พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5355/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษอาญาตามกฎหมายใหม่และการใช้คำรับสารภาพประกอบพยานหลักฐาน
คดีนี้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง และเมื่อฟังพยานโจทก์จนพอใจว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องจริงก็พิพากษาลงโทษจำเลย เมื่อจำเลยใช้สิทธิอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ต้องวินิจฉัยตามข้ออ้างข้อเถียงในอุทธรณ์ของจำเลยว่ามีเหตุผลให้รับฟังหรือไม่ และเมื่อรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานใดแล้ว หากปรากฏว่าในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีกฎหมายที่แก้ไขใหม่ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลย ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลย ตาม ป.อ. มาตรา 3 หามีกรณีต้องสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยในชั้นอุทธรณ์ ซึ่งหากอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกไม่เกิน 5 ปี จะต้องพิพากษาลงโทษจำเลยตามคำรับสารภาพของจำเลยโดยไม่ต้องพิจารณาพยานโจทก์ดังที่โจทก์กล่าวอ้างในฎีกาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 217/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายยาเสพติดกระทบต่อโทษอาญา ศาลฎีกาแก้ไขโทษตามกฎหมายใหม่
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5)ฯ มาตรา 8 มาตรา 26 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 มาตรา 67 และมาตรา 91 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ และให้ใช้ข้อความใหม่แทน ซึ่งความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนตามมาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสามปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ตามกฎหมายเดิมมีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันถึงหนึ่งแสนบาท จะเห็นได้ว่าโทษจำคุกขั้นสูงตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เบากว่าโทษจำคุกตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 91 เดิม แม้ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะได้กำหนดให้มีโทษปรับสูงกว่าโทษปรับตามกฎหมายเดิม แต่ก็เป็นการบัญญัติให้ลงโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับแต่กต่างจากบทบัญญัติเดิมที่กำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับเท่านั้น จึงต้องถือว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด และกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด เป็นคุณมากกว่าในส่วนที่เกี่ยวกับโทษซึ่งมีหลายสถานที่จะลงได้ กรณีโทษจำคุกจึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 ส่วนความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง ทั้งตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่คงใช้ข้อความทำนองเดียวกัน ดังนั้น กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายเดิมบังคับแก่จำเลยในส่วนนี้
ส่วนกำหนดโทษนั้น ตามกฎหมายเดิมมาตรา 67 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท สำหรับกฎหมายที่แก้ไขใหม่ มาตรา 67 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ จะเห็นได้ว่า แม้ตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะมีระวางโทษจำคุกเท่ากันและตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะมีระวางโทษปรับสูงกว่าโทษปรับตามกฎหมายเดิม แต่ก็เป็นการบัญญัติให้ลงโทษจำคุกหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับแตกต่างจากกฎหมายเดิมที่กำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับเท่านั้น จึงต้องถือว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิด และกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดเป็นคุณมากกว่าในส่วนที่เกี่ยวกับโทษซึ่งมีหลายสถานที่จะลงได้แต่โทษปรับตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดเป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง รวมทั้งแก้ไขโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับกฎหมายที่แก้ไขใหม่ได้ด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
ส่วนกำหนดโทษนั้น ตามกฎหมายเดิมมาตรา 67 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท สำหรับกฎหมายที่แก้ไขใหม่ มาตรา 67 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ จะเห็นได้ว่า แม้ตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะมีระวางโทษจำคุกเท่ากันและตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะมีระวางโทษปรับสูงกว่าโทษปรับตามกฎหมายเดิม แต่ก็เป็นการบัญญัติให้ลงโทษจำคุกหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับแตกต่างจากกฎหมายเดิมที่กำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับเท่านั้น จึงต้องถือว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิด และกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดเป็นคุณมากกว่าในส่วนที่เกี่ยวกับโทษซึ่งมีหลายสถานที่จะลงได้แต่โทษปรับตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดเป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง รวมทั้งแก้ไขโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับกฎหมายที่แก้ไขใหม่ได้ด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษอาญา: คำรับสารภาพไม่เป็นประโยชน์เมื่อมีพยานหลักฐานอื่นแน่นหนามั่นคง
