พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8403/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนประทานบัตรเหมืองแร่เนื่องจากพื้นที่ทับซ้อนโบราณสถาน แม้ผู้ขอประทานบัตรไม่ทราบ ก็ชอบด้วยกฎหมาย
การที่กระทรวงอุตสาหกรรมจำเลยที่ 1 ไม่ทราบว่าพื้นที่ที่ได้ออกประทานบัตรเหมืองแร่พิพาทให้แก่ผู้ขอประทานบัตรเป็นพื้นที่ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับโบราณสถานที่กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้เมื่อปี 2479 และปี 2480 และไม่ทราบว่าบริเวณเทือกเขาสมอคอนอันเป็นที่ตั้งของประทานบัตรของโจทก์เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีและโบราณวัตถุ จึงได้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบร่วมกันไปตรวจหาข้อเท็จจริง และแม้เจ้าหน้าที่ของกรมทรัพยากรธรณีจำเลยที่ 2 กรมศิลปากรที่ 3 และสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมที่ 4 เคยไปตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนออกประทานบัตรแล้วแต่เมื่อฟังไม่ได้ว่ากระทรวงอุตสาหกรรมจำเลยที่ 1 ผู้ออกประทานบัตรเหมืองแร่พิพาททราบข้อเท็จจริงดังกล่าว การที่กระทรวงอุตสาหกรรม จำเลยที่ 1 มีคำสั่งเพิกถอนประทานบัตรเหมืองแร่พิพาทของโจทก์ซึ่งรับโอนประทานบัตรมาจากผู้ขอประทานบัตรโดยอ้างว่าประทานบัตรของโจทก์อยู่ในบริเวณที่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และผู้ขอประทานบัตรเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ณ พื้นที่คำขอประทานบัตรไม่ตรงต่อความจริงโดยรายงานว่าบริเวณที่ทำเหมืองหรือบริเวณใกล้เคียงไม่มีสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและโบราณวัตถุเป็นเหตุให้มีการออกประทานบัตรโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ จึงเป็นเหตุผลที่ถูกต้องและชอบด้วยข้อเท็จจริงการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 ทวิแห่ง พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 สั่งเพิกถอนประทานบัตรดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้โจทก์จะได้รับความเสียหายจากการเพิกถอนประทานบัตรของจำเลยที่ 1และแม้โจทก์จะไม่ทราบว่าบริเวณพื้นที่ที่ได้รับประทานบัตรนั้นอยู่ในบริเวณซึ่งมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและโบราณวัตถุ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสี่ได้ ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510มาตรา 9 ทวิ วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7290/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขึ้นทะเบียนโบราณสถานและการเวนคืนที่ดิน: การแจ้งเจ้าของและการมีอยู่ของโบราณสถาน
พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถาน-แห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 7 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "การขึ้นทะเบียนโบราณสถานตามความในวรรคก่อน ถ้าโบราณสถานนั้นมีเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ให้อธิบดีแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองทราบ ถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองไม่พอใจ ก็ให้มีสิทธิร้องต่อศาลภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่อธิบดีแจ้งให้ทราบ ขอให้ศาลมีคำสั่งให้อธิบดีระงับการขึ้นทะเบียนและหรือการกำหนดเขตที่ดินให้เป็นโบราณสถาน แล้วแต่กรณีได้ ถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองมิได้ร้องขอต่อศาล หรือศาลมีคำสั่งถึงที่สุดให้ยกคำร้องขอของเจ้าของหรือผู้ครอบครอง ให้อธิบดีดำเนินการขึ้นทะเบียนได้" นั้น มีความมุ่งหมายเพียงให้อธิบดีกรมศิลปากรแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองโบราณสถานทราบเท่านั้น มิใช่เป็นการขออนุญาตแต่อย่างใด แม้จะมีการประกาศกำหนดเขตที่ดินเป็นเขตโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 28,217 ไร่ โดยกรมศิลปากรจำเลยที่ 1 ไม่ได้แจ้งเป็นหนังสือให้โจทก์ผู้อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวทราบเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนประกาศ แต่ก็ได้มีการประชาสัมพันธ์ให้ราษฎรในพื้นที่ดังกล่าวทราบว่าจำเลยที่ 1จะดำเนินการประกาศกำหนดเขตที่ดินบริเวณนั้นให้เป็นเขตโบราณสถาน จึงถือได้ว่าเป็นการประกาศขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นโบราณสถานโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ที่ดินพิพาทเป็นที่ตั้งของกำแพงเมืองเชลียงซึ่งเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ โดยมีร่องรอยเป็นแนวกำแพงเมืองผ่านตลอดริมฝั่งใต้ของแม่น้ำยมในบริเวณที่ดินพิพาทมีก้อนศิลาแลงโบราณปรากฏอยู่ นอกจากนี้ในที่ดินพิพาทยังมีบ่อน้ำโบราณอยู่โดยมีก้อนศิลาแลงโบราณทรงโค้งซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบ่อน้ำโบราณถูกนำมาก่อสร้างเป็นขั้นบันไดริมตลิ่งแม่น้ำยมด้วย แม้จะไม่มีแนวกำแพงเมืองในที่ดินพิพาทเนื่องจากมีการขุด ทำลายกำแพงเมืองในที่ดินพิพาทและที่ดินส่วนอื่นแต่ก็ยังมีซากหรือเศษส่วนของแนวกำแพง ก้อนศิลาแลงปรากฎอยู่เป็นหลักฐานถือได้ว่าบริเวณที่พิพาทมีโบราณสถานอยู่จริง การกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยและคำสั่งให้โจทก์ระงับการก่อสร้างและรื้อถอนสิ่งก่อสร้างของจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ที่ดินพิพาทเป็นที่ตั้งของกำแพงเมืองเชลียงซึ่งเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ โดยมีร่องรอยเป็นแนวกำแพงเมืองผ่านตลอดริมฝั่งใต้ของแม่น้ำยมในบริเวณที่ดินพิพาทมีก้อนศิลาแลงโบราณปรากฏอยู่ นอกจากนี้ในที่ดินพิพาทยังมีบ่อน้ำโบราณอยู่โดยมีก้อนศิลาแลงโบราณทรงโค้งซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบ่อน้ำโบราณถูกนำมาก่อสร้างเป็นขั้นบันไดริมตลิ่งแม่น้ำยมด้วย แม้จะไม่มีแนวกำแพงเมืองในที่ดินพิพาทเนื่องจากมีการขุด ทำลายกำแพงเมืองในที่ดินพิพาทและที่ดินส่วนอื่นแต่ก็ยังมีซากหรือเศษส่วนของแนวกำแพง ก้อนศิลาแลงปรากฎอยู่เป็นหลักฐานถือได้ว่าบริเวณที่พิพาทมีโบราณสถานอยู่จริง การกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยและคำสั่งให้โจทก์ระงับการก่อสร้างและรื้อถอนสิ่งก่อสร้างของจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7290/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขึ้นทะเบียนโบราณสถาน: การแจ้งเจ้าของที่ดินไม่จำเป็นต้องเป็นลายลักษณ์อักษร การประชาสัมพันธ์ถือว่าชอบด้วยกฎหมาย
พระราชบัญญัติโบราณสถานโบราณวัตถุศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพ.ศ.2504มาตรา7วรรคสองมีความมุ่งหมายเพียงให้อธิบดีกรมศิลปากรแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองโบราณสถานทราบถึงการขึ้นทะเบียนโบราณสถานเท่านั้นมิใช่เป็นการขออนุญาตดังนั้นเมื่อมีการประกาศกำหนดเขตที่ดินใดเป็นเขตโบราณสถานแล้วแม้กรมศิลปากรจำเลยไม่ได้แจ้งเป็นหนังสือให้โจทก์ผู้อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวทราบเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนประกาศก็ถือได้ว่าเป็นการประกาศขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นโบราณสถานโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2683/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างถนนย่อมชอบด้วยกฎหมาย แม้ที่ดินนั้นเป็นโบราณสถาน เพราะมีวัตถุประสงค์ต่างกัน
