คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แลกเปลี่ยนที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5593/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินเลยขอบเขตคำฟ้อง: การครอบครองปรปักษ์และการแลกเปลี่ยนที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเอาที่ดินของจำเลยมาแลกเปลี่ยนกับที่ดินมือเปล่าซึ่งเป็นที่สวนของโจทก์ทั้งสอง โดยให้โจทก์ทั้งสองได้คนละครึ่ง โจทก์ทั้งสองได้ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา ขอให้จำเลยไปจดทะเบียนแบ่งแยกให้โจทก์ทั้งสอง จำเลยให้การว่า ไม่ได้ทำสัญญาแลกเปลี่ยนที่ดินกับโจทก์ทั้งสอง จำเลยตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกับน้องสาวของจำเลยแต่ต่อมาได้ยกเลิกสัญญากันและน้องสาวได้นำที่ดินแปลงที่จะแลกเปลี่ยนไปออกเป็นโฉนดของน้องสาวเองแล้ว โจทก์ที่ 1 เข้าอยู่อาศัยโดยได้รับอนุญาตจากจำเลย ตามคำฟ้องมิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยสละสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ได้แย่งการครอบครองเกิน 1 ปี ดังนั้น คดีจึงไม่มีประเด็นว่าจำเลยสละสิทธิครอบครองแก่โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 1 แย่งการครอบครองจากจำเลยเพราะจำเลยไม่ฟ้องเอาคืนภายใน 1 ปี ตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษา จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9085/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดิน: การยึดถือแทนเจ้าของเดิมไม่ถือเป็นการแย่งการครอบครอง และสิทธิในการเรียกร้องราคาที่ดิน
การตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินระหว่างโจทก์กับเทศบาลเมืองร้อยเอ็ดจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาซึ่งคู่สัญญาต่างโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้กันและกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 518 อันมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทน ซึ่งมาตรา 519 ระบุให้นำบทบัญญัติทั้งหลายในลักษณะซื้อขายมาใช้ถึงการแลกเปลี่ยนด้วย เมื่อฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยที่ 1 ได้เจรจาต่อรองกันมาตลอด แม้ที่ดินที่จำเลยที่ 1 นำมาแลกเปลี่ยนจะเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ แต่จำเลยที่ 1 ก็ตกลงที่จะดำเนินการให้สามารถโอนที่ดินสาธารณประโยชน์นั้นแลกเปลี่ยนกับที่ดิน ส.ค. 1 ของ ก. ปู่โจทก์ซึ่งต่อมาเป็นที่ดินมีโฉนดที่ดินของโจทก์ได้ และจำเลยที่ 1 ก็ได้ดำเนินการเกี่ยวกับการออกพระราชบัญญัติเพื่อโอนที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นให้แก่โจทก์จนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ดให้ความเห็นชอบในการออกพระราชบัญญัติโอนที่ดินสาธารณประโยชน์สระสิมให้แก่โจทก์ แต่ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้ถอนร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงไม่อาจดำเนินการโอนที่ดินนั้นให้โจทก์เพื่อแลกเปลี่ยนกับที่ดินของโจทก์ได้ แสดงว่าการตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินดังกล่าวระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิใช่การแลกเปลี่ยนที่ดินเสร็จเด็ดขาด แต่เป็นการแลกเปลี่ยนที่ดินโดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยที่ 1 จะดำเนินการเกี่ยวกับการออกพระราชบัญญัติเพื่อโอนที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้แก่โจทก์เพื่อแลกเปลี่ยนกับที่ดินของโจทก์ จึงเป็นสัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดิน เมื่อปรากฏว่า ก. ได้ตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินของตนกับจำเลยที่ 1 และได้ยอมให้จำเลยที่ 1 เข้าทำถนนในที่ดินดังกล่าวจึงเท่ากับมีการชำระหนี้บางส่วน ย่อมฟ้องร้องบังคับคดีกัน ตามสัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินนั้นได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 519 ประกอบมาตรา 456 วรรคสอง
