คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แหล่งที่มา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5669/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรต้องพิจารณาของประเภทเดียวกัน ชนิดเดียวกัน แหล่งที่มา และระยะเวลาที่นำเข้า
คำว่า "ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด" หรือ "ราคา" แห่งของอย่างใด ตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ มาตรา 2 นั้น หมายความว่า "ราคาขายส่งเงินสด (ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร) ซึ่งจะพึงขายของประเภทและ ชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่นำของเข้าหรือส่งออก แล้วแต่กรณีโดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด" ฉะนั้นการที่ จะนำราคาของของที่มาจากคนละแห่งคนละยี่ห้อ ทั้งไม่ปรากฏว่าได้ นำเข้ามาในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกันหรือไม่อย่างไร มาถือว่าเป็นราคาเดียวกันนั้น จึงเป็นการประเมินราคาที่ไม่อยู่ในเงื่อนไข ตามที่กฎหมายบัญญัติ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์แหล่งที่มาของไม้แปรรูปเป็นสาระสำคัญในการฟ้องผิดตามพ.ร.บ.ป่าไม้ หากโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าไม้มาจากในป่า คดีความไม่สามารถดำเนินต่อไปได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยนำไม้ยางพาราซึ่งเป็นไม้ที่ทำ โดยไม่ต้องรับอนุญาตบรรทุกรถยนต์ออกไปถึงด่านป่าไม้ด่านแรกแล้วนำเคลื่อนที่ไปโดยไม่มีใบเบิกทางกำกับ โดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จำเลยรับสารภาพตามฟ้อง เมื่อศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ศาลก็ย่อมจะพิพากษายกฟ้องของโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185
คำว่า "ไม้ที่ทำ" ตามมาตรา 38 (2) อยู่ในความหมายของคำว่า "ทำไม้" ตามมาตรา 4(5) คือ การตัด ฟัน กาน โค่น ลิด เลื่อย ผ่าน ถาก ทอน ขุด ชักลากไม้ในป่าหรือนำออกจากป่าด้วยประการใด ๆ และหมายความรวมถึงการกระทำดังกล่าวกับไม้สักหรือไม้ยางที่ขึ้นอยู่ในที่ดินซึ่งมิใช่ป่า หรือการนำไม้สักหรือไม้ยางออกจากที่ดินที่ไม้นั้น ๆ ขึ้นอยู่ด้วย เห็นได้ว่า การทำไม้นั้นนอกจากไม้สักหรือไม้ยางแล้วหมายถึงเฉพาะไม้ที่อยู่ในป่าเท่านั้น การนำไม้ที่ทำเคลื่อนที่ตามมาตรา 38 (2) ซึ่งเมื่อนำออกมาถึงด่านป่าไม้ด่านแรกแล้วจะต้องเสียค่าธรรมเนียมและเมื่อจะนำเคลื่อนที่ต่อไปจะต้องมีใบเบิกทางของเจ้าพนักงานไปด้วยตามมาตรา 39 ต้องเป็นไม้ที่ทำจากไม้ในป่านั่นเอง ข้อเท็จจริงที่ว่าไม้ของกลางเป็นไม้ที่ทำจากป่าหรือไม่จึงเป็นสาระสำคัญแห่งคดี เมื่อโจทก์แถลงว่าไม่ทราบว่าไม้ (ยางพารา) ของกลางเป็นไม้ที่ได้มาจากป่าหรือไม่ ศาลจึงลงโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีป่าไม้: การพิสูจน์แหล่งที่มาของไม้เป็นสาระสำคัญ หากโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าไม้มาจากป่า ศาลย่อมยกฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยนำไม้ยางพาราซึ่งเป็นไม้ที่ทำโดยไม่ต้องรับอนุญาตบรรทุกรถยนต์ออกไปถึงด่านป่าไม้ด่านแรกแล้วนำเคลื่อนที่ไปโดยไม่มีใบเบิกทางกำกับ โดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จำเลยรับสารภาพตามฟ้อง เมื่อศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ศาลก็ย่อมจะพิพากษายกฟ้องของโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา185