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 และ พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงสี่พระยา แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรักกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 ไม่ขัดแย้งกับ พ.ร.บ. โบราณสถาน โบราณวัตถุศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 เพียงแต่ตามสภาพของการเวนคืนที่ดินเพื่อทำถนนหรือทางสาธารณประโยชน์จำเป็นต้องรื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่ขวางถนนหรือทางสาธารณประโยชน์นั้น แม้อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่ต้องรื้อจะเป็นโบราณสถาน วัด มัสยิด หรือปูชนียสถานที่คนเคารพนับถือก็ตาม ก็ต้องรื้อไปจึงจะสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมาได้ การสร้างสิ่งใหม่หรือการทำถนนเพื่อสาธารณประโยชน์และการผังเมืองตามความจำเป็นเพื่อแก้ปัญหาความคับคั่งของการจราจรจึงทำได้โดยอาศัยอำนาจนิติบัญญัติหรือกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใหม่เพื่อการนั้น โดยมีวัตถุประสงค์แตกต่างไปจาก พ.ร.บ.โบราณสถาน ฯ พ.ศ.2504 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองดูแลรักษาบูรณะและซ่อมแซมโบราณสถาน โบราณวัตถุและศิลปวัตถุ กับปราบปรามและลงโทษผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการลักลอบ บุกรุก ขุดค้น และทำลายโบราณสถาน ลักลอบนำหรือส่งโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่มีคุณค่าทางศิลป ประวัติศาสตร์หรือโบราณคดีออกนอกราชอาณาจักรเป็นสำคัญ พ.ร.ฎ. และประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวจึงมิได้มีความประสงค์จะลบล้างบทบัญญัติตาม พ.ร.บ. โบราณสถาน ฯ พ.ศ.2504 แต่อย่างใดทั้งการที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เวนคืนที่ดินพิพาทก็โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงสี่พระยา ฯ พ.ศ.2528 ซึ่งออกเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2528 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 7สิงหาคม 2528 และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2528 อันเป็นวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาดังกล่าว ทั้งนี้ ตามมาตรา 2 แห่งพ.ร.ฎ.ฉบับนี้ ซึ่งเป็นวันก่อนที่อธิบดีกรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนบ้านพิพาทเป็นโบราณสถานเรือนทรงไทยเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2528 ทั้งได้มีการตั้งคณะกรรมการเจรจาค่าทดแทนที่ดิน อาคาร และสิ่งปลูกสร้างในแนวถนนที่จะสร้างไว้แล้ว หากต้องสร้างถนนเบี่ยงเบนออกไปจากบ้านพิพาทก็ต้องมีการเวนคืนที่ดินของผู้อื่นเพิ่มขึ้นจากเดิมย่อมทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินผู้อื่นที่ไม่ทราบมาก่อนว่าที่ดินจะต้องถูกเวนคืน และจำต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสำรวจแนวถนนใหม่ ประกอบกับหากต้องสร้างถนนเบี่ยงเบนไปถนนตรงบริเวณนั้นจะเป็นทางโค้ง อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้รถใช้ถนนและเกิดความไม่คล่องตัวของการจราจรได้ นอกจากนี้ยังปรากฏว่าบ้านพิพาทสามารถถอดแยกเป็นส่วนต่าง ๆ และนำไปประกอบเป็นรูปทรงเดิมได้ ดังนี้การที่จำเลยที่ 1และที่ 2 ไม่ยอมสร้างทางเบี่ยงเบนออกไปจากบ้านพิพาท จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยใช้ดุลพินิจตามอำนาจที่กฎหมายให้ไว้โดยชอบแล้ว
โดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 63, 65, 66วรรคแรก, 67 วรรคแรก และวรรคท้าย กับเมื่อมี พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงสี่พระยา ฯ พ.ศ.2428 ใช้บังคับ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดทางหลวงที่มีความจำเป็นต้องสร้างโดยเร่งด่วนแล้วเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน2528 ซึ่งตามบทกฎหมายดังกล่าวนี้ ให้อำนาจเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เมื่อชำระค่าทดแทนแล้วมีอำนาจเข้าครอบครองบ้านพิพาทและรื้อถอนบ้านพิพาทได้เมื่อปรากฏว่ามีการแต่งตั้งคณะกรรมการเจรจาค่าที่ดิน อาคาร และสิ่งปลูกสร้างในแนวถนนโครงการจากถนนสี่พระยาถึงถนนสุรวงศ์ตามคำสั่งกรุงเทพมหานครที่624/2526 จัดทำแผนที่กำหนดแนวเขตที่ดินที่เวนคืน แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาทำความตกลงเรื่องค่าทดแทนตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 484/2528กับได้กำหนดค่าทดแทนสำหรับที่ดินและบ้านพิพาท และแจ้งกำหนดวันเข้าครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทให้โจทก์ทราบแล้ว จำเลยทั้งสามจึงมีสิทธิและอำนาจที่จะเข้าครอบครองและดำเนินการในอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ได้
คณะกรรมการดำเนินการตัดถนนทางหลวงเทศบาลตามพ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงสี่พระยา ฯ พ.ศ.2528 ได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนแล้ว ซึ่งต่อมาไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ไปทำความตกลงในเรื่องค่าทดแทนกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กรณีเป็นเรื่องที่ยังไม่ได้มีการตกลงกันในเรื่องค่าทดแทน จำเลยทั้งสามจึงยังไม่มีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางศาลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 63
โดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 63, 65, 66วรรคแรก, 67 วรรคแรก และวรรคท้าย กับเมื่อมี พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงสี่พระยา ฯ พ.ศ.2428 ใช้บังคับ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดทางหลวงที่มีความจำเป็นต้องสร้างโดยเร่งด่วนแล้วเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน2528 ซึ่งตามบทกฎหมายดังกล่าวนี้ ให้อำนาจเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เมื่อชำระค่าทดแทนแล้วมีอำนาจเข้าครอบครองบ้านพิพาทและรื้อถอนบ้านพิพาทได้เมื่อปรากฏว่ามีการแต่งตั้งคณะกรรมการเจรจาค่าที่ดิน อาคาร และสิ่งปลูกสร้างในแนวถนนโครงการจากถนนสี่พระยาถึงถนนสุรวงศ์ตามคำสั่งกรุงเทพมหานครที่624/2526 จัดทำแผนที่กำหนดแนวเขตที่ดินที่เวนคืน แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาทำความตกลงเรื่องค่าทดแทนตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 484/2528กับได้กำหนดค่าทดแทนสำหรับที่ดินและบ้านพิพาท และแจ้งกำหนดวันเข้าครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทให้โจทก์ทราบแล้ว จำเลยทั้งสามจึงมีสิทธิและอำนาจที่จะเข้าครอบครองและดำเนินการในอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ได้
คณะกรรมการดำเนินการตัดถนนทางหลวงเทศบาลตามพ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงสี่พระยา ฯ พ.ศ.2528 ได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนแล้ว ซึ่งต่อมาไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ไปทำความตกลงในเรื่องค่าทดแทนกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กรณีเป็นเรื่องที่ยังไม่ได้มีการตกลงกันในเรื่องค่าทดแทน จำเลยทั้งสามจึงยังไม่มีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางศาลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 63
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ราชพัสดุ-โบราณสถาน: สิทธิของแผ่นดินเหนือที่ดินส่วนหนึ่งของกำแพงเมืองโบราณและอำนาจฟ้องคดีของกรมธนารักษ์
