พบผลลัพธ์ทั้งหมด 356 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7529/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษคดียาเสพติดและการแก้ไขคำพิพากษาที่ไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติกฎหมาย
คดีนี้โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำนวน 12,000 เม็ด น้ำหนักรวม 84.29 กรัม โดยไม่ปรากฏว่าเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใด กรณีไม่อาจสันนิษฐานให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยว่าเมทแอมเฟตามีน 12,000 เม็ด สามารถคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ถึงสามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัม จึงต้องรับฟังว่าเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึงสามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัม แม้โจทก์จะนำสืบถึงรายงานการตรวจพิสูจน์ว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ถึง 84.29 กรัมก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าวก็มิใช่ส่วนหนึ่งของคำฟ้อง จะนำมาประกอบคำฟ้องของโจทก์เพื่อลงโทษจำเลยในการกระทำความผิดดังกล่าวให้หนักขึ้นมิได้ กรณีต้องด้วยบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 66 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงสิบห้าปี หรือปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสามแสนบาทและตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ เป็นบทกำหนดโทษที่ลงแก่จำเลยที่เป็นพนักงานส่วนท้องถิ่น โดยระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นได้ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจกำหนดโทษที่ลงแก่จำเลยเป็นจำคุกชีวิต และปรับ 3,000,000 บาท โดยมิได้ระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ไม่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลย โดยกำหนดว่า หากจำเลยไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 แต่มิได้ระบุให้กักขังเกิน 1 ปี หรือไม่ มีกำหนดเท่าใดและศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิได้แก้ไขส่วนนี้ เช่นนี้ จะกักขังแทนค่าปรับเกินกำหนด 1 ปี ไม่ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225
ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ห้ามมิให้พิพากษา หรือสั่ง เกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง เมื่ออาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนเป็นเพียงของกลางที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดไว้ในคดีเท่านั้น โจทก์มิได้มีคำขอให้ริบ ศาลจึงพิพากษาหรือสั่งริบของกลางดังกล่าวไม่ได้ และแม้คู่ความมิได้ฎีกาเกี่ยวกับของกลางดังกล่าวก็ตามศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนแก่เจ้าของได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 และ 186 (9)
ศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลย โดยกำหนดว่า หากจำเลยไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 แต่มิได้ระบุให้กักขังเกิน 1 ปี หรือไม่ มีกำหนดเท่าใดและศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิได้แก้ไขส่วนนี้ เช่นนี้ จะกักขังแทนค่าปรับเกินกำหนด 1 ปี ไม่ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225
ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ห้ามมิให้พิพากษา หรือสั่ง เกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง เมื่ออาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนเป็นเพียงของกลางที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดไว้ในคดีเท่านั้น โจทก์มิได้มีคำขอให้ริบ ศาลจึงพิพากษาหรือสั่งริบของกลางดังกล่าวไม่ได้ และแม้คู่ความมิได้ฎีกาเกี่ยวกับของกลางดังกล่าวก็ตามศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนแก่เจ้าของได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 และ 186 (9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4882/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษจำเลยในคดีอาญาเยาวชน: เหตุบรรเทาโทษ, การฝึกอบรม, และการไม่รอการลงโทษ
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าผู้อื่น มีอาวุธปืนและพาอาวุธปืน จำเลยอุทธรณ์ว่าไม่มีเจตนาฆ่า ศาลอุทธรณ์ภาค 6 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้โดยยกฟ้องฐานพยายามฆ่าผู้อื่น แต่ให้ลงโทษฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนได้รับอันตรายแก่กาย จึงมิใช่กรณีที่มีการอุทธรณ์เฉพาะกรณีที่เกี่ยวกับการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนเท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 6 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ เมื่อมีการได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษาที่ได้พิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4517/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดยาเสพติด, การร่วมกระทำความผิด, และการพิจารณาโทษตามกฎหมายที่ใช้บังคับขณะกระทำผิด