การที่จำเลยที่ 1 เข้าครอบครองที่ดิน ส.ค. 1 ของ ก. และทำเป็นถนนสาธารณะจึงเป็นการยึดถือแทน ก. จ. บิดาโจทก์ และโจทก์ผู้มีสิทธิครอบครอง มิใช่ยึดถือในฐานะเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครอง และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินนั้น ไปยัง ก. หรือ จ. หรือโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาจะยึดถือที่ดินนั้นแทน ก. หรือ จ. หรือโจทก์ต่อไป อันจะถือเป็นการแย่งการครอบครองที่ดินดังกล่าว เมื่อถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้แย่งการครอบครองที่ดินดังกล่าว กรณีจึงยังไม่อาจเริ่มนับระยะเวลาที่ฝ่ายโจทก์ถูกแย่งการครอบครองที่ดินนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสองได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่อาจโอนที่ดินสาธารณประโยชน์สระสิมโดยออกพระราชบัญญัติโอนที่ดินนั้นแก่โจทก์ตามสัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินอันเป็นสัญญาต่างตอบแทนได้ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีสิทธิได้รับโอนที่ดินของโจทก์จากโจทก์ และจำเลยที่ 1 ต้องคืนที่ดินนั้นแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่อาจคืนที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ราคาที่ดินนั้นแก่โจทก์ได้
เมื่อการแลกเปลี่ยนที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินกับที่ดิน ส.ค. 1 ระหว่างฝ่ายจำเลยที่ 1 กับฝ่ายโจทก์เป็นสัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินโดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยที่ 1 จะดำเนินการเกี่ยวกับการออกพระราชบัญญัติเพื่อโอนที่ดิน สาธารณสมบัติของแผ่นดินเพื่อแลกเปลี่ยนกับที่ดินของฝ่ายโจทก์ มิใช่สัญญาแลกเปลี่ยนที่ดินเสร็จเด็ดขาด สัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินดังกล่าวจึงบังคับกันได้ และหากมีพระราชบัญญัติให้โอนที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้โจทก์ ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นก็สามารถโอนให้โจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1305 ดังนี้ การกระทำของนายกเทศมนตรีซึ่งเป็นผู้แทนจำเลยที่ 1 ในขณะทำสัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 900/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินหลังแลกเปลี่ยน-เวนคืน แม้สัญญาโมฆะ แต่สิทธิครอบครองยังคงอยู่
การที่โจทก์จำเลยต่างมีสิทธิครอบครองในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกันครอบครองโดยเด็ดขาด เมื่อจำเลยโต้แย้งสิทธิครอบครองของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 และแม้การแลกเปลี่ยนที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยจะตกเป็นโมฆะ เพราะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 ประกอบมาตรา 519 ก็ตาม แต่เมื่อต่างฝ่ายต่างได้สละการครอบครองและส่งมอบที่ดินให้อีกฝ่ายยึดถือครอบครองแล้วเช่นนี้ โจทก์และจำเลยย่อมได้สิทธิครอบครองในที่ดินส่วนนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 มาตรา 1377 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1378
แม้ที่ดินพิพาทจะถูกเวนคืนไปแล้ว และโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินและโอนเปลี่ยนชื่อทางทะเบียนให้แก่โจทก์ เนื่องจากสัญญาแลกเปลี่ยนที่ดินตกเป็นโมฆะก็ตาม แต่ศาลฎีกาก็เห็นสมควรพิพากษาให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินส่วนดังกล่าวในขณะที่ที่ดินถูกเวนคืน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการรับเงินค่าทดแทนจากทางราชการซึ่งไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เพราะเป็นสิทธิอย่างเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4553/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแลกเปลี่ยนที่ดินถือเป็นขาย, การงดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา
ป. รัษฎากร มาตรา 39 บัญญัติคำว่า "ขาย" ให้หมายความรวมถึง ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้ โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าด้วยวิธีใด และไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ ดังนั้น แม้โจทก์จะทำสัญญาแลกเปลี่ยนที่ดินกับผู้อื่นก็มีผลเท่ากับโจทก์ขายที่ดิน จึงต้องถือราคาขายที่ดินเป็นเงินได้ของโจทก์ หาใช่ถือเอาเฉพาะเงินที่โจทก์ได้รับมาเป็นรายได้ไม่ ที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดราคาขายตามราคาตลาดในวันที่โอนที่ดินโดยอาศัยอำนาจตาม ป. รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (4) จึงชอบแล้ว
โจทก์มิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงการชำระภาษี ทั้งโจทก์ให้ความร่วมมือแก่เจ้าพนักงานประเมินในการตรวจสอบ ประกอบกับโจทก์มีวัตถุประสงค์เพื่ออุดหนุนและบำรุงการศึกษาบาลีของภิกษุสามเณร ที่ศาลภาษีอากรกลางงดเบี้ยปรับแก่โจทก์จึงชอบแล้ว
ป. รัษฎากร มาตรา 27 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บุคคลใดไม่เสียหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในหมวดต่าง ๆ แห่งลักษณะนี้เกี่ยวกับภาษีอากรประเมินให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ" และมาตรา 27 ทวิ บัญญัติว่า เบี้ยปรับตามมาตรา 22 และมาตรา 26 และเงินเพิ่มตามมาตรา 27 ให้ถือเป็นเงินภาษี และเบี้ยปรับดังกล่าวอาจงดหรือลดลงได้ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีตามบทบัญญัติดังกล่าว จะเห็นได้ว่าเงินเพิ่มเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายมิได้เกิดจากข้อสัญญาที่ลูกหนี้ให้ไว้แก่เจ้าหนี้ และเฉพาะเบี้ยปรับเท่านั้นที่จะงดหรือลดลงได้ส่วนเงินเพิ่มไม่อาจกระทำเช่นนั้นได้ เงินเพิ่มจึงมิใช่เบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. ศาลอาจใช้ดุลพินิจลดลงได้ ที่ศาลภาษีอากรกลางงดเงินเพิ่มให้แก่โจทก์เป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4553/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแลกเปลี่ยนที่ดินถือเป็นการขาย ต้องเสียภาษีเงินได้ตามราคาตลาด เงินเพิ่มตามกฎหมายมิใช่เบี้ยปรับ ลดไม่ได้
ประมวลรัษฎากร มาตรา 39 บัญญัติคำว่า "ขาย" ให้หมายความรวมถึง ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้ โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าด้วยวิธีใด และไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ ดังนั้น แม้โจทก์จะทำสัญญาแลกเปลี่ยนที่ดินกับผู้อื่นก็มีผลเท่ากับโจทก์ขายที่ดินนั่นเอง จึงต้องถือราคาขายที่ดินเป็นเงินได้ของโจทก์ มิใช่ถือเอาเฉพาะเงินบริจาคบำรุงมูลนิธิโจทก์ที่โจทก์ได้รับมาเป็นรายได้ ที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดราคาขายตามราคาตลาดในวันที่ดินโอนที่ดินโดยอาศัยอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (4) จึงชอบแล้ว
เงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากรเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายมิได้เกิดจากข้อสัญญาที่ลูกหนี้ให้ไว้แก่เจ้าหนี้ จึงมิใช่เบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ศาลจะใช้ดุลพินิจลดลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแลกเปลี่ยนที่ดิน แม้ยังมิได้จดทะเบียน แต่มีผลผูกพันเมื่อมีการส่งมอบครอบครอง
