พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2413/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพในคดีซ้ำ จำเลยต้องรับโทษเดิมด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งว่า ก่อนคดีนี้จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกมีกำหนด 12 เดือน ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1570/2544 ของศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2544 ซึ่งมิใช่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ และจำเลยกลับมากระทำความผิดในคดีนี้ขึ้นอีกภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ ขอศาลได้เพิ่มโทษจำเลยตามกฎหมายด้วย คำขอท้ายคำฟ้องได้ระบุมาตรา 97 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ ไว้ด้วย ชั้นพิจารณาจำเลยยื่นคำให้การรับสารภาพตลอดข้อหาและศาลชั้นต้นบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง โจทก์จำเลยลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าว ดังนั้น คำให้การจำเลยที่รับสารภาพจึงย่อมหมายรวมถึงการรับว่า จำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อนตามที่โจทก์กล่าวหาในคำฟ้องตลอดจนรับตามบทบัญญัติที่ขอให้เพิ่มโทษจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องด้วย ฉะนั้น เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย จึงต้องเพิ่มโทษที่จะลงแก่จำเลยอีกกึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดครั้งหลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษซ้ำสำหรับผู้กระทำผิดซ้ำ โดยศาลพิจารณาพฤติการณ์และประวัติอาชญากรรม
ข้อเท็จจริงตามรายงานการสืบเสาะและพินิจซึ่งจำเลยทั้งสองไม่คัดค้าน ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เคยต้องคำพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี ในความผิดฐานร่วมกันบุกรุกเคหสถานของผู้อื่นในเวลากลางคืนโดยใช้กำลังประทุษร้าย ร่วมกันทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายและซ่องโจร และจำเลยที่ 2 เคยต้องคำพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี ในความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ภายในเวลาที่ศาลรอการลงโทษในคดีดังกล่าว จำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดคดีนี้อีก โดยได้ร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส อันมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ จึงให้บวกโทษคดีดังกล่าวเข้ากับโทษในคดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 58
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1655/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รอการลงโทษจำคุก: พฤติการณ์ผู้ต้องโทษซ้ำแสดงถึงการไม่เข็ดหลาบ
แม้จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพียง 1 เม็ด น้ำหนัก0.09 กรัม แต่ตามรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติ ซึ่งจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านปรากฏว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาในคดีอาญาให้ลงโทษจำคุกและปรับมาแล้ว โดยโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 1 ปี ในข้อหามีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่จำเลยยังกระทำความผิดเป็นคดีนี้อีกแสดงว่าจำเลยมิได้เข็ดหลาบ และมิได้พยายามที่จะเลิกเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษอย่างจริงจัง การที่จะปรานีรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยอีกจึงน่าจะ ไม่เป็นประโยชน์แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำคุกและปรับในความผิดเครื่องหมายการค้าซ้ำ หากพ้นโทษเดิมยังไม่ครบ 5 ปี การปรับถือเป็นโทษอย่างหนึ่ง
