พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6637/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิอุทธรณ์ในคดีฟ้องขับไล่ที่มีทุนทรัพย์ผสม ศาลต้องพิจารณาแยกส่วนคดีไม่มีทุนทรัพย์และมีทุนทรัพย์
การฟ้องคดีขับไล่หาได้มีความหมายเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์แต่เพียงอย่างเดียวเสมอไป การที่โจทก์ฟ้องขับไล่เป็นการฟ้องตั้งสิทธิอันเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยในเรื่องผิดสัญญาเช่าและไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ในตึกแถวพิพาทต่อไป อันเป็นคดีที่ขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีไม่มีทุนทรัพย์เท่านั้นแต่การที่โจทก์เรียกค่าเช่าที่ค้างชำระ ก่อนบอกเลิกสัญญาเช่าและค่าเสียหายภายหลังจากการบอกเลิกสัญญาเช่าเข้ามาด้วยรวมเป็นเงิน 186,000 บาท คดีในส่วนหลังนี้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้อง
แม้คดีฟ้องขับไล่ซึ่งเป็นคดีหลักหรือคดีประธาน จำเลยทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทในอัตราค่าเช่าเดือนละ 600 บาทแม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดค่าเสียหายหลังจากบอกเลิกสัญญาเช่าให้เดือนละ 20,000 บาท ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเช่าขณะยื่นคำฟ้องเพราะเป็นเพียงแต่อาจให้เช่าได้ในอัตราดังกล่าวเท่านั้น ดังนั้นจึงต้องฟังว่าตึกแถวพิพาทมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ4,000 บาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสองแต่เมื่อคดีนี้เป็นทั้งคดีไม่มีทุนทรัพย์และคดีมีทุนทรัพย์รวมกันมาเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน125,920 บาท จึงเกินกว่า 50,000 บาท ย่อมไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยถูกจำกัดสิทธิในการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงฐานะที่เป็นคดีฟ้องขับไล่ แต่จำเลยยังมีสิทธิในการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่เป็นส่วนของคดีมีทุนทรัพย์ได้การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยส่วนนี้เป็นการไม่ชอบ
แม้คดีฟ้องขับไล่ซึ่งเป็นคดีหลักหรือคดีประธาน จำเลยทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทในอัตราค่าเช่าเดือนละ 600 บาทแม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดค่าเสียหายหลังจากบอกเลิกสัญญาเช่าให้เดือนละ 20,000 บาท ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเช่าขณะยื่นคำฟ้องเพราะเป็นเพียงแต่อาจให้เช่าได้ในอัตราดังกล่าวเท่านั้น ดังนั้นจึงต้องฟังว่าตึกแถวพิพาทมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ4,000 บาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสองแต่เมื่อคดีนี้เป็นทั้งคดีไม่มีทุนทรัพย์และคดีมีทุนทรัพย์รวมกันมาเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน125,920 บาท จึงเกินกว่า 50,000 บาท ย่อมไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยถูกจำกัดสิทธิในการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงฐานะที่เป็นคดีฟ้องขับไล่ แต่จำเลยยังมีสิทธิในการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่เป็นส่วนของคดีมีทุนทรัพย์ได้การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยส่วนนี้เป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกจากพินัยกรรม 2 ฉบับที่มิได้ขัดแย้งกัน ศาลอนุญาตให้ผู้รับตามพินัยกรรมแต่ละฉบับเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้ตายทำพินัยกรรมไว้ 2 ฉบับ ฉบับแรกตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก ฉบับหลังตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก แต่ทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมทั้ง 2 ฉบับเป็นทรัพย์คนละส่วนกัน ตามคำร้องขอของผู้ร้องอ้างว่า ผู้ร้องเป็นบุตรคนหนึ่งของผู้ตายและมีสิทธิรับมรดกส่วนหนึ่งของผู้ตายตามสำเนาพินัยกรรมเอกสารท้ายคำร้อง ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะทายาทของผู้ตาย เมื่อปรากฏว่ามีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกตามที่ผู้ร้องอ้างในคำร้องขอ ผู้ร้องจึงใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อขอตั้งผู้จัดการมรดกได้
