คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โฆษณา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7715/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักษณะบ่งเฉพาะเครื่องหมายการค้า: การพิสูจน์การจำหน่ายเผยแพร่และโฆษณาเพื่อแสดงความแพร่หลาย
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่งแห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 นั้น มีความหมายเพียงว่า ผู้อุทธรณ์จะอุทธรณ์ต่อเจ้าพนักงานอื่นของฝ่ายบริหารต่อไปอีกไม่ได้เท่านั้น หากคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้อุทธรณ์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
คำให้การที่ยกข้อต่อสู้เรื่องฟ้องโจทก์ขาดอายุความในคดีนี้จำเป็นต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวันที่รู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดีด้วย แต่จำเลยไม่ได้ยกประเด็นนี้ขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ อีกทั้งไม่ได้สืบพยานในเรื่องนี้ อุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยจึงไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จึงเป็นกรณีต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225
เครื่องหมายการค้า ~ H2O+ ของโจทก์ได้มีการจำหน่ายเผยแพร่ โฆษณาจนแพร่หลายแล้วตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และโจทก์ได้ปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว ส่วนการพิจารณาว่าเครื่องหมายบริการ ~ H2O+ เป็นเครื่องหมายบริการที่มีลักษณะบ่งเฉพาะหรือไม่ศาลย่อมต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 โดยไม่จำกัดอยู่ว่าจะต้องพิจารณาเฉพาะในประเด็นที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้วินิจฉัยไว้เท่านั้น คำวินิจฉัยของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่ว่าเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการคำว่า ~ H2O+ ของโจทก์เป็นเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการที่มีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงรับจดทะเบียนได้ จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: วันที่โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาหรือหนังสือพิมพ์รายวัน
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 28 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่า 1 ฉบับ และมาตรา 91 กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น หากวันโฆษณาคำสั่งในราชกิจจานุเบกษากับหนังสือพิมพ์รายวันไม่ตรงกัน การนับวันโฆษณาตามมาตรา 91 ต้องนับวันโฆษณาในฉบับหลัง และคำว่า "วันโฆษณา" ตามมาตรา 91 หมายถึงวันที่มีการเผยแพร่หนังสือออกไปยังสาธารณชน คดีนี้คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดได้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันก่อนแล้วจึงลงในราชกิจจานุเบกษา การนับวันโฆษณาจึงต้องนับจากวันโฆษณาในราชกิจจานุเบกษา เมื่อคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดได้ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป ซึ่งจัดพิมพ์แล้วเสร็จและนำออกเผยแพร่ให้กับสมาชิกที่ไปรับหนังสือราชกิจจานุเบกษาที่ส่วนงานราชกิจจานุเบกษาด้วยตนเองเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2545 ดังนี้ จึงฟังได้ว่าวันที่ 14 สิงหาคม 2545 เป็นวันที่มีการเผยแพร่หนังสือราชกิจจานุเบกษาที่ลงประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดไปยังสาธารณชน กำหนดเวลา 2 เดือน จึงเริ่มต้นนับแต่วันดังกล่าวโดยจะครบกำหนดยื่นคำขอรับชำระหนี้ในวันที่ 14 ตุลาคม 2545 เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในวันที่ 27 สิงหาคม 2545 จึงยังอยู่ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 91
