คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แย่งสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3920/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแย่งสิทธิเครื่องหมายการค้า: ความคล้ายคลึง, เจตนาลวง, และสิทธิก่อน
โจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่าจำเลยได้ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมาย-การค้าคำว่า Mark&Spencer โจทก์เพิ่งทราบเมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์ หลังจากนั้นโจทก์ขอให้จำเลยโอนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์หรือให้จำเลยถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย แต่จำเลยปฏิเสธ การกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ขอจดทะเบียน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เครื่องหมายการค้าของโจทก์คืออักษรโรมันคำว่า MARKS &SPENCER ส่วนของจำเลยคือคำว่า Mark&Spencer ต่างประกอบด้วยอักษรโรมันตัวเดียวกัน คงแตกต่างกันเฉพาะเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันแบบตัวพิมพ์ใหญ่ และมีตัว "S" ท้ายคำว่า MARK ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันแบบตัวเขียนและไม่มีตัว "S" ท้ายคำว่า Mark แม้แบบของตัวอักษรโรมันที่โจทก์และจำเลยนำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าของฝ่ายตนจะแตกต่างกันดังกล่าวก็ตาม แต่ตัวอักษรโรมันที่แต่ละฝ่ายนำมาเรียบเรียงเป็นเครื่องหมายการค้าของฝ่ายตนเป็นตัวเดียวกัน ทั้งเมื่ออ่านออกเสียงรวมกันทั้งคำหรือเรียกขานเครื่องหมายการค้าดังกล่าวก็อ่านออกเสียงหรือเรียกขานเหมือนกันคือมาร์คส์หรือมาร์ค แอนด์ สเปนเซอร์ อีกทั้งสินค้าของโจทก์มีจำหน่ายในประเทศไทยก่อนที่จำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้ว พฤติการณ์เช่นนี้ย่อมบ่งบอกเจตนาของจำเลยผู้ประกอบธุรกิจการค้าได้ว่า จำเลยต้องการให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ใช้กับสินค้าจำพวกเครื่องหนังอันเป็นสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ที่ต่างประเทศก่อนแล้ว อ่านหรือเรียกขานให้เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าหรือชื่อในทางการค้าของโจทก์โดยมุ่งประสงค์จะลวงให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยดังกล่าวเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า MARKS & SPENCERของโจทก์ดีกว่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7210/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การแย่งสิทธิและความชอบธรรมในการใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกัน
เครื่องหมายการค้ารูปกรงนกประกอบอักษรโรมันคำว่าMACYS ที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ และเครื่องหมายการค้ารูปนกบินประกอบอักษรโรมันคำว่า MACY'S ที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียน ต่างออกเสียงว่า เมซี่ส์ เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 สาระสำคัญของการเรียกขานเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงอยู่ที่คำว่า MACYS หรือ MACY'S ฉะนั้นลูกค้าที่ซื้อสินค้าจะเรียกสินค้าของโจทก์ว่า เมซี่ส์ เหมือนกับสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1จึงอาจทำให้ประชาชนผู้ซื้อสินค้าสับสนหรือหลงผิดในแหล่งกำเนิดและคุณภาพของสินค้าได้ จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของผู้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าคำว่า MACY'Sและจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไว้ยังต่างประเทศก่อนโจทก์ สินค้าของจำเลยที่ 1 เป็นที่แพร่หลายมาประมาณ 100 ปีแล้ว จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า MACY'S ดีกว่าโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทย และจำหน่ายสินค้าของจำเลยที่ 1 ในประเทศไทยก็ตาม