การที่ผู้ตายทำพินัยกรรมไว้ 2 ฉบับ ฉบับแรกตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกในทรัพย์มรดกส่วนหนึ่ง และฉบับหลังตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกในทรัพย์มรดกอีกส่วนหนึ่ง แต่ข้อกำหนดในพินัยกรรมทั้งสองฉบับมิได้ขัดกัน จึงไม่มีผลทำให้ผู้ร้องถูกเพิกถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อผู้ร้องยังคงมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมฉบับแรก ดังนั้น พินัยกรรมของผู้ตายทั้งสองฉบับย่อมมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย และเมื่อผู้ตายมีความประสงค์ให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกตามข้อกำหนดพินัยกรรมให้แยกจากกันเช่นนี้ จึงไม่สมควรที่ศาลจะตั้งผู้ร้องหรือผู้คัดค้านคนใดคนหนึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว จึงให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเพื่อจัดการมรดกตามพินัยกรรมแต่ละฉบับตามความประสงค์ของผู้ตาย
การที่ผู้ตายทำพินัยกรรมไว้ 2 ฉบับ ฉบับแรกตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกในทรัพย์มรดกส่วนหนึ่ง และฉบับหลังตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกในทรัพย์มรดกอีกส่วนหนึ่ง แต่ข้อกำหนดในพินัยกรรมทั้งสองฉบับมิได้ขัดกัน จึงไม่มีผลทำให้ผู้ร้องถูกเพิกถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อผู้ร้องยังคงมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมฉบับแรก ดังนั้น พินัยกรรมของผู้ตายทั้งสองฉบับย่อมมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย และเมื่อผู้ตายมีความประสงค์ให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกตามข้อกำหนดพินัยกรรมให้แยกจากกันเช่นนี้ จึงไม่สมควรที่ศาลจะตั้งผู้ร้องหรือผู้คัดค้านคนใดคนหนึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว จึงให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเพื่อจัดการมรดกตามพินัยกรรมแต่ละฉบับตามความประสงค์ของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรม 2 ฉบับ ไม่ขัดแย้งกัน ศาลอนุญาตให้ตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมแต่ละฉบับ
ผู้ตายทำพินัยกรรมไว้ 2 ฉบับ ฉบับแรกตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกในทรัพย์มรดกส่วนหนึ่ง ฉบับหลังตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกในทรัพย์มรดกอีกส่วนหนึ่ง ข้อกำหนดในพินัยกรรมทั้งสองฉบับจึงหาได้ขัดกันและมีผลทำให้ผู้ร้องถูกเพิกถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดกไม่ ผู้ร้องยังคงมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมฉบับแรก ดังนั้น พินัยกรรมของผู้ตายทั้งสองฉบับย่อมมีผลบังคับได้ตามกฎหมายทั้งฉบับที่ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกเมื่อเจตนาของผู้ตายมีความประสงค์ให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกตามข้อกำหนดพินัยกรรมให้แยกจากกันและไม่ปรากฏว่าผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นบุคคลต้องห้ามที่จะเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718จึงให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเพื่อจัดการมรดกตามพินัยกรรมฉบับแรกและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเพื่อจัดการมรดกตามพินัยกรรมฉบับที่สอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7578/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้เงินกู้แยกส่วน: ศาลฎีกายกประเด็นข้อจำกัดการฎีกาและพิพากษาแบ่งความรับผิดตามส่วนที่รับไป
