คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แสตมป์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8740/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารสัญญาที่ไม่สมบูรณ์ (ปิดแสตมป์ไม่ถูกต้อง) ใช้เป็นหลักฐานทางแพ่งไม่ได้
การที่โจทก์ปิดแสตมป์บนสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันไม่บริบูรณ์ จะใช้เอกสารทั้งสองฉบับเป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้ ถือได้ว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมหรือผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ โจทก์จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองไม่ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง และมาตรา 680 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7275/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจฟ้องคดีต้องปิดแสตมป์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย และเจ้าหนี้ฟ้องผู้ค้ำประกันโดยไม่ฟ้องลูกหนี้ก็ได้
ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดี มีข้อความว่า "โดยหนังสือฉบับนี้ ข้าพเจ้า บริษัท น. โดย ท. กรรมการผู้มีอำนาจ ขอมอบอำนาจให้ ก. และ / หรือ ข. เป็นผู้รับมอบอำนาจ โดยให้มีอำนาจยื่นฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแพ่งและคดีอาญาต่อศาลที่มีอำนาจกับบริษัท อ. ธนาคาร ก. และ ส. จนคดีถึงที่สุด และในการนี้ให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจ ดังต่อไปนี้? เป็นการมอบอำนาจให้มีอำนาจกระทำการได้หลายครั้ง กล่าวคือ ฟ้องคดีแพ่งได้หลายคดี และยังฟ้องคดีอาญาได้อีกหลายคดีทั้งผู้ถูกฟ้องที่ระบุไว้ 3 ราย อาจถูกฟ้องแยกคดีจากกันได้ด้วย ในส่วนของผู้รับมอบอำนาจมี 2 คน เชื่อมด้วยสันธาน "และ / หรือ" จึงอยู่ในบังคับทั้งข้อ 7 (ข) และ (ค) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ต้องปิดแสตมป์ ตามข้อ 7 (ค) ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่า คำนวณได้เป็นเงิน 60 บาท โจทก์ปิดแสตมป์มาเพียง 30 บาท โจทก์จึงใช้ใบมอบอำนาจฉบับนี้เป็นหลักฐานในคดีนี้ไม่ได้ ตามความในประมวลรัษฎากร มาตรา 118
จำเลยให้การต่อสู้ในเรื่องการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีว่า ท. ไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนโจทก์ ในขณะทำหนังสือมอบอำนาจ และตราประทับในหนังสือมอบอำนาจไม่ใช่ตราสำคัญของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้ จึงเกิดภาระแก่โจทก์ที่จะต้องนำสืบพิสูจน์ว่าการมอบอำนาจกระทำโดยชอบแล้ว
ท.จะใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนโจทก์หรือไม่ ใบมอบอำนาจย่อมไม่ใช่พยานหลักฐานที่จะพิสูจน์ปัญหาข้อนี้ แต่ตราประทับในหนังสือมอบอำนาจใช่ตราสำคัญของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้หรือไม่ โจทก์จำเป็นต้องใช้ ใบมอบอำนาจเป็นพยาน เพื่อการเปรียบเทียบตราประทับในใบมอบอำนาจกับตราสำคัญที่จดทะเบียนไว้ เมื่อใบมอบอำนาจต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานเสียแล้ว และตามหนังสือรับรองมีเงื่อนไขว่าการกระทำในนามบริษัทโจทก์จะต้องประทับตราสำคัญด้วย จึงรับฟังไม่ได้ว่าการมอบอำนาจให้ฟ้องจำเลยได้กระทำโดยชอบแล้ว
เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะฟ้องเฉพาะผู้ค้ำประกันโดยไม่ฟ้องลูกหนี้ก็ได้ แม้ผู้ค้ำประกันจะไม่ได้เป็นลูกหนี้ร่วมกับ ลูกหนี้ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันไม่ติดแสตมป์ใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้ และการฟ้องซ้ำประเด็นที่ตัดสินแล้วในคดีอาญา
ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร ข้อ 17 กำหนดให้ผู้ค้ำประกันเป็นผู้ที่ต้องเสียอากร โดยมีข้อยกเว้นไม่ต้องเสียอากรสำหรับตราสารค้ำประกันหนี้เนื่องแต่การที่สหกรณ์ให้สมาชิกกู้ยืมหรือยืมเท่านั้น แต่ตามหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทเป็นการค้ำประกันความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นตามสัญญาจ้างจำเลยเป็นผู้จัดการของโจทก์ จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากร และไม่มีกฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนสัญญาค้ำประกัน ดังนั้น แม้โจทก์ซึ่งเป็นสหกรณ์จะเป็นคู่สัญญาก็ไม่ได้รับยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์หรือค่าธรรมเนียมตาม พ.ร.บ สหกรณ์พ.ศ.2511 มาตรา 9
แม้โจทก์จะได้ขออนุญาตนำหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทไปเสียอากรและเงินเพิ่มอากรเพื่อให้มีผลเป็นตราสารที่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 117 แต่โจทก์จะต้องกระทำก่อนหรือในขณะที่ได้นำเอกสารนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งก่อนศาลชั้นต้นตัดสินชี้ขาด โจทก์นำหนังสือค้ำประกันไปเสียอากรและเงินเพิ่มอากรภายหลังที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว หนังสือค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้มิได้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 118
กรณีจำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยจะต้องรับผิดตามหนังสือค้ำประกันตามฟ้อง ดังนี้ เมื่อหนังสือค้ำประกันใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้มิได้แล้ว คดีย่อมไม่มีทางที่จะให้จำเลยต้องรับผิดตามฟ้องได้ จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์เสียได้
