คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนหุ้น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 111 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5308/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะกรรมโอนหุ้นบริษัทประกันชีวิตฝ่าฝืนกฎกระทรวงออกตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิต
จำเลยที่ 3 ที่ 5 ถึงที่ 10 รับโอนหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 11 ส่วนของโจทก์ไว้แทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันชีวิตตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิตฯ มาตรา 28 กำหนดว่านอกเหนือจากการประกันชีวิต ให้บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันชีวิตลงทุนประกอบธุรกิจอื่นใดได้เฉพาะที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด บทบัญญัติดังกล่าวเป็นการควบคุมบริษัทประกันชีวิตให้นำเงินไปลงทุนได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น เมื่อปรากฏว่าบริษัทจำเลยที่ 11 ที่จำเลยที่ 1 ถือหุ้นดังกล่าวไม่อยู่ในฐานะเป็นบริษัทที่มีทรัพย์สินเกินกว่าหนี้สินและไม่มีฐานะเป็นบริษัทที่มีกำไรสุทธิไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ต่อปีของทุนที่ชำระแล้วติดต่อกันไม่น้อยกว่าสองปีก่อนที่ซื้อหุ้นนั้นตามหลักเกณฑ์การลงทุนของบริษัทประกันชีวิตที่กำหนดในกฎกระทรวง ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบริษัทประกันชีวิตได้ลงทุนประกอบธุรกิจอันเป็นการจงใจฝ่าฝืนกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2519) ออกตามความใน พ.ร.บ.ประกันชีวิตฯ ซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการโอนหุ้นดังกล่าว จึงเป็นการทำนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย นิติกรรมการโอนหุ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 ที่ 5 ถึงที่ 10 ตัวแทนของจำเลยที่ 1 จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
ในการคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรมให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์โอนหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 11 ให้แก่จำเลยที่ 3 ที่ 5 ถึงที่ 10 โดยเจตนาลวง ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยที่ 3 ที่ 5 ถึงที่ 10 ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 11 แทนจำเลยที่ 1 โดยมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะ กับการที่ศาลจะพิจารณาพิพากษาบังคับให้เป็นไปตามคำฟ้องของโจทก์ได้หรือไม่ ล้วนเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลสูงย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 523/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อต้องทำตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด หากไม่ถูกต้องสัญญาเป็นโมฆะ
หุ้นของบริษัททั้งหมดเป็นหุ้นสามัญชนิดระบุชื่อ แม้คู่ความจะรับกันว่าทางบริษัทยังไม่ออกใบหุ้นแต่การโอนหุ้นก็ต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ.มาตรา 1129 วรรคสอง เพราะเป็นกรณีโอนหุ้นชนิดระบุชื่อ ซึ่งกำหนดแบบไว้ว่าถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนและผู้รับโอน มีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือนั้น ๆ ด้วยแล้ว ท่านว่าเป็นโมฆะ เมื่อหนังสือสัญญาโอนหุ้นไม่มีผู้ลงชื่อเป็นพยานรับรองลายมือดังกล่าว การโอนหุ้นระหว่างจำเลยกับโจทก์จึงเป็นโมฆะตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 523/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนด หากไม่เป็นไปตามแบบ สัญญาโอนหุ้นเป็นโมฆะ แม้มีการชำระเงินแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาขายหุ้นของจำเลยในบริษัทบ. ให้แก่โจทก์ 2,500 หุ้น ในราคา 2,500,000 บาท จำเลยได้รับเงินค่าหุ้นจากโจทก์ในวันทำสัญญา 500,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่าหากการซื้อขายหุ้นมีปัญหาหรือโมฆะ จำเลยจะคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ แต่จำเลยไม่สามารถจัดการโอนหุ้นตามสัญญาให้แก่โจทก์โดยทางบริษัท บ. แจ้งว่า การโอนหุ้นขัดต่อข้อบังคับของบริษัทซึ่งกรรมการของบริษัทคัดค้านการโอนหุ้น และโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยจึงต้องคืนเงิน 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ดังนี้ถือว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดแล้ว จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง ส่วนข้อบังคับของบริษัท บ. มีว่าอย่างไรการโอนหุ้นตามฟ้องขัดต่อข้อบังคับของบริษัทอย่างไร กรรมการบริษัทที่คัดค้านการโอนหุ้นคือใครตามมติที่ประชุมครั้งที่เท่าใดล้วนเป็นเรื่องรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบพยานได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