เหตุเกิดเวลากลางวันมีผู้รู้เห็นเหตุการณ์หลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพยานโจทก์ซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับเหตุการณ์ต่างเบิกความยืนยันว่าเห็นและจำได้แม่นยำว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายหลังเกิดเหตุแล้วประมาณ 5 วัน เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจสืบสวนได้เค้ามูลว่าจำเลยเป็นคนร้ายและนำภาพถ่ายของจำเลยไปให้พยานทั้งสองดูต่างยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้าย พยานโจทก์ดังกล่าวมีโอกาสเห็นจำเลยอย่างใกล้ชิดและนานพอที่จะจำจำเลยได้ไม่ผิดตัว พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบแน่นหนามั่นคงมีน้ำหนักพอที่จะรับฟังลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องอาศัยคำรับสารภาพของจำเลย คำให้การรับสารภาพของจำเลยจึงไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา กรณีไม่มีเหตุบรรเทาโทษที่ศาลจะลดโทษให้จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9041/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำหน่ายสารระเหยให้เด็กและผู้ติดยาเสพติด เป็นภัยร้ายต่อเยาวชน มีโทษทางอาญา
จำเลยกระทำความผิดในข้อหาขายสารระเหยแก่ผู้ที่มีอายุไม่เกินสิบเจ็ดปีและบุคคลที่ตนรู้หรือควรจะรู้ว่าติดสารระเหย นับว่าเป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งผู้ติดสารระเหยและเป็นภัยแก่เด็กและเยาวชนของชาติก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง จึงไม่สมควรรอการลงโทษให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6503/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยมีวัตถุออกฤทธิ์เกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด และการแก้ไขโทษทางอาญาที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา
อีเฟดรีนของกลางที่จำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ดังกล่าวต้องรับโทษเพียงใดอยู่ที่ปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ว่าหนักเท่าใด เมื่อข้อเท็จจริง ฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 มีอีเฟดรีน ของกลางไว้ในครอบครอง คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 13.12 กรัม ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92(พ.ศ. 2538)รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดไว้ว่าการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์อีเฟดรีน ซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์แล้วต้องไม่เกินปริมาณ 12.000 กรัม การที่จำเลยมีอีเฟดรีน ไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดดังกล่าวจึงเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 มาตรา 106 ทวิ ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1ตามที่โจทก์ฟ้องนั้นได้ หาใช่เป็นการเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ไม่ ขณะเจ้าพนักงานเข้าตรวจค้น พบจำเลยที่ 2 นอนอยู่ที่เพิง ข้างบ้าน โดยจำเลยที่ 2 อ้างว่าไปนอนที่บ้านเกิดเหตุเพื่อดู หนังสือเตรียมตัวสอบ ส่วนจำเลยที่ 3 ไปพบจำเลยที่ 1เพราะจำเลยที่ 1 ชวนให้นอนค้างที่บ้านเกิดเหตุ เมื่อไม่ปรากฏพฤติการณ์ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้รู้เห็นในการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 หรือสมคบกับจำเลยที่ 1กระทำผิดรายนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะให้การในชั้นสอบสวนว่าจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 ช่วยถอดเครื่องมือที่ใช้ผลิตอีเฟดรีน เพื่อนำออกไปซ่อมก็ตาม แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ทราบข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 ผลิตอีเฟดรีน มาก่อน เพียงเท่านี้จึงยังไม่พอชี้ขาดว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีส่วนร่วมกระทำผิดรายนี้ด้วย โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 13 ทวิ,62,86,106 ทวิ ซึ่งการฝ่าฝืนมาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง บทกำหนดโทษคือมาตรา 89การที่โจทก์ขอให้ลงโทษตามมาตรา 86 แทนที่จะเป็นมาตรา 89 จึงเป็นกรณีโจทก์อ้างบทมาตราผิดศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1 ตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 13 วรรคหนึ่ง,62 วรรคหนึ่ง,89,106 ทวิ ให้ลงโทษฐานผลิตตามมาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง,89 อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 นั้น ยังไม่ถูกต้อง เพราะมาตรา 89 และมาตรา 106 ทวิ ต่างก็มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาทเท่ากัน ต้องพิพากษาว่าการกระทำของจำเลยที่ 1เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งมีอัตราโทษเท่ากันให้ลงโทษฐานผลิตวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ตามมาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง และมาตรา 89
