คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนสิทธิการเช่า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6432/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเช่าที่เป็นสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอม และการฟ้องฐานโกงเจ้าหนี้ที่ไม่มีมูล
สิทธิการเช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นสินสมรสของโจทก์ที่ 1 กับ น. แม้จะปรากฏว่า น. โอนสิทธิการเช่าดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 1 ก็ตาม แต่การโอนดังกล่าวมิใช่การโอนโดยเสน่หา น. จึงสามารถกระทำได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งก่อน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1476 (5) โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 ส่วนโจทก์ที่ 2 เป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 กับ น. เมื่อ น. ถึงแก่ความตาย ก็ไม่มีสิทธิการเช่าตกทอดเป็นมรดกแก่โจทก์ที่ 2 ดังนั้น โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ ขาดองค์ประกอบความผิดที่จะฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งรับโอนสิทธิการเช่าต่อมาจากจำเลยที่ 1 ให้ร่วมรับผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ตาม ป.อ. มาตรา 350
เมื่อคดีที่โจทก์ฟ้องไม่มีมูลความผิดทางอาญา คำขอส่วนแพ่งของโจทก์ทั้งสองย่อมไม่เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1592/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเช่าและการห้ามฎีกาในคดีขับไล่: ผู้ร้องอ้างสิทธิการเช่าโดยตรงจากโจทก์แต่ถูกจำกัดสิทธิฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากบ้านพิพาท อันเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์ แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้จำเลยเช่าบ้านพิพาท ในอัตราค่าเช่าเท่าใด คงได้ความเพียงว่า ผู้ร้องเสียค่าเช่า ให้โจทก์ในอัตราเดือนละ 120 บาท ดังนั้น ค่าเช่าในขณะ ยื่นคำฟ้องจึงฟังได้ว่าไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท คู่ความในคดีฟ้องขับไล่เดิมนั้นจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง เมื่อคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับผู้ร้องซึ่งเป็นบริวารของจำเลยผู้ถูกฟ้องขับไล่และ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้น ไม่ว่าศาล จะฟังว่าผู้ร้องสามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้หรือไม่ก็ตาม คดีก็ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสามที่ผู้ร้องฎีกาว่าผู้ร้องรับโอนสิทธิการเช่าจากจำเลยโดย โจทก์รู้เห็นยินยอม ผู้ร้องจึงเป็นผู้เช่าโดยตรงจากโจทก์และสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับผู้ร้องเป็นสัญญาเช่าต่างตอบแทน พิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว คดีฟ้องขับไล่ระหว่างโจทก์จำเลยในคดีเดิมจะมีการ ส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกไปยังภูมิลำเนาของจำเลยถูกต้อง ผิดพลาดหรือไม่นั้น หาได้มีผลเกี่ยวข้องกับคดีของผู้ร้อง ที่ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลว่าตนมิใช่บริวารของจำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา (3) แต่อย่างใดไม่ เพราะเป็นเรื่องระหว่างโจทก์จำเลย ไม่เกี่ยวกับคดีของผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์และการผูกพันตามข้อตกลงระหว่างคู่สัญญา ฎีกานี้ตัดสินว่าการโอนสิทธิการเช่ามีผลผูกพันกับโจทก์