เอกสารท้ายฟ้องระบุว่ารัฐมนตรีช่วยว่าการฯรักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้สั่งมอบอำนาจให้อธิบดีกรมธนารักษ์ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในเรื่องต่างๆรวมทั้งมีอำนาจแต่งตั้งทนายความเพื่อฟ้องคดีจึงเป็นหนังสือมอบอำนาจที่อธิบดีกรมธนารักษ์นำมาฟ้องคดีแทนกระทรวงการคลังโจทก์ได้ไม่จำต้องมีหนังสือมอบอำนาจโดยเฉพาะอีกและเป็นการกระทำการในนามของรัฐบาลจึงต้องด้วยมาตรา121แห่งประมวลรัษฎากรไม่ต้องปิดแสตมป์ ที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของกำแพงชั้นนอกของเมืองโบราณจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(3)และมีการขึ้นทะเบียนกำแพงเมืองเป็นที่ราชพัสดุและเป็นโบราณสถานไว้แล้วจึงไม่ใช่ที่รกร้างว่างเปล่าแต่เป็นที่ราชพัสดุตามพระราชบัญญัติ ที่ราชพัสดุพ.ศ.2518มาตรา4ซึ่งกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามมาตรา5ราษฎร์ย่อมไม่อาจยึดถือเอาเป็นกรรมสิทธิ์หรือโอนกันได้โดยรัฐไม่จำต้องประกาศหวงห้ามอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2672/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินโบราณสถาน: การอนุญาตจากกรมศิลปากรมีผลเหนือประกาศหวงห้าม
กรมศิลปากรอนุญาตให้สำนักหุบผาสวรรค์ใช้ประโยชน์เนื้อที่ภูเขาและรัศมีเขาถ้ำพระอันเป็นโบราณสถานได้ จำเลยในฐานะเจ้าสำนักหุบผาสวรรค์ย่อมได้รับประโยชน์จากการอนุญาตนั้นด้วยจำเลยจึงเป็นผู้หนึ่งที่มีสิทธิครอบครองที่ดินดังกล่าว แม้ต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ที่เขาหรือภูเขาและปริมณฑลรอบที่เขาหรือภูเขา 40 เมตรทุกแห่งทุกจังหวัดเป็นที่หวงห้ามซึ่งกินความถึงบริเวณที่กรมศิลปากรอนุญาตเช่นว่านั้นด้วย ก็หามีผลเป็นการห้ามมิให้จำเลยเข้าไปปลูกสร้างในที่ดินบริเวณนั้นไม่การปลูกสร้างของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108,108 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2050/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตโบราณสถานไม่ใช่ที่สาธารณสมบัติ การครอบครองแทน และการบอกกล่าวเปลี่ยนแปลงการครอบครอง
ปัญหาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเนื่องจากที่ดินนั้นอยู่ในเขตโบราณสถานที่ทางราชการขึ้นทะเบียนไว้ตามพระราชบัญญัติโบราณสถานฯนั้น เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ให้เป็นประเด็นข้อพิพาท ศาลฎีการับวินิจฉัยให้.
ที่ดินบริเวณใดที่ทางราชการขึ้นทะเบียนเป็นเขตโบราณสถานแล้วไม่มีผลทำให้ที่ดินบริเวณนั้นเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินทั้งหมด. เพียงแต่เจ้าของหรือผู้ครอบครองถูกจำกัดสิทธิบางอย่างในที่ดินของตนตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติโบราณสถานฯเท่านั้น. ที่ดินนั้นจึงไม่ใช่ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินอันจะมีผลให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง.
ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์ให้ ล. ครอบครองแทนจำเลยสืบสิทธิจาก ล. จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้ครอบครองแทนเช่นเดียวกัน. หากจำเลยจะแย่งการครอบครองหรือเปลี่ยนแปลงลักษณะแห่งการยึดถือครอบครอง ก็ต้องบอกกล่าวให้โจทก์ทราบก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 เมื่อจำเลยไม่ได้บอกกล่าวเปลี่ยนแปลงการยึดถือครอบครอง จึงไม่ใช่เรื่องที่ดินพิพาทถูกแย่งการครอบครองซึ่งโจทก์จะต้องฟ้องเรียกเอาคืนภายใน 1 ปี
ที่ดินบริเวณใดที่ทางราชการขึ้นทะเบียนเป็นเขตโบราณสถานแล้วไม่มีผลทำให้ที่ดินบริเวณนั้นเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินทั้งหมด. เพียงแต่เจ้าของหรือผู้ครอบครองถูกจำกัดสิทธิบางอย่างในที่ดินของตนตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติโบราณสถานฯเท่านั้น. ที่ดินนั้นจึงไม่ใช่ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินอันจะมีผลให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง.
ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์ให้ ล. ครอบครองแทนจำเลยสืบสิทธิจาก ล. จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้ครอบครองแทนเช่นเดียวกัน. หากจำเลยจะแย่งการครอบครองหรือเปลี่ยนแปลงลักษณะแห่งการยึดถือครอบครอง ก็ต้องบอกกล่าวให้โจทก์ทราบก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 เมื่อจำเลยไม่ได้บอกกล่าวเปลี่ยนแปลงการยึดถือครอบครอง จึงไม่ใช่เรื่องที่ดินพิพาทถูกแย่งการครอบครองซึ่งโจทก์จะต้องฟ้องเรียกเอาคืนภายใน 1 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2881-2882/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองความถูกต้องของประกาศกรมศิลปากรเรื่องโบราณสถาน
สำเนาเอกสารเป็นประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดจำนวนและขอบเขตโบราณสถาน ได้มีการลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ศาลจึงรับฟังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 863-885/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานทางประวัติศาสตร์รับรองเขตแดนโบราณสถานพระธาตุร่องอ้อ
ตำนานพระธาตุร่องอ้อที่กล่าวถึงวัดศรีดอนคำหรือวัดห้วยอ้อซึ่งเขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ.2403 โดยคัดลอกจากตำนานเดิมที่เก็บอยู่ ณ หอพระแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ สถานที่ตามตำนานเป็นที่รับรองกันทั่วไปว่าเป็นโบราณสถานแห่งหนึ่งของไทย และกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำหรับชาติไว้แล้ว ทั้งยังมีแผ่นป้ายที่คัดสำเนามามีชื่อเจ้าอาวาสวัดตั้งแต่ พ.ศ.2202 เรื่อยตลอดมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ด้วย ตำนานดังกล่าวจึงเป็นหลักฐานในทางประวัติศาสตร์ข้อความตามตำนานที่กล่าวถึงเขตแดนพระธาตุร่องอ้อจึงรับฟังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1558/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขุดค้นโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ โบราณวัตถุตกเป็นของแผ่นดิน แม้ไม่มีค่ามากก็ผิดตาม พ.ร.บ.โบราณสถาน
เทวรูปหินอ่อนรูปนารายณ์สี่กร เป็นของโบราณราคาแพง ฝังอยู่ใต้ดินบริเวณปราสาทโบราณ เป็นโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ จำเลยขุดได้และเบียดบังเอาเสีย จึงผิดพระราชบัญญัติโบราณสถาน ฯ พ.ศ. 2504 มาตรา 31
แต่เทวรูปนั้นไม่มีคุณค่าเป็นพิเศษ จึงไม่ใช่สังหาริมทรัพย์อันมีค่าตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 355
จำเลยขายเทวรูปนั้นไป เพียงเท่านี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการทำการค้าโบราณวัตถุหรือศิลปะวัตถุตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน พ.ศ. 2504 มาตรา 19
เทวรูปนี้เป็นของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 24 แล้ว ศาลจึงไม่ต้องสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 อีก
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2509)
แต่เทวรูปนั้นไม่มีคุณค่าเป็นพิเศษ จึงไม่ใช่สังหาริมทรัพย์อันมีค่าตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 355
จำเลยขายเทวรูปนั้นไป เพียงเท่านี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการทำการค้าโบราณวัตถุหรือศิลปะวัตถุตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน พ.ศ. 2504 มาตรา 19
เทวรูปนี้เป็นของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 24 แล้ว ศาลจึงไม่ต้องสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 อีก
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2509)