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองแบ่งความรับผิดในหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยที่โจทก์รับช่วงสิทธิจากธนาคารมาคนละ146,455บาทความรับผิดของจำเลยทั้งสองที่มีต่อโจทก์จึงสามารถแยกต่างหากจากกันได้หนี้ดังกล่าวมิใช่หนี้ร่วมการคิดทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงต้องแยกตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์เรียกร้องเอาแก่จำเลยที่1และที่2เป็นรายบุคคลหาใช่คำนวณรวมกันเป็นรายเดียวเช่นลูกหนี้ร่วมไม่เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของจำเลยทั้งสองแยกคำนวณต่างหากจากกันไม่เกินรายละสองแสนบาทแล้วก็ห้ามมิให้จำเลยทั้งสองฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยทั้งสองเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้ ในระหว่างลูกหนี้ร่วมกันทั้งหลายนั้นต่างคนต่างต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆกันเว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา296ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ย่อมไม่ถูกต้องและเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบมาตรา246,247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3425/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซื้อขายแยกส่วน ทุนทรัพย์พิพาทแต่ละโจทก์ต้องพิจารณาต่างหาก หากทุนทรัพย์น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด อุทธรณ์ย่อมไม่รับ
โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกค่าน้ำมันชนิดต่าง ๆ จากจำเลยที่ 1 โดยโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของปั๊ม ท.บริการฟ้องเรียกเงินจำนวน73,688 บาท โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของปั๊ม ย.บริการฟ้องเรียกเงินจำนวน 15,896 บาท โดยทั้งสองมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี เพราะเป็นการซื้อขายคนละสถานที่คนละเวลา ซึ่งโดยปกติโจทก์ทั้งสองจะฟ้องคดีรวมกันมาไม่ได้ ฉะนั้นในการคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทจึงต้องแยกพิจารณาของโจทก์แต่ละคนไป จะนำมาพิจารณารวมกันไม่ได้ เมื่อทุนทรัพย์ของโจทก์ที่ 2 มีเพียง 15,986 บาท คดีในส่วนของโจทก์ที่ที่ 2 จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 ซึ่งศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ จึงเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยและย่อมพิพากษายกฎีกาของจำเลยที่ 1 และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องของโจทก์ที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3071-3072/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดทุนทรัพย์, การขาดนัดยื่นคำให้การ, และความรับผิดทางละเมิดแยกส่วน กรณีชนท้าย
โจทก์สามคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์แต่ละคนตามลำพังฟ้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิดทำให้รถยนต์ของโจทก์แต่ละคนเสียหาย แม้จะรวมฟ้องมาในคดีเดียวกันก็ต้องพิจารณาจำนวนทุนทรัพย์ของคดีสำหรับโจทก์แต่ละคน ถ้าทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เล็กน้อยก็ฎีาข้อเท็จจริงไม่ได้ ส่วนทุนทรัพย์ที่ไม่เกิน 20,000 บาทนั้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยข้อเท็จจริงมาก็เป็นการมิชอบเพราะปัญหาดังกล่าวยุติตั้งแต่ศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 4 ในสำนวนหลังฎีกา แต่ในสำนวนหลังนี้ศาลชั้นต้นสั่งว่าจำเลยที่ 4 ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยที่ 4 จึงหาอาจเรียกพยานของตนเข้าสืบได้ไม่ ดังนั้น พยานที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในสำนวนแรกนำสืบรวมมาในสำนวนแรกจึงไม่อาจนำมาวินิจฉัยในสำนวนหลังได้
แม้จำเลยที่ 4 จะฎีกาแต่ผู้เดียว แต่คำพิพากษาศาลฎีกาในส่วนที่เป็นผลดีแก่จำเลยที่ 4 เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงมีผลถึงจำเลยอื่นที่ไม่ได้ฎีกาด้วย
จำเลยทั้งสองต่างขับรถยนต์ด้วยความเร็วแซงและแข่งกันมา เป็นเหตุให้ชนรถของโจทก์ซึ่งจอดอยู่ พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดของจำเลยทั้งสองมีเท่ากัน และเป็นกรณีต่างทำละเมิดโดยไม่ได้ร่วมกัน จึงไม่ต้องร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดแก่โจทก์จำเลยทั้งสองต้องรับผิดแบ่งออกเป็นส่วนเท่าๆกัน