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4071/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลเยาวชนฯ, การปรับบทกฎหมายยาเสพติด, และการแก้ไขโทษตามกฎหมายอาญา
ศาลที่มีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนจะต้องเป็นศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 เท่านั้น
ขณะที่คดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดราชบุรีได้เปิดทำการและมีผลบังคับใช้แล้ว แม้คดีนี้ขณะที่กระทำผิดจำเลยอายุ 17 ปี ซึ่งถือว่าเป็นเยาวชนก็ตาม แต่ในท้องที่จังหวัดราชบุรีซึ่งจำเลยมีถิ่นที่อยู่ปกติและเป็นท้องที่ที่จำเลยกระทำความผิดไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวดังนั้น ศาลชั้นต้นคือศาลจังหวัดราชบุรีซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาตาม ป.วิ.อ.จึงมีอำนาจพิจารณาคดีนี้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 58 (3)ศาลชั้นต้นจึงไม่ใช่ศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวตามความหมายในมาตรา 4 เมื่อศาลชั้นต้นได้พิจารณาพิพากษาจำเลยแล้ว การอุทธรณ์ฎีกาจึงต้องอุทธรณ์ฎีกาไปตาม ป.วิ.อ. คดีจึงขึ้นสู่ศาลอุทธรณ์ภาค 3และศาลฎีกาตามลำดับ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลฎีกาจึงมิใช่ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวตามความหมายของมาตรา 4 ด้วยเช่นกัน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลฎีกาย่อมไม่มีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา104 (2) เพื่อเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดราชบุรีได้ แม้ในขณะที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลฎีกาได้พิจารณาคดีนี้ ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดราชบุรีได้เปิดทำการและมีผลใช้บังคับแล้วก็ตาม
ขณะที่จำเลยกระทำผิด จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 3.896 กรัม เกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไว้ เป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ต้องรับโทษตามมาตรา 106 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท แต่ในระหว่างพิจารณาปรากฏว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศลำดับที่ 20ระบุชื่อ เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงมีผลให้การมีเมทแอมเฟตามีนคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เพียง 3.896 กรัม ไม่ถึง 20 กรัม เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 67 ซึ่งระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 อีกต่อไป และเมื่อ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 มาตรา 67 ระวางโทษเบากว่าระวางโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 106 ทวิ ซึ่งใช้อยู่ในขณะจำเลยกระทำความผิดจึงเป็นกฎหมายส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย ต้องปรับบทลงโทษจำเลยตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 67 ตาม ป.อ.มาตรา 3 แต่สำหรับความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท มีระวางโทษหนักกว่าฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อขายตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 89ซึ่งระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาทจึงถือว่า พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ดังกล่าวแตกต่างและมิได้เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ดังนี้ ความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อขายจึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518มาตรา 89 ซึ่งเป็นกฎหมายส่วนที่เป็นคุณตาม ป.อ.มาตรา 3 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3ไม่ปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 67นั้น เป็นการไม่ชอบ แม้จำเลยจะไม่ฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
