คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แบ่งสินสมรส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3786/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังหย่า: รถยนต์ที่ซื้อระหว่างสมรส และเงินดาวน์รถที่มาจากเงินขายทรัพย์เดิม
ประเด็นในการฟ้องหย่าในคดีก่อนมีสาระเป็นเรื่องของสภาพการอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา แต่เรื่องการขอแบ่งสินสมรสในคดีหลังเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์สินโดยมีสาระอยู่ที่ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นสินสมรสหรือไม่ จึงเป็นคนละมูลคดีกันแม้จะมีผลมาจากการฟ้องหย่าแต่ก็หาจำต้องขอแบ่งสินสมรสมากับคดีฟ้องหย่าไม่ ทั้งไม่มีบทกฎหมายใดที่บัญญัติว่าจะต้องฟ้องขอแบ่งสินสมรสมาพร้อมกันกับการฟ้องหย่า ฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอแบ่งสินสมรสจึงไม่เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)
ที่ดินที่จำเลยถือกรรมสิทธิ์รวมกับพี่ชายจำเลย เป็นทรัพย์สินที่มีมาก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ อันถือเป็นสินส่วนตัวของจำเลย และมีการนำไปแลกเปลี่ยนกับที่ดินพิพาท 2 แปลง ทรัพย์สินที่ได้มาใหม่จึงย่อมเป็นสินส่วนตัวของจำเลย เพราะเป็นการได้ที่ดินมาแทนทรัพย์เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1472 วรรคหนึ่ง
โจทก์นำเงินของโจทก์ไปเป็นเงินดาวน์รถยนต์วอลโว่ในระหว่างที่โจทก์จำเลยยังมิได้หย่าขาดจากกัน ประกอบจำเลยยังได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 วรรคสองว่า กรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินใดเป็นสินสมรสมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรสรถยนต์วอลโว่จึงมีสถานะเป็นสินสมรสซึ่งจำเลยต้องได้รับส่วนแบ่งครึ่งหนึ่ง
ตามคำขอท้ายฟ้องแย้งของจำเลย จำเลยขอแบ่งสินสมรสครึ่งหนึ่ง เมื่อรถยนต์วอลโว่เป็นสินสมรสและโจทก์จำเลยหย่ากันแล้วก็ชอบที่จะแบ่งสินสมรสให้โจทก์และจำเลยได้ส่วนเท่ากัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533 ซึ่งถ้าการแบ่งไม่อาจตกลงกันได้ก็ให้นำสินสมรสออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งกันตามส่วน แต่หากไม่สามารถนำรถยนต์สินสมรสมาแบ่งกันได้ก็ให้โจทก์ใช้คืนมูลค่าค่าเช่าซื้อที่ชำระไปครึ่งหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7173/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังหย่า การอุทธรณ์จำกัดประเด็น และอำนาจศาลในการวินิจฉัย
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับการแบ่งสินสมรสและการปกครองบุตรเท่านั้นส่วนโจทก์มิได้อุทธรณ์ ฉะนั้นคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่โจทก์และจำเลยหย่ากันจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่า ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิพากษาให้บุตรอยู่ในความปกครองของโจทก์ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาจึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นทั้งหมด รวมตลอดถึงประเด็นเรื่องการหย่าซึ่งยุติไปแล้ว โดยมิได้วินิจฉัยประเด็นเรื่องการแบ่งสินสมรสด้วยเช่นนี้ เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) ศาลฎีกาเห็นสมควรยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่มิชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวและวินิจฉัยประเด็นเรื่องการแบ่งสินสมรสที่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยไปเสียเลย โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก โจทก์บรรยายฟ้องขอแบ่งสินสมรสจากจำเลยโดยระบุว่ามีสินสมรสอยู่ 3 รายการ คือ รถยนต์นั่งยี่ห้อมาสด้า ที่ดินโฉนดที่1912 พร้อมบ้าน 1 หลัง และที่ดินโฉนดที่ 10733 ซึ่งถือกรรมสิทธิ์รวมกับผู้อื่นอยู่ โจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในสินสมรสดังกล่าวกึ่งหนึ่ง จึงเป็นคำฟ้องที่โจทก์ขอแบ่งสินสมรสกึ่งหนึ่งของสินสมรสที่มีอยู่นั่นเอง และตามรายงานกระบวนพิจารณาโจทก์แถลงประสงค์ที่จะได้สินสมรสไว้โดยแบ่งจำนวนเงินให้แก่จำเลยเช่นกันมิใช่มุ่งประสงค์เฉพาะแต่เพียงจำนวนเงินส่วนแบ่งสินสมรสจำนวน352,000 บาท ที่ระบุมาเท่านั้นส่วนที่โจทก์ตีราคาเป็นจำนวนเงินดังกล่าวมา ก็เป็นการตีราคาทรัพย์สินเป็นทุนทรัพย์เพื่อประโยชน์ในการคิดคำนวณค่าขึ้นศาล หาใช่เป็นข้อจำกัดแห่งคำฟ้องที่จะต้องแบ่งตามจำนวนเงินที่ตีราคาไม่ ศาลจึงชอบที่พิพากษาให้จำเลยแบ่งสินสมรสทั้ง 3 รายการ เฉพาะส่วนของโจทก์และจำเลยให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4852/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังหย่า: หักกลบส่วนเกินที่ได้รับไปแล้ว
โจทก์จำเลยมีสิทธิได้รับเงินสินสมรสคนละครึ่ง เมื่อเงินอยู่ที่โจทก์ เท่ากับโจทก์ได้รับส่วนของจำเลยเกินไป ต้องนำส่วนที่โจทก์ได้รับเกินไปหักออกจากสินสมรสจำนวนอื่นที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยต่อไป แม้จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งก็ไม่เป็นการนอกฟ้องและเกินคำขอ
การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาที่หย่ากันโดยคำพิพากษาต้องแบ่งตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1533 บัญญัติไว้ คือแบ่งสินสมรสให้ชายหญิงได้ส่วนเท่ากัน ซึ่งถ้าการแบ่งไม่อาจตกลงกันได้ ก็ให้นำสินสมรสออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งกัน จะแบ่งโดยกำหนดราคาทรัพย์สินสมรสให้จำเลยต้องแบ่งแก่โจทก์ หากจำเลยไม่ยอมแบ่งหรือไม่สามารถแบ่งได้ ให้นำสินสมรสออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งให้แก่โจทก์จนครบหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4852/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังหย่า: หักเงินที่ได้รับเกินไปได้ และการบังคับคดีโดยการขายทอดตลาด
โจทก์จำเลยมีสิทธิได้รับเงินสินสมรสคนละครึ่งเมื่อเงินอยู่ที่โจทก์เท่ากับโจทก์ได้รับส่วนของจำเลยเกินไปต้องนำส่วนที่โจทก์ได้รับเกินไปหักออกจากสินสมรสจำนวนอื่นที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยต่อไปแม้จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งก็ไม่เป็นการนอกฟ้องและเกินคำขอ การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาที่หย่ากันโดยคำพิพากษาต้องแบ่งตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1533บัญญัติไว้คือแบ่งสินสมรสให้ชายหญิงได้ส่วนเท่ากันซึ่งถ้าการแบ่งไม่อาจตกลงกันได้ก็ให้นำสินสมรสออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งกันจะแบ่งโดยกำหนดราคาทรัพย์สินสมรสให้จำเลยต้องแบ่งแก่โจทก์หากจำเลยไม่ยอมแบ่งหรือไม่สามารถแบ่งได้ให้นำสินสมรสออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งให้แก่โจทก์จนครบหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 333/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังหย่า: แม้ข้อตกลงหย่าระบุ 'ทรัพย์สินไม่มี' ก็ไม่ตัดสิทธิการฟ้องขอแบ่งสินสมรสภายหลังได้
ในการตกลงหย่ากันนั้นหากโจทก์ไม่ประสงค์จะแบ่งสินสมรสในข้อตกลงหย่าแล้วโจทก์จำเลยก็ชอบที่จะบันทึกข้อตกลงหย่าว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะแบ่งสินสมรสแทนที่จะบันทึกว่า"เรื่องทรัพย์สินไม่มี"การที่โจทก์ลงลายมือชื่อรับทราบข้อตกลงหย่าว่า"เรื่องทรัพย์สินไม่มี"แต่ต่อมาภายหลังจดทะเบียนหย่าแล้วโจทก์ทราบว่ามีสินสมรสที่โจทก์มีสิทธิจะแบ่งได้ตามกฎหมายโจทก์ก็ย่อมมีสิทธิฟ้องขอแบ่งแม้โจทก์จะตั้งสิทธิเรียกร้องในการขอแบ่งว่านิติกรรมหย่าเป็นโมฆียะและคดีฟังไม่ได้ว่าเป็นโมฆียะก็ตามแต่เรื่องการแบ่งสินสมรสยังไม่มีข้อตกลงใดๆระหว่างโจทก์จำเลยถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนาที่จะสละสิทธิในสินสมรสศาลจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยแบ่งสินสมรสให้โจทก์ได้ โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งสินสมรสให้โจทก์กึ่งหนึ่งเป็นจำนวนเงินตามขอในทันทีการแบ่งทรัพย์สินตามฟ้องหากไม่สามารถตกลงแบ่งกันได้ขอให้ศาลบังคับขายทอดตลาดที่ดินและบ้านตามฟ้องตลอดจนหุ้นที่จำเลยถือในบริษัทต่างๆเพื่อแบ่งกันตามส่วนดังนี้แสดงว่าโจทก์มุ่งประสงค์ขอแบ่งหุ้นที่เป็นสินสมรสกึ่งหนึ่งด้วยมิใช่มีคำขอเป็นตัวเงินเพียงอย่างเดียวและแม้โจทก์จะมิได้นำสืบให้เห็นว่าหุ้นที่เป็นสินสมรสมีมูลค่าเท่าใดในวันที่โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันศาลก็พิพากษาให้จำเลยแบ่งหุ้นให้โจทก์กึ่งหนึ่งได้โดยไม่จำต้องพิพากษายกฟ้องเพราะในการแบ่งสินสมรสศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งสินสมรสให้โจทก์จำเลยได้ส่วนเท่ากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1533ส่วนการที่ศาลพิพากษาให้จดทะเบียนโอนหุ้นให้โจทก์ครึ่งหุ้นนั้นแม้จะไม่อาจแบ่งแยกหุ้นออกเป็นครึ่งหุ้นได้ก็ตามแต่ในการบังคับตามคำพิพากษาในกรณีเช่นนี้เป็นการฟ้องขอแบ่งสินสมรสซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมอันจะต้องบังคับตามมาตรา1364เว้นแต่ศาลจะพิพากษาเป็นอย่างอื่นเมื่อศาลมิได้พิพากษาเป็นอย่างอื่นหากจะมีข้อขัดข้องดังที่จำเลยอ้างก็เป็นเรื่องในชั้นบังคับคดีที่จะต้องดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าวคำพิพากษาในส่วนนี้จึงไม่เป็นการไม่ชอบและไม่เกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6562/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรส: เงินสดและที่ดิน โดยสิทธิในสินสมรสเป็นของโจทก์กึ่งหนึ่ง
โจทก์ฟ้องเรียกสินสมรสส่วนของโจทก์เฉพาะที่เป็นเงินสดในบัญชีเงินฝากของ พ.ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกไปจากจำเลยที่ 3 จำนวน3,652,065.20 บาท ว่าโจทก์มีสิทธิได้กึ่งหนึ่ง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้ปฏิเสธทั้งยังยอมรับในบัญชีทรัพย์อันดับที่ 26 ท้ายรายงานการประชุมของทายาทว่าจำนวนเงิน 3,652,065.20 บาท เป็นสินสมรสระหว่างนาย พ.กับโจทก์ จึงฟังได้ว่าเงินจำนวน 3,652,065.20 บาท ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกไปจากจำเลยที่ 3เป็นสินสมรสระหว่าง พ.กับโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิได้กึ่งหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา1625 ประกอบด้วยมาตรา 1533 คือ จำนวน 1,826,032.60 บาท จำเลยที่ 1และที่ 2 ต้องรับผิดคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย ส่วนดอกเบี้ยนั้น การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกเงินสินสมรสของโจทก์ไปแล้วไม่คืนให้โจทก์ย่อมเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยให้โจทก์อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี โดยนับแต่วันที่เบิกเอาไปจากจำเลยที่ 3 เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 206 และ 224
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินโดยอ้างว่าเป็นสินสมรส และข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นสินสมรส โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินดังกล่าวเพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 โอนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งแปลงจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6221/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ประเด็นหนี้สินที่เคยยกเป็นข้อต่อสู้ในคดีแบ่งสินสมรสแล้ว แม้ไม่ได้ระบุในสัญญาประนีประนอมยอมความ ก็ถือเป็นฟ้องซ้ำ
