พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วม: คำให้การไม่ชัดเจนไม่ก่อให้เกิดประเด็นพิพาท ศาลล่างวินิจฉัยถูกต้อง
โจทก์ทั้งสามฟ้องว่าโจทก์ทั้งสามกับจำเลยทั้งสามเป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทซึ่งได้แบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัด ตามแผนที่สังเขปเอกสารท้ายฟ้อง โจทก์ทั้งสามขอให้จำเลยทั้งสาม ไปจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ตามส่วนสัดที่แต่ละฝ่ายได้ครอบครองแล้ว จำเลยทั้งสามเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามไปทำการจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวให้แก่ โจทก์ทั้งสามครึ่งหนึ่งจำเลยทั้งสามให้การว่า เดิมที่ดินพิพาท เป็นกรรมสิทธิ์รวมของ ม. และส. ซึ่งได้แบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัดมานาน 40 ปี แล้ว โดย ม. ครอบครองปลูกสร้างอยู่ทางทิศตะวันตกและส.ครอบครองปลูกสร้างบ้านอยู่ทางทิศตะวันออกต่อมาโจทก์ทั้งสามได้ครอบครองที่ดินส่วนของ ม.ส่วนจำเลยทั้งสามได้ครอบครองที่ดินส่วนของ ส. เห็นได้ว่าคำให้การของจำเลยทั้งสามดังกล่าวมิได้ระบุว่าโจทก์ทั้งสามกับจำเลยทั้งสามแบ่งแยกการครอบครองที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัดจำนวนเนื้อที่ฝ่ายละเท่าใด เพื่อเป็นการปฏิเสธว่าข้อกล่าวอ้างของโจทก์ทั้งสามที่ว่าโจทก์ทั้งสามมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวครึ่งหนึ่งนั้นไม่ถูกต้องอย่างไรจึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองไม่ก่อให้เกิดประเด็นพิพาทแม้จำเลยทั้งสามจะได้แถลงต่อศาลชั้นต้น ไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาถึงส่วนสัดของที่ดินที่จำเลยทั้งสาม ได้ครอบครองก็ตาม คำแถลงดังกล่าวก็มิใช่คำให้การไม่ก่อ ให้เกิดประเด็นพิพาทเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2551/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวม, การครอบครองปรปักษ์, มรดก: สิทธิในการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์และ ต. มีกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยในที่ดิน 4 แปลง โดยมีกรรมสิทธิ์รวมอยู่กึ่งหนึ่งในที่ดินทั้ง 4 แปลง จึงขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจากจำเลยกึ่งหนึ่ง เป็นฟ้องที่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาชัดเจนพอที่จะให้จำเลยเข้าใจและสามารถให้การต่อสู้คดีได้ ไม่จำต้องบรรยายว่าในระหว่างโจทก์ด้วยกันแต่ละคนมีส่วนเป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทคนละเท่าใด ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
พ. เป็นเจ้าของรวมในโฉนดที่ดินพิพาทโดยชอบและจำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าที่ดินในส่วนที่เป็นของ พ. การครอบครองที่ดินของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการครอบครองแทน พ. หรือทายาท เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวโดยการครอบครองตามมาตรา 1382
จำเลยที่ 5 เข้าครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่ 3374 โดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1 ถือว่าเป็นการครอบครองแทนจำเลยที่ 1 ไม่ได้เข้าครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า พ. เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาททั้ง 5 แปลง และที่ดินส่วนของ พ. ตกเป็นมรดกตกทอดได้แก่บุตร คือโจทก์ที่ 1 และ ต. โจทก์ที่ 1 และ ต. จึงเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทด้วย โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ พ. ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 แบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวได้
พ. เป็นเจ้าของรวมในโฉนดที่ดินพิพาทโดยชอบและจำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าที่ดินในส่วนที่เป็นของ พ. การครอบครองที่ดินของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการครอบครองแทน พ. หรือทายาท เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวโดยการครอบครองตามมาตรา 1382
จำเลยที่ 5 เข้าครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่ 3374 โดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1 ถือว่าเป็นการครอบครองแทนจำเลยที่ 1 ไม่ได้เข้าครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า พ. เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาททั้ง 5 แปลง และที่ดินส่วนของ พ. ตกเป็นมรดกตกทอดได้แก่บุตร คือโจทก์ที่ 1 และ ต. โจทก์ที่ 1 และ ต. จึงเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทด้วย โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ พ. ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 แบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1392/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของรวมฟ้องแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ - ไม่ต้องได้รับความยินยอม
โจทก์เป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งในที่ดินพิพาท ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์ได้โดยลำพัง ไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมคนอื่นก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1363
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3518/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมก่อนล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิจำกัดเฉพาะส่วนของลูกหนี้
แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมีอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลล้มละลายตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 22 แต่เมื่อที่ดินพิพาทซึ่งผู้ร้องมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยที่ 2 มีการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์โดยผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ได้ครอบครองเป็นสัดส่วนแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิเพียงยึดที่ดินได้เท่าที่จำเลยที่ 2 มีกรรมสิทธิ์อยู่ในที่ดินพิพาทนั้นทั้งระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี พ.ศ. 2522 ข้อ 32 ได้กำหนดว่า การที่จะยึดทรัพย์ทั้งหมดกรณีที่ลูกหนี้เป็นเจ้าของรวมกับบุคคลอื่นนั้นต้องเป็นกรณีที่ไม่ปรากฏว่าส่วนใดเป็นของลูกหนี้แต่เมื่อได้มีการแบ่งแยกที่ดินพิพาทเป็นสัดส่วนแน่นอนแล้ว แม้ยังมิได้จดทะเบียนแบ่งแยกโฉนด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็มีสิทธิขายทอดตลาดเฉพาะเพียงส่วนของจำเลยที่ 2 เท่านั้น ไม่มีสิทธิเอาส่วนของผู้ร้องมาขายทอดตลาดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3518/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินก่อนล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิจำกัดเฉพาะส่วนของลูกหนี้
ผู้ร้อง ป. ส. และจำเลยที่ 2 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทรวมกันแต่ได้ตกลงแบ่งแยกเป็นสัดส่วนกันก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2กับพวกเป็นบุคคลล้มละลายและการที่ ป. กับ ส. ขายที่ดินให้แก่ผู้ร้องก็เป็นการขายตามสัดส่วนของตนที่แบ่งแยกไว้แน่นอนแล้ว ผู้ร้องย่อมได้กรรมสิทธิ์ในส่วนที่ดินเป็นเนื้อที่ที่แน่นอนเช่นกัน หาใช่จำเลยที่ 2 ยังคงถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยไม่สามารถระบุโดยชัดแจ้งว่าที่ดินส่วนใดของที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ไม่ ทั้งข้อตกลงแบ่งแยกที่ดินพิพาทเป็นเป็นสัดส่วนย่อมผูกมัดเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมทุกคนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 แต่เมื่อที่ดินพิพาทมีการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์โดยผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ได้ครอบครองเป็นสัดส่วนแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิเพียงยึดที่ดินได้เท่าที่จำเลยที่ 2 มีกรรมสิทธิ์อยู่ในที่ดินพิพาทนั้น และระเบียบกระทรวงยุติธรรมวาด้วยการบังคับคดี ฯพ.ศ. 2522 ข้อ 32 กำหนดว่า การที่จะยึดทรัพย์ทั้งหมดกรณีที่ลูกหนี้เป็นเจ้าของรวมกับบุคคลอื่นนั้นต้องเป็นกรณีที่ไม่ปรากฎว่าส่วนใดเป็นของลูกนี้ แต่เมื่อผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ได้มีการแบ่งแยกที่ดินพิพาทเป็นสัดส่วนแน่นอนแล้ว แม้ยังมิได้จดทะเบียนแบ่งแยกโฉนด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็มีสิทธิขายทอดตลาดเฉพาะเพียงส่วนของจำเลยที่ 2 เท่านั้น ไม่มีสิทธิเอาส่วนของผู้ร้องมาขายทอดตลาดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2961/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน การซื้อขายไม่ตรงกับราคาจริง และการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ตามส่วน
