พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 422/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โทษกักกันที่พ้นโทษแล้วก่อนใช้ประมวลกฎหมายอาญา ย่อมได้รับการล้างมลทินตาม พ.ร.บ.ล้างมลทินฯ และไม่อาจนำมาเพิ่มโทษซ้ำได้
ก่อนใช้ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติกักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย พ.ศ.2479 มาตรา 5 บัญญัติให้ถือกักกันเป็นโทษอาญาสถานหนึ่ง เมื่อใช้ประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 15 ให้เปลี่ยนโทษกักกันมาเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัย โทษกักกันจึงไม่ใช่โทษอาญาเสียแล้ว แต่บทบัญญัติมาตรา 15 นี้ย่อมไม่ย้อนหลังไปบังคับถึงโทษกักกันที่ได้เสร็จสิ้นพ้นโทษไปแล้ว
จำเลยเคยต้องคำพิพากษาให้กักกันมีกำหนด 3 ปี พ้นโทษไปเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2498 ก่อนใช้พระราชบัญญัติล้างมลทิน ฯ พ.ศ. 2499 และก่อนใช้ประมวลกฎหมายอาญา ดังนี้ โทษกักกันที่จำเลยได้รับเสร็จสิ้นไปแล้วก่อนประมวลกฎหมายอาญาออกใช้ ก็คงถือเป็นโทษอยู่ ย่อมได้รับการล้างมลทินโดยพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ.2499 มาตรา 3 จะกักกันจำเลยโดยอาศัยเหตุที่จำเลยเคยถูกกักกันมาแล้วตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 41 อีก หาได้ไม่.
จำเลยเคยต้องคำพิพากษาให้กักกันมีกำหนด 3 ปี พ้นโทษไปเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2498 ก่อนใช้พระราชบัญญัติล้างมลทิน ฯ พ.ศ. 2499 และก่อนใช้ประมวลกฎหมายอาญา ดังนี้ โทษกักกันที่จำเลยได้รับเสร็จสิ้นไปแล้วก่อนประมวลกฎหมายอาญาออกใช้ ก็คงถือเป็นโทษอยู่ ย่อมได้รับการล้างมลทินโดยพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ.2499 มาตรา 3 จะกักกันจำเลยโดยอาศัยเหตุที่จำเลยเคยถูกกักกันมาแล้วตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 41 อีก หาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 422/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลบล้างมลทินโทษกักกัน และการเพิ่มโทษซ้ำโดยอาศัยโทษกักกันเดิมที่ไม่สามารถนำมาใช้เพิ่มโทษได้
ก่อนใช้ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติกักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย พ.ศ.2479 มาตรา 5 บัญญัติให้ถือกักกันเป็นโทษอาญาสถานหนึ่ง เมื่อใช้ประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 15 ให้เปลี่ยนโทษกักกันมาเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยโทษกักกันจึงไม่ใช่โทษอาญาเสียแล้ว แต่บทบัญญัติมาตรา 15 นี้ย่อมไม่ย้อนหลังไปบังคับถึงโทษกักกันที่ได้เสร็จสิ้นพ้นโทษไปแล้ว
จำเลยเคยต้องคำพิพากษาให้กักกันมีกำหนด 3 ปี พ้นโทษไปเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2498 ก่อนใช้พระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ.2499 และก่อนใช้ประมวลกฎหมายอาญา ดังนี้ โทษกักกันที่จำเลยได้รับเสร็จสิ้นไปแล้วก่อนประมวลกฎหมายอาญาออกใช้ ก็คงถือเป็นโทษอยู่ ย่อมได้รับการล้างมลทินโดยพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ.2499 มาตรา 3 จะกักกันจำเลยโดยอาศัยเหตุที่จำเลยเคยถูกกักกันมาแล้วตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 41 อีกหาได้ไม่