แม้คำฟ้องของโจทก์จะขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ถอนคำคัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปนกบินและคำว่า MACY'S ของโจทก์เท่านั้นแต่เมื่อโจทก์ได้กล่าวอ้างถึงเครื่องหมายการค้ารูปกรงนกและคำว่า MACYSที่ได้รับการจดทะเบียนมาในคำฟ้องด้วย จำเลยที่ 1 ก็ย่อมมีสิทธิที่จะให้การต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า MACY'S ของจำเลยที่ 1ดีกว่าสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า MACYS ที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วและคำว่า MACY'S ที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียน และจำเลยที่ 1 ย่อมอาศัยสิทธิที่ตนได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติมาตรา 41 (1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 ฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้เนื่องจากจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีส่วนได้เสียในเครื่องหมายการค้านั้น ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงเกี่ยวกับคำฟ้องเดิม จำเลยที่ 1 ชอบที่จะฟ้องแย้งมาในคำให้การได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 44 ห้ามมิให้ศาลสั่งให้นายทะเบียนเสียค่าฤชาธรรมเนียมแทนฝ่ายอื่น แต่บทบัญญัตินี้มิได้ห้ามคู่ความฝ่ายอื่นเสียค่าฤชาธรรมเนียมแทนนายทะเบียน ฉะนั้น ศาลจึงสั่งให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยทั้งสองได้
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความสำหรับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 4,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้น เมื่อคดีนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ การกำหนดค่าทนายความดังกล่าวของศาลชั้นต้นจึงเกินอัตราขั้นสูงในศาลชั้นต้นจำนวน 3,000 บาท ตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. ศาลฎีกากำหนดเสียใหม่ให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6235/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนย่อมมีสิทธิเหนือกว่า แม้จะมีการจดทะเบียนภายหลัง
โจทก์คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นอักษรโรมันคำว่าSunstar ทั้งที่เป็นคำตามลำพังและคำที่อยู่ในรูปสี่เหลี่ยมตัดแบ่งครึ่งโดยเส้นทแยงมุมขึ้นในปี 2489 และใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้ายาสีฟันเมื่อปี 2489แปรงสีฟันเมื่อปี 2496 เครื่องสำอางและแชมพูเมื่อปี 2503 และต่อมาได้ใช้กับสินค้าของโจทก์ที่ส่งไปจำหน่ายยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วยโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยเมื่อปี 2496 และในประเทศอื่น ๆ อีก 16 ประเทศ ส่วนจำเลยได้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองแบบดังกล่าวเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2522 ในลักษณะที่เหมือนกันทุกประการ โดยที่ในขณะนั้นจำเลยยังไม่ได้ผลิตสินค้าใด ๆ ออกจำหน่าย ทั้งปรากฏว่าจำเลยหาได้มีวัตถุประสงค์ในการผลิตสินค้าประเภทแปรงสีฟัน ยาสีฟัน และแชมพู ซึ่งเป็นสินค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแต่อย่างใดไม่ ที่จำเลยไปขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองแบบดังกล่าวก็มาจากการที่จำเลยเห็นเครื่องหมายการค้าซึ่งปรากฏอยู่ที่สินค้าของโจทก์ ดังนี้ โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลยเป็นเวลา 30 ปีเศษ โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้ดีกว่าจำเลยและขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การแย่งสิทธิ, การใช้ก่อน, การจดทะเบียน, และการลวงขายสินค้า
