คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนเงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4007/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ผู้ฝากรับเงินธนาณัติ - แก้ไขระเบียบไปรษณีย์ - การแจ้งผู้ฝาก - การโอนเงินเป็นสิทธิของจำเลย
ตามระเบียบของจำเลยที่ 1 ฉบับที่ 61 ว่าด้วย บริการไปรษณีย์ธนาณัติในประเทศ พ.ศ.2526 ข้อ 238 กำหนดให้ที่ทำการไปรษณีย์ปลายทางส่งธนาณัติคืนให้แก่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางเพื่อจ่ายคืนให้แก่ผู้ฝากส่งเมื่อผู้รับไม่ไปติดต่อขอรับเงินธนาณัติภายในกำหนดตามข้อ 235.1 และเมื่อที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางได้รับธนาณัติคืนแล้ว ตามระเบียบของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว แก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 61 ว่าด้วย บริการไปรษณีย์ธนาณัติในประเทศ พ.ศ.2526 (แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 9 พ.ศ.2535) ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2535 ข้อ 3 กำหนดให้ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางตรวจสอบแบบ ธน.31 ท่อนที่ 1 ซึ่งได้รับคืนกับแบบ ธน.1 ของธนาณัตินั้นและแยกเก็บไว้เพื่อรอการติดต่อขอรับเงินคืนจากผู้ฝากเท่านั้น ทั้งไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ.2539 ก็มิได้กำหนดให้ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางจะต้องแจ้งให้ผู้ฝากทราบ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ฝากที่จะต้องไปติดต่อขอรับเงินคืนภายในกำหนดเวลาตามระเบียบของจำเลยที่ 1 ฉบับที่ 61 ข้อ 235 เมื่อโจทก์ไม่ได้ไปติดต่อขอรับเงินคืนในกำหนดเวลา จำเลยที่ 1 จึงดำเนินการประกาศโฆษณากำหนดระยะเวลาให้โจทก์ไปขอรับเงินคืนและโอนเงินธนาณัติที่โจทก์ฝากส่งเป็นของจำเลยที่ 1 เพราะโจทก์ไม่ไปติดต่อขอรับเงินตามระเบียบของจำเลยที่ 1 ฉบับที่ 61 ข้อ 236 และไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ.2539 ข้อ 204 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4007/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ผู้ฝากติดตามรับเงินธนาณัติเมื่อผู้รับไม่มารับ และสิทธิจำเลยโอนเงินเข้ากองทุนเมื่อพ้นกำหนด
กรณีที่โจทก์ผู้ฝากส่งเงินทางไปรษณีย์ธนาณัติในประเทศไปให้ผู้รับแต่ผู้รับไม่ไปขอรับเงินภายในกำหนด 2 เดือน นับต่อจากเดือนที่ฝากส่ง ไปรษณีย์ปลายทางจึงส่งไปรษณีย์ธนาณัติคืนไปรษณีย์ต้นทางตามระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทยของจำเลยที่ 1 ฉบับที่ 61 ว่าด้วยบริการไปรษณีย์ธนาณัติในประเทศ พ.ศ. 2526(แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 9 พ.ศ. 2535) ข้อ 3 กำหนดให้ที่ทำการต้นทางเพียงแต่ตรวจสอบแบบ ธน. 31ท่อนที่ 1 ซึ่งได้รับคืนกับแบบ ธน.1ของธนาณัติฉบับนั้น และแยกเก็บไว้เพื่อการติดต่อขอรับเงินคืนจากผู้ฝากเท่านั้นทั้งไปรษณีย์นิเทศฯ ก็มิได้กำหนดให้ที่ทำการต้นทางจะต้องแจ้งให้ผู้ฝากทราบ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ฝากที่จะต้องไปติดต่อขอรับเงินคืนภายในกำหนดเวลาตามระเบียบของจำเลยที่ 1 ข้อ 235 เมื่อโจทก์ผู้ฝากไม่ได้ไปขอรับเงินคืนในกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงประกาศโฆษณากำหนดระยะเวลาให้โจทก์ไปขอรับเงินคืนอีกแต่โจทก์ก็ไม่ไปขอรับเงินคืนตามระเบียบของจำเลยที่ 1 ข้อ 236 และไปรษณีย์นิเทศฯข้อ 204 จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิโอนเงินธนาณัติที่โจทก์ฝากส่งเป็นของจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 230/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยการโอนเงินเข้าบัญชี และการระงับหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321
การที่จำเลยโอนเงินทางธนาคารเข้าบัญชีของโจทก์ที่ธนาคาร โจทก์เองก็ยอมรับว่าจำเลยได้โอนเงิน เข้าบัญชีโจทก์จริง จึงเป็นการชำระหนี้อย่างอื่น ซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ได้ยอมรับแล้ว ย่อมทำให้หนี้กู้ยืม รายพิพาทระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคหนึ่ง กรณีมิใช่เป็นการนำสืบการใช้เงิน โดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้กู้ยืม มาแสดงซึ่งต้องห้ามมิให้นำสืบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6028/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้เงินกู้ด้วยการโอนเงินทางโทรศัพท์ทำให้หนี้ระงับ แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
จำเลยโอนเงินทางโทรศัพท์เข้าบัญชีโจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้ไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653แต่เป็นการชำระหนี้อย่างอื่น เมื่อโจทก์ยอมรับแล้วหนี้เงินกู้จึงระงับลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีจากเงินที่โอนให้บริษัทในประเทศ ไม่ถือเป็นการจำหน่ายเงินกำไรออกนอกประเทศ