คำว่า 'ไม้ที่ทำ' ตามมาตรา 38(2) อยู่ในความหมายของ คำว่า 'ทำไม้' ตามมาตรา 4(5) คือ การตัดฟัน การ โค่น ลิดเลื่อยผ่าถาก ทอน ขุด ชักลากไม้ในป่าหรือ นำออกจากป่าด้วยประการใด ๆ และหมายความรวมถึงการกระทำดังกล่าวกับไม้สักหรือไม้ยางที่ขึ้นอยู่ในที่ดินซึ่งมิใช่ป่า หรือการนำไม้สักหรือไม้ยางออกจากที่ดินที่ไม้นั้น ๆ ขึ้นอยู่ด้วย เห็นได้ว่า การทำไม้นั้นนอกจากไม้สักหรือไม้ยางแล้วหมายถึงเฉพาะไม้ที่อยู่ในป่าเท่านั้น การนำไม้ที่ทำเคลื่อนที่ตามมาตรา 38(2)ซึ่งเมื่อนำออกมาถึงด่านป่าไม้ด่านแรกแล้วจะต้องเสียค่าธรรมเนียมและเมื่อจะนำเคลื่อนที่ต่อไปจะต้องมีใบเบิกทางของเจ้าพนักงานไปด้วยตามมาตรา 39 ต้องเป็นไม้ที่ทำจากไม้ในป่านั่นเอง ข้อเท็จจริงที่ว่าไม้ของกลางเป็นไม้ที่ทำจากป่าหรือไม่ จึงเป็นสารสำคัญแห่งคดีเมื่อโจทก์แถลงว่าไม่ทราบว่าไม้(ยางพารา)ของกลางเป็นไม้ที่ได้มาจากป่าหรือไม่ ศาลจึงลงโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 121/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายข้าวสารต้องพิสูจน์แหล่งที่มา หากไม่สามารถพิสูจน์ว่าข้าวสารได้มาจากการซื้อจากร้านค้าที่รัฐกำหนด ศาลลงโทษฐานฝ่าฝืน พ.ร.บ.การค้าข้าวไม่ได้
ความในประกาศของคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พ.ศ.2489 ฉบับที่ 98 พ.ศ.2517 นั้นเห็นได้ชัดว่าที่จะถือได้ว่าผู้ใดกระทำการฝ่าฝืนประกาศดังกล่าวจะต้องได้ความว่าผู้นั้นได้รับซื้อหรือขายข้าวสารที่มีการซื้อหรือได้มาจากร้านค้าย่อยในความสงเคราะห์ของกรมการค้าภายในหรือจากร้านสมทบจำหน่ายข้าวสารหรือจากที่ว่าการเขตต่างๆ ที่ทางราชการกำหนดให้เป็นผู้จำหน่ายปลีกแก่ประชาชน เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าข้าวสารของกลางเป็นข้าวสารที่มีความเป็นมาดังกล่าวแล้ว ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 543/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่การพิสูจน์สินค้าผิดกฎหมาย: โจทก์ต้องพิสูจน์แหล่งที่มาก่อนจำเลย
เมื่อคดียังเป็นที่โต้เถียงกันอยู่ว่าสินค้าของกลางเป็นของที่นำเข้ามาจากต่างประเทศอันจะต้องเสียภาษีศุลกากรหรือว่าเป็นของที่ผลิตขึ้นในประเทศ โจทก์ย่อมมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความก่อน ถ้าได้ความว่าเป็นของที่นำเข้ามาจากต่างประเทศอันจะต้องเสียภาษีแล้ว จึงจะเป็นหน้าที่ของจำเลยตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 100 ที่จะต้องพิสูจน์ต่อไปว่าได้นำเข้ามาโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1075/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งแหล่งที่มาของช้างที่ถูกริบ และขอบเขตการฎีกาในประเด็นข้อเท็จจริง
ในกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องให้ริบช้างของจำเลยโดยฟังว่าช้างถูกนำเข้ามาจากประเทศพะม่านั้น จำเลยจะฎีกาคัดค้านว่าช้างมิได้ถูกนำมาจากประเทศพะม่าแต่เช่าผู้อื่นมาจากในเขตประเทศไทยไม่ได้เพราะถือว่าจำเลยฎีกาค้านในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาในเรื่องนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1075/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งแหล่งที่มาของช้างที่ถูกริบ: ข้อจำกัดในการฎีกาข้อเท็จจริง และการปรับบทลงโทษ
ในกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องให้ริบช้างของจำเลยโดยฟังว่าช้างถูกนำเข้ามาจากประเทศพม่านั้น จำเลยจะฎีกาคัดค้านว่าช้างมิได้ถูกนำมาจากประเทศพม่าแต่เช่าผู้อื่นมาจากในเขตประเทศไทยไม่ได้ เพราะถือว่าจำเลยฎีกาค้านในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาในเรื่องนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1562/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์ของผู้ครอบครองไม้หวงห้าม: การซื้อโดยสุจริตต้องพิสูจน์แหล่งที่มาที่ชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 69 บัญญัติเป็นพิเศษให้ผู้ครอบครองไม้ประเภทหวงห้ามซึ่งยังมิได้แปรรูปและไม่มีรอยตราค่าภาคหลวงประทับ อันมีรูปลักษณะซึ่งเห็นได้ชัดว่าน่าจะเป็นไม้ป่านั้น เป็นผู้นำสืบพิศูจน์หักล้างความผิด คือสืบว่าตนได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยต่อสู้ว่าซื้อไม้ดังกล่าวไว้โดยสุจริตจากผู้ซึ่งได้ตัดไม้นั้นจากที่ดินตามใบเหยียบย่ำเมื่อสืบฟังได้แต่เพียงว่าซื้อ ไม้นั้นไว้จากผู้มีชื่อ ส่วนการที่ได้ตัดไม้นั้นจากที่ดินตามใบเหยียบย่ำนั้นสืบฟังไม่ได้ ดังนี้ จำเลยยังไม่พ้นผิดคงต้องมีความผิดตามมาตรา 69

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1609/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจตามประกาศคณะกรรมการค้าข้าว: การพิสูจน์แหล่งที่มาของประกาศที่ใช้บังคับเป็นองค์ความผิดสำคัญ
ประกาศของพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำจังหวัดจะใช้บังคับได้ ต้องปรากฎว่าคณะกรรมการปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.การค้าข้าว ได้ให้อำนาจไว้ ประกาศให้อำนาจของคณะกรรมการปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.การค้าข้าวดังกล่าวไม่ใช่เป็นข้อกฎหมาย แต่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำอันหนึ่งในการกระทำทั้งหลายที่เป็นองค์ความผิด ซึ่งโจทก์จะต้องนำสืบให้ได้ความชัดแจ้ง
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยฝ่าฝืนประกาศของพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะกรรมการปฏิบัติตามการ พ.ร.บ.การค้าข้าว แต่ในฟ้องตอนต้นปรากฎว่าประกาศของพนักงานเจ้าหน้าที่อาศัยอำนาจตามความในประกาศของคณะกรรมการฉะบับเดือนมกราคม 2490 แต่ตามสำเนาประกาศท้ายฟ้องอ้างว่าอาศัยอำนาจตามความในประกาศของคณะกรรมการฉะบับเดือนกรกฎาคม 2490 ดังนี้ แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้ เพราะไม่รู้แน่ว่า ประกาศของพนักงาน ที่โจทก์หาว่าจำเลยฝ่าฝืน ออกมาโดยอาศัยอำนาจของคณะกรรมการฉะบับใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1454/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขนสุราข้ามเขตและแหล่งที่มาของสุรา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการยกลังสุราเข้าร้านไม่ใช่การขนข้ามเขต
จำเลยได้รับอนุญาตให้ขายสุราที่ผลิตขึ้นในจังหวัดฉะเชิงเทราจำเลยได้ขนเหล้าที่ผลิตจากที่อื่นไม่ใช่ผลิตจากจังหวัดฉะเชิงเทราซึ่งอยู่ในลังวางอยู่บนบาทวิถี จะเอาเข้าร้านนั้น ไม่เป็นการขนสุราจากตำบลหนึ่งถึงอีกตำบลหนึ่งหรือจากจังหวัดหนึ่งถึงอีกจังหวัดหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีผิดฐานขนสุรา โดยไม่ได้รับอนุญาต
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีสุรา โดยแสดงไม่ได้ว่าซื้อมาจากผู้ที่ควรขายตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีชั้นในแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2476 กับฐานขนสุราข้ามตำบลตามมาตรา 11, 12 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีชั้นใน จ.ศ. 1248 ศาลชั้นต้นลงโทษฐานขนสุราข้ามเขตต์ตามมาตรา 11, 12 จำเลยฝ่ายเดียวอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง ดังนี้ โจทก์จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยฐานซื้อสุราจากผู้ที่ไม่ควรขายตามมาตรา 4 พ.ร.บ.ภาษีชี้นในแก้ไขเพิ่มเติม 2476 ไม่ได้ เพราะโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ไว้.
of 2