แม้โจทก์จะได้ ฟ้องเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า๓ คำขอซึ่ง ได้ ขอจดทะเบียนกับสินค้าต่าง จำพวกกัน คือ คำขอแรกเกี่ยวกับสินค้าจำพวก ๔๗ คำขอที่สองเกี่ยวกับสินค้าจำพวก ๑๒ และคำขอที่สามเกี่ยวกับสินค้าจำพวก ๓๘ โดย มีเฉพาะ คำขอเดียว คือคำขอที่สามเป็นการขอจดทะเบียนกับสินค้าจำพวกเดียวกับที่จำเลยได้ ขอจดทะเบียนไว้ซึ่ง โจทก์ขอให้เพิกถอน แต่ โจทก์ได้ ขอให้ศาลสั่งว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยในสินค้าทั้ง ๓ จำพวก และจำเลยฟ้องแย้งเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าอันเดียวกัน การฟ้องแย้งขอให้แสดงสิทธิของจำเลย และขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับสินค้า ๒ จำพวกแรกก็เป็นการฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าพิพาทที่โจทก์จดทะเบียนและฟ้องร้องอ้างสิทธินั่นเอง ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเกี่ยวกับฟ้องเดิมอันชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา
หนังสือมอบอำนาจมีใจความว่า "เพื่อเริ่มการฟ้องคดีและต่อสู้ คดี...ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งอาญาหรือคดีอื่น ๆ ..." เช่นนี้ย่อมหมายความว่า มอบอำนาจให้ฟ้องแย้งได้ ด้วย
จำเลยบรรยายฟ้องแย้งว่า จำเลยได้ ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าพิพาท และได้ ใช้ เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของจำเลยมานาน อีกทั้งได้ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทยก็ได้ จดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวก ๓๘โจทก์ไม่สุจริต แสวงหาประโยชน์อันมิชอบ ลอกเลียนเครื่องหมายการค้า ของจำเลยและนำไปยื่นขอจดทะเบียน เป็นการละเมิดขอให้เพิกถอน คำขอจดทะเบียนและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เช่นนี้เป็นคำฟ้อง ที่แสดงแจ้งชัดซึ่ง สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้าง ที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตาม กฎหมายแล้วหาจำต้องบรรยายว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าอะไร ประชาชนผู้ใดซื้อ หา จำหน่ายแพร่หลาย ณ ที่ใด มียอด ขายเพียงใด และจำหน่าย โดย ผ่านตัวแทนใด ดังที่โจทก์อ้างในฎีกาไม่ เพราะข้อเหล่านั้นเป็นรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้น พิจารณา
โจทก์ได้ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทคืออักษรโรมันประดิษฐ์ "S T" กับสินค้าจำพวกที่ ๔๗ คือ น้ำมันจักร และจดทะเบียน เครื่องหมายการค้าพิพาทกับสินค้าจำพวก ๑๒ คือ มีดซอย ผมทั้งได้ จำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า ตาม ที่ได้ จดทะเบียนไว้แล้ว ส่วนจำเลยเป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าพิพาทและได้ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในต่างประเทศเฉพาะ กับสินค้าจำพวก ๓๘ เครื่องนุ่งห่มและแต่งกาย มาก่อนโจทก์แต่ มิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาท สำหรับสินค้าจำพวก๑๒ และ ๔๗ แต่อย่างใด เช่นนี้ แม้คำฟ้องแย้งของจำเลยกล่าวอ้างว่า โจทก์ได้ ลอกเลียน เครื่องหมายการค้าของจำเลยนำไปจดทะเบียนและนำเครื่องหมายการค้าไปใช้ กับสินค้าของโจทก์ทำให้สาธารณชนหลงผิด ซึ่ง เป็นเรื่องอ้างว่าโจทก์ลวงขายสินค้าของโจทก์ให้ประชาชนเข้าใจว่าเป็นสินค้าของจำเลยอันจำเลยมีอำนาจฟ้องได้แม้เป็นสินค้าคนละจำพวกหรือคนละชนิดก็ตาม แต่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยส่งสินค้ามาจำหน่ายในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ก่อนฟ้องคดีเพียง ๔ ปี เท่านั้น ปริมาณก็ไม่มากนักและส่งมาขายแต่เฉพาะ ที่ศูนย์การค้า ส. กับที่ห้าง ซ. และจำเลยไม่เคยมีสินค้าจำพวก ๑๒ และ ๔๗ ส่วนสินค้าของโจทก์ปรากฏว่าโจทก์ใช้ เครื่องหมายการค้ารูปเอส ทีโดย ระบุชื่อร้าน แสงธิต ไว้ชัดเจน แสดงให้เห็นว่าสินค้านั้นเป็นของร้าน แสงธิต เช่นนี้ โจทก์ไม่ได้ทำให้ประชาชนเกิดสับสนในแหล่งกำเนิดหรือคุณภาพสินค้าของโจทก์ถึงขนาด ที่คนทั่วไปเมื่อเห็นสินค้าที่ใช้ เครื่องหมายการค้านั้นแล้ว เข้าใจว่าเป็นของบริษัทเดียวกันคือบริษัทจำเลยคดีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ ลวงขายสินค้าของตน ว่าเป็นสินค้าของจำเลย จำเลยจะขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าสินค้าจำพวก ๑๒ และ ๔๗ ของโจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การแย่งสิทธิ vs. การลวงขายสินค้า - สินค้าคนละประเภท