จำเลยเคยต้องคำพิพากษาให้กักกันมีกำหนด 3 ปี พ้นโทษไปเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2498 ก่อนใช้พระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ.2499 และก่อนใช้ประมวลกฎหมายอาญา ดังนี้ โทษกักกันที่จำเลยได้รับเสร็จสิ้นไปแล้วก่อนประมวลกฎหมายอาญาออกใช้ ก็คงถือเป็นโทษอยู่ ย่อมได้รับการล้างมลทินโดยพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ.2499 มาตรา 3 จะกักกันจำเลยโดยอาศัยเหตุที่จำเลยเคยถูกกักกันมาแล้วตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 41 อีกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พระราชทานอภัยโทษไม่ลบล้างคำพิพากษาเดิม และสิทธิในการฟ้องขอโทษกักกันยังคงมี
แม้จำเลยจะได้รับพระราชทานอภัยโทษตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษให้ลดโทษลงเพียงใด ถึงขั้นปล่อยตัวไปก็ตาม คำพิพากษาของศาลที่กำหนดโทษไว้เดิมนั้นก็หาได้ถูกลบล้างไปไม่
การที่ศาลทหารกล่าวไว้ในคำพิพากษาให้ยกคำขอที่ขอให้กักกันจำเลยเพราะไม่อยู่ในอำนาจของศาลทหารนั้น หาตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องขอให้กักกันจำเลยต่อศาลทีมีอำนาจไม่
การที่ศาลทหารกล่าวไว้ในคำพิพากษาให้ยกคำขอที่ขอให้กักกันจำเลยเพราะไม่อยู่ในอำนาจของศาลทหารนั้น หาตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องขอให้กักกันจำเลยต่อศาลทีมีอำนาจไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1321/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษกักกันตามประมวลกฎหมายอาญา และผลของการปล่อยตัวผู้ต้องโทษโดยไม่ถือว่าเคยมีคำพิพากษาให้กักกัน
ประมวลกฎหมายอาญามีผลเพียงให้โทษกักกันที่จำเลยได้รับอยู่เดิมเปลี่ยนลักษณะมาเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยอาญาจะมิได้ถือว่าการที่จำเลยถูกกักกันต่อมานั้นเป็นโทษก็ตาม ก็ยังเรียกไม่ได้ว่าจำเลยได้พ้นโทษกักกันนั้นไปแล้ว เพราะยังต้องถูกกักกันอยู่โดยผลแห่งคำพิพากษาของศาล
แต่เมื่อปรากฏว่า ศาลได้ปล่อยจำเลยไปโดยถือว่าจำเลยไม่เคยต้องคำพิพากษาให้กักกันศาลก็จะรื้อฟื้นขึ้นมาจำเลยเคยต้องคำพิพากษาให้กักกัน (เพื่อจะนำมาพิจารณาร่วมกับการกระทำผิดครั้งหลังให้กักกันตามมาตรา 41 แห่งประมวลกฎหมายอาญา) หาได้ไม่
แต่เมื่อปรากฏว่า ศาลได้ปล่อยจำเลยไปโดยถือว่าจำเลยไม่เคยต้องคำพิพากษาให้กักกันศาลก็จะรื้อฟื้นขึ้นมาจำเลยเคยต้องคำพิพากษาให้กักกัน (เพื่อจะนำมาพิจารณาร่วมกับการกระทำผิดครั้งหลังให้กักกันตามมาตรา 41 แห่งประมวลกฎหมายอาญา) หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษกักกันเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยหลังมี พ.ร.บ. ล้างมลทินฯ และประมวลกฎหมายอาญา
ศาลพิพากษาจำคุกจำเลย 1 ปีและให้ส่งตัวไปกักกันอีก 3 ปี คดีถึงที่สุดก่อนใช้ พ.ร.บ. ล้างมลทินและประมวลกฎหมายอาญา เมื่อจำเลยถูกจำคุกครบ 1 ปีแล้ว ระหว่างที่จำเลยถูกกักกันอยู่ มีพ.ร.บ. ล้างมลทินฯ และประมวลกฎหมายอาญา ประกาศใช้บังคับ เมื่อความผิดของจำเลยที่ต้องคำพิพากษามาแล้วนั้น เข้าเกณฑ์ที่ศาลอาจพิพากษาให้กักกันได้ตามประมวลกฎหมายอาญา ม. 41 โทษกักกันที่จำเลยได้รับอยู่จึงเปลี่ยนลักษณะมาเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามประมวลกฎหมายอาญา ม. 15 วรรคแรกแม้ตามประมวลกฎหมายอาญาไม่ถือว่ากักกันเป็นโทษ หากเป็นแต่เพียงวิธีการเพื่อความปลอดภัยที่จำเลยยังต้องรับต่อไปก็ตาม ก็ยังไม่ถือว่าจำเลยได้พ้นโทษกักกันนั้นไปแล้ว เพราะยังต้องถูกกักกันอยู่ โดยผลแห่งคำพิพากษาของศาล ความผิดในกรณีนี้ของจำเลยจึงยังไม่ถูกลบล้างตาม ม. 3 พ.ร.บ. ล้างมลทินฯ พ.ศ. 2499 ศาลจะสั่งปล่อยจำเลยไปหาได้ไม่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสถานะโทษกักกันเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยหลังมีกฎหมายใหม่ และผลกระทบต่อการล้างมลทิน