หุ้นของบริษัท บ. เป็นหุ้นสามัญชนิดระบุชื่อแม้ยังไม่ได้ออกใบหุ้นแต่การโอนหุ้นก็ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสอง ซึ่งกำหนดแบบไว้ว่าถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน มีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือนั้น ๆ ด้วยแล้ว ท่านว่าเป็นโมฆะ เมื่อหนังสือสัญญาโอนหุ้นในบริษัทดังกล่าวระหว่างโจทก์จำเลย ไม่มีผู้ลงชื่อเป็นพยานรับรองลายมือดังกล่าว จึงเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8106/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการตามข้อบังคับบริษัท หากไม่เป็นไปตามนั้น การโอนหุ้นไม่สมบูรณ์และผู้รับโอนไม่มีสิทธิ
หุ้นที่ ม. โอนให้โจทก์เป็นหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้น โดยมีข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่ 1 กำหนดไว้ว่าการโอนหุ้นให้บุคคลภายนอกต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ก่อน และคณะกรรมการมีสิทธิบอกปัดการโอนโดยไม่ต้องแถลงเหตุผล ดังนี้ การโอนหุ้นระหว่าง ม. กับโจทก์จึงต้องเป็นไปตามข้อบังคับดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคหนึ่ง ขณะที่ ม. ทำสัญญาโอนหุ้นให้โจทก์นั้นได้ความว่า ม. เป็นกรรมการเพียงคนเดียวที่ทราบและอนุมัติการโอนหุ้นรายนี้ ส่วนกรรมการคนอื่นๆ ไม่ปรากฏว่าได้ทราบและอนุมัติด้วย แม้ ม. จะแจ้งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 ไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทว่าโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นที่รับโอนจาก ม. ก็ดี หรือ ม. จะแจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจลงบันทึกประจำวันว่าได้แจ้งการโอนหุ้นแก่โจทก์ให้คณะกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ทราบและได้รับความยินยอมแล้วก็ดี ยังฟังไม่ได้ว่าคณะกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ยินยอมหรืออนุมัติการโอนหุ้นรายนี้ การโอนหุ้นระหว่าง ม. กับโจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่ 1 และไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6908/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายหุ้น: ฝ่ายผิดสัญญาโอนหุ้นมีหน้าที่คืนเงินค่าหุ้น พร้อมดอกเบี้ย
ฟ้องเดิม คำให้การ และฟ้องแย้งกับคำให้การแก้ฟ้องแย้ง มีประเด็นข้อพิพาทอย่างเดียวกันว่าฝ่ายใดเป็นฝ่าย ผิดสัญญาการโอนหุ้น ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาการโอนหุ้น พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยชำระเงินตามฟ้องเดิมจำนวน 316,489 บาท พร้อมดอกเบี้ยและยกฟ้องแย้งจำเลย ที่ศาลชั้นต้นพิพากษา ให้โจทก์ชำระเงิน 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องแย้ง จำเลยฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฟ้องแย้ง เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 คงวินิจฉัยเฉพาะฟ้องเดิมว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาการโอนหุ้นไม่มีสิทธิเรียกเงินค่าหุ้น จากจำเลยตามฟ้องรวมทั้งไม่อาจยึดถือเงินค่าหุ้นที่จำเลยได้ชำระให้แก่โจทก์ตามฟ้องแย้ง จึงทำให้คำวินิจฉัยในส่วนที่ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนหุ้นของศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาขัดกัน ต้องบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 146 วรรคหนึ่ง โดยถือตามคำพิพากษาศาลฎีกาว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนหุ้น ดังนั้น โจทก์ต้องคืนเงินค่าหุ้นที่ได้รับให้แก่จำเลยจำนวน 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 นับแต่วันฟ้องแย้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6908/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายหุ้น: โจทก์ผิดสัญญาไม่โอนหุ้น แม้จำเลยชำระค่าหุ้นแล้ว ศาลฎีกาวินิจฉัยแย้งศาลอุทธรณ์