จำเลยเคยฟ้องโจทก์ขอให้ส่งมอบสินส่วนตัวและแบ่งสินสมรส โจทก์ให้การประการหนึ่งว่าโจทก์เป็นหนี้ธนาคารซึ่งโจทก์กู้มาใช้ในครอบครัว หากต้องแบ่งสินสมรสให้จำเลยแล้วจะต้องหักเงินดังกล่าวกึ่งหนึ่งให้โจทก์ด้วย ต่อมาโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยไม่ได้กล่าวถึงหนี้ดังกล่าวศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดการที่โจทก์นำหนี้สินซึ่งเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนมาฟ้องเป็นคดีอีก จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4433/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอม และการแบ่งสินสมรสเมื่อคู่สมรสถึงแก่ความตาย
การที่ ง.จัดการสินสมรสโดยยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสี่โดยเสน่หาและมิใช่การให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี ง.ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภริยาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1473 (เดิม) เมื่อไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ การให้ดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องเรียกที่ดินพิพาทอันเป็นสินสมรสส่วนของตนคืนได้
โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ง. ตั้งแต่พ.ศ.2465 ก่อนใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 พ.ศ.2477 ซึ่งตาม พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งป.พ.พ.พุทธศักราช 2477 ดังนั้น การแบ่งสินสมรสของโจทก์กับ ง.จึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 หาใช่แบ่งคนละส่วนเท่ากันตามมาตรา 1533 ไม่ปรากฏว่าโจทก์กับ ง.ต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน เมื่อ ง.ถึงแก่ความตาย สินสมรสต้องแบ่งเป็นสามส่วน เป็นของ ง.สองส่วน อีกส่วนหนึ่งเป็นของโจทก์
การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งนั้น เป็นการพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งในสินสมรสมากกว่าส่วนที่โจทก์ควรจะได้รับตามกฎหมาย เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็เห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3392/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังหย่า: ศาลชอบที่จะพิพากษาให้แบ่งที่ดินและตึกแถว หรือขายทอดตลาดเพื่อแบ่งเงิน
โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งที่ดินพร้อมตึกแถวซึ่งเป็นสินสมรสให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง การที่โจทก์ตีราคาสินสมรสเฉพาะส่วนของโจทก์จำนวน 100,000บาทก็เพื่อเป็นทุนทรัพย์ในการเสียค่าขึ้นศาลเท่านั้น โจทก์มิได้แบ่งสินสมรสเป็นเงิน 100,000 บาท ฉะนั้นเมื่อปรากฏว่าที่ดินพร้อมตึกแถวดังกล่าวเป็นสินสมรสและโจทก์จำเลยหย่ากันแล้วก็ชอบที่จะแบ่งสินสมรสให้โจทก์และจำเลยได้ส่วนเท่ากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533 ถ้าการแบ่งไม่อาจตกลงกันได้ก็ให้ขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3392/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังหย่า: ศาลพิจารณาตามคำขอท้ายฟ้อง หากแบ่งไม่ได้ให้ขายทอดตลาด
โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งที่ดินพร้อมตึกแถวซึ่งเป็นสินสมรสให้โจทก์ครึ่งหนึ่งหากแบ่งไม่ได้ให้นำที่ดินพร้อมตึกแถวออกขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งให้โจทก์ครึ่งหนึ่งพร้อมดอกเบี้ย การที่โจทก์ตีราคาสินสมรสเฉพาะส่วนของโจทก์จำนวน 100,000 บาท ก็เพื่อเป็นทุนทรัพย์ในการเสียค่าขึ้นศาลเท่านั้น โจทก์มิได้ขอแบ่งสินสมรสเป็นเงิน 100,000 บาท เมื่อปรากฏว่าที่ดินพร้อมตึกแถวตามฟ้องเป็นสินสมรสและโจทก์จำเลยหย่ากันแล้ว ก็ชอบที่จะให้แบ่งสินสมรสให้โจทก์และจำเลยได้ส่วนเท่ากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533ซึ่งถ้าการแบ่งไม่อาจตกลงกัน ก็ให้นำสินสมรสออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งกัน
of 5