ขณะที่คดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดราชบุรีได้เปิดทำการและมีผลบังคับใช้แล้ว แม้คดีนี้ขณะที่กระทำผิดจำเลยอายุ 17 ปี ซึ่งถือว่าเป็นเยาวชนก็ตาม แต่ในท้องที่จังหวัดราชบุรีซึ่งจำเลยมีถิ่นที่อยู่ปกติและเป็นท้องที่ที่จำเลยกระทำความผิดไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวดังนั้น ศาลชั้นต้นคือศาลจังหวัดราชบุรีซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาตาม ป.วิ.อ.จึงมีอำนาจพิจารณาคดีนี้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 58 (3)ศาลชั้นต้นจึงไม่ใช่ศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวตามความหมายในมาตรา 4 เมื่อศาลชั้นต้นได้พิจารณาพิพากษาจำเลยแล้ว การอุทธรณ์ฎีกาจึงต้องอุทธรณ์ฎีกาไปตาม ป.วิ.อ. คดีจึงขึ้นสู่ศาลอุทธรณ์ภาค 3และศาลฎีกาตามลำดับ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลฎีกาจึงมิใช่ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวตามความหมายของมาตรา 4 ด้วยเช่นกัน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลฎีกาย่อมไม่มีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา104 (2) เพื่อเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดราชบุรีได้ แม้ในขณะที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลฎีกาได้พิจารณาคดีนี้ ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดราชบุรีได้เปิดทำการและมีผลใช้บังคับแล้วก็ตาม
ขณะที่จำเลยกระทำผิด จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 3.896 กรัม เกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไว้ เป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ต้องรับโทษตามมาตรา 106 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท แต่ในระหว่างพิจารณาปรากฏว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศลำดับที่ 20ระบุชื่อ เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงมีผลให้การมีเมทแอมเฟตามีนคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เพียง 3.896 กรัม ไม่ถึง 20 กรัม เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 67 ซึ่งระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 อีกต่อไป และเมื่อ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 มาตรา 67 ระวางโทษเบากว่าระวางโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 106 ทวิ ซึ่งใช้อยู่ในขณะจำเลยกระทำความผิดจึงเป็นกฎหมายส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย ต้องปรับบทลงโทษจำเลยตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 67 ตาม ป.อ.มาตรา 3 แต่สำหรับความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท มีระวางโทษหนักกว่าฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อขายตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 89ซึ่งระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาทจึงถือว่า พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ดังกล่าวแตกต่างและมิได้เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ดังนี้ ความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อขายจึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518มาตรา 89 ซึ่งเป็นกฎหมายส่วนที่เป็นคุณตาม ป.อ.มาตรา 3 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3ไม่ปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 67นั้น เป็นการไม่ชอบ แม้จำเลยจะไม่ฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3146/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายระหว่างการพิจารณาคดี: ผลกระทบต่อโทษอาญาจาก พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ฯ เป็น พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใหญ่บ้าน ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานตามพ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534มาตรา 10
จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาต และการที่จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนเป็นจำนวนมาก จึงเป็นพฤติการณ์ที่ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย
จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกกระทำความผิดฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อขาย โดยหลังจากเจ้าพนักงานตรวจค้นและยึดวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 จำนวนหนึ่งได้จากจำเลยทั้งสองที่ร่วมกันผลิตและมีไว้ในครอบครองที่บ้านเกิดเหตุแล้ว จำเลยที่ 1 ยังนำเจ้าพนักงานไปตรวจค้นและยึดวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อีกจำนวน 80 ถุง บรรจุถุงละ 200 เม็ด จากบริเวณบ้านจำเลยที่ 1 โดยก่อนวันเกิดเหตุจำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนบรรจุถุงละ 200 เม็ด ได้จำนวน 180 ถุง จำเลยที่ 2 ส่งมอบแก่จำเลยที่ 1 จำนวน150 ถุง ได้จำหน่ายไปบางส่วนคงเหลือ 80 ถุง ใส่โหลพลาสติกฝังไว้ในสวนมะนาวหลังบ้านจำเลยที่ 1 ดังนั้น เมทแอมเฟตามีนจำนวน 80 ถุง ดังกล่าวที่จำเลยทั้งสองมีไว้ในครอบครองมาก่อนที่จำเลยทั้งสองจะผลิตและมีไว้ในครอบครองซึ่งเมทแอมเฟ-ตามีนจำนวนที่ยึดได้จากบ้านเกิดเหตุ การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีนทั้งสองจำนวนดังกล่าวเป็นการกระทำคนละเวลาคนละสถานที่และวัตถุแห่งการกระทำความผิดก็เป็นคนละจำนวนโดยมิได้เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกัน การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองสำหรับการร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 80 ถุงไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อขาย จึงเป็นการกระทำความผิดอีกกรรมหนึ่งต่างหาก ซึ่งต้องเรียงกระทงลงโทษตามกฎหมาย