จำเลยที่ 2 และที่ 4 ซึ่งเป็นสามีภริยากันนำสิบตำรวจโท อ. เจ้าพนักงานตำรวจที่ทำการล่อซื้อ เดินทางไปติดต่อซื้อเมทแอมเฟตามีนของกลางจากจำเลยที่ 1 ที่บ้านจำเลยที่ 1 ด้วยกัน จำเลยที่ 1 นำเมทแอมเฟตามีนของกลางที่ซุกซ่อนอยู่ในรถยนต์กระบะออกมาให้สิบตำรวจโท อ. ดู แล้วจำเลยที่ 2 ขอยืมรถยนต์กระบะของจำเลยที่ 1 ขับพาจำเลยที่ 4 และสิบตำรวจโท อ. ไปตลาดนิคมเพื่อรับเงินที่ซื้อเมทแอมเฟตามีนของกลางด้วยกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 4 เป็นการกระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 แล้ว แต่เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างประจำ ตำแหน่งนักการภารโรงสถานีตำรวจภูธร อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี จำเลยที่ 1 จึงมิใช่พนักงานองค์การและหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100 จึงไม่อาจปรับบทมาตราดังกล่าวสำหรับจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4215/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษคดียาเสพติด (ฝิ่น) ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ มาตรา 69 วรรคสาม และผลของการแก้ไขกฎหมาย
การมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายซึ่งฝิ่นอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องหรือนำสืบว่ามีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้จำนวนเท่าใดก็ต้องปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 69 วรรคสาม เนื่องจากบทบัญญัติในมาตรา 69 วรรคสาม เป็นบทลงโทษที่ขยายความมาจากบทบัญญัติในมาตรา 69 วรรคสอง โดยแยกความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษประเภท 2 เฉพาะมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีนที่มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกินหนึ่งร้อยกรัม ต้องลงโทษตามวรรคสาม แต่หากเป็นกรณีมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน ที่มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินกว่าหนึ่งร้อยกรัมขึ้นไป ต้องลงโทษตามวรรคสี่ ดังนั้น การจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เฉพาะมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน จึงต้องได้รับโทษตามมาตรา 69 วรรคสามหรือวรรคสี่ แล้วแต่กรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3615/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล่อซื้อยาเสพติด การตรวจค้นโดยไม่แจ้ง และการใช้กฎหมายใหม่ที่บัญญัติขึ้นภายหลัง
เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมและสายลับล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยทั้งสามในบ้านที่เกิดเหตุ ซึ่งสามารถล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนได้ แม้เจ้าพนักงานตำรวจจะมิได้ดำเนินการขอหมายค้นจากศาลชั้นต้นไปตรวจค้นบ้านที่เกิดเหตุ ก็หาเป็นข้อพิรุธของพยานโจทก์ในการตรวจค้นจับกุมไม่ เพราะเป็นกรณีกระทำความผิดซึ่งหน้าที่กำลังกระทำลงในที่รโหฐานจึงตรวจค้นได้โดยไม่จำต้องมีหมายค้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 92 (2) (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดเหตุ
แม้คดีนี้เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมจะใช้อุบายล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยทั้งสาม ก็มิใช่กรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมเป็นผู้ชักจูงใจหรือก่อให้จำเลยทั้งสามกระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน เพราะจำเลยทั้งสามมีเจตนาร่วมกันกระทำความผิดอยู่ก่อนแล้ว การล่อซื้อของพยานโจทก์ดังกล่าวเป็นเพียงการแสวงหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความผิดของจำเลยทั้งสาม เมื่อจำเลยทั้งสามร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจ การกระทำของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน อันเป็นความผิดสำเร็จ หาใช่ว่าเมื่อมีการใช้อุบายวางแผนล่อซื้อต้องถือว่าขาดเจตนาซื้อขายกันจริง จึงไม่มีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนไม่
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 และมาตรา 66 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะจำเลยทั้งสามกระทำความผิด แต่ปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และให้ใช้ข้อความใหม่แทนโดยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายคดีนี้ มีองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 15 วรรคสาม (2) ที่แก้ไขใหม่ ไม่เป็นคุณแก่จำเลยจึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง เดิม มาใช้บังคับแก่คดีนี้ และความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ มีองค์ประกอบความผิดเช่นเดียวกับมาตรา 15 วรรคหนึ่ง เดิม จึงต้องใช้กฎหมายเดิมซึ่งใช้ในขณะกระทำความผิดมาบังคับแก่คดีนี้เช่นเดียวกัน ส่วนในมาตรา 66 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งเป็นบทระวางโทษของความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนสำหรับเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุแห่งการกระทำความผิดที่มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ 375 มิลลิกรัมขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 กรัม แม้จะปรากฏว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางคดีนี้มีจำนวน 46 เม็ด และมีน้ำหนักสุทธิเกินกว่า 1.5 กรัม ก็ตาม แต่ตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางอันเป็นองค์ประกอบความผิด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้จำนวนเท่าใดกันแน่ จึงไม่อาจปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 66 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ได้ แต่ต้องถือว่าการกระทำของจำเลยยังเป็นความผิดอันต้องด้วยบทระวางโทษตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่อยู่ ซึ่งตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ ในส่วนของโทษจำคุกมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 4 ปี ถึง 15 ปี แตกต่างจากมาตรา 66 วรรคหนึ่ง เดิม ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึงจำคุกตลอดชีวิต กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนนี้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 มากกว่ากฎหมายเดิม จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ดังกล่าวในส่วนที่เป็นคุณมาบังคับแก่คดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังมิได้ยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้อง จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ แม้ว่าจะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วแต่ในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็ตาม ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ศาลฎีกาจึงต้องแก้ไขโดยปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ให้ถูกต้อง และเห็นสมควรแก้ไขกำหนดโทษจำคุกจำเลยที่ 1 เสียใหม่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับบทกฎหมายที่แก้ไขใหม่ตามที่จำเลยที่ 1 ฎีกาด้วย และเนื่องจากจำเลยทั้งสามเป็นตัวการกระทำความผิดในคดีนี้ด้วยกัน ถือว่าเหตุดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขตลอดไปถึง จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งมิได้ฎีกาได้ด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
แม้คดีนี้เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมจะใช้อุบายล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยทั้งสาม ก็มิใช่กรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมเป็นผู้ชักจูงใจหรือก่อให้จำเลยทั้งสามกระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน เพราะจำเลยทั้งสามมีเจตนาร่วมกันกระทำความผิดอยู่ก่อนแล้ว การล่อซื้อของพยานโจทก์ดังกล่าวเป็นเพียงการแสวงหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความผิดของจำเลยทั้งสาม เมื่อจำเลยทั้งสามร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจ การกระทำของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน อันเป็นความผิดสำเร็จ หาใช่ว่าเมื่อมีการใช้อุบายวางแผนล่อซื้อต้องถือว่าขาดเจตนาซื้อขายกันจริง จึงไม่มีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนไม่
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 และมาตรา 66 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะจำเลยทั้งสามกระทำความผิด แต่ปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และให้ใช้ข้อความใหม่แทนโดยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายคดีนี้ มีองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 15 วรรคสาม (2) ที่แก้ไขใหม่ ไม่เป็นคุณแก่จำเลยจึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง เดิม มาใช้บังคับแก่คดีนี้ และความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ มีองค์ประกอบความผิดเช่นเดียวกับมาตรา 15 วรรคหนึ่ง เดิม จึงต้องใช้กฎหมายเดิมซึ่งใช้ในขณะกระทำความผิดมาบังคับแก่คดีนี้เช่นเดียวกัน ส่วนในมาตรา 66 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งเป็นบทระวางโทษของความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนสำหรับเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุแห่งการกระทำความผิดที่มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ 375 มิลลิกรัมขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 กรัม แม้จะปรากฏว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางคดีนี้มีจำนวน 46 เม็ด และมีน้ำหนักสุทธิเกินกว่า 1.5 กรัม ก็ตาม แต่ตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางอันเป็นองค์ประกอบความผิด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้จำนวนเท่าใดกันแน่ จึงไม่อาจปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 66 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ได้ แต่ต้องถือว่าการกระทำของจำเลยยังเป็นความผิดอันต้องด้วยบทระวางโทษตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่อยู่ ซึ่งตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ ในส่วนของโทษจำคุกมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 