จำเลยเป็นฝ่ายออกเงินซื้อที่ดินแปลงพิพาททั้งหมดในราคา 60,000 บาท แล้วใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของร่วมด้วย การที่สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระบุว่าตกลงซื้อขายกันในราคา 25,000 บาทแต่จำเลยนำสืบว่าซื้อมาในราคา 60,000 บาทเป็นการนำสืบถึงความเป็นจริงในระหว่างผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ย่อมนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าเป็นของตนครึ่งหนึ่งทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์มีส่วนเพียง 1 ใน 3 ส่วนของเนื้อที่ทั้งหมด ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งตามความเป็นจริงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2)
คดีที่พิพาทกันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง แม้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินมีโฉนดที่โจทก์ครอบครอง โดยอ้างว่าเป็นของโจทก์ครึ่งหนึ่งของโฉนด แม้มิได้ขอเจาะจงว่าที่ดินส่วนใดเป็นของโจทก์ แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าที่พิพาทตอนใต้ของถนนเนื้อที่ 1 ใน 3 ส่วนของเนื้อที่ทั้งหมด จำนวน1301/2 ตารางวาเป็นของโจทก์ ศาลย่อมพิพากษาว่าที่พิพาทด้านทิศใต้ของถนนตลอดแนวเป็นของโจทก์ได้ หาเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือคำฟ้องไม่
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าเป็นของตนครึ่งหนึ่งทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์มีส่วนเพียง 1 ใน 3 ส่วนของเนื้อที่ทั้งหมด ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งตามความเป็นจริงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2)
คดีที่พิพาทกันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง แม้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินมีโฉนดที่โจทก์ครอบครอง โดยอ้างว่าเป็นของโจทก์ครึ่งหนึ่งของโฉนด แม้มิได้ขอเจาะจงว่าที่ดินส่วนใดเป็นของโจทก์ แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าที่พิพาทตอนใต้ของถนนเนื้อที่ 1 ใน 3 ส่วนของเนื้อที่ทั้งหมด จำนวน1301/2 ตารางวาเป็นของโจทก์ ศาลย่อมพิพากษาว่าที่พิพาทด้านทิศใต้ของถนนตลอดแนวเป็นของโจทก์ได้ หาเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือคำฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2961/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ร่วมที่ดิน การซื้อขายที่ดิน การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ตามส่วนจริง ศาลพิพากษาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำเลยเป็นฝ่ายออกเงินซื้อที่ดินแปลงพิพาททั้งหมดในราคา60,000บาทแล้วใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของร่วมด้วยการที่สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระบุว่าตกลงซื้อขายกันในราคา25,000บาทแต่จำเลยนำสืบว่าซื้อมาในราคา60,000บาทเป็นการนำสืบถึงความเป็นจริงในระหว่างผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมกันย่อมนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข) โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าเป็นของตนครึ่งหนึ่งทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์มีส่วนเพียง1ใน3ส่วนของเนื้อที่ทั้งหมดศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งตามความเป็นจริงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(2) คดีที่พิพาทกันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสองแม้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน50,000บาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินมีโฉนดที่โจทก์ครอบครองโดยอ้างว่าเป็นของโจทก์ครึ่งหนึ่งของโฉนดแม้มิได้ขอเจาะจงว่าที่ดินส่วนใดเป็นของโจทก์แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าที่พิพาทตอนใต้ของถนนเนื้อที่1ใน3ส่วนของเนื้อที่ทั้งหมดจำนวน1301/2ตารางวาเป็นของโจทก์ศาลย่อมพิพากษาว่าที่พิพาทด้านทิศใต้ของถนนตลอดแนวเป็นของโจทก์ได้หาเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือคำฟ้องไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2802/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดิน สิทธิเช่าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ และการฟ้องขับไล่