แม้โจทก์จะได้ ฟ้องเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า3 คำขอซึ่ง ได้ ขอจดทะเบียนกับสินค้าต่าง จำพวกกัน คือ คำขอแรกเกี่ยวกับสินค้าจำพวก 47 คำขอที่สองเกี่ยวกับสินค้าจำพวก 12 และคำขอที่สามเกี่ยวกับสินค้าจำพวก 38 โดย มีเฉพาะ คำขอเดียว คือคำขอที่สามเป็นการขอจดทะเบียนกับสินค้าจำพวกเดียวกับที่จำเลยได้ ขอจดทะเบียนไว้ซึ่ง โจทก์ขอให้เพิกถอน แต่ โจทก์ได้ ขอให้ศาลสั่งว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยในสินค้าทั้ง 3 จำพวก และจำเลยฟ้องแย้งเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าอันเดียวกัน การฟ้องแย้งขอให้แสดงสิทธิของจำเลย และขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับสินค้า 2 จำพวกแรกก็เป็นการฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าพิพาทที่โจทก์จดทะเบียนและฟ้องร้องอ้างสิทธินั่นเอง ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเกี่ยวกับฟ้องเดิมอันชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา หนังสือมอบอำนาจมีใจความว่า "เพื่อเริ่มการฟ้องคดีและต่อสู้ คดี...ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งอาญาหรือคดีอื่น ๆ ..." เช่นนี้ย่อมหมายความว่า มอบอำนาจให้ฟ้องแย้งได้ ด้วย จำเลยบรรยายฟ้องแย้งว่า จำเลยได้ ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าพิพาท และได้ ใช้ เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของจำเลยมานาน อีกทั้งได้ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทยก็ได้ จดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวก 38โจทก์ไม่สุจริต แสวงหาประโยชน์อันมิชอบ ลอกเลียนเครื่องหมายการค้า ของจำเลยและนำไปยื่นขอจดทะเบียน เป็นการละเมิดขอให้เพิกถอน คำขอจดทะเบียนและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เช่นนี้เป็นคำฟ้อง ที่แสดงแจ้งชัดซึ่ง สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้าง ที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตาม กฎหมายแล้วหาจำต้องบรรยายว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าอะไร ประชาชนผู้ใดซื้อ หา จำหน่ายแพร่หลาย ณ ที่ใด มียอด ขายเพียงใด และจำหน่าย โดย ผ่านตัวแทนใด ดังที่โจทก์อ้างในฎีกาไม่ เพราะข้อเหล่านั้นเป็นรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้น พิจารณา โจทก์ได้ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทคืออักษรโรมันประดิษฐ์ "ST" กับสินค้าจำพวกที่ 47 คือ น้ำมันจักร และจดทะเบียน เครื่องหมายการค้าพิพาทกับสินค้าจำพวก 12 คือ มีดซอย ผมทั้งได้ จำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า ตาม ที่ได้ จดทะเบียนไว้แล้ว ส่วนจำเลยเป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าพิพาทและได้ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในต่างประเทศเฉพาะ กับสินค้าจำพวก 38 เครื่องนุ่งห่มและแต่งกาย มาก่อนโจทก์แต่ มิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาท สำหรับสินค้าจำพวก12 และ 47 แต่อย่างใด เช่นนี้ แม้คำฟ้องแย้งของจำเลยกล่าวอ้างว่า โจทก์ได้ ลอกเลียน เครื่องหมายการค้าของจำเลยนำไปจดทะเบียนและนำเครื่องหมายการค้าไปใช้ กับสินค้าของโจทก์ทำให้สาธารณชนหลงผิด ซึ่ง