พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4581/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาล: การโต้แย้งคำสั่งไม่ต้องแสดงเหตุผล
ป.วิ.พ. มาตรา 226 วรรคหนึ่ง (2) ไม่ได้กำหนดให้คู่ความที่โต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาต้องแสดงเหตุผลที่โต้แย้งคำสั่งนั้นไว้แต่อย่างใด การที่จำเลยยื่นคำแถลงไว้ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยระบุใจความว่า จำเลยขอโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีตามคำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยเพื่อใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาจึงเป็นการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาไว้แล้ว การที่ศาลชั้นต้นสั่งคำแถลงว่ารวมเป็นคำแถลงเท่านั้น ย่อมเป็นการสั่งรับคำแถลงนั้นส่วนที่ศาลชั้นต้นเกษียณสั่งต่อไปว่า หากจะโต้แย้งคำสั่งศาลจะต้องมีเหตุผลที่อ้างว่าด้วยเหตุใดหรือเพราะอะไรจึงโต้แย้ง กรณีแถลงมาลอยๆ มิใช่ใช้สิทธิโต้แย้งก็เป็นความเห็นของศาลชั้นต้นเท่านั้น จึงต้องถือว่าจำเลยโต้แย้งคำสั่งแล้วตามคำแถลงดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4581/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลและการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัด: การโต้แย้งคำสั่งศาลต้องไม่เงื่อนไข และดอกเบี้ยเริ่มนับจากวันผิดนัดจริง
ป.วิ.พ. มาตรา 226 วรรคหนึ่ง ไม่ได้กำหนดให้คู่ความที่โต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาต้องแสดงเหตุผลที่โต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ ดังนั้น การที่จำเลยยื่นคำแถลงก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยระบุใจความว่า จำเลยขอโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีตามคำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยเพื่อใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา จึงเป็นการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาไว้แล้ว ที่ศาลชั้นต้นเกษียณสั่งคำแถลงฉบับนี้ว่ารวมเป็นคำแถลงเท่านั้น ย่อมเป็นการสั่งรับคำแถลงแล้ว ส่วนที่ศาลชั้นต้นเกษียณต่อไปว่า "หากจะโต้แย้งคำสั่งศาลจะต้องมีเหตุผลที่อ้างว่าด้วยเหตุใดหรือเพราะอะไรจึงโต้แย้ง กรณีแถลงมาลอยๆ มิใช่ใช้สิทธิโต้แย้ง" นั้น ก็เป็นเพียงความเห็นของศาลชั้นต้นเท่านั้นจึงต้องถือว่าจำเลยโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นไว้แล้วตามคำแถลงฉบับดังกล่าว ชอบที่จำเลยจะอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ได้
โจทก์มีหนังสือทวงถามฉบับลงวันที่ 21 กันยายน 2541 โดยให้โอกาสจำเลยชำระหนี้ภายใน 10 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวในวันที่ 22 เดือนเดียวกันครบกำหนดตามหนังสือดังกล่าวในวันที่ 2 ตุลาคม 2541 จำเลยไม่ชำระหนี้ตกเป็นการผิดนัดจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2541 อันเป็นวันผิดนัดเป็นต้นไป ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246, 247
โจทก์มีหนังสือทวงถามฉบับลงวันที่ 21 กันยายน 2541 โดยให้โอกาสจำเลยชำระหนี้ภายใน 10 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวในวันที่ 22 เดือนเดียวกันครบกำหนดตามหนังสือดังกล่าวในวันที่ 2 ตุลาคม 2541 จำเลยไม่ชำระหนี้ตกเป็นการผิดนัดจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2541 อันเป็นวันผิดนัดเป็นต้นไป ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246, 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9665/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งคำสั่งศาลต้องกระทำภายในระยะเวลาที่สมควร มิเช่นนั้นถือว่าไม่ได้โต้แย้งและขาดสิทธิอุทธรณ์
ป.วิ.พ. มาตรา 226 มิได้กำหนดระยะเวลาโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาไว้ จึงต้องให้คู่ความมีโอกาสและระยะเวลาพอสมควรที่จะโต้แย้งคำสั่งนั้น แต่มิได้มีความหมายเลยไปจนถึงกับให้คู่ความใช้โอกาสและระยะเวลาเกินสมควรในการโต้แย้งคำสั่งดังกล่าว
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้เรียกบริษัท อ. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมภายหลังที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 2พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าไม่ปรากฏว่าเหตุใดจำเลยที่ 2 ไม่อาจยื่นคำร้องดังกล่าวก่อนนั้นได้ จึงยังไม่สมควรให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ให้ยกคำร้อง ต่อมาได้มีการสืบพยานโจทก์ 2 นัด จำเลยที่ 2 เพิ่งมายื่นคำร้องโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวในนัดที่ 3 คือนัดสืบพยานจำเลยที่ 2 นับระยะเวลานานถึง 4 เดือน 17 วัน จำเลยที่ 2 ใช้โอกาสและระยะเวลาเกินสมควรในการโต้แย้งคำสั่งดังกล่าว การโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวจึงไม่มีผล ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้โต้อย้งคำสั่งศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้เรียกบริษัท อ. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมภายหลังที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 2พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าไม่ปรากฏว่าเหตุใดจำเลยที่ 2 ไม่อาจยื่นคำร้องดังกล่าวก่อนนั้นได้ จึงยังไม่สมควรให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ให้ยกคำร้อง ต่อมาได้มีการสืบพยานโจทก์ 2 นัด จำเลยที่ 2 เพิ่งมายื่นคำร้องโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวในนัดที่ 3 คือนัดสืบพยานจำเลยที่ 2 นับระยะเวลานานถึง 4 เดือน 17 วัน จำเลยที่ 2 ใช้โอกาสและระยะเวลาเกินสมควรในการโต้แย้งคำสั่งดังกล่าว การโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวจึงไม่มีผล ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้โต้อย้งคำสั่งศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7682/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานและการโต้แย้งคำสั่งศาล: การแก้ไขคำแถลงเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
จำเลยยื่นคำแถลงโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลยเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2540 แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งในวันนั้น กลับเพิ่งสั่งคำแถลงเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2540 โดยไม่ปรากฏว่าเพราะเหตุใด แม้ว่าคำแถลงดังกล่าว จำเลยจะระบุหมายเลขคดีผิดพลาดไปก็ตาม แต่จำเลยก็ได้ระบุชื่อโจทก์และจำเลยถูกต้อง ทั้งระบุวันนัดสืบพยานจำเลยซึ่งศาลมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยและวันนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นไว้ถูกต้อง สามารถตรวจสอบได้ว่าคำแถลงโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวนี้เป็นของคดีใด การที่ศาลชั้นต้นเพิ่งมีคำสั่งไม่รับคำแถลงโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2540 ย่อมทำให้จำเลยไม่มีโอกาสทราบคำสั่งศาลชั้นต้นก่อนหน้านี้ได้ ดังนั้น ที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำแถลงโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นในวันเดียวกับที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำแถลงโต้แย้งจึงชอบแล้ว คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำแถลงโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นและไม่รับคำแถลงโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3810/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินเพื่อฟ้องคดีแรงงาน: วางเฉพาะส่วนที่โต้แย้งคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่งกำหนดให้นายจ้างที่ไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานนำคดีไปสู่ศาลได้ภายใน30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง โดยมาตรา 125 วรรคสาม กำหนดให้นายจ้างที่นำคดีไปสู่ศาลต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจึงจะฟ้องคดีได้ ส่วนการวางเงินตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจะต้องให้สอดคล้องกับความไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวด้วย โดยนายจ้างไม่พอใจหรือโต้แย้งคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเท่าใดก็วางเงินเท่าที่ตนโต้แย้ง ไม่จำต้องวางเต็มจำนวนตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเสมอไป เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างไม่พอใจหรือโต้แย้งคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจำเลยแต่เพียงว่าโจทก์ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงินจำนวน 120,000 บาท โจทก์จึงวางเงินเฉพาะจำนวนดังกล่าวได้ และศาลแรงงานจะต้องพิจารณาสั่งคำฟ้องโจทก์ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3810/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินต่อศาลเพื่อฟ้องคดีแรงงาน ต้องสอดคล้องกับส่วนที่โต้แย้งคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเท่านั้น
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่ง กำหนดให้นายจ้างที่ไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานนำคดีไปสู่ศาลได้ภายใน30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง โดยมาตรา 125 วรรคสาม กำหนดให้นายจ้างที่นำคดีไปสู่ศาลต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งพนักงานตรวจ แรงงานจึงจะฟ้องคดีได้ ส่วนการวางเงินตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจะต้องให้สอดคล้องกับความไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวด้วย โดยนายจ้างไม่พอใจหรือโต้แย้ง คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเท่าใดก็วางเงินเท่าที่ตนโต้แย้ง ไม่จำต้องวางเต็มจำนวนตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเสมอไป เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างไม่พอใจหรือโต้แย้งคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจำเลยแต่เพียงว่าโจทก์ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงินจำนวน 120,000 บาท โจทก์จึงวางเงิน เฉพาะจำนวนดังกล่าวได้ และศาลแรงงานจะต้องพิจารณาสั่งคำฟ้องโจทก์ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3810/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินเพื่อฟ้องคดีแรงงาน