โจทก์จำเลยแถลงรับกันว่าที่พิพาทได้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์ออกโฉนดเป็นส่วนสัดแล้วจำเลยไม่โต้แย้งกรรมสิทธิ์ของโจทก์จำเลยเป็นผู้อาศัยอยู่ในที่พิพาท ประสงค์จะขอทำกินต่อไปอีก 5 ปี โจทก์ไม่ยินยอม คำแถลงของโจทก์จำเลยตามที่ศาลชั้นต้นจดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าว มิใช่เป็นการแถลงข้อเท็จจริงเพื่อประโยชน์ที่จะทำการเปรียบเทียบให้คู่ความได้ตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันในข้อพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 20 เท่านั้น แต่เป็นการแถลงรับข้อเท็จจริงบางประการอันเป็นประเด็นข้อพิพาทเมื่อศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติไม่จำต้องสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไป ก็ย่อมมีอำนาจที่จะสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยและพิพากษาคดีไปได้
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่ามีสิทธิเหนือพื้นดินในที่พิพาทโดยให้ค่าตอบแทนโจทก์เป็นรายปี เท่ากับเป็นเรื่องจำเลยเช่าที่พิพาทของโจทก์ เมื่อการเช่าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือแม้จำเลยจะกล่าวอ้างว่าโจทก์ยอมให้อยู่ในที่พิพาทอีก 15 ปีก็ตามจำเลยก็ไม่อาจยกสิทธิที่เกี่ยวกับสัญญาเช่าขึ้นต่อสู้โจทก์ผู้ให้เช่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 การที่จำเลยอาศัยอยู่ในที่พิพาทจึงเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่ามีสิทธิเหนือพื้นดินในที่พิพาทโดยให้ค่าตอบแทนโจทก์เป็นรายปี เท่ากับเป็นเรื่องจำเลยเช่าที่พิพาทของโจทก์ เมื่อการเช่าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือแม้จำเลยจะกล่าวอ้างว่าโจทก์ยอมให้อยู่ในที่พิพาทอีก 15 ปีก็ตามจำเลยก็ไม่อาจยกสิทธิที่เกี่ยวกับสัญญาเช่าขึ้นต่อสู้โจทก์ผู้ให้เช่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 การที่จำเลยอาศัยอยู่ในที่พิพาทจึงเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 457/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวม, สัญญาเช่า, ค่าเสียหายจากการครอบครองทำประโยชน์แต่เพียงผู้เดียว, การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์
โจทก์ทั้งสี่กับจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทร่วมกัน จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับโจทก์ทั้งสี่โดยมีกำหนดระยะเวลา เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการเช่าแล้ว สัญญาเช่าย่อมสิ้นสุดลง คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง กล่าวคือ โจทก์ทั้งสี่และจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมต่างก็มีสิทธิเท่าเทียมกันในการที่จะครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินทั้งแปลงจนกว่าจะแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมตามกฎหมาย การที่จำเลยยังคงครอบทำประโยชน์ที่ดินดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียวย่อมขัดต่อสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่น ทำให้โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหายต้องขาดประโยชน์อันควรได้รับจากที่ดินดังกล่าว จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสี่เป็นค่าใช้ทรัพย์ตลอดเวลาที่จำเลยยังคงครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวตามควรค่าแห่งการใช้นั้นตามมาตรา 391 วรรคสาม
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งเช่าที่ดินส่วนของโจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนอื่น และโจทก์ทั้งสี่บอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว ขอให้บังคับจำเลยไปแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมและเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การว่า จำเลยกับโจทก์ทั้งสี่บอกเลิกสัญญาเช่าเปลี่ยนเจตนาเป็นทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและจำเลยยังไม่ได้ผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดิน การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสี่และจำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินและสัญญาจะซื้อขายที่ดิน โดยมีเจตนาให้มีผลผูกพันกันทั้งสองฝ่าย มิได้ยกเลิกสัญญาเช่ากันตามที่จำเลยต่อสู้ ก็เพื่อจะวินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ ส่วนที่วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดินนั้น ในที่สุดศาลอุทธรณ์ภาค 7 ก็หาได้พิพากษาบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินหรือให้ใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาดังกล่าวไม่ จึงไม่ใช่การพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็น
คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ และอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยกัน เมื่อในส่วนที่มีทุนทรัพย์นั้นศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าขาดประโยชน์เป็นเงิน 32,000 บาท และค่าขาดประโยชน์เป็นรายเดือนหลังฟ้องแก่โจทก์ทั้งสี่ จำเลยฎีกาว่าไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าขาดประโยชน์เลย จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาตามจำนวนที่จำเลยต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 เท่านั้น
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งเช่าที่ดินส่วนของโจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนอื่น และโจทก์ทั้งสี่บอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว ขอให้บังคับจำเลยไปแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมและเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การว่า จำเลยกับโจทก์ทั้งสี่บอกเลิกสัญญาเช่าเปลี่ยนเจตนาเป็นทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและจำเลยยังไม่ได้ผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดิน การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสี่และจำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินและสัญญาจะซื้อขายที่ดิน โดยมีเจตนาให้มีผลผูกพันกันทั้งสองฝ่าย มิได้ยกเลิกสัญญาเช่ากันตามที่จำเลยต่อสู้ ก็เพื่อจะวินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ ส่วนที่วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดินนั้น ในที่สุดศาลอุทธรณ์ภาค 7 ก็หาได้พิพากษาบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินหรือให้ใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาดังกล่าวไม่ จึงไม่ใช่การพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็น
คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ และอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยกัน เมื่อในส่วนที่มีทุนทรัพย์นั้นศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าขาดประโยชน์เป็นเงิน 32,000 บาท และค่าขาดประโยชน์เป็นรายเดือนหลังฟ้องแก่โจทก์ทั้งสี่ จำเลยฎีกาว่าไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าขาดประโยชน์เลย จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาตามจำนวนที่จำเลยต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7112/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมที่ดินที่ศาลฎีกาเคยมีคำพิพากษาแล้ว การฟ้องร้องซ้ำจึงเป็นกระบวนการซ้ำที่กฎหมายห้าม
คดีก่อนโจทก์ทั้งสี่แบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในสิทธิครอบครองตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก) ออกเป็น 2 แปลง คือแปลงเดิมเลขที่ 4044 และแปลงใหม่เลขที่ 4045 ตามคำพิพากษาของศาล จำเลยทั้งสามจึงฟ้องโจทก์ทั้งสี่ขอให้เพิกถอนการแบ่งแยกดังกล่าว เมื่อศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนจึงมีผลผูกพันโจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งสาม ซึ่งเป็นคู่ความในคดีว่าการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมและการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 4045 เป็นไปโดยชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 จำเลยทั้งสามจะโต้เถียงเป็นอย่างอื่นในคดีนี้ว่าจำเลยทั้งสามไม่ได้ยินยอมให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวม การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมออกเป็นที่ดิน 2 แปลง คือ ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 4044 และเลขที่ 4045 เป็นไปโดยไม่ชอบอีกหาได้ไม่
การที่จำเลยทั้งสามมายื่นคำร้องในคดีนี้ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินออกเป็น 2 แปลง ให้เหลือเฉพาะที่ดินแปลงเดิมตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 4044 แล้วให้นำที่ดินออกขายทอดตลาด อีกเช่นนี้จึงเป็นการรื้อร้องกันอีกในประเด็นที่ได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดมาแล้ว อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
การที่จำเลยทั้งสามมายื่นคำร้องในคดีนี้ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินออกเป็น 2 แปลง ให้เหลือเฉพาะที่ดินแปลงเดิมตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 4044 แล้วให้นำที่ดินออกขายทอดตลาด อีกเช่นนี้จึงเป็นการรื้อร้องกันอีกในประเด็นที่ได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดมาแล้ว อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144