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 113ได้กำหนดเรื่องการเพิ่มโทษไว้โดยเฉพาะในกรณีที่จำเลยเคยต้องโทษและพ้นโทษมาไม่ครบกำหนดห้าปีโดยไม่ได้ระบุว่าจะต้องเคยต้องโทษจำคุก การปรับก็ถือเป็นโทษอย่างหนึ่ง ดังนี้เมื่อศาลลงโทษปรับจำเลยและมีการชำระค่าปรับครบถ้วนในวันเวลาใด ย่อมถือว่าจำเลยได้พ้นโทษในวันที่ชำระค่าปรับนั้นแล้ว การที่จำเลยเคยกระทำความผิดในข้อหาเดียวกันนี้ และศาลได้พิพากษาลงโทษปรับจำเลย และจำเลยมา กระ ทำความผิดในคดีนี้เมื่อจำเลยพ้นโทษมาแล้วยังไม่ครบกำหนดห้าปีจึงต้องวางโทษทวีคูณแก่จำเลย ตามมาตรา 113 ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้างมลทินทางอาญาและการกักกันผู้กระทำผิดซ้ำ: เกณฑ์การพิพากษาและการนับโทษ
จำเลยต้องคำพิพากษาให้จำคุกไม่ต่ำกว่า 6 เดือนมาแล้ว 3 ครั้ง แต่ปรากฏว่าสองคดีก่อน จำเลยพ้นโทษไปก่อนวันใช้พระราชบัญญัติล้างมลทิน ฯ จำเลยจึงได้รับการล้างมลทินหมดไปแล้วตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทิน ฯ พ.ศ. 2499 จะถือว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาลงโทษจำคุกมาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ครั้งไม่ได้ ดังนี้ ศาลย่อมไม่มีอำนาจพิพากษาให้กักกันจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 41
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของ พ.ร.บ. ล้างมลทิน ต่อการเพิ่มโทษและกักกันผู้ต้องโทษซ้ำ
จำเลยต้องคำพิพากษาให้จำคุกไม่ต่ำกว่า 6 เดือนมาแล้ว3 ครั้ง. แต่ปรากฏว่าสองคดีก่อน. จำเลยพ้นโทษไปก่อนวันใช้พระราชบัญญัติล้างมลทินฯ. จำเลยจึงได้รับการล้างมลทินหมดไปแล้วตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินฯพ.ศ.2499. จะถือว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาลงโทษจำคุกมาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ครั้งไม่ได้. ดังนี้ ศาลย่อมไม่มีอำนาจพิพากษาให้กักกันจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 41.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2104/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำคุกซ้ำ หากศาลรอการลงโทษไว้ก่อนหน้านี้ เนื่องจากยังถือว่าไม่เคยถูกลงโทษจริง
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ผู้ที่จะถูกเพิ่มโทษได้จะต้องเป็นผู้ที่ถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก และได้กระทำผิดขึ้นอีกภายในเวลา 5 ปีนับแต่วันพ้นโทษซึ่งวันพ้นโทษก็คือพ้นโทษจำคุกในคดีก่อนนั่นเอง ดังนั้น เมื่อคดีก่อนศาลลงโทษจำคุกแต่รอการลงโทษไว้จึงไม่มีวันพ้นโทษที่จะถือเป็นเกณฑ์ในการเพิ่มโทษได้ แม้ว่าจำเลยจะมาทำผิดขึ้นอีกภายใน 5 ปี นับแต่วันครบกำหนดรอการลงโทษก็ตาม ก็เพิ่มโทษมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 422/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลบล้างมลทินโทษกักกัน และการเพิ่มโทษซ้ำโดยอาศัยโทษกักกันเดิมที่ไม่สามารถนำมาใช้เพิ่มโทษได้
ก่อนใช้ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติกักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย พ.ศ.2479 มาตรา 5 บัญญัติให้ถือกักกันเป็นโทษอาญาสถานหนึ่ง เมื่อใช้ประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 15 ให้เปลี่ยนโทษกักกันมาเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยโทษกักกันจึงไม่ใช่โทษอาญาเสียแล้ว แต่บทบัญญัติมาตรา 15 นี้ย่อมไม่ย้อนหลังไปบังคับถึงโทษกักกันที่ได้เสร็จสิ้นพ้นโทษไปแล้ว
จำเลยเคยต้องคำพิพากษาให้กักกันมีกำหนด 3 ปี พ้นโทษไปเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2498 ก่อนใช้พระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ.2499 และก่อนใช้ประมวลกฎหมายอาญา ดังนี้ โทษกักกันที่จำเลยได้รับเสร็จสิ้นไปแล้วก่อนประมวลกฎหมายอาญาออกใช้ ก็คงถือเป็นโทษอยู่ ย่อมได้รับการล้างมลทินโดยพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ.2499 มาตรา 3 จะกักกันจำเลยโดยอาศัยเหตุที่จำเลยเคยถูกกักกันมาแล้วตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 41 อีกหาได้ไม่