ตามบันทึกข้อตกลงการซื้อขายหุ้นของบริษัท ณ. ระหว่างโจทก์ผู้ขายกับจำเลยผู้ซื้อ ข้อ 2 ระบุว่าจำเลยได้ชำระค่าโอนหุ้นให้แก่โจทก์ด้วยเช็ค 5 ฉบับ รวมเป็นเงิน 500,000 บาท และข้อ 4 ระบุว่า โจทก์ยินยอมลงลายมือชื่อโอนหุ้นของบริษัทดังกล่าวให้แก่จำเลยภายใน 7 วันนับจากวันทำสัญญานี้ ถือว่าบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาซื้อขายหุ้นของบริษัท ณ. ยังมิใช่การดำเนินการโอนหุ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ต้องทำแบบที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129 วรรคสอง และข้อบังคับของบริษัท ณ. ในหมวด 2 ข้อ 4ว่าด้วยเรื่องหุ้นและผู้ถือหุ้น การซื้อขายหุ้นจึงหาตกเป็นโมฆะไม่
คดีนี้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยออกเช็คชำระค่าหุ้น แต่โจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา แต่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินค่าหุ้นจากจำเลยรวมถึงไม่อาจยึดเงินค่าหุ้นที่จำเลยได้ชำระให้โจทก์แล้วได้ ซึ่งจำเลยฟ้องแย้งโจทก์ไว้และฎีกาขึ้นมา แต่เป็นฎีกาที่ต้องห้าม ทำให้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาขัดกัน ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 146 วรรคหนึ่ง โดยถือตามคำวินิจฉัยของศาลฎีกาว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนหุ้นให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2170/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นต้องเป็นไปตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด สัญญาซื้อขายหุ้นที่มีเงื่อนไขไม่สมบูรณ์หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
ป. น. และ ส. มิได้ลงลายมือชื่อในฐานะผู้ขายในสัญญาขายหุ้นโดยมีเงื่อนไขและไม่มีหลักฐานว่าได้มอบอำนาจให้จำเลยเป็นผู้ขายหุ้นของตนหรือ บริษัท ก. เป็นผู้ขายหุ้นของ ป. น. และ ส. ถือไม่ได้ว่า ป. น. และ ส. ได้ขายหุ้นของตนให้แก่โจทก์ สัญญาขายหุ้นจึงไม่มีผลผูกพัน ป. น. และ ส. โจทก์ไม่มีตราสารการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นที่ ป. น. และ ส. โอนให้แก่โจทก์เป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอนและมีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือชื่อนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง มาแสดง ถือไม่ได้ว่าหุ้นของ ป. น. และ ส. ได้โอนไปยังโจทก์แล้ว ป. น. และ ส. ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นบริษัท ก.
สัญญาขายหุ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไข ซึ่งมีข้อความส่วนหนึ่งระบุว่า "อนึ่ง ในวันทำสัญญานี้ผู้ขายได้ทำตราสารการโอนหุ้นมีผลเป็นการโอนหุ้นที่ตกลงซื้อตามข้อ 1 เสร็จ โดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงให้นาย ว. เก็บรักษาไว้จนกว่าผู้ซื้อจะดำเนินการตามสัญญาเสร็จ" ถือไม่ได้ว่าข้อความดังกล่าวเป็นแบบตราสารการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นที่เป็นหนังสือโดยลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอนและมีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือชื่อนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง เพราะข้อความดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสัญญาขายหุ้นโดยมีเงื่อนไข ทั้งสัญญาขายหุ้นโดยมีเงื่อนไขก็มิใช่แบบตราสารการโอนหุ้นตาม มาตรา 1129 วรรคสอง ป. น. และ ส. จึงยังเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6365/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้น การโอนหุ้นสมบูรณ์แม้ไม่ได้ทำตามข้อบังคับบริษัท และการกำหนดค่าเสียหายที่เหมาะสม
ที่จำเลยขอเพิ่มเติมประเด็นแห่งคดีว่า"การซื้อขายหุ้นได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยและโจทก์ ทั้งสามและมีพยาน 2 คน ลงลายมือชื่อรับรองตามข้อบังคับของบริษัทท.หรือไม่ และสัญญาซื้อขายหุ้นเป็นโมฆะหรือไม่"นั้น ปัญหาที่จำเลยยกขึ้นอ้างดังกล่าวเป็นวิธีปฏิบัติในการโอนหุ้นตามข้อบังคับของบริษัทซึ่งเป็นรายละเอียดที่คู่ความจะต้องนำสืบในชั้นพิจารณาเพื่อให้ได้ความตามประเด็นข้อพิพาทที่ว่า จำเลยได้ตกลงขายหุ้นของจำเลยที่ถืออยู่ในบริษัทท. ให้แก่โจทก์ทั้งสามหรือไม่ปัญหาดังกล่าวจึงรวมอยู่ในประเด็นข้อพิพาทแล้วกรณีย่อมไม่จำต้องกำหนดปัญหานี้เป็นประเด็นข้อพิพาทซ้ำซ้อนขึ้นอีก จำเลยได้ขายหุ้นของจำเลยที่ถืออยู่ในบริษัทท. ให้แก่โจทก์และรับเงินค่าหุ้นจากโจทก์แล้ว เมื่อการโอนหุ้นพิพาทเป็นการโอนระหว่างผู้ถือหุ้นด้วยกัน โดยบริษัทยังไม่ได้ ออกใบหุ้น