คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โรงพยาบาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4469/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ทางการแพทย์ ทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงแก่โรงพยาบาล
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยเป็นเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ (วิทยาศาสตร์การแพทย์) มีหน้าที่ในการตรวจผลเลือด ผลทางเคมี อุจจาระ และปัสสาวะ เพื่อส่งให้แพทย์วินิจฉัยและทำการรักษาโรคแก่ผู้ป่วยต่อไป หน้าที่ของโจทก์จึงเป็นหน้าที่อันสำคัญที่ช่วยให้แพทย์สามารถรักษาโรคแก่ผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง อันจะส่งผลโดยตรงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย โจทก์นำเลือดของผู้ป่วยโรคไตไปตรวจ แต่ผลการตรวจเลือดไม่สอดคล้องกับอาการของผู้ป่วย เมื่อแพทย์สั่งให้โจทก์ตรวจเลือดของผู้ป่วยรายนี้อีกครั้ง ผลการตรวจเลือดในครั้งที่สองซึ่งเป็นผลการตรวจที่ถูกต้อง ได้ผลเลือดที่มีค่าแตกต่างจากที่ตรวจในครั้งแรกมาก และในวันที่เป็นเวรของโจทก์ที่จะต้องเตรียมเลือดให้ผู้ป่วย โจทก์ไม่ไปปฏิบัติงานตามหน้าที่อ้างว่าสั่งให้พยาบาลปฏิบัติหน้าที่แทน นอกจากนี้เมื่อแพทย์สั่งให้โจทก์หาผลเลือดทางเคมี 2 ชนิด แต่โจทก์ตรวจหาให้เพียงชนิดเดียว ทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ไม่ครบถ้วน จึงต้องสั่งให้โจทก์ตรวจหาค่าที่ยังไม่ได้ตรวจอีกชนิดหนึ่ง การที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะดังกล่าว จึงเป็นการประมาทเลินเล่อ ขาดความเอาใจใส่ และความรับผิดชอบในหน้าที่ ทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ไม่ครบถ้วน ล่าช้า ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ และชีวิตของผู้ป่วย อันมีผลกระทบถึงชื่อเสียงของโรงพยาบาลจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างของโจทก์เป็นอย่างมาก จึงเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง และยังถือว่าเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยสุจริตอีกด้วย จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (3) และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583
การพิจารณาว่าการเลิกจ้างจะเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมอันเป็นเหตุให้นายจ้างต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 หรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาว่ามีเหตุอันสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างหรือไม่ ซึ่งเหตุดังกล่าวอาจเกิดขึ้นจากการกระทำของลูกจ้างหรือเหตุอื่นก็ได้ เมื่อปรากฏว่าการกระทำของโจทก์เป็นเหตุให้จำเลยเสียชื่อเสียงในการประกอบกิจการโรงพยาบาลเอกชนเป็นอย่างมาก และเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง จึงนับว่ามีเหตุสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ มิใช่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4469/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ทางการแพทย์ ส่งผลเสียต่อความปลอดภัยผู้ป่วยและชื่อเสียงโรงพยาบาล
โจทก์เป็นเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ มีหน้าที่ตรวจผลเลือด ผลทางเคมีเพื่อส่งให้แพทย์วินิจฉัยและทำการรักษาโรคแก่ผู้ป่วย หน้าที่ของโจทก์จึงเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและรักษาโรคแก่ผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องอันจะส่งผลโดยตรงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย การที่โจทก์ตรวจผลเลือดของผู้ป่วยไม่ถูกต้องจนต้องนำเอาเลือดผู้ป่วยไปตรวจใหม่และไม่เตรียมเลือดให้ผู้ป่วยในขณะที่เป็นเวรของโจทก์แต่กลับให้พยาบาลปฏิบัติหน้าที่แทน