จำเลยเคยต้องคำพิพากษาให้กักกันมีกำหนด 3 ปี พ้นโทษไปเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2498 ก่อนใช้พระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ.2499 และก่อนใช้ประมวลกฎหมายอาญา ดังนี้ โทษกักกันที่จำเลยได้รับเสร็จสิ้นไปแล้วก่อนประมวลกฎหมายอาญาออกใช้ ก็คงถือเป็นโทษอยู่ ย่อมได้รับการล้างมลทินโดยพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ.2499 มาตรา 3 จะกักกันจำเลยโดยอาศัยเหตุที่จำเลยเคยถูกกักกันมาแล้วตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 41 อีกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 683/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงหลักการกักกันผู้กระทำผิดติดนิสัย: ประมวลกฎหมายอาญา vs. พ.ร.บ.กักกันผู้ร้าย และการพิจารณาโทษซ้ำ
ตามพระราชบัญญัติกักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย พ.ศ.2479มาตรา 8 มีถ้อยคำว่า 'ถ้าผู้ใดเคยได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาให้จำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่าสองครั้ง' แต่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 41 ใช้ถ้อยคำเพียงว่า 'ถูกศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุก ฯลฯ มาแล้วไม่น้อยกว่าสองครั้ง' ไม่มีถ้อยคำว่า ต้อง 'เคยได้รับโทษจำคุกมาแล้ว' ด้วย จึงเป็นการแสดงว่าประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 41ได้เปลี่ยนแปลงหลักการในเรื่องที่จะลงโทษกักกันจากพระราชบัญญัติกักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้ายเดิมเสียแล้ว
จำเลยกระทำความผิดและถูกศาลพิพากษาลงโทษไม่ต่ำกว่าหกเดือนมาแล้ว 2 ครั้งคดีที่จำเลยกระทำความผิดทีหลังศาลพิพากษาลงโทษก่อนส่วนคดีที่จำเลยกระทำความผิดก่อนศาลพิพากษาลงโทษทีหลังทั้งในคดีที่ศาลพิพากษาลงโทษทีหลัง ศาลพิพากษาให้นับโทษต่อคดีที่พิพากษาก่อนด้วยแล้วจำเลยมากระทำความผิดในคดีนี้อีก และถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกไม่ต่ำกว่าหกเดือน ดังนี้ ศาลอาจถือว่า จำเลยเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัยได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2506)
จำเลยกระทำความผิดและถูกศาลพิพากษาลงโทษไม่ต่ำกว่าหกเดือนมาแล้ว 2 ครั้งคดีที่จำเลยกระทำความผิดทีหลังศาลพิพากษาลงโทษก่อนส่วนคดีที่จำเลยกระทำความผิดก่อนศาลพิพากษาลงโทษทีหลังทั้งในคดีที่ศาลพิพากษาลงโทษทีหลัง ศาลพิพากษาให้นับโทษต่อคดีที่พิพากษาก่อนด้วยแล้วจำเลยมากระทำความผิดในคดีนี้อีก และถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกไม่ต่ำกว่าหกเดือน ดังนี้ ศาลอาจถือว่า จำเลยเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัยได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 709/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักกันผู้กระทำผิดและการพิจารณาโทษซ้ำหลังพ้นโทษ: อำนาจศาลตามมาตรา 14 และ 41 ประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยต้องโทษฐานลักทรัพย์ ศาลจำคุก 6 เดือนต่อมาจำเลยต้องโทษฐานทำร้ายร่างกาย ต่อสู้เจ้าพนักงานและเมาสุราศาลรวมกะทงลงโทษจำคุก 1 ปีแต่ฐานทำร้ายร่างกายนั้นศาลวางโทษจำคุก 4 เดือนความผิดฐานทำร้ายร่างกายจึงนำมากักกันจำเลยไม่ได้คงเหลือโทษฐานลักทรัพย์ครั้งเดียวที่เป็นโทษฐานที่ระบุไว้ในมาตรา 41 ประมวลกฎหมายอาญาและมีกำหนดโทษจำคุกถึง 6 เดือนศาลจึงมีอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 14 ที่จะสั่งตามที่เห็นสมควรศาลจึงอาจสั่งให้ยกเลิกการกักกันให้จำเลยได้