ขณะจำเลยทั้งสองกระทำความผิดนั้น มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อขาย เป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องรับโทษตามมาตรา 89 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท และการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม จำนวนหนึ่ง และ 242 กรัม อีกจำนวนหนึ่ง เกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เป็นการกระทำความผิดตามพ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง ต้องรับโทษตามมาตรา 106 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท แต่ในระหว่างพิจารณา ปรากฏว่ามีการยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2ดังกล่าวข้างต้น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศลำดับที่ 20ระบุชื่อเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงมีผลให้การผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522มาตรา 15 วรรคสอง ต้องรับโทษตามมาตรา 65 วรรคสอง ระวางโทษประหารชีวิต และการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้35 กรัม จำนวนหนึ่ง และ 242 กรัม อีกจำนวนหนึ่ง เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสอง ต้องรับโทษตามมาตรา 66วรรคหนึ่ง ในกรณีคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท และต้องรับโทษตามมาตรา 66 วรรคสอง ในกรณีคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 242 กรัม ระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต ดังนั้น พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518 ที่ใช้ในขณะจำเลยทั้งสองกระทำความผิดแตกต่างกับ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิด และเมื่อ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ระวางโทษแก่จำเลยทั้งสองเบากว่าระวางโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงต้องนำ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 อันเป็นกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองมาใช้บังคับ ตาม ป.อ.มาตรา 3
จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาต และการที่จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนเป็นจำนวนมาก จึงเป็นพฤติการณ์ที่ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย
จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกกระทำความผิดฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อขาย โดยหลังจากเจ้าพนักงานตรวจค้นและยึดวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 จำนวนหนึ่งได้จากจำเลยทั้งสองที่ร่วมกันผลิตและมีไว้ในครอบครองที่บ้านเกิดเหตุแล้ว จำเลยที่ 1 ยังนำเจ้าพนักงานไปตรวจค้นและยึดวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อีกจำนวน 80 ถุง บรรจุถุงละ 200 เม็ด จากบริเวณบ้านจำเลยที่ 1 โดยก่อนวันเกิดเหตุจำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนบรรจุถุงละ 200 เม็ด ได้จำนวน 180 ถุง จำเลยที่ 2 ส่งมอบแก่จำเลยที่ 1 จำนวน150 ถุง ได้จำหน่ายไปบางส่วนคงเหลือ 80 ถุง ใส่โหลพลาสติกฝังไว้ในสวนมะนาวหลังบ้านจำเลยที่ 1 ดังนั้น เมทแอมเฟตามีนจำนวน 80 ถุง ดังกล่าวที่จำเลยทั้งสองมีไว้ในครอบครองมาก่อนที่จำเลยทั้งสองจะผลิตและมีไว้ในครอบครองซึ่งเมทแอมเฟ-ตามีนจำนวนที่ยึดได้จากบ้านเกิดเหตุ การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีนทั้งสองจำนวนดังกล่าวเป็นการกระทำคนละเวลาคนละสถานที่และวัตถุแห่งการกระทำความผิดก็เป็นคนละจำนวนโดยมิได้เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกัน การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองสำหรับการร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 80 ถุงไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อขาย จึงเป็นการกระทำความผิดอีกกรรมหนึ่งต่างหาก ซึ่งต้องเรียงกระทงลงโทษตามกฎหมาย