ศาลพิพากษาจำคุกจำเลย 1 ปี และให้ส่งตัวไปกักกันอีก 3 ปีคดีถึงที่สุดก่อนใช้พระราชบัญญัติล้างมลทินและประมวลกฎหมายอาญาเมื่อจำเลยถูกจำคุกครบ 1 ปี แล้วระหว่างที่จำเลยถูกกักกันอยู่ มีพระราชบัญญัติล้างมลทินฯและประมวลกฎหมายอาญา ประกาศใช้บังคับเมื่อความผิดของจำเลยที่ต้องคำพิพากษามาแล้วนั้น เข้าเกณฑ์ที่ศาลอาจพิพากษาให้กักกันได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา41โทษกักกันที่จำเลยได้รับอยู่จึงเปลี่ยนลักษณะมาเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา15 วรรคแรกแม้ตามประมวลกฎหมายอาญาไม่ถือว่ากักกันเป็นโทษหากเป็นแต่เพียงวิธีการเพื่อความปลอดภัยที่จำเลยยังต้องรับต่อไปก็ตามก็ยังไม่ถือว่าจำเลยได้พ้นโทษกักกันนั้นไปแล้ว เพราะยังต้องถูกกักกันอยู่ โดยผลแห่งคำพิพากษาของศาลความผิดในกรณีนี้ของจำเลยจึงยังไม่ถูกลบล้างตาม มาตรา3 พระราชบัญญัติลบล้างมลทินฯ พ.ศ.2499 ศาลจะสั่งปล่อยจำเลยไปหาได้ไม่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 54/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษกักกันหลังคดีอาญาถึงที่สุด โดยอาศัยบทบัญญัติกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใหม่ที่เป็นคุณแก่จำเลย
การที่จะรื้อฟื้นเอาคำพิพากษาในคดีอาญาถึงที่สุดแล้ว มาเปลี่ยนแปลงได้ จะต้องอาศัยอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 2 วรรค 2 และมาตรา 3
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 12 ถึง 16 ได้บัญญัติเรื่องวิธีการเพื่อความปลอดภัยไว้และได้มี ม.41 บัญญัติถึงเงื่อนไขในการที่จะกักกันไว้ด้วย ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงไปจากที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.กักกันฯ พ.ศ.2479 ม.8,9 ต้องนำบทบัญญัติม.41 แห่งประมวลกฎหมายอาญาที่บัญญัติภายหลังเป็นคุณแก่จำเลยมาใช้บังคับ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 12 ถึง 16 ได้บัญญัติเรื่องวิธีการเพื่อความปลอดภัยไว้และได้มี ม.41 บัญญัติถึงเงื่อนไขในการที่จะกักกันไว้ด้วย ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงไปจากที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.กักกันฯ พ.ศ.2479 ม.8,9 ต้องนำบทบัญญัติม.41 แห่งประมวลกฎหมายอาญาที่บัญญัติภายหลังเป็นคุณแก่จำเลยมาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 54/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษกักกันหลังคำพิพากษาถึงที่สุด โดยอาศัยกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใหม่ที่เป็นคุณแก่จำเลย
การที่จะรื้อฟื้นเอาคำพิพากษาในคดีอาญาถึงที่สุดแล้วมาเปลี่ยนแปลงได้ จะต้องอาศัยอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง และมาตรา 3
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 12 ถึง 16 ได้บัญญัติเรื่องวิธีการเพื่อความปลอดภัยไว้และได้มี มาตรา41 บัญญัติถึงเงื่อนไขในการที่จะกักกันไว้ด้วยซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงไปจากที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติกักกันฯ พ.ศ.2479 มาตรา8,9. ต้องนำบทบัญญัติ มาตรา 41 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ที่บัญญัติภายหลังเป็นคุณแก่จำเลยมาใช้บังคับ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 12 ถึง 16 ได้บัญญัติเรื่องวิธีการเพื่อความปลอดภัยไว้และได้มี มาตรา41 บัญญัติถึงเงื่อนไขในการที่จะกักกันไว้ด้วยซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงไปจากที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติกักกันฯ พ.