เงินที่จำเลยยักยอกไปตามฟ้องเป็นเงินจำนวนเดียวกับที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหายักยอกทรัพย์ โดยมีคำขอทางแพ่งให้จำเลยคืนเงินดังกล่าว คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหาย การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ให้รับผิดชำระเงินจำนวนเดียวกับในคดีอาญา จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องคดีแพ่งในประเด็นที่ศาลในคดีอาญาได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงต้องห้ามตามป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือสัญญากู้เงินที่มิได้ขีดฆ่าแสตมป์ ทำให้ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์และได้รับเงินกู้ไปแล้ว จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยกู้เงินโจทก์ ลายมือชื่อในสัญญากู้เป็นลายมือชื่อปลอม โจทก์จะต้องอ้างสัญญากู้เป็นพยานหลักฐานในคดี เมื่อหนังสือสัญญากู้เงินที่โจทก์อ้างเป็นพยานหลักฐานต่อศาลมิได้ขีดฆ่าแสตมป์ จึงใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ดังนี้ ถือว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานที่จะรับฟังว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ที่ไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ (ไม่ขีดฆ่า) ใช้เป็นหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ แม้จำเลยยอมรับลายมือชื่อ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์และได้รับเงินกู้ไปแล้วจำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยกู้เงินโจทก์ ลายมือชื่อในสัญญากู้เป็นลายมือชื่อปลอม โจทก์จะต้องอ้างสัญญากู้เป็นพยานหลักฐานในคดีเมื่อหนังสือสัญญากู้เงินที่โจทก์อ้างเป็นพยานหลักฐานต่อศาลมิได้ขีดฆ่าแสตมป์ จึงใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ดังนี้ ถือว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานที่จะรับฟังว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3623/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตราสารปิดแสตมป์ไม่สมบูรณ์ใช้ไม่ได้ในคดีแพ่ง แต่ใช้ได้ในคดีอาญา
ตราสารที่ปิดแสตมป์ไม่บริบูรณ์จะใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้เฉพาะในคดีแพ่งเท่านั้น ไม่รวมถึงคดีอาญา แม้หนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์จะปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วนบริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรก็เป็นการร้องทุกข์ที่ชอบด้วยกฎหมาย พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3623/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจปิดแสตมป์ไม่ครบ ไม่กระทบอำนาจสอบสวนคดีอาญา
ตราสารที่ปิดแสตมป์ไม่บริบูรณ์จะใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้เฉพาะในคดีแพ่งเท่านั้น ไม่รวมถึงคดีอาญา แม้หนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์จะปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วนบริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรก็เป็นการร้องทุกข์ที่ชอบด้วยกฎหมาย พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1014/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้ที่ไม่มีการขีดฆ่าแสตมป์ แม้ปิดแสตมป์ครบถ้วน ก็ใช้เป็นหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้
ในคดีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยอาศัยเหตุแต่เพียงว่าจำเลยขาดนัดไม่ได้ ศาลจะต้องพิจารณาให้ได้ความว่าข้ออ้างของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายด้วย
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมจะต้องอยู่ภายใต้บังคับประมวลรัษฎากรว่า จะต้องปิดแสตมป์ตามอัตราที่กฎหมายกำหนดและขีดฆ่าแสตมป์แล้ว เมื่อปรากฏว่าหนังสือสัญญากู้ยืมเงินแม้จะปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราที่กฎหมายกำหนด แต่ไม่ได้มีการขีดฆ่าแสตมป์ ซึ่งตามบทบัญญัติ มาตรา118 แห่งประมวลรัษฎากรห้ามมิให้ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง โจทก์จึงไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมมาฟ้องร้องบังคับจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2667/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารราชการ แสตมป์ และเครื่องมือปลอมแปลง ศาลตัดสินลงโทษเฉพาะความผิดฐานปลอมแปลงแสตมป์
แบบใบอนุญาตขับรถเป็นเอกสารราชการซึ่งเจ้าพนักงานได้จัดทำขึ้นตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(8) ผู้ใดจะทำขึ้นเองไม่ได้การที่จำเลยพิมพ์แบบใบอนุญาตขับรถขึ้นเอง โดยปรากฏข้อความบางส่วนให้เห็นเป็นประจักษ์ว่าเป็นแบบใบอนุญาตของทางราชการที่แท้จริง แม้ยังไม่กรอกข้อความอื่นลงไปก็เป็นการปลอมข้อความบางส่วนลงไปแล้วจึงเป็นการปลอมเอกสารราชการ จำเลยปลอมแสตมป์ที่ใช้สำหรับการภาษีอากรอันเป็นความผิดตามมาตรา 254 และจำเลยมีเครื่องมือหรือวัตถุเพื่อใช้ในการปลอมอันเป็นความผิดตามมาตรา 261 ด้วย จึงลงโทษจำเลยตามมาตรา 254 ได้เพียงกระทงเดียวตามมาตรา 263 แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง,225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2561/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: ยาสูบหลีกเลี่ยงภาษีและไม่มีแสตมป์ ศาลลงโทษกระทงเดียวได้
เมื่อจำเลยรับเอายาสูบที่มีผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรแล้วย่อมเป็นเวลาเดียวกันกับที่จำเลยมียาสูบจำนวนเดียวกันนั้นไว้ในครอบครองโดยมิได้ปิดแสตมป์ยาสูบอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาสูบ ดังนี้ จำเลยมีเจตนาในผลอย่างเดียวกันคือการหลีกเลี่ยงที่จะไม่ต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมายการกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท แม้โจทก์แยกบรรยายการกระทำความผิดของจำเลยในฟ้องเป็นคนละข้อเพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นการกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกันและจำเลยให้การรับสารภาพ ก็ลงโทษจำเลยหลายกรรมเป็นกระทงความผิดไม่ได้
of 3