คดีนี้เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 91 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังมิได้สอบสวนพยานหลักฐานของเจ้าหนี้ตามมาตรา 105 แต่มีคำสั่งยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยอ้างว่าเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดระยะเวลา ตามมาตรา 91 การที่เจ้าหนี้ยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ต่อศาลชั้นต้นเป็นการใช้สิทธิตามมาตรา 146 เมื่อศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องของเจ้าหนี้ เจ้าหนี้จึงอ้างส่งหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีต่อศาลชั้นต้นเพื่อแสดงว่าเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายได้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวแล้วนำมาวินิจฉัยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโฆษณาชื่อเพลงโดยไม่นำทำนองหรือเนื้อร้องมาใช้ ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันนำเพลง "วันเวลา" และเพลง "เจ็บนิดเดียว" ไปลงโฆษณาเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์และเผยแพร่ทางโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ แต่ทางไต่สวนโจทก์ได้ความว่าการกระทำที่โจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์นั้น เป็นการนำชื่อเพลงดังกล่าวไปลงโฆษณาเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์และเผยแพร่ทางโทรทัศน์และม้วนวิดีโอเทปบันทึกภาพพร้อมเสียง การกระทำที่เป็นการนำเพลงอันมีลิขสิทธิ์ไปลงโฆษณาเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์และเผยแพร่ทางโทรทัศน์ตามฟ้อง กับการนำแต่ชื่อเพลงอันมีลิขสิทธิ์ไปลงโฆษณาเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์และเผยแพร่ทางโทรทัศน์นั้นเป็นการกระทำที่แตกต่างกัน งานเพลงเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทดนตรีกรรม ซึ่งงานดนตรีกรรมที่จะถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 4 จะต้องมีทำนองเพลงหรือโน้ตเพลงหรือแผนภูมิเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้วเป็นหลัก จะมีคำร้องด้วยหรือไม่ก็ได้ ลำพังเฉพาะคำร้องหรือชื่อเพลงยังไม่ถือว่าเป็นงานดนตรีกรรมอันมีลิขสิทธิ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว เมื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ด้วยข้อความว่า "หมดปัญหากับภาษาต่างดาวด้วย SOKEN VCD & DVD โชว์ชื่อเพลง MP3 เป็นภาษาไทย" และมีข้อความว่า "แสดงหน้าจอ MP3 แบบภาษาไทยจาก VCD SOKEN 190" อยู่ใต้จอภาพเครื่องรับโทรทัศน์ ซึ่งมีข้อความในจอภาพนั้นว่า "แผ่นดิสก์ MP3 01 วันเวลา 02 "เจ็บนิดเดียว" ส่วนสปอตโฆษณาทางโทรทัศน์ก็เป็นการโฆษณาเช่นเดียวกับที่ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ จึงเป็นการเอาแต่ชื่อเพลง "วันเวลา" และชื่อเพลง "เจ็บนิดเดียว" มาโฆษณาเผยแพร่ต่อสาธารณชนเท่านั้นมิได้นำทำนองเพลงหรือโน้ตเพลงหรือแผนภูมิเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียงประสานและคำร้องของเพลงทั้งสองดังกล่าวอันเป็นงานดนตรีกรรมมาโฆษณาเผยแพร่ต่อสาธารณชนแต่อย่างใด ลำพังเฉพาะชื่อเพลงทั้งสองมิใช่งานดนตรีกรรมอันมีลิขสิทธิ์ตามความหมายที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 และ 6 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ การนำเอาแต่ชื่อเพลงซึ่งมิใช่งานดนตรีกรรมมาโฆษณาเผยแพร่ต่อสาธารณชนไม่อาจถือเป็นการกระทำอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมได้ ทั้งการกระทำดังกล่าวก็เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะโฆษณาขายสินค้าเครื่องเล่น "VCD SOKEN 190" ของตนเท่านั้น มิได้เจตนากระทำละเมิดลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมนั้นแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยทั้งสามไม่เป็นการละเมิดงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ชื่อเพลงไม่ใช่ดนตรีกรรมที่มีลิขสิทธิ์ การโฆษณาเฉพาะชื่อเพลงไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
การนำแต่ชื่อเพลงอันมีลิขสิทธิ์ไปลงโฆษณาเผยแพร่ในหนังสือและเผยแพร่ทางโทรทัศน์นั้น ลำพังเฉพาะชื่อเพลงยังไม่ถือว่าเป็นงานดนตรีกรรมอันมีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 4 และ 6 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4291/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา: การส่งเอกสารร้องเรียนเฉพาะเจาะจงบุคคลเดียว ไม่ถือเป็นการโฆษณาต่อสาธารณชน
จำเลยที่ 1 ทำหนังสือร้องเรียนซึ่งมีข้อความหมิ่นประมาท น. ยื่นต่อนายอำเภอคอนสารโดยเฉพาะเจาะจง ไม่เป็นการโฆษณาด้วยเอกสาร เพราะหนังสือร้องเรียนดังกล่าวยื่นต่อนายอำเภอคอนสารซึ่งเป็นบุคคลที่สามเพียงคนเดียวเท่านั้น จำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาใส่ความโดยโฆษณาให้บุคคลอื่นทั่วไปทราบนอกจากนายอำเภอคอนสาร จึงไม่เป็นการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3194/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องสัญญาจ้างทำการโฆษณา: สัญญาจ้างทำของ ไม่ใช่สัญญาซื้อขาย
