คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2355/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีและการโอนหนี้: โจทก์ฟ้องแทนเจ้าหนี้เดิมโดยไม่ได้รับมอบอำนาจ ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง แม้มีการอ้างการยกหนี้ในภายหลัง
จำเลยเป็นหนี้เงินกู้มารดาโจทก์ โจทก์ทำหนังสือรับสภาพหนี้แทนมารดาโจทก์ให้จำเลยลงชื่อ โจทก์และจำเลยจึงไม่มีมูลหนี้ต่อกันเมื่อโจทก์มาฟ้องคดีในนามของตนเองโดยมิได้รับมอบอำนาจจากมารดาโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์นำสืบและอ้างในคำแก้ฎีกาว่า มารดาโจทก์ยกหนี้รายนี้ให้โจทก์โดยโจทก์มิได้ฟ้องตั้งประเด็นเช่นนั้น แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2496/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นสัญญาใหม่ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ใหม่ การโอนกิจการไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิด
สัญญาเช่าซื้อเป็น สัญญาต่างตอบแทน คู่สัญญามีหน้าที่ต้องชำระหนี้ซึ่งกันและกันหรือต่างก็เป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ การที่จำเลยโอนขายกิจการรวมทั้งโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่บริษัท ท. หาใช่การโอนสิทธิเรียกร้องแต่เพียงอย่างเดียวไม่หากแต่จำเลยได้โอนความเป็นลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่บริษัท ท. ด้วย จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ซึ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 จะต้องทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ ซึ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 จะต้องทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่และจะทำโดยขืนใจลูกหนี้เดิมไม่ได้ เมื่อโจทก์และบริษัท ท. ไม่ได้ทำสัญญาต่อกันทั้งจำเลยก็มิได้บอกกล่าวการโอนหนี้เป็นหนังสือให้โจทก์ทราบ และโจทก์มิได้ยินยอมเป็นหนังสือดังนั้นจำเลยจะยกข้อต่อสู้ว่าจำเลยได้โอนกิจการไปให้บริษัท ท.ขึ้นยันโจทก์ไม่ได้ จำเลยยังคงต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อต่อโจทก์เมื่อจำเลยไม่สามารถส่งมอบทรัพย์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์ได้ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ปัญหาว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วหรือไม่ จำเลยไม่ได้ให้การเป็นประเด็นไว้ แม้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2496/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหนี้ในสัญญาเช่าซื้อต้องมีสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ใหม่ การโอนกิจการไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิด
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาต่างตอบแทน คู่สัญญามีหน้าที่ต้องชำระหนี้ซึ่งกันและกันหรือต่างก็เป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ การที่จำเลยโอนขายกิจการรวมทั้งโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่บริษัทท.หาใช่การโอนสิทธิเรียกร้องแต่เพียงอย่างเดียวไม่หากแต่จำเลยได้โอนความเป็นลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่บริษัทท.ด้วย จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350 จะต้องทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ แต่โจทก์และบริษัทท.มิได้ทำสัญญาต่อกัน ดังนั้น จำเลยจะยกข้อต่อสู้ที่ว่าจำเลยได้โอนกิจการไปให้บริษัทท.ขึ้นยันโจทก์ไม่ได้จำเลยยังคงจะต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อต่อโจทก์ เมื่อจำเลยไม่สามารถส่งมอบทรัพย์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์ได้ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทไม่ถือเป็นการโอนหนี้ จำเลยที่ 2-3 ยังต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
