช้มีลักษณะใกล้เคียงกับแบบพิมพ์ศาล แม้ไม่ตรงทุกประการ ก็ถือเป็นอุทธรณ์ที่ชอบแล้ว
แบบพิมพ์อุทธรณ์ที่จำเลยใช้มีสาระสำคัญเหมือนกับกระดาษแบบพิมพ์ที่ศาลจัดไว้ จะต่างกันบ้างก็เพียงเล็กน้อยและมิใช่สาระสำคัญ ทั้งศาลชั้นต้นก็สั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยโดยมิได้สั่งให้ทำใหม่เสียให้ถูกต้อง ดังนี้ อุทธรณ์ของจำเลยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3527/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดในคดีล้มละลาย แม้ใช้แบบพิมพ์ไม่ถูกต้องก็ไม่ถือเป็นคำขอรับชำระหนี้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้โฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดในหนังสือพิมพ์รายวันเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2534 และในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2534 ครบกำหนดที่เจ้าหนี้ทั้งหลายจะยื่นคำขอรับชำระหนี้ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2534 เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2534 ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องตามแบบพิมพ์ (ล.54)ซึ่งเป็นแบบพิมพ์คำร้องทั่วไปของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอเฉลี่ยหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีคำสั่งในวันเดียวกันนั้นว่า"คืนคำร้องไปทำมาใหม่ ให้หมายแจ้งเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ให้ถูกต้องตามแบบในระเบียบคดีล้มละลาย" ในตอนท้ายหน้าแรกของคำร้องได้มีหมายเหตุว่า ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้วดังนั้นเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีคำสั่งคำร้องในวันเดียวกันกับวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้อง จึงถือว่าผู้ร้องได้ทราบคำสั่งแล้วโดยไม่ต้องมีหมายแจ้งคำสั่งให้ผู้ร้องทราบอีก ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวนี้เป็นการสั่งไม่รับคำร้องนั่นเอง ผู้ร้องจะต้องทำคำขอรับชำระหนี้ตามแบบพิมพ์ (ล.29)ยื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ใหม่ภายในกำหนดคือภายในวันที่22 กรกฎาคม 2534 การที่ผู้ร้องได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามแบบ(ล.29) เข้ามาใหม่เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2534 จึงพ้นกำหนดแล้วและจะถือว่าเป็นการยื่นคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมก็ไม่ได้ เพราะยังไม่มีคำขอรับชำระหนี้เดิมเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2704/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินอากรตามมาตรา 19 พ.ร.บ.ศุลกากร: การปฏิบัติตามแบบพิมพ์ไม่ใช่เงื่อนไขหลัก
การยื่นคำร้องขอคืนเงินอากรตามมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 ก่อนถูกยกเลิกโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 329 นั้น ผู้นำเข้าจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนถูกต้องตามข้อบังคับที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดไว้ หากไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วน กฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าห้ามมิให้รับพิจารณาคำร้องขอคืนเงินอากร แต่มาตรา 19 วรรคท้าย ที่บัญญัติขึ้นใหม่โดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329 ข้อ 18 มิได้มีบทบัญญัติห้ามมิให้พิจารณาคำขอคืนเงินอากรในกรณีที่มิได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนไว้ แสดงว่าการขอคืนเงินอากรตามมาตรา 19 ที่บัญญัติขึ้นใหม่นี้กฎหมายมิได้ถือเอาการปฏิบัติตามข้อบังคับของอธิบดีกรมศุลกากรโดยถูกต้องครบถ้วนเป็นเงื่อนไขหนึ่งในการพิจารณาคืนเงินอากรให้แก่ผู้นำเข้าเหมือนที่เคยบัญญัติไว้เดิม ดังนั้น หากโจทก์ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรา 19 (ก) ถึง (ง) แล้ว จำเลยจะยกเอาเหตุที่โจทก์ยื่นคำขอคืนเงินอากรโดยใช้แบบพิมพ์ผิดไปจากแบบที่อธิบดีของจำเลยได้กำหนดไว้มาเป็นข้ออ้างในการปฏิเสธไม่คืนเงินอากรให้แก่โจทก์หาได้ไม่
แม้โจทก์ยื่นคำขอคืนเงินอากรตามแบบที่ 226 ง.ซึ่งเป็นแบบที่ใช้ขอคืนเงินอากรตามมาตรา 19 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ.2482 แทนที่จะยื่นคำขอคืนเงินอากรตามแบบที่ 226 แต่โจทก์ก็ยื่นคำขอดังกล่าวภายในหกเดือนนับแต่วันที่ส่งของนั้นกลับออกไปยังเมืองต่างประเทศถือได้ว่าโจทก์ได้ขอคืนเงินอากรภายในกำหนดเวลาตามเงื่อนไขในมาตรา 19 (ง)แล้ว จำเลยจึงต้องคืนเงินภาษีอากรตามฟ้องให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2888/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนคดีที่มีผู้เสียหายจำนวนมาก การใช้แบบพิมพ์คำให้การไม่ทำให้การสอบสวนเสียไปหากผู้เสียหายตรวจสอบและลงนาม
พนักงานสอบสวนทำการสอบปากคำผู้เสียหายที่ถูกจำเลยทั้งสามฉ้อโกงแตกต่างกับการสอบปากคำในคดีทั่ว ๆ ไป เนื่องจากผู้เสียหายมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ผู้เสียหายต่างให้การถึงพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นทำนองเดียวกัน พนักงานสอบสวนจึงทำแบบพิมพ์ในส่วนที่เหมือนกันไว้ เว้นช่องว่างในส่วนที่เกี่ยวกับชื่อของผู้เสียหาย จำนวนเงินและวันเวลา ซึ่งเป็นส่วนรายละเอียดของผู้เสียหายแต่ละคนโดยเฉพาะไว้ เพื่อกรอกรายละเอียดในตอนสอบปากคำผู้เสียหายแต่ละคน เช่นนี้ หามีผลทำให้การสอบสวนเสียไปไม่ส่วนกรณีที่ผู้เสียหายมาให้ถ้อยคำหลายรายและพนักงานสอบสวนแจกแบบพิมพ์คำให้การดังกล่าวให้แต่ละคนไปอ่านดูก่อนแล้วเรียกเข้ามากรอกข้อความทีละคน พนักงานสอบสวนก็ได้สอบถามผู้เสียหายผู้ให้ถ้อยคำว่า มีอะไรผิดบ้าง ถ้าไม่มีผิดก็ให้ลงชื่อ ถ้าผิดพลาดก็ขีดฆ่าแก้ไขและลงลายมือชื่อกำกับ เช่นนี้เมื่อไม่ปรากฏว่าคำให้การของผู้เสียหายไม่ตรงกับปากคำที่ให้การไว้ต่อพนักงานสอบสวน หรือปากคำนั้นผู้เสียหายไม่ได้ให้การด้วยความสมัครใจหรือด้วยเหตุอันมิชอบอย่างอื่น จะถือว่าการสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4071/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขแบบพิมพ์อุทธรณ์: ศาลต้องตรวจก่อนรับ หากไม่แก้ไขแต่รับพิจารณา ก็ไม่ทำให้การอุทธรณ์เป็นโมฆะ
ป.วิ.พ. มาตรา 67 นำมาใช้กับคดีอาญาได้โดยอนุโลม ตามป.วิ.อ. มาตรา 15 จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยใช้กระดาษแบบพิมพ์คำฟ้องอุทธรณ์ แต่ตอนลงชื่อในแผ่นสุดท้ายกลับใช้กระดาษแบบพิมพ์ท้ายคำแก้อุทธรณ์ แทนที่จะเป็นแบบพิมพ์ท้ายอุทธรณ์ ซึ่งไม่ถูกต้อง และเป็นหน้าที่ ของศาลชั้นต้นที่จะตรวจอุทธรณ์แล้วสั่งแก้ไขก่อนที่จะรับอุทธรณ์ แต่เมื่อมิได้สั่งให้แก้ไขและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยและมีคำพิพากษา ไปโดยมิได้สั่งให้แก้ไขให้บริบูรณ์เสียก่อนชี้ขาดตัดสินคดี ก็ไม่ทำให้อุทธรณ์ของจำเลยไม่เป็นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น ถึงขนาดที่จะรับไว้พิจารณาต่อไปไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 159/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำให้การต้องใช้แบบพิมพ์ตามที่ราชการกำหนด และการยื่นคำให้การในเรือนจำไม่ใช่การยื่นต่อศาล
คำให้การของจำเลยจะต้องใช้กระดาษแบบพิมพ์คำให้การตามที่ทางราชการจัดไว้ จะใช้กระดาษแบบพิมพ์อย่างอื่นอันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67 ไม่ได้
การยื่นคำให้การในคดีแพ่งต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้ไม่ได้ จำเลยซึ่งต้องขังอยู่ในเรือนจำยื่นคำให้การในคดีแพ่งต่อผู้บัญชาการเรือนจำหรือพัศดีภายในกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 177 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ก็ยังถือไม่ได้ว่าได้ยื่นคำให้การต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 159/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำให้การต้องใช้แบบพิมพ์ที่กำหนด และการยื่นผ่านเรือนจำไม่ถือเป็นการยื่นต่อศาล
คำให้การของจำเลยจะต้องใช้กระดาษแบบพิมพ์คำให้การตามที่ทางราชการจัดไว้ จะใช้กระดาษแบบพิมพ์อย่างอื่นอันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67 ไม่ได้.
การยื่นคำให้การในคดีแพ่งต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้ไม่ได้ จำเลยซึ่งต้องขังอยู่ในเรือนจำยื่นคำให้การในคดีแพ่งต่อผู้บัญชาการเรือนจำหรือพัศดีภายในกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 177 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ก็ยังถือไม่ได้ว่าได้ยื่นคำให้การต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2679/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งในคำให้การ: ศาลต้องพิจารณา แม้ใช้แบบพิมพ์ไม่ถูกต้อง
จำเลยฟ้องแย้งและมีคำขอบังคับโจทก์รวมมาในคำให้การแม้ไม่ได้พิมพ์คำว่า 'และฟ้องแย้ง' ต่อจากคำว่า 'คำให้การ' ในแบบพิมพ์ก็ตาม ก็เป็นฟ้องแย้งตรงกับบทบัญญัติของมาตรา 177 วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแล้ว ศาลแรงงานกลางมีหน้าที่ต้องตรวจฟ้องแย้งของจำเลยและมีคำสั่งตามที่พิจารณาเห็นสมควรว่าจะรับไว้พิจารณาต่อไปหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางมิได้มีคำสั่งเสียในชั้นแรกที่จำเลยยื่นคำให้การและฟ้องแย้งดังกล่าว และมาวินิจฉัยในคำพิพากษาว่าจะรับพิจารณาฟ้องแย้งไม่ได้ เพราะมิได้ใช้แบบพิมพ์ให้ถูกต้องจึงไม่ชอบ
of 2