จำเลยนำที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ของจำเลยไปแลกเปลี่ยนกับที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ของโจทก์โดยโจทก์จำเลยตกลงจะไปจดทะเบียนโอนสิทธิในภายหลัง ดังนี้ แม้การแลกเปลี่ยนที่ดินพิพาทยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม แต่จำเลยส่งมอบที่ดินให้โจทก์ครอบครอง อันเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาบางส่วนแล้ว สัญญาแลกเปลี่ยนจึงบังคับได้เช่นเดียวกับสัญญาจะขายหรือจะซื้อสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456วรรคสอง ไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแลกเปลี่ยนที่ดิน แม้ยังมิได้จดทะเบียน แต่มีเจตนาและส่งมอบการครอบครองแล้ว ย่อมบังคับใช้ได้
การแลกเปลี่ยนนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา519กำหนดให้นำบทบัญญัติทั้งหลายในลักษณะซื้อขายใช้ถึงการแลกเปลี่ยนด้วยดังนี้แม้การแลกเปลี่ยนที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยจะยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตามแต่จำเลยส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ครอบครองตลอดมาเป็นเวลาประมาณ10ปีอันเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาบางส่วนแล้วสัญญาแลกเปลี่ยนดังกล่าวจึงบังคับได้เช่นเดียวกับสัญญาจะขายหรือจะซื้ออสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456วรรคสองหาเป็นโมฆะไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3484/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามข้อตกลงแลกเปลี่ยนที่ดิน: ศาลพิพากษาให้จดทะเบียนโอน หากปฏิบัติได้ตามคำขอหลัก คำขอค่าเสียหายไม่จำเป็น
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งแยกที่ดินแล้วจดทะเบียนโอนใส่ชื่อโจทก์ตามข้อตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกัน ถ้าจำเลยไม่ปฏิบัติให้ใช้ค่าเสียหายศาลพิพากษาให้โจทก์และจำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินแลกเปลี่ยนตอบแทนกัน ส่วนคำขอที่เรียกค่าเสียหายให้ยก โดยวินิจฉัยว่าโจทก์และจำเลยได้ตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกันแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย เป็นการพิพากษาในประเด็นค่าเสียหายและพิพากษาตามคำขอในฟ้องครบถ้วนแล้ว เพราะโจทก์ฟ้องบังคับให้แลกเปลี่ยนที่ดินเป็นประธาน ส่วนค่าเสียหายเป็นคำขอต่อเนื่อง เมื่อสามารถปฏิบัติตามคำขอประธานแล้วก็ไม่จำต้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำต่อเนื่องอีก และมิใช่กรณีที่จำเลยจะเลือกชำระได้ตามลำพัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3484/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับให้มีการแลกเปลี่ยนที่ดินตามข้อตกลงเดิม และการยกคำขอค่าเสียหายเมื่อมีการปฏิบัติตามข้อตกลงแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งแยกที่ดินแล้วจดทะเบียนโอนใส่ชื่อโจทก์ตามข้อตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกันถ้าจำเลยไม่ปฏิบัติให้ใช้ค่าเสียหายศาลพิพากษาให้โจทก์และจำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินแลกเปลี่ยนตอบแทนกันส่วนคำขอที่เรียกค่าเสียหายให้ยกโดยวินิจฉัยว่าโจทก์และจำเลยได้ตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกันแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายเป็นการพิพากษาในประเด็นค่าเสียหายและพิพากษาตามคำขอให้ฟ้องครบถ้วนแล้วเพราะโจทก์ฟ้องบังคับให้แลกเปลี่ยนที่ดินเป็นประธานส่วนค่าเสียหายเป็นคำขอต่อเนื่องเมื่อสามารถปฏิบัติตามคำขอประธานแล้วก็ไม่จำต้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำต่อเนื่องอีกและมิใช่กรณีที่จำเลยจะเลือกชำระได้ตามลำพัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3586/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแลกเปลี่ยนที่ดินมือเปล่ามีผลผูกพันตามกฎหมาย แม้ไม่ได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียน
การแลกเปลี่ยนที่ดินมือเปล่า เพียงแต่สละสิทธิครอบครองให้แก่กันก็มีผลสมบูรณ์ใช้ยันคู่กรณีได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
of 3