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ให้ทำการโฆษณาผลิตภัณฑ์สินค้าให้จำเลยและโจทก์ตกลงรับจะทำการโฆษณาผลิตภัณฑ์สินค้าให้ เมื่อทำการโฆษณาแล้วจำเลยตกลงจะชำระเงินค่าโฆษณาให้แก่โจทก์ ไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์จำเลยมีเจตนาให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งแก่จำเลย และจำเลยตกลงจะใช้ราคานั้น ไม่เข้าลักษณะสัญญาซื้อขายตาม ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 1 ว่าด้วยซื้อขาย แต่เป็นเรื่องโจทก์ผู้รับจ้างตกลงจะทำการโฆษณาผลิตภัณฑ์สินค้าจนสำเร็จให้แก่จำเลยผู้ว่าจ้าง และจำเลยตกลงจะชำระเงินค่าโฆษณาหรือสินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการงานที่ทำนั้น อันเข้าลักษณะของการจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6273/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินฉ้อโกงประชาชน: จำเลยไม่มีส่วนร่วมในการโฆษณาชักชวนโดยตรง ทำให้ไม่มีความผิด
ข้อเท็จจริงไม่ได้ความจากผู้เสียหายว่า จำเลยทั้งสี่เป็นผู้ร่วมกันโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชนว่าในการกู้ยืมเงินของสมาชิกนั้น บริษัท ค. จะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้ การกระทำของจำเลยเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะลูกจ้างของบริษัท ค. สามีของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นชาวต่างชาติใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ค. แทน ก่อนจำเลยที่ 1 จะถอนชื่อออกจากการเป็นกรรมการของบริษัท ค. จำเลยที่ 1 ไม่ทราบการดำเนินการของบริษัท ค. จึงฟังได้ว่า การลงทุนของผู้เสียหายมิได้เกิดจากการโฆษณาหรือประกาศชักชวนของจำเลยทั้งสี่โดยตรง จำเลยทั้งสี่จึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.ก. การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 4 , 12

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4191/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดวันเริ่มต้นนับระยะเวลาการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ โดยอ้างอิงวันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 90/20 วรรคสี่ และมาตรา 90/24 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 กำหนดว่า เมื่อศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และตั้งผู้ทำแผนแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องดำเนินการโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนในราชกิจจานุเบกษาและหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายไม่น้อยกว่าสองฉบับเพื่อเป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณชน ฉะนั้นกำหนดเวลาที่เจ้าหนี้จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนตามมาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง นั้น ต้องถือเอาวันที่ได้มีการโฆษณาคำสั่งต่อสาธารณชนเป็นสำคัญ หากวันโฆษณาในราชกิจจานุเบกษากับวันโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันไม่ตรงกัน ต้องนับวันที่ประกาศโฆษณาในราชกิจจานุเบกษาซึ่งลงประกาศเป็นฉบับหลังสุด
เมื่อการลงโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนในราชกิจจานุเบกษาไม่ได้ความชัดแจ้งว่าได้นำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนเมื่อใด จึงต้องนับเอาวันที่ได้จัดพิมพ์หนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้วเสร็จและนำออกเผยแพร่ให้สมาชิกรับไปเป็นวันเริ่มต้นนับระยะเวลาวันยื่นคำขอรับชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4191/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดวันเริ่มนับระยะเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ พิจารณาจากวันที่โฆษณาเผยแพร่ต่อสาธารณชน