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ ที่ให้เรียกเก็บภาษีเงินได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจำหน่ายเงินกำไร หรือเงินประเภทอื่นที่กันไว้จากเงินกำไร หรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยนั้น กฎหมายมุ่งประสงค์ให้เรียกเก็บภาษีเงินได้ดังกล่าวเฉพาะเงินที่ได้จำหน่ายออกไปจากประเทศไทยโดยแท้จริงเมื่อปรากฏว่าโจทก์ขายกิจการของโจทก์ให้กับบริษัท อ. ในประเทศไทยและโอนเงินที่โจทก์จัดไว้เพื่อซ่อมสร้างเตาหลอมและเงินตอบแทนการทำงานของพนักงานไปให้ด้วย เงินดังกล่าวยังคงหมุนเวียนอยู่ในประเทศไทย การที่จำเลยประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3187/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบเงินโดยเสน่หาและสิทธิในบัญชีเงินฝาก การโอนเงินคืนโดยไม่ได้รับความยินยอม
โจทก์และ ช.ชาวญี่ปุ่นอยู่กินฉันสามีภรรยากันต่อมาช.ส่งเงินจำนวนสิบล้านเยนจากประเทศญี่ปุ่นมาที่จังหวัดพะเยาโดยโอนเงินผ่านธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาพะเยา ระบุชื่อช.เป็นผู้รับเงินเพราะช. ได้เดินทางตามมาพบโจทก์ด้วยธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาพะเยาได้โอนเงินเข้าบัญชีสะสมทรัพย์ของโจทก์เช่นที่เคยปฏิบัติ รุ่งขึ้นโจทก์กับ ช. ไปที่ธนาคารจำเลยที่ 1 โจทก์ขอถอนเงินจำนวน 1,000,000 บาท จากบัญชีสะสมทรัพย์แล้วฝากเงินดังกล่าวในบัญชีเงินฝากประเภทประจำซึ่งมีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของบัญชีตามคำชักชวนของพนักงานธนาคารจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าการที่ ช. อยู่ด้วยกับโจทก์ขณะโจทก์ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประเภทสะสมทรัพย์แล้วฝากในบัญชีเงินฝากประเภทประจำ เป็นจำนวน 1,000,000 บาท นั้น ช. ได้รับเงินที่ส่งมาแล้วและได้ส่งมอบให้โจทก์ เป็นผลให้เงินจำนวนสิบล้านเยนตกเป็นของโจทก์โดยการให้โดยเสน่หาจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจโอนเงินในบัญชีเงินฝากประเภทประจำดังกล่าวของโจทก์คืนให้แก่ ช. โดยปราศจากความยินยอมของโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3966/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าจ้างโดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร และการประสบอันตรายระหว่างเบิกเงิน ไม่ถือเป็นการทำงาน
ลูกจ้างตกลงยินยอมให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างโดยวิธีโอนเงินเข้าบัญชีของลูกจ้างในธนาคารและได้รับเงินเดือนโดยวิธีการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากที่ธนาคารตลอดมา เช่นนี้ เมื่อนายจ้างโอนเงินค่าจ้างเข้าบัญชีของลูกจ้างที่ธนาคารในเดือนใดแล้ว นายจ้างก็หมดหน้าที่ในการจ่ายค่าจ้างในเดือนนั้น และเป็นการจ่ายเงินค่าจ้างโดยชอบแล้ว ลูกจ้างจะใช้สิทธิเบิกถอนเงินจากธนาคารเมื่อใดเป็นเรื่องส่วนตัวและมิใช่เป็นการปฏิบัติงานให้นายจ้าง แม้นายจ้างจะอนุญาตให้ลูกจ้างไปเบิกถอนเงินค่าจ้างจากธนาคารได้ก็เป็นเรื่องที่มิให้ลูกจ้างถูกกล่าวหาว่าละทิ้งหน้าที่เท่านั้นการที่ลูกจ้างประสบอันตรายจนถึงแก่ความตายขณะเดินทางไปเบิกเงินค่าจ้างจากธนาคารจึงมิใช่เป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างอันจะเป็นเหตุให้นายจ้างต้องจ่ายค่าทดแทนแก่ทายาทของลูกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3483/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารรับรองเช็คเกินวงเงินและโอนเงินโดยพลการ ทำให้ลูกค้าขาดเงิน ต้องรับผิดชดใช้
การที่จำเลยพา บ.ซึ่งจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นภริยาโจทก์ไปร่วมประเวณี แม้บ.จะยินยอมสมัครใจร่วมประเวณี กับจำเลยก็ถือว่าจำเลยกระทำล่วงเกิน ภริยาโจทก์ไปในทำนอง ชู้สาวจำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าทดแทนให้โจทก์ และการที่จำเลยพาภริยาโจทก์ไปร่วมประเวณีดังกล่าวย่อมทำให้โจทก์ผู้เป็นสามีได้รับความเสื่อมเสียทั้งด้านจิตใจเกียรติยศและชื่อเสียง ซึ่งไม่อาจคิดเป็นราคาเงินได้การกำหนดค่าทดแทนให้เพียงใดย่อมแล้วแต่พฤติการณ์แห่งคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1912/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีสำเร็จบริบูรณ์ก่อนศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจโอนเงิน
ปัญหาที่ว่าทรัพย์ที่ยึดขายทอดตลาดในคดีแพ่งเป็นของใครโจทก์มิได้ยกขึ้นว่ามาแต่แรก เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 110 หมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้จะใช้ยันแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไม่ได้เว้นแต่การบังคับคดีนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และการบังคับคดีนั้นให้ถือว่าได้สำเร็จบริบูรณ์ เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอเฉลี่ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 290 วรรคสาม ว่าให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอเฉลี่ยก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วันนับแต่วันขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด เมื่อปรากฏว่าทรัพย์ของลูกหนี้ที่ถูกยึดในคดีแพ่งได้มีการขายทอดตลาดไปพ้นระยะเวลา 14 วันก่อนศาล มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมไม่มีอำนาจโอนเงินในคดีแพ่งมาในคดีล้มละลาย เพราะการบังคับคดีแพ่งสำเร็จบริบูรณ์แล้ว
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 111 ที่ว่า ถ้าได้รับคำแจ้งความว่าได้มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายก่อนที่ การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกักเงินไว้ และถ้าต่อไปศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีคิดหักเงินไว้เป็นค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมเหลือเท่าใดให้ส่งเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายนั้นเป็นกฎหมายที่วางวิธีปฏิบัติของ เจ้าพนักงานบังคับคดี แต่การบังคับคดีจะใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เพียงใด ย่อมเป็นไปตามมาตรา 110 กล่าวคือ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีกักเงินไว้แล้ว แต่ต่อมาปรากฏว่าศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้หลังจาก การบังคับคดีสำเร็จบริบูรณ์ไปแล้วการบังคับคดีนั้นย่อมใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
ปัญหาเรื่องลูกหนี้โอนทรัพย์สินใน 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลายเป็นคนละประเด็นกับปัญหาเรื่องลูกหนี้ถูกบังคับคดีซึ่งจะใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เพียงใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1912/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีแพ่งสำเร็จก่อนการสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจโอนเงิน
ปัญหาที่ว่าทรัพย์ที่ยึดขายทอดตลาดในคดีแพ่งเป็นของใครโจทก์มิได้ยกขึ้นว่ามาแต่แรก เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 110 หมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้จะใช้ยันแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไม่ได้เว้นแต่การบังคับคดีนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และการบังคับคดีนั้นให้ถือว่าได้สำเร็จบริบูรณ์ เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอเฉลี่ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 290 วรรคสาม ว่าให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอเฉลี่ยก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วันนับแต่วันขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด เมื่อปรากฏว่าทรัพย์ของลูกหนี้ที่ถูกยึดในคดีแพ่งได้มีการขายทอดตลาดไปพ้นระยะเวลา 14 วันก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมไม่มีอำนาจโอนเงินในคดีแพ่งมาในคดีล้มละลาย เพราะการบังคับคดีแพ่งสำเร็จบริบูรณ์แล้ว
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 111 ที่ว่า ถ้าได้รับคำแจ้งความว่าได้มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายก่อนที่การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกักเงินไว้ และถ้าต่อไปศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีคิดหักเงินไว้เป็นค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมเหลือเท่าใดให้ส่งเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายนั้น เป็นกฎหมายที่วางวิธีปฏิบัติของเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่การบังคับคดีจะใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เพียงใด ย่อมเป็นไปตามมาตรา 110กล่าวคือ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีกักเงินไว้แล้ว แต่ต่อมาปรากฏว่าศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้หลังจากการบังคับคดีสำเร็จบริบูรณ์ไปแล้ว การบังคับคดีนั้นย่อมใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
ปัญหาเรื่องลูกหนี้โอนทรัพย์สินใน 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลายเป็นคนละประเด็นกับปัญหาเรื่องลูกหนี้ถูกบังคับคดีซึ่งจะใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เพียงใด
of 2