บันทึกที่บริษัท ค. ทำกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ผู้ค้ำประกันบริษัทจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เป็นเพียงข้อตกลงที่จะซื้อขายหุ้นกันไม่มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าบริษัท ค. ตกลงรับโอนหนี้ของจำเลยที่ 1 หรือรับจะชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 และปรากฏจากรายงานการประชุมใหญ่วิสามัญ ผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ก่อนที่จะมีการโอนขายหุ้นกันว่า จำเลยที่ 1 ประสบภาวะการขาดทุนเป็นอย่างมาก บริษัท ค. เพียงแต่จะให้ความร่วมมือทางการเงินเท่านั้น ทั้งเช็คที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 อ้างว่าบริษัท ค.ชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ติดต่อกันทุกเดือน ก็ปรากฏว่าเป็นเช็คลงวันที่ก่อนที่จะมีการตกลงโอนหุ้นกันจึงไม่ใช่เช็คที่บริษัท ค. ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 แม้ต่อมาจะมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 จากฝ่ายจำเลยที่ 2 ที่ 3 มาเป็นกรรมการจากกลุ่มของบริษัท ค. ก็เป็นการดำเนินการของจำเลยที่ 1 สิทธิหน้าที่ตลอดจนความผูกพันของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อบุคคลภายนอกรวมทั้งโจทก์มีอยู่อย่างไร ก็คงมีอยู่ต่อไปตามเดิมหาได้เปลี่ยนแปลงไปไม่.ดังนี้ เมื่อบริษัท ค. มิได้ยอมเข้ามาเป็นลูกหนี้รับชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 จึงไม่ถือว่ามีการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงยังคงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้กับโจทก์.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ใหม่จากการซื้อขายหุ้น: ผู้ค้ำประกันยังคงต้องรับผิดหากไม่มีการรับโอนหนี้โดยชัดเจน
บันทึกที่บริษัท ค. ทำกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ผู้ค้ำประกันบริษัทจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ เป็นเพียงข้อตกลงที่จะซื้อขายหุ้นกันไม่มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าบริษัท ค. ตกลงรับโอนหนี้ของจำเลยที่ 1 หรือรับจะชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 และปรากฏจากรายงานการประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ก่อนที่จะมีการโอนขายหุ้นกันว่า จำเลยที่ 1 ประสบภาวะการขาดทุนเป็นอย่างมากบริษัท ค. เพียงแต่จะให้ความร่วมมือทางการเงินเท่านั้น ทั้งเช็คที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 อ้างว่าบริษัท ค. ชำระหนี้ของจำเลยที่ 1ให้แก่โจทก์ติดต่อกันทุกเดือน ก็เป็นเช็คลงวันที่ก่อนที่จะมีการตกลงโอนหุ้นกัน จึงไม่ใช่เช็คที่บริษัท ค. ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 แม้ต่อมาจะมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1จากฝ่ายจำเลยที่ 2 ที่ 3 มาเป็นกลุ่มของบริษัท ค. ก็เป็นการดำเนินการของจำเลยที่ 1 สิทธิหน้าที่ตลอดจนความผูกพันของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อบุคคลภายนอกรวมทั้งโจทก์มีอยู่อย่างไร ก็คงมีอยู่ต่อไปตามเดิมหาได้เปลี่ยนแปลงไปไม่ เมื่อบริษัท ค. มิได้ยอมเข้ามาเป็นลูกหนี้รับชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 จึงไม่ถือว่ามีการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 350 จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงยังคงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้กับโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1603/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิ/หนี้ในสัญญาประกันภัยต้องมีสัญญาระหว่างเจ้าหนี้-ลูกหนี้ใหม่ การรับทราบ/ทวงถามหนี้ไม่ผูกพันจำเลย
สัญญาประกันภัยเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งคู่สัญญาต่างก็เป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้. การโอนและรับโอนบรรดากิจการทรัพย์สินและหนี้สินระหว่างโจทก์กับบริษัท ฮ. ซึ่งจำเลยเป็นผู้เอาประกันภัยไว้นั้น เป็นทั้งการโอนสิทธิเรียกร้องและการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ซึ่งจะต้องทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่. แต่จะทำโดยขืนใจลูกหนี้เดิมมิได้. แม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งเมื่อได้รับทราบถึงการโอนดังกล่าวหรือเมื่อโจทก์ทวงถามให้ชำระเงินค่าเบี้ยประกันภัย. เมื่อมิได้ทำเป็นสัญญากันระหว่างโจทก์และจำเลย. จำเลยก็ไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้ชำระเบี้ยประกันภัยที่ค้างชำระ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหนี้ค่าชดเชยจากศูนย์อุตสาหกรรมเหมืองแร่สู่องค์การเหมืองแร่ตามพระราชกฤษฎีกา