หลังจากศาลตั้งผู้ทำแผนแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องดำเนินการโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนในราชกิจจานุเบกษาและหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายไม่น้อยกว่าสองฉบับเพื่อเป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณชนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/20 และ 90/24 ฉะนั้นกำหนดเวลาที่เจ้าหนี้จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนตามมาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง ต้องถือเอาวันที่ได้มีการโฆษณาคำสั่งต่อสาธารณชนเป็นสำคัญ หากวันโฆษณาในราชกิจจานุเบกษากับวันโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันไม่ตรงกัน ต้องนับวันโฆษณาในฉบับหลัง เมื่อผู้คัดค้านได้โฆษณาประกาศคำสั่งตั้งผู้ทำแผนในหนังสือพิมพ์ฉบับลงวันที่ 14 มีนาคม 2545 และโฆษณาในราชกิจจานุเบกษาลงวันที่ 2 เมษายน 2545 จึงต้องถือเอาวันที่ได้ลงโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนในราชกิจจานุเบกษา แต่การลงโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนในราชกิจจานุเบกษายังไม่ได้ความชัดแจ้งว่าได้นำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนเมื่อใดอันจะเป็นการเริ่มต้นนับวันยื่นคำขอรับชำระหนี้ เมื่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้จัดพิมพ์หนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้วเสร็จและนำออกเผยแพร่ให้กับสมาชิกที่ไปรับหนังสือราชกิจจานุเบกษาที่ส่วนงานราชกิจจานุเบกษาด้วยตนเองเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2545 คำสั่งโฆษณาตั้งผู้ทำแผนจึงต้องถือเอาวันที่ได้ลงโฆษณาในราชกิจจานุเบกษาฉบับหลังซึ่งได้นำเผยแพร่ต่อสาธารณชนครั้งแรกในวันที่ 17 พฤษภาคม 2545 ไม่ใช่วันที่ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันหรือวันที่ได้ลงในราชกิจจานุเบกษาที่ยังไม่ได้นำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจะได้ส่งแบบฟอร์มยื่นคำขอรับชำระหนี้พร้อมประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้เจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้ภายในหนึ่งเดือนให้เจ้าหนี้ทราบเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2545 ก็เป็นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 90/24 วรรคสอง จะต้องแจ้งคำสั่งดังกล่าวไปยังเจ้าหนี้ทั้งหลาย เป็นคนละกรณีไม่เกี่ยวกับกำหนดวันที่เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในวันที่ 13 มิถุนายน 2545 จึงยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลาหนึ่งเดือนตามมาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4191/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: นับจากวันโฆษณาเผยแพร่ต่อสาธารณชน
หลังจากศาลตั้งผู้ทำแผนแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องดำเนินการโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนในราชกิจจานุเบกษาและหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายไม่น้อยกว่าสองฉบับเพื่อเป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณชนด้วยเช่นกัน ฉะนั้นกำหนดเวลาที่เจ้าหนี้จะต้องยื่นคำรับขอชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง ต้องถือเอาวันที่ได้มีการโฆษณาคำสั่งต่อสาธารณชนเป็นสำคัญหากวันโฆษณาในราชกิจจานุเบกษากับวันโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันไม่ตรงกันต้องนับวันโฆษณาในฉบับหลัง
คำสั่งโฆษณาตั้งผู้ทำแผนคดีนี้ต้องถือเอาวันที่ได้ลงโฆษณาในราชกิจจานุเบกษาฉบับหลังซึ่งได้นำเผยแพร่ต่อสาธารณชนครั้งแรกในวันที่ 17 พฤษภาคม 2545 ไม่ใช่วันที่ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันหรือวันที่ได้ลงในราชกิจจานุเบกษาที่ยังไม่ได้นำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจะได้ส่งแบบฟอร์มยื่นคำขอรับชำระหนี้พร้อมประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้เจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้ภายในหนึ่งเดือนให้เจ้าหนี้ทราบเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2545 ก็เป็นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/24 วรรคสอง ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องแจ้งคำสั่งดังกล่าวไปยังเจ้าหนี้ทั้งหลาย เป็นคนละกรณีไม่เกี่ยวกับกำหนดวันที่เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในวันที่ 13 มิถุนายน 2545 ยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลาหนึ่งเดือนตามมาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง
of 11