จำเลยที่ 4 ในสำนวนหลังฎีกา แต่ในสำนวนหลังนี้ศาลชั้นต้นสั่งว่าจำเลยที่ 4 ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยที่ 4 จึงหาอาจเรียกพยานของตนเข้าสืบได้ไม่ ดังนั้น พยานที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในสำนวนแรกนำสืบรวมมาในสำนวนแรกจึงไม่อาจนำมาวินิจฉัยในสำนวนหลังได้
แม้จำเลยที่ 4 จะฎีกาแต่ผู้เดียว แต่คำพิพากษาศาลฎีกาในส่วนที่เป็นผลดีแก่จำเลยที่ 4 เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงมีผลถึงจำเลยอื่นที่ไม่ได้ฎีกาด้วย
จำเลยทั้งสองต่างขับรถยนต์ด้วยความเร็วแซงและแข่งกันมา เป็นเหตุให้ชนรถของโจทก์ซึ่งจอดอยู่ พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดของจำเลยทั้งสองมีเท่ากัน และเป็นกรณีต่างทำละเมิดโดยไม่ได้ร่วมกัน จึงไม่ต้องร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดแก่โจทก์จำเลยทั้งสองต้องรับผิดแบ่งออกเป็นส่วนเท่าๆกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 828-829/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดแยกส่วนจากหลายฝ่าย ผู้เสียหายได้รับความเสียหายจากหลายเหตุ ศาลแบ่งความรับผิดตามส่วนของแต่ละฝ่าย
ส. สามีโจทก์สำนวนแรก พ. โจทก์สำนวนหลัง และ ป.ภริยา พ. นั่งมาในรถยนต์ของ พ. ถูกรถคันหนึ่งชนอัดติดอยู่กับรถมีรถซึ่งลูกจ้างของจำเลยขับมาชนซ้ำ ทำให้ ส. ป. ตายและ พ. บาดเจ็บมากขึ้น รถของ พ. เสียหายมากขึ้น ไม่ใช่ร่วมกันทำละเมิดจำเลยต้องรับผิดแยกกับที่รถยนต์คันแรกก่อความเสียหายขึ้นตามส่วนของตน โดยต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ลูกจ้างของจำเลยทำขึ้นเท่านั้น ศาลพิพากษาแบ่งให้ชำระได้ตามสมควร โดยให้ค่าทำศพและค่าอุปการะเลี้ยงดู ค่าขาดรายได้ 1 ใน 3 ให้ใช้ค่าเสียหายแก่รถกึ่งหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 174/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดินแยกส่วน ศาลอุทธรณ์ยืนตามคำพิพากษาเดิม
โจทก์พิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดินกับจำเลย 2 คน เป็นที่ดินคนละส่วนไม่เกี่ยวข้องกัน ที่ดินแต่ละแปลงราคา 4,500 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้โจทก์ชนะ จำเลยทั้ง 2 คนฎีกาข้อเท็จจริงไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่ง-อาญาแยกส่วน การประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งไม่ผูกพันคดีอาญา
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาไว้แล้ว ต่อมาได้ฟ้องในทางแพ่งเป็นอีกคดีหนึ่ง แล้วได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งโดยมิได้มีข้อความว่า โจทก์จำเลยตกลงยอมความคดีส่วนอาญาที่ได้ยื่นฟ้องไว้แล้วนั้นด้วย และที่จำเลยอ้างว่าเมื่อจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันนั้น โจทก์ก็รับว่าจะถอนคดีส่วนอาญาให้ด้วย ความข้อนี้ก็ไม่ปรากฏในสำนวน ดังนี้คดีอาญาที่ได้ยื่นฟ้องไว้แล้วนั้นยังหาระงับไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2059/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินบริคณห์ vs. หนี้ส่วนตัว: การยึดทรัพย์ชำระหนี้ต้องแยกส่วนก่อน
ถ้าหากจำเลยกู้เงินโจทก์โดยผู้ร้องผู้เป็นสามีมิได้ยินยอมอนุญาต และได้บอกล้างโมฆียะกรรมให้โจทก์ทราบจริงแล้ว หนี้ระหว่างจำเลยกับโจทก์ก็ย่อมไม่ผูกพันเรือนพิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์ โจทก์จะนำยึดเรือนพิพาทหาได้ไม่ เว้นแต่หนี้ตามคำพิพากษานั้นเป็นหนี้ร่วมกันระหว่างสมรส
แม้จำเลยผู้เป็นภริยาจะต้องรับผิดในหนี้เงินกู้เป็นส่วนตัวก็ตาม แต่ถ้าหากเรือนพิพาทเป็นสินบริคณห์แล้ว โจทก์ก็จะยึดเรือนพิพาทเพื่อขายชำระหนี้ทั้งหมดไม่ได้เช่นกัน โจทก์จะต้องดำเนินการขอต่อศาลให้แยกสินบริคณห์ส่วนของจำเลยออกชำระหนี้โจทก์เสียก่อน แล้วจึงจะบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้
แม้จำเลยผู้เป็นภริยาจะต้องรับผิดในหนี้เงินกู้เป็นส่วนตัวก็ตาม แต่ถ้าหากเรือนพิพาทเป็นสินบริคณห์แล้ว โจทก์ก็จะยึดเรือนพิพาทเพื่อขายชำระหนี้ทั้งหมดไม่ได้เช่นกัน โจทก์จะต้องดำเนินการขอต่อศาลให้แยกสินบริคณห์ส่วนของจำเลยออกชำระหนี้โจทก์เสียก่อน แล้วจึงจะบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้