ทั้งต่อมาแพทย์สั่งให้โจทก์ตรวจหาผลเลือดทางเคมี 2 ชนิดโจทก์ก็ตรวจหาผลทางเคมีให้เพียงชนิดเดียวทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคไม่ครบถ้วนนั้น จึงเป็นการประมาทเลินเล่อ ขาดความเอาใจใส่และความรับผิดชอบในหน้าที่อันเป็นความบกพร่องอย่างยิ่ง ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของผู้ป่วย ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชื่อเสียงของโรงพยาบาลจำเลยเป็นอย่างมาก จึงเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงและยังเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตอีกด้วย จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119(3) และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4469/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ทางการแพทย์จนโรงพยาบาลได้รับความเสียหาย ถือเป็นการเลิกจ้างชอบธรรม
โจทก์เป็นเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ มีหน้าที่ในการตรวจผลเลือด ผลทางเคมีอุจจาระ และปัสสาวะ เพื่อส่งให้แพทย์วินิจฉัยช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและรักษาโรคได้อย่างถูกต้อง อันจะส่งผลโดยตรงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย การที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ ขาดความเอาใจใส่และความรับผิดชอบในหน้าที่ ทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ไม่ครบถ้วน ล่าช้า ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของผู้ป่วย อันมีผลกระทบถึงชื่อเสียงของโรงพยาบาลจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเป็นอย่างมากจึงเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง และยังถือว่าเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไป โดยถูกต้องและสุจริตอีกด้วย จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 119(3) และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583
เมื่อการกระทำของโจทก์เป็นเหตุให้จำเลยเสียชื่อเสียงในการประกอบกิจการโรงพยาบาลเอกชนเป็นอย่างมาก และเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงจึงนับว่ามีเหตุสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ มิใช่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3193/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ (ทันตกรรม): เงินค่าบริการทั้งหมดเป็นเงินได้พึงประเมิน แม้โรงพยาบาลจะได้รับส่วนแบ่ง
โจทก์และจำเลยรับกันในชั้นชี้สองสถานว่า การที่โจทก์ให้การบริการรักษาฟันที่โรงพยาบาลฟันนั้นเป็นการประกอบวิชาชีพอิสระการประกอบโรคศิลปะตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (6) อันเป็นการรับกันในปัญหาข้อกฎหมายซึ่งคู่ความไม่อาจรับกันได้ จะรับกันได้เฉพาะแต่ในปัญหาข้อเท็จจริงเท่านั้นตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 ประกอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 84 และมาตรา 183 แต่หาทำให้กระบวนพิจารณาส่วนอื่นในการชี้สองสถานเป็นการไม่ชอบไปด้วยไม่
โจทก์เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะในสาขาทันตกรรมตาม พ.ร.บ.ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 มาตรา 4 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น และคำว่า "วิชาชีพทันตกรรม"ตาม พ.ร.บ.วิชาชีพทันตกรรม พ.ศ.2537 มาตรา 4หมายความว่า วิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจการวินิจฉัย การบำบัดหรือการป้องกัน โรคฟัน โรคอวัยวะที่เกี่ยวกับฟัน โรคอวัยวะในช่องปาก โรคขากรรไกรและกระดูกใบหน้าที่เกี่ยวเนื่องกับขากรรไกร รวมทั้งการกระทำทางศัลยกรรมและการกระทำใด ๆ ในการบำบัด บูรณะและฟื้นฟูสภาพของอวัยวะในช่องปาก กระดูกใบหน้าที่เกี่ยวเนื่องกับขากรรไกรและการทำฟันในช่องปาก ลักษณะของการประกอบวิชาชีพของโจทก์ จึงต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ตามที่โจทก์ได้ศึกษาและรับการฝึกอบรมมา การวินิจฉัยเพื่อให้การบำบัดรักษาโรคตามหลักวิชาชีพของโจทก์ ย่อมเป็นไปโดยอิสระภายใต้บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.วิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2537 รวมทั้งการคิดค่าบริการรักษาด้วย ดังนั้น การให้การบริการรักษาฟันของโจทก์ รวมทั้งคิดค่าบริการรักษาที่ได้กระทำในโรงพยาบาลฟันจึงเป็นการกระทำของโจทก์ในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ เมื่อโจทก์เป็นผู้ให้บริการรักษาฟันจนเป็นผลให้มีการจ่ายค่าบริการเพราะการนี้จำนวน 1,751,857.44 บาทไม่ว่าโจทก์จะเป็นผู้รับไว้เองหรือโรงพยาบาลฟันรับไว้แทน ย่อมเป็นประโยชน์อันสืบเนื่องมาจากการประกอบวิชาชีพอิสระการประกอบโรคศิลปะของโจทก์โดยตรงการที่โรงพยาบาลฟันได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้หรือรับส่วนแบ่งจากยอดเงินดังกล่าวไปไม่มีผลเปลี่ยนแปลงให้เงินดังกล่าวอันเป็นเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระของโจทก์เป็นเงินได้ประเภทอื่น โจทก์จึงเป็นผู้มีเงินได้ทั้งจำนวนเงินรายรับส่วนที่โรงพยาบาลฟันรับไปจึงเป็นเงินได้พึงประเมินของโจทก์ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา39 ด้วย
เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินว่า เงินได้ของโจทก์ร้อยละ50 เป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (2) และให้โจทก์เสียภาษีเงินได้พร้อมเงินเพิ่ม แต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยว่าเป็นเงินได้ตามป.รัษฎากร มาตรา 40 (6) โดยต้องนำเงินได้ทั้งจำนวนมาคำนวณเสียภาษีคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยในประเด็นเดียวกันกับที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินไว้ว่าเงินได้ซึ่งโจทก์ได้รับจากค่าบริการของโจทก์จำนวน 875,928.72 บาท จากยอดเงิน 1,751,857.44 บาท ซึ่งโรงพยาบาลฟันรับส่วนต่างไปเป็นเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (2) ดังนั้นการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์เสียภาษีจากยอดเงินได้ทั้งจำนวนเป็นเพียงการคิดภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย มิได้เอาเงินได้อื่นมาคำนวณเพื่อเรียกเก็บภาษี จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมในประเด็นข้ออื่นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินได้จากการตรวจรักษาพยาบาลที่ได้รับจากโรงพยาบาล ไม่ถือเป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระ
เงินค่าตรวจรักษาผู้ป่วยที่โจทก์นำมารักษาในโรงพยาบาลของผู้ว่าจ้าง การคิดค่าตรวจรักษาต้องไม่เกินอัตราที่ผู้ว่าจ้างกำหนด และโจทก์ได้รับเฉพาะค่าตรวจรักษาเท่านั้น ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ผู้ป่วยต้องชำระเช่นค่ายา ค่าพยาบาล ค่าห้อง ผู้ว่าจ้างเป็นผู้ได้รับทั้งสิ้น ทั้งโจทก์รับเงินค่าตรวจรักษาผู้ป่วยดังกล่าวจากผู้ว่าจ้างโดยตรง ซึ่งผู้ว่าจ้างได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว จึงเป็นกรณีที่ผู้ป่วยจ้างผู้ว่าจ้างตรวจรักษาอาการป่วยเจ็บ แล้วผู้ว่าจ้างมอบหมายให้โจทก์เป็นแพทย์ผู้ตรวจรักษาโดยให้ค่าตอบแทนคือค่าตรวจรักษาตามสัญญาว่าจ้างแพทย์ที่โจทก์ทำไว้กับผู้ว่าจ้าง ไม่ใช่เป็นกรณีผู้ว่าจ้างตกลงให้โจทก์เปิดคลินิกพิเศษนอกเวลาทำการปกติในโรงพยาบาลและโจทก์ได้รับเงินจากผู้ป่วยเอง เงินได้ดังกล่าวที่โจทก์ได้รับจึงเป็นเงินได้เนื่องจากการรับทำงานให้ผู้ว่าจ้าง หาใช่เงินได้จากวิชาชีพอิสระอันเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (6) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินได้จากการตรวจรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล: จัดเป็นค่าตอบแทนจากนายจ้าง ไม่ใช่รายได้วิชาชีพอิสระ
