คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 91 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 638/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการยึดทรัพย์สินที่โอนให้บุตรเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิขอให้ศาลสั่งยึดได้โดยไม่ต้องเพิกถอนนิติกรรมก่อน
ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า กรณีของผู้คัดค้านเป็นเรื่องที่ผู้คัดค้านได้รับโอนทรัพย์สินมาจากนิติกรรมที่ทำขึ้นภายหลังเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเสียเปรียบ นิติกรรมการยกให้ระหว่าง ธ. กับผู้คัดค้านมีผลสมบูรณ์แล้ว โจทก์จึงต้องใช้สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ให้คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสียก่อนจึงจะยึดทรัพย์บังคับคดีต่อไปได้ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยึดทรัพย์สินของผู้คัดค้านในชั้นนี้ไปทีเดียว จึงเป็นการใช้สิทธิที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ปัญหาดังกล่าวจะมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แต่ปัญหาในเรื่องอำนาจยื่นคำร้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อเท็จจริงที่นำมาสู่ปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวก็เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวอ้างเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งยึดทรัพย์มิใช่ข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาผู้คัดค้านจึงมีสิทธิยกขึ้นอ้างในศาลอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง
การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะยึดหรืออายัดหรือขายบรรดาทรัพย์สินที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 283 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าทรัพย์สินที่โจทก์ขอนำยึดเป็นของจำเลยโดยเป็นสินสมรสของจำเลยกับสามีแต่ได้โอนให้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุตรโดยสมยอมเพื่อยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินให้พ้นจากการบังคับคดีและยืนยันให้ยึด เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงต้องยึดทรัพย์สินดังกล่าว เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ดำเนินการยึด โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์โดยขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ. 283 วรรคสอง โจทก์ไม่จำต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เสียก่อน ทั้งการที่ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้องของโจทก์ ถือว่าผู้คัดค้านได้เข้ามาในคดีแล้ว ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจวินิจฉัยข้ออ้างของโจทก์และข้อเถียงของผู้คัดค้านที่โต้แย้งกันนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 638/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการยึดทรัพย์สิน การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ และอำนาจศาลในการวินิจฉัย
อุทธรณ์ของผู้คัดค้านว่าโจทก์ต้องใช้สิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการยกให้ที่ดินระหว่าง ธ. กับผู้คัดค้านตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ให้คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสียก่อน โจทก์จึงจะยึดที่ดินแปลงดังกล่าวบังคับคดีต่อไปได้ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยึดทรัพย์สินของผู้คัดค้านในชั้นบังคับคดีไปทีเดียว จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นปัญหาในเรื่องอำนาจยื่นคำร้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิยกขึ้นอ้างในอุทธรณ์ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้คัดค้านด้วยเหตุที่ว่าเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามเพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จึงเป็นการไม่ชอบ
การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะยึดหรืออายัดหรือขายบรรดาทรัพย์สินที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 283 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าทรัพย์สินที่โจทก์ขอนำยึดเป็นของจำเลยโดยเป็นสินสมรสของจำเลยกับสามี แต่ได้โอนให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุตรโดยสมยอมเพื่อยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินให้พ้นจากการบังคับคดีและยืนยันให้ยึด เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงต้องยึดทรัพย์สินดังกล่าว แต่เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ดำเนินการยึด โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ โดยขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินดังกล่าวได้ ตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 283 วรรคสอง โจทก์หาจำต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เสียก่อนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9295/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกโดยมิชอบ และการขาดอายุความคดีมรดก