คู่สัญญาเช่าโทรศัพท์หมายเลขพิพาทคือองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและจำเลย แต่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยมีข้อตกลงกับโจทก์ว่าด้วยการแบ่งรายได้ค่าพูดโทรศัพท์ระหว่างประเทศว่า ไม่ว่าจะเป็นการใช้โทรศัพท์เรียกเข้าหรือเรียกออก โจทก์จะจ่ายผลประโยชน์ให้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย นาทีละ 4 บาท และกำหนดด้วยว่าการเรียกเก็บเงินองค์การ-โทรศัพท์แห่งประเทศไทยจะเป็นผู้เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการและกล่าวถึงว่าองค์การ-โทรศัพท์แห่งประเทศไทยและโจทก์ตกลงที่จะแบ่งค่าใช้จ่ายในการลงทุนฝ่ายละครึ่งตามข้อตกลงดังกล่าวเห็นได้ว่าเป็นความตกลงภายในระหว่างโจทก์กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเท่านั้น ถือได้ว่าโจทก์และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นหุ้นส่วนกันในการหาประโยชน์และผลกำไรร่วมกัน นอกจากนี้ระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทยของโจทก์ ฉบับที่ 224 ว่าด้วยบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศพ.ศ.2535 หมวด 6 ว่าด้วยการระงับบริการและการยกเลิกการระงับบริการข้อ 32 มีข้อความว่า ผู้เช่าโทรศัพท์ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยที่ประสงค์จะดำเนินการตาม ข้อ 31.1 ให้ยื่นคำขอระงับ/ยกเลิกการขอระงับบริการต่อการสื่อสารแห่งประเทศไทยหรือองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย การขอระงับการใช้บริการหรือยกเลิกการระงับดังกล่าวจะมีผลต่อเมื่อการสื่อสารแห่งประเทศไทยหรือองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้ดำเนินการให้เรียบร้อยแล้ว ดังนี้ การที่จำเลยได้แจ้งการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์หมายเลขพิพาทให้แก่จำเลยร่วมต่อผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2535 และพนักงานขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้ลงชื่อรับแบบขอโอนและรับโอนสิทธิการเช่าสองฝ่ายตามเอกสารหมาย ล.3 ในวันเดียวกันนั้นต้องถือว่าจำเลยได้แจ้งระงับการใช้บริการแก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยแล้ว และเอกสารหมาย ล.3ซึ่งเป็นแบบฟอร์มขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเองมีใจความว่า จำเลยมีความประสงค์จะขอโอนสิทธิการเช่าพร้อมทั้งภาระผูกพันต่าง ๆ และหนี้สินทั้งหมดที่มีอยู่ก่อนและที่จะปรากฏต่อไปให้แก่จำเลยร่วม ประกอบกับหลังจากมีการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์ตามเอกสารหมาย ล.3 แล้ว องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยต้องส่งเรื่องให้โจทก์ เช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้รับรู้การโอนสิทธิการเช่าซึ่งได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอนตามเอกสารหมาย ล.3 ดังกล่าวแล้ว และมีผลผูกพันไปถึงโจทก์ด้วยตามข้อตกลงระหว่างองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยกับโจทก์ และระเบียบของโจทก์ดังกล่าวข้างต้นจำเลยจึงยกเอาการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวขึ้นยันโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา306 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงพ้นจากความรับผิดในหนี้ค่าบริการใช้โทรศัพท์ระหว่างประเทศตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์และการรับผิดในหนี้ค่าบริการ โดยมีข้อตกลงพิเศษระหว่างผู้ให้บริการและโจทก์
คู่สัญญาเช่าโทรศัพท์หมายเลขพิพาทคือองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและจำเลยแต่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยมีข้อตกลงกับโจทก์ว่าด้วยการแบ่งรายได้ค่าพูดโทรศัพท์ระหว่างประเทศว่าไม่ว่าจะเป็นการใช้โทรศัพท์เรียกเข้าหรือเรียกออกโจทก์จะจ่ายผลประโยชน์ให้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยนาทีละ4บาทและกำหนดด้วยว่าการเรียกเก็บเงินองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจะเป็นผู้เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการและกล่าวถึงว่าองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและโจทก์ตกลงที่จะแบ่งค่าใช้จ่ายในการลงทุนฝ่ายละครึ่งตามข้อตกลงดังกล่าวเห็นได้ว่าเป็นความตกลงระหว่างโจทก์กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเท่านั้นถือได้ว่าโจทก์และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นหุ้นส่วนกันในการหาประโยชน์และผลกำไรร่วมกันนอกจากนี้ระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทยของโจทก์ฉบับที่224ว่าด้วยบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศพ.ศ.2535หมวด6ว่าด้วยการระงับบริการและการยกเลิกการระงับบริการข้อ32มีข้อความว่าผู้เช่าโทรศัพท์ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยที่ประสงค์จะดำเนินการตามข้อ31.1ให้ยื่นคำขอระงับ/ยกเลิกการขอระงับบริการต่อการสื่อสารแห่งประเทศไทยหรือองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยการขอระงับการใช้บริการหรือยกเลิกการระงับดังกล่าวจะมีผลต่อเมื่อการสื่อสารแห่งประเทศไทยหรือองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้ดำเนินการให้เรียบร้อยแล้วดังนี้การที่จำเลยได้แจ้งการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์หมายเลขพิพาทให้แก่จำเลยร่วมต่อผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่15กันยายน2535และพนักงานขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้ลงชื่อรับแบบขอโอนและรับโอนสิทธิการเช่าสองฝ่ายตามเอกสารหมายล.3ในวันเดียวกันนั้นต้องถือว่าจำเลยได้แจ้งระงับการใช้บริการแก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยแล้วและเอกสารหมายล.3ซึ่งเป็นแบบฟอร์มขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเองมีใจความว่าจำเลยมีความประสงค์จะขอโอนสิทธิการเช่าพร้อมทั้งภาระผูกพันต่างๆและหนี้สินทั้งหมดที่มีอยู่ก่อนและที่จะปรากฏต่อไปให้แก่จำเลยร่วมประกอบกับหลังจากมีการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์ตามเอกสารหมายล.3แล้วองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยต้องส่งเรื่องให้โจทก์เช่นนี้ย่อมถือได้ว่าองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้รับรู้การโอนสิทธิการเช่าซึ่งได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอนตามเอกสารหมายล.3ดังกล่าวแล้วและมีผลผูกผันไปถึงโจทก์ด้วยตามข้อตกลงระหว่างองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยกับโจทก์และระเบียบของโจทก์ดังกล่าวข้างต้นจำเลยจึงยกเอาการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวขึ้นยันโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา306วรรคหนึ่งจำเลยจึงพ้นจากความรับผิดในหนี้ค่าบริการใช้โทรศัพท์ระหว่างประเทศตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5467/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกและการระงับสิทธิ การโอนสิทธิการเช่า และความสุจริตของผู้รับโอน
จำเลยที่ 5 โจทก์ทั้งสอง และจำเลยที่ 1 มาเจรจาตกลงกันตามบันทึกเอกสารหมาย ล.8 ซึ่งจำเลยที่ 5 ได้ไกล่เกลี่ยให้จำเลยที่ 1 และโจทก์ทั้งสองตกลงกันในเรื่องเงินช่วยค่าก่อสร้างโดยถืออัตราค่าก่อสร้างเฉพาะตัวอาคารเป็นเกณฑ์กำหนดตามที่กรมธนารักษ์แจ้งมา และโจทก์ทั้งสองก็ยินยอมเสียเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารตามจำนวนที่จำเลยที่ 5 ไกล่เกลี่ย แม้จำเลยที่ 1 ไม่ยินยอมและตกลงด้วยก็ถือได้ว่า โจทก์ทั้งสองแสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 5 แล้ว ดังนั้น จำเลยที่ 1และที่ 5 จึงหาอาจจะเปลี่ยนแปลง หรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 375
แม้จะได้ความว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรของ จ.หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ย่อมจะรู้ถือสิทธิของโจทก์ทั้งสองที่มีต่อจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 5 อันจะถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่ 5โดยไม่สุจริตก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 โอนสิทธิการเช่าแก่จำเลยที่ 4จำเลยที่ 4 ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลภายนอกซึ่งได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่ากระทำการโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 โจทก์ทั้งสองจึงมีภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยที่ 4 รับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริต แต่โจทก์ทั้งสองนำสืบได้แต่เพียงว่าจำเลยที่ 4 ได้สอบถามเรื่องราวเกี่ยวกับอาคารพิพาทจากโจทก์ทั้งสองตลอดมา ซึ่งยังไม่อาจชี้ชัดได้ว่าจำเลยที่ 4 ไม่สุจริต ด้วยเหตุนี้จึงไม่อาจเพิกถอนสัญญาเช่าอาคารระหว่างจำเลยที่ 4 กับจำเลยที่ 5 ได้
สัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 5 เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก เมื่อโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 5 ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 5แล้ว การที่จำเลยที่ 1 และที่ 5 ระงับสิทธิของโจทก์ทั้งสองโดยให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าทำสัญญาเช่าอาคารแทนที่จำเลยที่ 1 และที่ 5 จึงต้องรบผิดชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง แต่โจทก์ทั้งสองประสงค์จะเรียกร้องค่าเสียหายเอากับจำเลยที่ 1 เท่านั้น จึงบังคับให้ได้เท่าที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้อง สำหรับจำเลยที่ 2และที่ 3 นั้น มิใช่คู่สัญญาในสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสองไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง ส่วนจำเลยที่ 4 นอกจากฟังไม่ได้ว่ารับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริต ยังไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสอง จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1737/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเช่าต้องมีข้อตกลงในสัญญาเช่าหรือได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่า โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าหากไม่มีโอนสิทธิที่ถูกต้อง
เมื่อสัญญาเช่าที่ดินระหว่างจำเลยที่ 2 กับ ม. ไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องการโอนการเช่าไว้ในสัญญาเช่า จำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการจึงไม่มีอำนาจทำสัญญาตกลงให้สิทธิอันพึงมีตามสัญญาเช่าตกเป็นของโจทก์ โจทก์จึงไม่ได้รับโอนสิทธิการเช่าและไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3973/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเช่าช่วงและการเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์: สิทธิของผู้เช่าช่วงรายใดมีน้ำหนักมากกว่า
เทศบาลเมืองสมุทรปราการซึ่งมีสิทธิในที่ดินราชพัสดุที่ตั้งของอาคารพิพาทได้ทำสัญญาให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ในที่ดินดังกล่าวโดยใช้ทุนของจำเลยที่ 1 และให้โอนกรรมสิทธิ์แก่กระทรวงการคลังโดยให้สิทธิจำเลยที่ 1 เช่าอาคารจากกระทรวงการคลังเป็นเวลา 20 ปี และยอมให้จำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าอาคารได้ ทั้งนี้เทศบาลเมืองสมุทรปราการจะเป็นผู้นำจำเลยที่ 1หรือบุคคลอื่นซึ่งจำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าให้ไปทำสัญญาเช่ากับกระทรวงการคลังโดยตรง เมื่อจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารแล้ว โจทก์ได้ทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทรวม 3 คูหาจากจำเลยที่ 1 หลังจากนั้นจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาเช่าอาคารคูหาเดียวกันจากจำเลยที่ 1อีก ซึ่งทั้งโจทก์และจำเลยที่ 3 ต่างมิได้จดทะเบียนสิทธิการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพียงแต่ตามสัญญากำหนดว่า จำเลยที่ 1จะเป็นผู้จัดให้ผู้เช่าเป็นผู้ทำสัญญาโดยตรงกับเทศบาลเมืองสมุทรปราการกรณีดังกล่าวนี้ใช่การเช่าช่วงแต่มีลักษณะเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อเทศบาลเมืองสมุทรปราการและกระทรวงการคลังให้แก่โจทก์หรือจำเลยที่ 3 เมื่อไม่ปรากฏว่าทั้งโจทก์และจำเลยที่ 3 ได้จัดให้มีการแจ้งการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวให้เทศบาลเมืองสมุทรปราการทราบ กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 307 