ศาลต้องพิจารณาเฉพาะส่วนที่นายจ้างโต้แย้งคำสั่ง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่งกำหนดให้นายจ้างที่ไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานนำคดี ไปสู่ศาลได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งโดยมาตรา 125 วรรคสาม กำหนดให้นายจ้างที่นำคดีไปสู่ศาลต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจึงจะฟ้องคดีได้ ส่วนการวางเงินตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจึงจะต้องให้สอดคล้องกับความ ไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวด้วยโดยนายจ้างไม่พอใจหรือโต้แย้ง คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเท่าใดก็วางเงินเท่าที่ตนโต้แย้ง ไม่จำต้องวางเต็มจำนวนตามที่พนักงานตรวจแรงงานสั่งเสมอไป เมื่อโจทก์ไม่พอใจหรือโต้แย้งคำสั่งจำเลยทั้งสองแต่เพียง ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงิน จำนวน 120,000 บาท โจทก์จึงวางเงินเฉพาะจำนวนดังกล่าวได้ และศาลแรงงานกลางชอบที่จะสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5705/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำสืบและการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณา: จำเลยต้องโต้แย้งคำสั่งศาลเพื่อมีสิทธิอุทธรณ์
จำเลยยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2535 ขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดหน้าที่นำสืบใหม่โดยให้โจทก์เป็นฝ่ายนำสืบก่อน แต่ศาลชั้นต้นไม่สั่งแก้ไขให้โดยสั่งคำร้องของจำเลยดังกล่าวว่า "สำเนาให้โจทก์ รวม" คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวมีความหมายว่าไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงหน้าที่นำสืบตามที่กำหนดไว้ในวันชี้สองสถาน ดังนี้ถือได้ว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยต้องโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (2)
ส่วนท้ายคำร้องของจำเลยที่มีข้อความว่า หากศาลไม่เห็นพ้องด้วยกับคำร้องขอให้เปลี่ยนหน้าที่นำสืบ จำเลยขอถือว่าเป็นการแถลงคัดค้านคำสั่งศาลนั้น ไม่ถือเป็นการโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้น เพราะขณะที่จำเลยยื่นคำร้อง ศาลยังไม่ได้มีคำสั่งว่าให้เปลี่ยนหน้าที่นำสืบใหม่หรือไม่ การระบุในคำร้องของจำเลยเช่นนั้นเป็นเพียงการแสดงความประสงค์ของจำเลยไว้ล่วงหน้าก่อนศาลชั้นต้นจะมีคำสั่ง ถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นที่กำหนดหน้าที่นำสืบให้จำเลยนำสืบก่อน จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในข้อนี้
ส่วนท้ายคำร้องของจำเลยที่มีข้อความว่า หากศาลไม่เห็นพ้องด้วยกับคำร้องขอให้เปลี่ยนหน้าที่นำสืบ จำเลยขอถือว่าเป็นการแถลงคัดค้านคำสั่งศาลนั้น ไม่ถือเป็นการโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้น เพราะขณะที่จำเลยยื่นคำร้อง ศาลยังไม่ได้มีคำสั่งว่าให้เปลี่ยนหน้าที่นำสืบใหม่หรือไม่ การระบุในคำร้องของจำเลยเช่นนั้นเป็นเพียงการแสดงความประสงค์ของจำเลยไว้ล่วงหน้าก่อนศาลชั้นต้นจะมีคำสั่ง ถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นที่กำหนดหน้าที่นำสืบให้จำเลยนำสืบก่อน จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในข้อนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นอุทธรณ์ข้ามกำหนด – การยื่นคำโต้แย้งคำสั่งศาล – ผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2533 ซึ่งครบ กำหนดอุทธรณ์ในวันที่ 20 สิงหาคม 2533(วันที่ 19 สิงหาคม 2533 เป็นวันอาทิตย์)จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เมื่อ วันที่ 24 สิงหาคม 2523ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องดังนี้ หากจำเลย ประสงค์จะอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวก็จะต้อง ยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่าน คำสั่งนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 คือต้อง ยื่นภายในวันที่ 24 กันยายน 2533 แต่ปรากฏว่าจำเลยกลับยื่นคำร้องลงวันที่3 กันยายน 2533 โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ตามกฎหมายไม่จำต้องกระทำ การปฏิบัติของจำเลยดังกล่าวจึงหามีผลตามกฎหมายแต่อย่างใดไม่ จำเลยยื่นอุทธรณ์ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์เมื่อ วันที่ 2 ตุลาคม 2533จึงเป็นการยื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนด 1 เดือน ตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6110/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลในการงดสืบพยานและการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาตามกฎหมาย
การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ จึงได้สั่งให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยนั้น เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจวินิจฉัยว่า สมควรจะสืบพยานหรือไม่ มิใช่เป็นเรื่องการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27และคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อจำเลยมีเวลาที่จะโต้แย้งคำสั่งนั้นก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึง 6 วันแต่มิได้โต้แย้งไว้ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2)