การที่ ป. ในฐานะผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมโอนทรัพย์มรดกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่ตนเองซึ่งไม่ใช่ทายาท แม้จะเป็นการตอบแทนการเอาเงินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองแทนกองมรดก อันเป็นการจัดการมรดกทั่วไป ก็ไม่มีอำนาจกระทำเพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก เมื่อผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมอนุญาตและ ป. ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลจึงเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 1722 ย่อมตกเป็นโมฆะ ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจึงยังคงเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1754/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเพิกถอนการโอนมรดก และการโอนทรัพย์โดยสุจริต
โจทก์ไม่ได้ฟ้องผู้จัดการมรดกเป็นจำเลย คงฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดก และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ซึ่งไม่ใช่ทายาท ขอให้กำจัดทายาทมิให้รับมรดกเนื่องจากปิดบังยักย้ายทรัพย์มรดก และให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินมรดกที่กระทำโดยมิชอบเพื่อโอนที่ดินกลับมาเป็นของเจ้ามรดกตามเดิม กรณีไม่ต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง จึงไม่อาจนำบทบัญญัติอายุความ 5 ปี มาใช้บังคับแก่คดีได้
ในการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่าง ส. กับจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของ ส. เพื่อให้ลายพิมพ์นิ้วมือนั้นถือเสมือนกับการลงลายมือชื่อ และจำเลยที่ 3 รับโอนที่ดินโฉนดส่วนหนึ่งเนื่องจากได้ซื้อไว้จาก ส. นานแล้ว ไม่ใช่รับโอนที่ดินมาในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกซึ่งเป็นสามีของ ส. เมื่อจำเลยที่ 3 รับโอนที่ดินมาโดยมีค่าตอบแทนและกระทำการโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 โจทก์จึงเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินระหว่าง ส. กับจำเลยที่ 3 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8499/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์ก่อน/หลังขอให้ล้มละลาย และสิทธิของผู้รับโอน รวมถึงการรอการวินิจฉัยคดีเมื่อมีเจ้าหนี้อื่นได้รับชำระหนี้แล้ว
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 116 นั้น การที่ผู้คัดค้านที่ 4 ถึงที่ 8 จะยกเหตุตามบทมาตราดังกล่าวนี้ขึ้นกล่าวอ้างปฏิเสธว่าได้รับโอนทรัพย์พิพาทโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนได้นั้น ก็แต่เฉพาะกรณีที่ได้รับโอนทรัพย์มาก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลาย เมื่อผู้คัดค้านที่ 4 ถึงที่ 8 มิได้รับโอนทรัพย์พิพาทมาก่อนวันดังกล่าว ดังนั้น ไม่ว่าผู้คัดค้านที่ 4 ถึงที่ 8 จะได้รับโอนมาจากจำเลยโดยตรงหรือได้รับโอนมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม สิทธิของผู้คัดค้านย่อมไม่ดีกว่าผู้โอน ผู้คัดค้านที่ 4 ถึงที่ 8 จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติดังกล่าว
ส่วนคำร้องของผู้คัดค้านที่ 4 ถึงที่ 7 ที่ขอให้ศาลฎีการอการวินิจฉัยคดีไว้ก่อนเนื่องจากมีคำขอให้ยกเลิกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 2 แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามความเห็นของผู้ร้องให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 2 แล้วนั้นแต่เมื่อปรากฏว่ายังมีเจ้าหนี้คือโจทก์ที่ 2 ซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้ตามคำขอและคดีถึงที่สุดแล้ว ศาลจึงไม่จำต้องรอการวินิจฉัยคดีไว้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8385/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์ก่อนล้มละลาย: ผู้รับโอนที่ไม่ใช่เจ้าหนี้เดิม ไม่มีอำนาจถูกเพิกถอนการโอน
การโอนทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 ต้องเป็นการโอนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนแล้ว และการโอนเช่นนั้นทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของจำเลยเสียเปรียบ แต่กรณีการโอนตามสัญญาจะขายที่ดิน ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับโอนมีนิติสัมพันธ์กับจำเลยโดยเป็นเพียงผู้ซื้อหรือเจ้าหนี้ในฐานะผู้รับโอนที่ดินจากจำเลยเท่านั้น หาได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยอยู่ก่อนทำสัญญาดังกล่าวไม่ จึงถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยมาก่อนตามมาตรา 115 ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 538/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดก และสิทธิของผู้รับโอนที่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1300
แม้การที่จำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกอยู่ในฐานะครอบครองทรัพย์มรดกคือที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีโฉนดแทนทายาทได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเปลี่ยนแปลงฐานะผู้จัดการมรดกเป็นฐานะส่วนตัวแต่เพียงผู้เดียวจำเลยที่1ยังคงไม่ได้สิทธิในส่วนมรดกของโจทก์ทั้งสองก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่1โอนขายทรัพย์มรดกพิพาทนี้ให้แก่จำเลยที่2โดยมีค่าตอบแทนและจำเลยที่2ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้จดทะเบียนรับโอนสิทธิมาโดยสุจริตกรณีย่อมต้องด้วยข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1300ซึ่งคุ้มครองเป็นพิเศษสิทธิของจำเลยที่2ผู้รับโอนจึงดีกว่าจำเลยที่1ผู้โอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 446/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์มรดกไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้รับโอนยังไม่ถือเป็นเจ้าของ แม้จะครอบครองเป็นเวลานาน