ที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์หรือจำเลยที่ 3 มีสิทธิในอาคารพิพาทดีกว่ากัน ทั้งไม่มีกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีโดยตรง ต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 4 มาใช้ โดยอาศัยเทียบกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือ มาตรา 543(3) คดีนี้แม้โจทก์จะทำหนังสือสัญญาโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทกับจำเลยที่ 1 ก่อนจำเลยที่ 3 ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ได้เข้าครอบครองอาคารพิพาทแล้ว จึงมีสิทธิดีกว่าโจทก์ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนการเช่าและไม่ได้เข้าครอบครองอาคารพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3654/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเช่าเป็นทรัพย์มรดกเพื่อยกเว้นภาษี: ภาระการพิสูจน์และการยื่นพยานหลักฐาน
บิดาของโจทก์เช่าตึกแถวจากผู้ให้เช่า ต่อมาโจทก์ได้รับโอนสิทธิการเช่าต่อบิดาซึ่งถึงแก่กรรม แล้วโจทก์โอนสิทธิการเช่านี้ให้แก่ธนาคารโดยได้เงินตอบแทน 2,000,00 บาท ในประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า สิทธิการเช่าตึกแถวพิพาทนี้เป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ ภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์ เมื่อโจทก์มิได้ระบุพยานภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้ระบุพยานได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบ ซึ่งหมายความว่าโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นได้ตามข้ออ้างที่ว่าสิทธิการเช่าตึกแถวพิพาทเป็นทรัพย์มรดก เช่นนี้การโอนสิทธิเช่าตึกแถวพิพาาทของโจทก์จึงฟังมิได้ว่าเป็นการโอนทรัพย์สินที่ได้มาโดยทางมรดกและมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ดังนั้น โจทก์จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินค่าตอบแทนจำนวน 2,000,000 บาท มาคำนวณภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42 (9) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 272/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเช่าทรัพย์: สิทธิโอนเมื่อมีเจตนา ชำระเงิน และส่งมอบทรัพย์ แม้ยังมิได้เปลี่ยนชื่อผู้เช่า
จำเลยที่ 2 โอนขายสิทธิการเช่าเครื่องโทรศัพท์หมายเลข 2862135ให้ผู้ร้อง ผู้ร้องรับโอนมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน แม้จะยังมิได้มีการเปลี่ยนชื่อผู้เช่าจากจำเลยที่ 2 มาเป็นผู้ร้องตามแบบพิธีการขององค์การโทรศัพท์ก็ตาม สิทธิการเช่าเครื่องโทรศัพท์ดังกล่าวย่อมโอนไปยังผู้ร้องตั้งแต่ขณะโอนและส่งมอบ เมื่อโจทก์นำยึดเครื่องโทรศัพท์หมายเลข 2862135ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขัดทรัพย์.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2376/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเช่ามีผลสมบูรณ์แม้ยังไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญาเช่า หากเงื่อนไขนั้นไม่ใช่แบบของนิติกรรม
จำเลยที่ 1 ได้โอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์ให้แก่ผู้ร้องที่ 1ก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึง 3 ปีเศษ โดยผู้ร้องได้รับมอบเครื่องรับโทรศัพท์ไว้ในความครอบครองตั้งแต่วันที่โอนสิทธิกัน ดังนั้นการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์รายนี้ย่อมมีผลสมบูรณ์ แม้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยมีเงื่อนไขว่าการโอนจะต้องได้รับความยินยอมจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและจะต้องเสียค่าธรรมเนียมเสียก่อน เมื่อยังไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว ก็ไม่ทำให้นิติกรรมการโอนเสียไปเพราะเงื่อนไขดังกล่าวไม่ใช่แบบของนิติกรรม สิทธิการเช่าโทรศัพท์ดังกล่าวจึงไม่ใช่ของจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่มีสิทธินำยึด.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
of 5