จึงไม่อยู่ในบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือและ พยานลงลายมือชื่อ 2 คน ตามข้อบังคับของบริษัท และถือว่าการโอนหุ้นสมบูรณ์จำเลยต้องผูกพันตามสัญญา จำเลยได้อุทธรณ์กล่าวอ้างว่า ศาลชั้นต้นได้นำสัญญาซื้อขายหุ้นเอกสารหมาย ล.10 มากำหนดค่าเสียหายหุ้นละ88.09 บาท เป็นการมิชอบโดยจำเลยกล่าวอ้างในอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายสูงเกินความเป็นจริงถือได้ว่าจำเลยได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้แล้วที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยมิได้กล่าวอ้างในอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายไม่ชอบหรือกำหนดค่าเสียหายเกินกว่าพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการประพฤติผิดสัญญาอย่างไรบ้างจึงไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทในชั้นอุทธรณ์อันพึงวินิจฉัยย่อมเป็นการไม่ชอบและศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปทีเดียวโดยไม่ย้อนสำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7833/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งโอนหุ้นเป็นโมฆะ ไม่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาแจ้งความเท็จ ศาลพิจารณาตามข้อเท็จจริงเฉพาะคดีแพ่ง
คดีอาญาที่จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นเรื่องแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ส่วนคดีนี้เป็นคดีที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาว่านิติกรรมการโอนหุ้นของบริษัท ย.โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับโอนเป็นโมฆะ เพราะจำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมลายมือชื่อโจทก์ผู้โอนหุ้นในหนังสือสัญญาโอนหุ้นในบริษัทจำกัด โอนหุ้นของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้ยินยอม สิทธิฟ้องคดีในคดีนี้จึงไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาฐานแจ้งความเท็จแต่อย่างใด ทั้งคู่ความในคดีส่วนอาญากับคู่ความในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีส่วนแพ่งมิได้เป็นคู่ความรายเดียวกัน เพราะ จำเลยที่ 2ในคดีนี้มิได้เป็นคู่ความในคดีส่วนอาญา และประเด็นแห่งคดีในคดีส่วนอาญามีประเด็นว่า จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครหรือไม่ ส่วนคดีนี้มีประเด็นว่าจำเลยร่วมกันปลอมหนังสือสัญญาโอนหุ้นในบริษัทจำกัดโดยปลอมลายมือชื่อโจทก์โอนหุ้นของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 หรือไม่ อันเป็นคนละประเด็นกัน กรณีจึงมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิพากษาคดีนี้จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของ ป.วิ.อ.มาตรา 46 ที่ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7833/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นโดยการปลอมลายมือชื่อเป็นโมฆะ แม้คดีอาญายกฟ้อง ศาลแพ่งยังสามารถพิจารณาจากหลักฐานอื่นได้
คดีอาญาที่จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นเรื่องแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ส่วนคดีนี้เป็นคดีที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาว่านิติกรรมการโอนหุ้นของบริษัทย.โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับโอนเป็นโมฆะ เพราะจำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมลายมือชื่อโจทก์ผู้โอนหุ้นในหนังสือสัญญาโอนหุ้นในบริษัทจำกัด โอนหุ้นของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้ยินยอม สิทธิฟ้องคดีในคดีนี้จึงไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาฐานแจ้งความเท็จแต่อย่างใด ทั้งคู่ความในคดีส่วนอาญากับคู่ความในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีส่วนแพ่งมิได้เป็นคู่ความรายเดียวกัน เพราะจำเลยที่ 2 ในคดีนี้มิได้เป็นคู่ความในคดีส่วนอาญา และประเด็นแห่งคดีในคดีส่วนอาญามีประเด็นว่า จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครหรือไม่ส่วนคดีนี้มีประเด็นว่าจำเลยร่วมกันปลอมหนังสือสัญญาโอนหุ้นในบริษัทจำกัดโดยปลอมลายมือชื่อโจทก์โอนหุ้นของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 หรือไม่ อันเป็นคนละประเด็นกัน กรณีจึงมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาการพิพากษาคดีนี้จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46ที่ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญา
of 12