ขณะจำเลยทั้งสองกระทำความผิดนั้น มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อขาย เป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องรับโทษตามมาตรา 89 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท และการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม จำนวนหนึ่ง และ 242 กรัม อีกจำนวนหนึ่ง เกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เป็นการกระทำความผิดตามพ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง ต้องรับโทษตามมาตรา 106 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท แต่ในระหว่างพิจารณา ปรากฏว่ามีการยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2ดังกล่าวข้างต้น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศลำดับที่ 20ระบุชื่อเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงมีผลให้การผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522มาตรา 15 วรรคสอง ต้องรับโทษตามมาตรา 65 วรรคสอง ระวางโทษประหารชีวิต และการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้35 กรัม จำนวนหนึ่ง และ 242 กรัม อีกจำนวนหนึ่ง เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสอง ต้องรับโทษตามมาตรา 66วรรคหนึ่ง ในกรณีคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท และต้องรับโทษตามมาตรา 66 วรรคสอง ในกรณีคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 242 กรัม ระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต ดังนั้น พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518 ที่ใช้ในขณะจำเลยทั้งสองกระทำความผิดแตกต่างกับ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิด และเมื่อ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ระวางโทษแก่จำเลยทั้งสองเบากว่าระวางโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงต้องนำ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 อันเป็นกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองมาใช้บังคับ ตาม ป.อ.มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6810/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษคดีอาญาเดิมที่รอการลงโทษเข้ากับคดีใหม่ แม้โจทก์มิได้ขอ
ป.อ.มาตรา 58 วรรคหนึ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2532 มาตรา 4 เมื่อจำเลยแถลงรับตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่าจำเลยเคยต้องโทษตามคดีอาญาอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้นจริง และคดีดังกล่าวศาลอุทธรณ์พิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำเลยฐานมีเฮโรอีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตจำคุก 6 เดือน โดยให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ตาม ป.อ.มาตรา56 และในระหว่างที่ยังไม่ครบ 2 ปี จำเลยได้มากระทำความผิดคดีนี้ เช่นนี้แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและขอให้บวกโทษในคดีดังกล่าวเข้ากับโทษคดีนี้แต่เป็นกรณีที่ความปรากฏแก่ศาลเองจากรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติ ทั้งจำเลยก็ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วข้างต้น ศาลจึงต้องนำโทษที่รอไว้ในคดีอาญาเรื่องนั้นของศาลชั้นต้นมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5210/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษอาญาซ้ำซ้อนและหลักการใช้กฎหมายบทหนัก กรณีจำเลยกระทำผิดหลายกระทง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 147,157,265 เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทลงโทษตามมาตรา 147 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดจำเลยกระทำความผิด 23 กระทง เรียงกระทงลงโทษจำคุกกระทงละ 5 ปีรวมจำคุก 115 ปี และมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265,268 แต่ลงโทษตามมาตรา 268 วรรคสอง ประกอบมาตรา 265จำเลยกระทำความผิด 23 กระทง เรียงกระทงลงโทษ จำคุกกระทงละ 1 ปีรวมจำคุก 23 ปี รวมโทษจำคุก จำเลยทั้งหมด 138 ปี แต่ให้จำคุกจำเลยเพียง 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3)ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147,265,268 กระทงเดียวเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามมาตรา 147ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดจำคุก 5 ปี และไม่ปรับบทกระทำผิดของจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีกเท่านั้น จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงทำนองว่า ไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง แต่ถ้าศาลฎีกาฟังว่าจำเลยกระทำความผิด ขอให้ลงโทษสถานเบาหรือรอการลงโทษแก่จำเลยจึงต้องห้ามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาเรื่องโทษอาญา: ข้อจำกัดการฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษเพียงเล็กน้อย
โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยหนักขึ้นเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลล่างอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่ออุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะโทษจากให้จำคุก 33 ปี 4 เดือน เป็นจำคุก 12 ปีซึ่งเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้จำคุกจำเลยเกินห้าปี โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 218 วรรคสองที่แก้ไขแล้ว