ศ.2479 มาตรา8,9. ต้องนำบทบัญญัติ มาตรา 41 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ที่บัญญัติภายหลังเป็นคุณแก่จำเลยมาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1270/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษกักกันผู้กระทำผิดซ้ำ: จำเลยต้องโทษจำคุกจริงไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง จึงจะเพิ่มโทษกักกันได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยตาม ก.ม.อาญา ม.288,60 มีกำหนด 1 ปี จำเลยมีอายุไม่เกิน 20 ปีลดให้1 ใน 3 คงจำ 8 เดือน เพิ่มตาม ม.73 อีกกึ่งหนึ่งและลดฐานรับสารภาพให้ 1 ใน 3 คงให้จำคุกไว้ 8 เดือน เมื่อจำเลยพ้นโทษแล้วให้ส่งตัวไปกักกันมีกำหนด 3 ปี ตาม พ.ร.บ.กักกันผู้มีสันดาน เป็นผู้ร้าย พ.ศ.2479 ม.8,9
แต่เมื่อปรากฎว่าจำเลยต้องคำพิพากษาว่ากระทำผิดมาแล้ว 5 ครั้ง ๆ ที่ 1 ฐานวิ่งราวทรัพย์ให้เรียกทัณฑ์บล ครั้งที่ 2 ฐานวิ่งราวทรัพย์ให้ส่งโรงเรียนดัดสันดานมีกำหนด 3 ปี ครั้งที่ 3 ฐานเล่นการพนันไพ่ปรับ 30 บาท ครั้งที่ 4 ฐานวิ่งราวทรัพย์ให้ส่งสถานพินิจผึกและอบรม ครั้งที่ 5 ฐานวิ่งราวทรัพย์ให้จำคุก 2 ปี เห็นได้ว่าจำเลยได้รับโทษจำคุกจริงคือสำหรับครั้งที่ 5 นี้เท่านั้น จึงเพิ่มโทษกักกันจำเลยไม่ได้
แต่เมื่อปรากฎว่าจำเลยต้องคำพิพากษาว่ากระทำผิดมาแล้ว 5 ครั้ง ๆ ที่ 1 ฐานวิ่งราวทรัพย์ให้เรียกทัณฑ์บล ครั้งที่ 2 ฐานวิ่งราวทรัพย์ให้ส่งโรงเรียนดัดสันดานมีกำหนด 3 ปี ครั้งที่ 3 ฐานเล่นการพนันไพ่ปรับ 30 บาท ครั้งที่ 4 ฐานวิ่งราวทรัพย์ให้ส่งสถานพินิจผึกและอบรม ครั้งที่ 5 ฐานวิ่งราวทรัพย์ให้จำคุก 2 ปี เห็นได้ว่าจำเลยได้รับโทษจำคุกจริงคือสำหรับครั้งที่ 5 นี้เท่านั้น จึงเพิ่มโทษกักกันจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1270/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษกักกันผู้กระทำผิดซ้ำ: ต้องมีโทษจำคุกจริง 2 ครั้งขึ้นไป จึงจะเพิ่มโทษได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยตามกฎหมายอาญา มาตรา 288,60 มีกำหนด 1 ปี จำเลยมีอายุไม่เกิน 20 ปี ลดให้ 1 ใน 3 คงจำ 8 เดือน เพิ่มตาม มาตรา 73 อีกกึ่งหนึ่งและลดฐานรับสารภาพให้ 1 ใน 3 คงให้จำคุกไว้ 8 เดือนเมื่อจำเลยพ้นโทษแล้วให้ส่งตัวไปกักกันมีกำหนด 3 ปีตาม พระราชบัญญัติกักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย พ.ศ.2479 มาตรา 8,9
แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยต้องคำพิพากษาว่ากระทำผิดมาแล้ว 5 ครั้งๆ ที่ 1 ฐานวิ่งราวทรัพย์ให้เรียกทัณฑ์บน ครั้งที่ 2 ฐานวิ่งราวทรัพย์ให้ส่งโรงเรียนดัดสันดานมีกำหนด 3 ปี ครั้งที่ 3 ฐานเล่นการพนันไพ่ปรับ 30บาท ครั้งที่ 4 ฐานวิ่งราวทรัพย์ให้ส่งสถานพินิจฝึกและอบรม ครั้งที่ 5 ฐานวิ่งราวทรัพย์ให้จำคุก 2 ปี เห็นได้ว่าจำเลยได้รับโทษจำคุกจริงคือสำหรับครั้งที่ 5 นี้เท่านั้นจึงเพิ่มโทษกักกันจำเลยไม่ได้
แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยต้องคำพิพากษาว่ากระทำผิดมาแล้ว 5 ครั้งๆ ที่ 1 ฐานวิ่งราวทรัพย์ให้เรียกทัณฑ์บน ครั้งที่ 2 ฐานวิ่งราวทรัพย์ให้ส่งโรงเรียนดัดสันดานมีกำหนด 3 ปี ครั้งที่ 3 ฐานเล่นการพนันไพ่ปรับ 30บาท ครั้งที่ 4 ฐานวิ่งราวทรัพย์ให้ส่งสถานพินิจฝึกและอบรม ครั้งที่ 5 ฐานวิ่งราวทรัพย์ให้จำคุก 2 ปี เห็นได้ว่าจำเลยได้รับโทษจำคุกจริงคือสำหรับครั้งที่ 5 นี้เท่านั้นจึงเพิ่มโทษกักกันจำเลยไม่ได้