เป็นเรื่องอ้างว่าโจทก์ลวงขายสินค้าของโจทก์ให้ประชาชนเข้าใจว่าเป็นสินค้าของจำเลยอันจำเลยมีอำนาจฟ้องได้แม้เป็นสินค้าคนละจำพวกหรือคนละชนิดก็ตาม แต่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยส่งสินค้ามาจำหน่ายในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2522 ก่อนฟ้องคดีเพียง 4 ปี เท่านั้น ปริมาณก็ไม่มากนักและส่งมาขายแต่เฉพาะ ที่ศูนย์การค้า ส. กับที่ห้าง ซ. และจำเลยไม่เคยมีสินค้าจำพวก 12 และ 47 ส่วนสินค้าของโจทก์ปรากฏว่าโจทก์ใช้ เครื่องหมายการค้ารูปเอส ทีโดย ระบุชื่อร้าน แสงธิต ไว้ชัดเจน แสดงให้เห็นว่าสินค้านั้นเป็นของร้าน แสงธิต เช่นนี้ โจทก์ไม่ได้ทำให้ประชาชนเกิดสับสนในแหล่งกำเนิดหรือคุณภาพสินค้าของโจทก์ถึงขนาด ที่คนทั่วไปเมื่อเห็นสินค้าที่ใช้ เครื่องหมายการค้านั้นแล้ว เข้าใจว่าเป็นของบริษัทเดียวกันคือบริษัทจำเลยคดีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ ลวงขายสินค้าของตน ว่าเป็นสินค้าของจำเลย จำเลยจะขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าสินค้าจำพวก 12 และ 47 ของโจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การแย่งสิทธิเนื่องจากใช้ก่อนและการจดทะเบียนในต่างประเทศ
บทบัญญัติมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พุทธศักราช2474 บัญญัติไว้ตอนต้นว่า 'ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้' ซึ่งรับกับมาตรา 41 (1) ที่ให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วได้ หากผู้มีส่วนได้เสียได้ยื่นคำร้องและแสดงได้ว่าตนมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าผู้ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของ ฉะนั้นเมื่อจำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทที่แท้จริงและได้ส่งสินค้าซึ่งมีเครื่องหมายการค้าพิพาทเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเป็นเวลานาน ก่อนที่โจทก์จะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทดังกล่าว แม้จำเลยจะยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทยจำเลยก็มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์ได้ตามมาตรา 41 (1)
การที่โนตารีปับลิกรับรองการมีอยู่ของหนังสือรับรองการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทของจำเลยในประเทศต่าง ๆ ซึ่งมีนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวข้องรับรองความถูกต้องไว้แล้วนั้น เทียบเคียงได้กับกรณีการเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจที่ได้ทำในเมืองต่างประเทศตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 47 วรรคสาม คือไม่จำต้องมีเจ้าพนักงานสถานกงสุลไทยหรือสถานทูตไทยรับรองอีกชั้นว่าผู้รับรองเอกสารดังกล่าวเป็นโนตารีปับลิกจริง ดังนั้นเมื่อไม่ปรากฏเหตุอันควรสงสัยเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของบุคคลที่ลงลายมือชื่อรับรองในฐานะโนตารีปับลิกดังกล่าว ทั้งโจทก์ก็มิได้นำสืบหักล้างหรือโต้แย้งอย่างใดแล้วศาลก็รับฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทนั้นได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การแย่งสิทธิจากผู้ใช้ก่อน & การรับรองเอกสารจากต่างประเทศ
บทบัญญัติมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พุทธศักราช2474 บัญญัติไว้ตอนต้นว่า 'ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้' ซึ่งรับกับมาตรา 41(1) ที่ให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วได้ หากผู้มีส่วนได้เสียได้ยื่นคำร้องและแสดงได้ว่าตนมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าผู้ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของ ฉะนั้นเมื่อจำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทที่แท้จริงและได้ส่งสินค้าซึ่งมีเครื่องหมายการค้าพิพาทเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเป็นเวลานาน ก่อนที่โจทก์จะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทดังกล่าว แม้จำเลยจะยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทยจำเลยก็มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์ได้ตามมาตรา 41(1)