ผู้ร้องที่1ถึงที่3ในฐานะผู้จัดการมรดกของก.ได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องทั้งห้าโดยไม่แบ่งให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโจทก์ได้ฟ้องผู้ร้องที่1ถึงที่3ให้แบ่งทรัพย์มรดกแก่โจทก์ตามส่วนในคดีดังกล่าวศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าการแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ร้องที่1ถึงที่3ดังกล่าวเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์ชอบที่จะขอให้แบ่งปันทรัพย์มรดกใหม่ได้ผู้ร้องที่1ถึงที่3ในฐานะผู้จัดการมรดกยังมีหน้าที่ที่จะต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่โจทก์ตามส่วนโดยผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวย่อมมีความหมายว่าแม้จะมีการโอนที่ดินพิพาทใส่ชื่อผู้ร้องทั้งห้าเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ก็เป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้ร้องทั้งห้าจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและการจัดการทรัพย์มรดกที่ไม่ชอบนั้นย่อมทำให้การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่สิ้นสุดลงที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของก.ยังคงเป็นทรัพย์สินในกองมรดกก.ผู้ตายและยังคงอยู่ในระหว่างการจัดการแบ่งทรัพย์มรดกทั้งโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอแบ่งปันทรัพย์มรดกใหม่ได้โดยไม่จำต้องฟ้องเพิกถอนการโอนดังกล่าว ผู้ร้องที่1ถึงที่3ในฐานะผู้จัดการมรดกของก.ได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องทั้งห้าเมื่อวันที่11สิงหาคม2518ต่อมาเมื่อวันที่14ตุลาคม2524โจทก์ได้ฟ้องคดีเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกกรณีถือได้ว่าการครอบครองที่ดินพิพาทในระหว่างการพิจารณาคดีไม่ถือว่าเป็นการครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตนจะครอบครองช้านานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง ที่ผู้ร้องทั้งห้าฎีกาว่าในคดีที่โจทก์ฟ้องคดีขอแบ่งทรัพย์มรดกนั้นโจทก์ไม่ได้ฟ้องผู้ร้องที่1ถึงที่3ในฐานะผู้จัดการมรดกและผู้ร้องที่4ที่5เป็นจำเลยผลของคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวจึงไม่ผูกพันผู้ร้องทั้งห้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั้นเป็นข้อที่ผู้ร้องมิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1163/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสและทรัพย์มรดกหลังการเสียชีวิต โดยมีประเด็นเรื่องการโอนทรัพย์สินก่อนการแบ่งมรดก และการตรวจสอบทรัพย์มรดกที่ยังไม่พบ
โจทก์ฟ้องว่านายป. และนางน. อยู่กินฉันสามีภริยาตั้งแต่ปี2470และต่อมาปี2520จึงจดทะเบียนสมรสจำเลยที่2มิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงฟังได้ว่านายป.และนางน.เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5พุทธศักราช2477เมื่อนางน. ได้ที่ดินมาในปี2500ซึ่งอยู่ระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสแม้จะมีชื่อนางน. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียวก็ตามเมื่อนายป. ถึงแก่กรรมต้องแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียโดยนายป. ได้2ส่วนนางน. ได้1ส่วนส่วนของนายป.จึงเป็นมรดกแม้นางน.จะเป็นผู้จัดการมรดกของนายป. ก็ไม่มีอำนาจยกที่ดินส่วนที่ตกแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมรดกแทนที่ทายาทของนายป. ให้แก่จำเลยที่2โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่2ซึ่งเป็นทายาทผู้รับโอนทรัพย์มรดกโดยไม่ชอบนั้นให้แบ่งส่วนแก่ตนได้โดยไม่จำต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการโอน แม้จำเลยที่2จะเป็นผู้จัดการมรดกของนายป. และนางน.มีหน้าที่ติดตามทรัพย์มรดกมาแบ่งแก่ทายาทแล้วไม่ติดตามก็เป็นเรื่องไม่กระทำตามหน้าที่ในฐานะผู้จัดการมรดกเท่านั้นเมื่อไม่ได้ความว่าทรัพย์มรดกจำพวกพระเครื่องพระบูชาสร้อยข้อมือทองคำสร้อยคอทองคำและแหวนเพชรอยู่ที่จำเลยที่2โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกดังกล่าวจากจำเลยที่2หรือให้ใช้ราคาทรัพย์มรดกตามส่วนที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7824/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการบังคับคดีตามคำพิพากษา: ไถ่ถอนจำนองก่อนโอนทรัพย์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์มีสิทธิขอให้บังคับคดีตามลำดับ
คำพิพากษาที่บังคับให้จำเลยที่2ไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินกับธนาคารแล้วให้จำเลยที่1ไปจดทะเบียนโอนให้โจทก์ที่2จำนวนสามในสี่ส่วนหากเพิกเฉยให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาและหากจำเลยที่1และที่2ไม่สามารถโอนให้โดยปลอดค่าภาระติดพันก็ให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่2นั้นเป็นการกำหนดให้จำเลยที่1และที่2กระทำการชำระหนี้ทีละอย่างก่อนหลังตามลำดับเมื่อการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองจำเลยที่2สามารถปฏิบัติได้แต่จำเลยที่2ไม่ยอมปฏิบัติโจทก์ที่2ก็ชอบที่จะไถ่ถอนจำนองแล้วขอให้บังคับคดีแก่จำเลยที่2ในส่วนที่จำเลยที่2ต้องชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองได้โจทก์ที่2จะขอบังคับคดีให้ขายทอดตลาดที่ดินแล้วนำเงินที่ขายได้แบ่งให้โจทก์ที่2ตามส่วนอันเป็นการบังคับคดีที่ไม่เป็นไปตามลำดับตามคำพิพากษาหาได้ไม่เพราะเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271ประกอบด้วยมาตรา302วรรคแรกและมิใช่เป็นเรื่องที่อยู่ในบังคับแห่งข้อยกเว้นที่ศาลจะมีคำสั่งได้ดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา144(5)
of 10