โจทก์บรรยายฟ้องว่าองค์การเหมืองแร่จำเลยว่าจ้างโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างประจำ ต่อมาได้เลิกจ้างโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยแม้ได้ความตามทางพิจารณาว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของศูนย์อุตสาหกรรมเหมืองแร่กรมทรัพยากรธรณีกระทรวงอุตสาหกรรม และถูกเลิกจ้างก่อนที่จะมีการจัดตั้งองค์การจำเลยขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งองค์การเหมืองแร่ พ.ศ. 2520 ก็ตาม แต่ พระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวมาตรา 8 บัญญัติให้ กรมทรัพยากรธรณีดำเนินการโอนกิจการ ทรัพย์สินสิทธิ หนี้และความรับผิดของศูนย์อุตสาหกรรมเหมืองแร่ให้แก่องค์การจำเลย ดังนี้หนี้ที่จะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์จึงโอนมาอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยด้วย จำเลยจึงเข้าใจได้แล้วว่าเป็นการฟ้องให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยที่จำเลยผูกพันต้องชำระตามที่รับโอนมาข้อเท็จจริงที่ได้ความตามทางพิจารณาจึงหาใช่ข้อเท็จจริงนอกฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหนี้ค่าชดเชยจากศูนย์อุตสาหกรรมเหมืองแร่สู่องค์การเหมืองแร่ตามพระราชกฤษฎีกา
โจทก์บรรยายฟ้องว่าองค์การเหมืองแร่จำเลยว่าจ้างโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างประจำ ต่อมาได้เลิกจ้างโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชย แม้ได้ความตามทางพิจารณาว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของศูนย์อุตสาหกรรมเหมืองแร่ กรมทรัพยากรธรณีกระทรวงอุตสาหกรรม และถูกเลิกจ้างก่อนที่จะมีการจัดตั้งองค์การจำเลยขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งองค์การเหมืองแร่ พ.ศ. 2520 ก็ตาม แต่ พระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวมาตรา 8 บัญญัติให้ กรมทรัพยากรธรณีดำเนินการโอนกิจการ ทรัพย์สินสิทธิ หนี้และความรับผิดของศูนย์อุตสาหกรรมเหมืองแร่ให้แก่องค์การจำเลย ดังนี้ หนี้ที่จะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์จึงโอนมาอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยด้วย จำเลยจึงเข้าใจได้แล้วว่าเป็นการฟ้องให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยที่จำเลยผูกพันต้องชำระตามที่รับโอนมาข้อเท็จจริงที่ได้ความตามทางพิจารณาจึงหาใช่ข้อเท็จจริงนอกฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหนี้จากการรับโอนกิจการและการมีอำนาจฟ้องคดี ศาลล่างวินิจฉัยคลาดเคลื่อน
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า โจทก์ได้รับโอนกิจการเดินรถประจำทางจากห้างหุ้นส่วนจำกัดรถยนต์ศรีนครมาดำเนินการเองทั้งหมด และรับโอนทรัพย์สินและหนี้สินต่าง ๆ ของห้างหุ้นส่วนจำกัดรถยนต์ศรีนครที่เกี่ยวกับการเดินรถมาด้วย จำเลยที่ 2 คงให้การเพียงว่าการโอนกิจการจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จำเลยที่ 2 ไม่รับรอง จำเลยที่ 2 ไม่ได้รับหนังสือบอกกล่าวจากโจทก์หรือทนายโจทก์ให้ชำระหนี้รายนี้เลยจำเลยหาได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โดยชัดแจ้งในเรื่องการโอนหนี้ว่ามิได้ทำเป็นหนังสือ หรือมิได้บอกกล่าวการโอนหนี้เป็นหนังสือให้จำเลยทราบแต่อย่างใดไม่ จึงไม่มีประเด็นในเรื่องนี้ที่จะให้ศาลหยิบยกขึ้นวินิจฉัย ฉะนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยอ้างเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์นั้น ย่อมไม่ชอบ สมควรที่จะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1606/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบรวมสหกรณ์และการสืบสิทธิหนี้: สิทธิเจ้าหนี้เป็นไปตามกฎหมายสหกรณ์ ไม่ใช่การโอนหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่ง
เมื่อได้ควบสหกรณ์เข้ากันเป็นสหกรณ์ใหม่ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์พ.ศ. 2511 โดยถูกต้องแล้ว สหกรณ์ใหม่ย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้สิน สิทธิและความรับผิดของสหกรณ์เดิมที่ได้ควบเข้ากันทั้งสิ้น สหกรณ์ใหม่ (โจทก์)ไม่จำต้องบอกกล่าวให้ลูกหนี้สหกรณ์เดิมทราบถึงการควบสหกรณ์เข้าด้วยกันและย่อมได้ไปซึ่งสิทธิเป็นเจ้าหนี้ กรณีหาใช่เป็นการโอนหนี้ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 ไม่
of 4