การที่โนตารีปับลิกรับรองการมีอยู่ของหนังสือรับรองการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทของจำเลยในประเทศต่าง ๆ ซึ่งมีนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวข้องรับรองความถูกต้องไว้แล้วนั้น เทียบเคียงได้กับกรณีการเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจที่ได้ทำในเมืองต่างประเทศตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 47 วรรคสาม คือไม่จำต้องมีเจ้าพนักงานสถานกงสุลไทยหรือสถานทูตไทยรับรองอีกชั้นว่าผู้รับรองเอกสารดังกล่าวเป็นโนตารีปับลิกจริง ดังนั้นเมื่อไม่ปรากฏเหตุอันควรสงสัยเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของบุคคลที่ลงลายมือชื่อรับรองในฐานะโนตารีปับลิกดังกล่าว ทั้งโจทก์ก็มิได้นำสืบหักล้างหรือโต้แย้งอย่างใดแล้วศาลก็รับฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทนั้นได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2967/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินป่าสงวน: ราษฎรแย่งสิทธิกันเองได้หรือไม่
แม้พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14จะบัญญัติว่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือหรือครอบครองที่ดิน ก็เป็นเพียงบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่าง รัฐกับราษฎร ซึ่งเป็นผลให้ราษฎรที่เข้ายึดถือครอบครองที่ดินไม่ได้สิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายทั้งไม่อาจอ้างสิทธิใดๆ ใช้ยันรัฐได้ แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันผู้ที่ครอบครองใช้ประโยชน์อยู่ก่อน ย่อมมีสิทธิที่จะไม่ถูกรบกวนโดยบุคคลอื่น ดังนั้น หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่นาพิพาทเป็นที่ดินป่าสงวนแห่งชาติและโจทก์เป็นฝ่ายครอบครองใช้ประโยชน์ในที่นาพิพาทอยู่ก่อนแล้วจำเลยเข้าไปแย่งการครอบครองอันเป็นการรบกวนสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนสิทธิของโจทก์และ เรียกค่าเสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแย่งสิทธิในเครื่องหมายการค้า 'ฟอร์วิล' และการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ฟ้องอ้างว่า โจทก์เป็นบริษัทนิติบุคคลจดทะเบียนในประเทศฝรั่งเศส จำเลยให้การไม่ได้โต้แย้งในข้อนี้ เป็นแต่ให้การว่าโจทก์มิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในประเทศไทย ถือว่าจำเลยรับตามข้ออ้างของโจทก์แล้ว
ตัวการมอบอำนาจให้ตัวแทนรวมทั้งอำนาจฟ้องคดี และให้ตั้งตัวแทนช่วงได้ ตัวแทนจึงตั้งตัวแทนช่วง ตัวแทนช่วงฟ้องคดีได้ เพราะมีการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยตรงแล้ว
โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้า ฟอร์วิล มา 30 ปี และส่งมาจำหน่ายในประเทศไทยกว่า 20 ปี จึงมีผู้เอาเครื่องหมายนี้ไปจดทะเบียน โดยเจตนาแย่งขายสินค้าแทนของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต โจทก์ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนได้ตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า 2474 มาตรา 41 ผู้รับโอนจากผู้จดทะเบียนก็ไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1843/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: กรณีเครื่องหมายคล้ายคลึงกัน และการฟ้องร้องเพื่อแย่งสิทธิก่อนจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าที่ยังไม่จดทะเบียนนั้น ถ้าโต้แย้งกันว่าใครมีสิทธิดีกว่าที่จะนำไปจดทะเบียน ก็อาจนำคดีมาสู่ศาลให้วินิจฉัยได้
of 2