4 ปี ถึง 15 ปี แตกต่างจากมาตรา 66 วรรคหนึ่ง เดิม ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึงจำคุกตลอดชีวิต กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนนี้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 มากกว่ากฎหมายเดิม จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ดังกล่าวในส่วนที่เป็นคุณมาบังคับแก่คดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังมิได้ยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้อง จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ แม้ว่าจะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วแต่ในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็ตาม ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ศาลฎีกาจึงต้องแก้ไขโดยปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ให้ถูกต้อง และเห็นสมควรแก้ไขกำหนดโทษจำคุกจำเลยที่ 1 เสียใหม่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับบทกฎหมายที่แก้ไขใหม่ตามที่จำเลยที่ 1 ฎีกาด้วย และเนื่องจากจำเลยทั้งสามเป็นตัวการกระทำความผิดในคดีนี้ด้วยกัน ถือว่าเหตุดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขตลอดไปถึง จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งมิได้ฎีกาได้ด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7004/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจอดรถกีดขวางการจราจร – การพิพากษาโทษ – การนับโทษ – การรับสารภาพ
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 จอดรถบรรทุกพ่วงอยู่ชิดขอบทางด้านซ้ายโดยล้อหน้าอยู่บนไหล่ทาง และมีบางส่วนของตัวรถอยู่บนผิวช่องเดินรถ ซึ่งตรงกันข้ามกับคำฟ้องของโจทก์ที่บรรยายว่า จำเลยที่ 1 จอดรถบรรทุกพ่วงไว้กลางช่องเดินรถในลักษณะล้ำเข้ามาในช่องเดินรถอย่างมาก โดยไม่ชิดขอบถนนด้านซ้ายนั้น เป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกา ทั้งขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 จึงมิใช่ข้อที่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
คดีนี้จำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทด้วยการจอดรถในลักษณะกีดขวางจราจรโดยไม่ให้สัญญาณไฟใด ๆ ให้ผู้อื่นเห็นว่ามีรถจอดอยู่ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ชนท้ายรถที่จำเลยที่ 1 จอดไว้แล้วจำเลยที่ 1 หลบหนีไป มิใช่จำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทหรือขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นแล้วไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือตามสมควร และไม่ไปแสดงตนและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที แม้จำเลยที่ 1 จะให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ มาตรา 43, 78, 157, 160 ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ข้อเท็จจริงที่ว่า จำเลยที่ 2 ในคดีนี้เป็นจำเลยคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาของศาลชั้นต้น เป็นข้อเท็จจริงต่างหากจากข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดในคดีนี้ และเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ปรากฏ แต่คดีนี้จำเลยที่ 2 เพียงให้การรับสารภาพตามฟ้องเท่านั้น จำเลยที่ 2 มิได้ให้การรับด้วยว่าจำเลยเป็นคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์อ้างมาในฟ้อง และแม้คดีนี้เมื่อจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ ศาลจะสามารถพิพากษาคดีไปได้โดยที่โจทก์ไม่ต้องนำสืบพยานก็ตาม แต่หากโจทก์เห็นว่าคดีของโจทก์ยังมีข้อบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดอยู่ โจทก์ก็สามารถนำพยานหลักฐานของตนเข้าสืบได้เพื่อให้คดีสมบูรณ์ เมื่อโจทก์ไม่สืบพยาน ข้อเท็จจริงจึงไม่อาจฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 2 ในคดีนี้เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์อ้างมาในฟ้อง จะนับโทษจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ต่อจากโทษในคดีดังกล่าวหาได้ไม่ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คดีนี้จำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทด้วยการจอดรถในลักษณะกีดขวางจราจรโดยไม่ให้สัญญาณไฟใด ๆ ให้ผู้อื่นเห็นว่ามีรถจอดอยู่ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ชนท้ายรถที่จำเลยที่ 1 จอดไว้แล้วจำเลยที่ 1 หลบหนีไป มิใช่จำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทหรือขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นแล้วไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือตามสมควร และไม่ไปแสดงตนและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที แม้จำเลยที่ 1 จะให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ มาตรา 43, 78, 157, 160 ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ข้อเท็จจริงที่ว่า จำเลยที่ 2 ในคดีนี้เป็นจำเลยคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาของศาลชั้นต้น เป็นข้อเท็จจริงต่างหากจากข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดในคดีนี้ และเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ปรากฏ แต่คดีนี้จำเลยที่ 2 เพียงให้การรับสารภาพตามฟ้องเท่านั้น จำเลยที่ 2 มิได้ให้การรับด้วยว่าจำเลยเป็นคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์อ้างมาในฟ้อง และแม้คดีนี้เมื่อจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ ศาลจะสามารถพิพากษาคดีไปได้โดยที่โจทก์ไม่ต้องนำสืบพยานก็ตาม แต่หากโจทก์เห็นว่าคดีของโจทก์ยังมีข้อบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดอยู่ โจทก์ก็สามารถนำพยานหลักฐานของตนเข้าสืบได้เพื่อให้คดีสมบูรณ์ เมื่อโจทก์ไม่สืบพยาน ข้อเท็จจริงจึงไม่อาจฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 2 ในคดีนี้เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์อ้างมาในฟ้อง จะนับโทษจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ต่อจากโทษในคดีดังกล่าวหาได้ไม่ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4042/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ข้อเท็จจริงจากรายงานสืบเสาะพินิจประกอบการพิจารณาโทษ ไม่ถือเป็นการพิพากษาเกินคำขอ
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ได้หยิบยกเอาข้อเท็จจริงที่ได้มาจากรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติซึ่งจำเลยทราบแล้วไม่ได้โต้เถียงหรือคัดค้านมากล่าวในคำพิพากษาประกอบการพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการร้ายแรงหรือไม่เพียงใดเพื่อที่จะได้ใช้ดุลพินิจพิจารณาว่าสมควรจะลงโทษหรือรอการลงโทษให้แก่จำเลย มิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในคำฟ้องแต่อย่างใด
จำเลยปลอมแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีรถยนต์ ซึ่งเป็นเอกสารราชการ และใช้หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดดังกล่าว ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประโยชน์ของทางราชการ อันเป็นความเสียหายโดยตรงในทางสาธารณะ ทั้งเป็นการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีรถยนต์ให้แก่รัฐตามกฎหมายอีกด้วย พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องที่ร้ายแรง ลำพังแต่จำเลยมีภาระต้องรับผิดชอบต่อครอบครัว ซึ่งเป็นเหตุผลและความจำเป็นส่วนตัว ไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษให้แก่จำเลยได้
จำเลยปลอมแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีรถยนต์ ซึ่งเป็นเอกสารราชการ และใช้หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดดังกล่าว ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประโยชน์ของทางราชการ อันเป็นความเสียหายโดยตรงในทางสาธารณะ ทั้งเป็นการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีรถยนต์ให้แก่รัฐตามกฎหมายอีกด้วย พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องที่ร้ายแรง ลำพังแต่จำเลยมีภาระต้องรับผิดชอบต่อครอบครัว ซึ่งเป็นเหตุผลและความจำเป็นส่วนตัว ไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษให้แก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3448/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขความผิดและโทษในศาลอุทธรณ์: ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 279 วรรคสอง จำคุก 3 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 279 วรรคหนึ่ง จำคุก 8 เดือน เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แก้วรรคของความผิดในบทมาตราเดียวกันไม่ถือเป็นการแก้บทความผิด แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จะแก้ไขโทษด้วยก็เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และคงให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าความผิดตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคหนึ่งและมาตรา 317 วรรคสาม เป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 317 วรรคสาม ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก 5 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยไม่มีความผิดตามมาตรา 284 ให้ยกฟ้องในความผิดฐานนี้ และพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 317 วรรคหนึ่ง จำคุก 2 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แก้วรรคของความผิดในบทหนักอันเป็นบทที่ศาลชั้นต้นลงโทษ แม้จะยกฟ้องความผิดในบทที่เบากว่า ก็ต้องถือว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและคงให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เช่นเดียวกัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าความผิดตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคหนึ่งและมาตรา 317 วรรคสาม เป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 317 วรรคสาม ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก 5 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยไม่มีความผิดตามมาตรา 284 ให้ยกฟ้องในความผิดฐานนี้ และพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 317 วรรคหนึ่ง จำคุก 2 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แก้วรรคของความผิดในบทหนักอันเป็นบทที่ศาลชั้นต้นลงโทษ แม้จะยกฟ้องความผิดในบทที่เบากว่า ก็ต้องถือว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและคงให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3031/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย, การร่วมกันต่อสู้ขัดขวางการจับกุม, และการพิจารณาโทษ