เงินได้จากค่าตรวจรักษาผู้ป่วยที่โจทก์นำมารักษาในโรงพยาบาลของผู้ว่าจ้างแม้โจทก์จะได้รับค่าตรวจรักษาทั้งหมด แต่การคิดค่าตรวจรักษามิใช่ว่าโจทก์จะกำหนดเองเพียงใดก็ได้ หากแต่ต้องไม่เกินอัตราที่ผู้ว่าจ้างกำหนด และโจทก์ได้รับเฉพาะค่าตรวจรักษาเท่านั้น ทั้งโจทก์รับเงินได้ดังกล่าวจากผู้ว่าจ้างโดยตรงจึงเป็นกรณีที่ผู้ป่วยจ้างผู้ว่าจ้างตรวจรักษาแล้วผู้ว่าจ้างมอบหมายให้โจทก์เป็นผู้ตรวจรักษาโดยให้ค่าตอบแทน โจทก์จึงได้เงินได้ดังกล่าวมาเนื่องจากการรับทำงานให้ผู้ว่าจ้างหาใช่เงินได้จากวิชาชีพอิสระอันเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(6) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9485/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดฐานผู้นำเข้าสินค้า แม้โรงพยาบาลมิใช่นิติบุคคล ผู้แทนมีอำนาจลงนามแทน
โรงพยาบาลมิชชั่นมิใช่นิติบุคคลตามกฎหมาย การดำเนินกิจการใดจึงเป็นการกระทำในลักษณะของกลุ่มหรือคณะบุคคล จำเลยมีตำแหน่งเป็นรองผู้อำนวยการหรือผู้จัดการโรงพยาบาลและทำหน้าที่แทนผู้อำนวยการเมื่อผู้อำนวยการไม่อยู่ แม้จำเลยจะไม่ได้ลงนามในใบขนสินค้า แต่การที่จำเลยลงชื่อในหนังสือขอยกเว้นภาษีอากรถึงกรมศุลกากร เป็นการกระทำในฐานะผู้แทนบุคคลหรือคณะบุคคลที่ดำเนินกิจการในนามโรงพยาบาลมิชชั่น ในการนำเข้าสินค้า จำเลยจึงเป็นผู้นำเข้าสินค้าตามมาตรา 2 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำเนาเอกสารทางการแพทย์ที่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรับรอง ใช้เป็นพยานหลักฐานได้
รายงานการตรวจรักษาผู้ป่วยที่จำเลยอ้างเป็นพยานต่อศาลแม้เป็นภาพถ่ายสำเนาเอกสาร แต่ก็เป็นสำเนาเอกสารที่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลของทางราชการส่งต่อศาล ตามคำสั่งเรียกของศาล โดยมีหนังสือราชการนำส่งเป็นทางการ ถือได้ว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลได้รับรองสำเนาถูกต้องแล้ว รับฟังเป็นพยานได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบียดบังเงินโรงพยาบาล: ข้อหาแตกต่างจากฟ้อง ยึดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
จำเลยไม่ได้เบิกเงินค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยคนไข้นอกจากบัญชีเงินฝากของโรงพยาบาลซึ่งเป็นเงินงบประมาณแผ่นดินแล้วเบียดบังไปดังที่โจทก์กล่าวมาในฟ้อง แต่จำเลยเบียดบังเงินสดอันเป็นรายได้ของโรงพยาบาลที่ได้รับมาในวันเกิดเหตุซึ่งไม่ใช่เงินที่เบิกมาจากเงินงบประมาณแผ่นดินของโรงพยาบาลเงินที่จำเลยเบียดบังไปเป็นเงินคนละจำนวนกับที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยยักยอกไปข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานยักยอกเงินดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2330/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่เบียดบังเงินบำรุงโรงพยาบาลเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานประจำโรงพยาบาล มีหน้าที่จัดซื้อจัดการซ่อมแซม และดูแลรักษาพัสดุครุภัณฑ์และได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เกี่ยวกับด้านการเงินด้วย จำเลยได้ลงชื่อคู่กับผู้อำนวยการโรงพยาบาลในฐานะเจ้าของบัญชีและผู้มอบฉันทะในแบบถอนเงินจำนวน14,000 บาท จากบัญชีเงินบำรุงโรงพยาบาลพรหมพิรามมาสำรองจ่ายค่าพัสดุครุภัณฑ์ ซึ่งจำเลยมีหน้าที่จัดซื้อแล้วมอบให้ ส. นำไปถอนเงินจำนวนดังกล่าวจากธนาคารมาให้ตน จำเลยได้รับแล้วมิได้จัดซื้อพัสดุครุภัณฑ์แต่อย่างใด และปรากฏว่าเงินจำนวนนี้ได้ขาดหายไปจากบัญชี การกระทำของจำเลยเป็นการเบียดบังเงินจำนวน 14,000บาท ที่อยู่ในความครอบครองตามหน้าที่ของตนไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147.
of 3