เมื่อนายดาบตำรวจ ป. พบ ส. ผู้ต้องหาซึ่งมีการออกหมายจับไว้แล้ว นายดาบตำรวจ ป. มีอำนาจจับกุม ส. ได้โดยไม่จำต้องมีหมายจับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78 (3) เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนเอกสารหมาย จ.1 เป็นสำเนาที่ทำขึ้นโดยการพิมพ์ และมีเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง ซึ่งเป็นวิธีการจัดทำสำเนาเอกสารวิธีหนึ่งนอกจากการจัดทำสำเนาเอกสารด้วยการถ่ายจากต้นฉบับ ดังนั้นที่เอกสารหมาย จ.1 ไม่ได้ถ่ายจากต้นฉบับและผู้ลงลายมือชื่อออกหมายไม่ได้เป็นผู้รับรองนั้นก็ไม่ทำให้เอกสารหมาย จ.1 เป็นสำเนาเอกสารที่ไม่ชอบ อันจะมีผลทำให้การจับกุม ส. ของนายดาบตำรวจ ป. เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบแต่ประการใด
การสอบสวนเพิ่มเติมของร้อยตำรวจโท ส. ที่ได้มีการแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่จำเลยทั้งสองแล้ว จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธและไม่ยอมลงลายมือชื่อเป็นเพียงการแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่จำเลยทั้งสองจากการกระทำที่ได้มีการสอบสวนไว้โดยชอบแล้ว โดยจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธถือได้ว่าเป็นสิ่งเล็กน้อยในการสอบสวนซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของพันตำรวจโท น. พนักงานสอบสวนและพันตำรวจโท ช. หัวหน้าพนักงานสอบสวน และมิได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดเจาะจงให้การกระทำดังกล่าวพนักงานสอบสวนต้องกระทำด้วยตนเองร้อยตำรวจโท ส. ซึ่งเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของพันตำรวจโท น. และพันตำรวจโท ช. ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้ทำการสอบสวนเพิ่มเติมแทน ดังนั้น การสอบสวนเพิ่มเติมดังกล่าวจึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 128 (2)
การสอบสวนเพิ่มเติมของร้อยตำรวจโท ส. ที่ได้มีการแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่จำเลยทั้งสองแล้ว จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธและไม่ยอมลงลายมือชื่อเป็นเพียงการแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่จำเลยทั้งสองจากการกระทำที่ได้มีการสอบสวนไว้โดยชอบแล้ว โดยจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธถือได้ว่าเป็นสิ่งเล็กน้อยในการสอบสวนซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของพันตำรวจโท น. พนักงานสอบสวนและพันตำรวจโท ช. หัวหน้าพนักงานสอบสวน และมิได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดเจาะจงให้การกระทำดังกล่าวพนักงานสอบสวนต้องกระทำด้วยตนเองร้อยตำรวจโท ส. ซึ่งเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของพันตำรวจโท น. และพันตำรวจโท ช. ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้ทำการสอบสวนเพิ่มเติมแทน ดังนั้น การสอบสวนเพิ่มเติมดังกล่าวจึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 128 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2552/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักวันต้องขังในคดีอื่นออกจากโทษคดีปัจจุบัน หลักเกณฑ์ตาม ป.อ.มาตรา 22
ตาม ป.อ. มาตรา 22 วรรคแรก ที่บัญญัติให้นำจำนวนวันที่ผู้ต้องคำพิพากษาถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษามาหักออกจากระยะเวลาจำคุกตามคำพิพากษานั้น จะต้องเป็นกรณีที่ผู้ต้องคำพิพากษาถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษาในคดีนั้นเอง หาใช่ถูกคุมขังในคดีอื่นแต่อย่างใดไม่ แม้ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติห้ามไว้ว่า เมื่อจำเลยถูกหมายขังในคดีหนึ่งแล้วจะถูกหมายขังในคดีอื่นอีกไม่ได้ก็ตาม แต่ปรากฏว่านับตั้งแต่จำเลยถูกฟ้องร่วมกับ ร. ตามคดีอาญาหมายเลขดำที่ 456/2541 ของศาลชั้นต้น จำเลยมิได้ถูกคุมขังเนื่องจากได้รับการปล่อยชั่วคราวตลอดมา การที่ต่อมาจำเลยไปกระทำความผิดและถูกคุมขังระหว่างพิจารณาในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 937/2541 ของศาลจังหวัดสุโขทัย ก็เป็นการถูกคุมขังเฉพาะในคดีดังกล่าว ไม่เกี่ยวกับคดีอาญาหมายเลขดำที่ 456/2541 ของศาลชั้นต้น แม้ต่อมา ร. จะให้การรับสารภาพและศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์แยกฟ้องจำเลยเข้ามาใหม่เป็นคดีนี้ ศาลชั้นต้นก็มิได้ออกหมายขังจำเลยในคดีนี้แต่อย่างใด ศาลชั้นต้นเพิ่งออกหมายขังจำเลยหลังจากศาลจังหวัดสุโขทัยดำเนินการแก่จำเลยเสร็จ และส่งตัวจำเลยมาดำเนินคดีนี้ การที่จำเลยถูกคุมขังตามคดีอาญาหมายเลขดำที่ 937/2541 ของศาลดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกคุมขังในคดีนี้ด้วย จึงนำวันต้องขังของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 937/2541 ของศาลจังหวัดสุโขทัย มาหักโทษตามคำพิพากษาในคดีนี้ไม่ได้