พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้อนในคดีครอบครองปรปักษ์และการซื้อขายที่ดิน การโอนโฉนดผิดแปลง ศาลฎีกายกปัดการวินิจฉัยฟ้องซ้อนของศาลชั้นต้น
คดีสำนวนแรกโจกท์ฟ้องอ้างว่าได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทด้วยการครอบครองปรปักษ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382เป็นการอ้างการได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยนิติเหตุ ส่วนคดีสำนวนหลังโจทก์อ้างว่าได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยโจทก์ซื้อมาจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกล่าวอ้างการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยทางนิติกรรม ถึงแม้คำขอของโจทก์ทั้งสองสำนวนจะขอให้เปลี่ยนชื่อในโฉนดที่ดินเป็นของโจทก์เหมือนกันก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการยื่นฟ้องคดีในเรื่องเดียวกัน อันจะถือว่าเป็นการฟ้องซ้อนที่ศาลชั้นต้นรวมการพิจารณาพิพากษาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกันแล้ววินิจฉัยว่า คดีสำนวนหลังเป็นฟ้องซ้อนให้ยกฟ้อง แต่ยังพิพากษาให้จำเลยปฏิบัติตามคำขอท้ายฟ้องคดีสำนวนหลัง คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในส่วนที่วินิจฉัยว่าเป็นฟ้องซ้อนไม่ชอบ เพราะเมื่อคดีสำนวนหลังไม่เป็นฟ้องซ้อนแล้ว ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาคดีตามที่พิจารณาได้ความว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 5178แต่ได้มีการโอนโฉนดผิดแปลงตามคำฟ้องคดีสำนวนหลังได้ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นส่วนนี้ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนกรณีผู้จัดการมรดกสมยอมขายทรัพย์สินมรดกให้ภรรยาตนเอง และการกำหนดดอกเบี้ยจากเหตุการณ์ที่จำเลยทำให้ไม่สามารถโอนโฉนดกลับได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายระหว่างหลวงสกลฯ ผู้ขายกับจำเลยผู้ซื้อ ในระหว่างพิจารณาคดีก่อนจำเลยโอนขายที่ดินแก่คนอื่น ๆ ไปหลายทอด จนคดีก่อนถึงที่สุดโดยศาลไม่อาจพิพากษาให้ใส่ชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินดังกล่าวได้ โจทก์จึงมาฟ้องคดีใหม่ขอเรียกเงินราคาที่ดินแทน ไม่เป็นการฟ้องซ้ำกับคดีเดิม
ป.พ.พ.มาตรา 240 เป็นเรื่องอายุความในกรณีเพิกถอนการฉ้อฉลอันลูกหนี้ได้กระทำนิติกรรมลงโดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ส่วนเรื่องผู้จัดการมรดกคนก่อนสมยอมขายที่ดินอันเป็นมรดกให้แก่ภรรยาของต้นนั้น จะใช้อายุความตาม ม.240 มายันแก่ผู้จัดการมรดกคนใหม่ไม่ได้
เมื่อจำเลยเป็นผู้ก่อเหตุขึ้นจนไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทกลับคึนสู่ฐานะเดิมได้เช่นนี้ จึงเกิดเป็นหนี้ผูกพันจำเลยให้ต้องรับผิดใช้เงินราคาที่ดินแก่โจทก์รวมทั้งดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่เป็นราคาที่ดินนั้นอีกด้วย.
ป.พ.พ.มาตรา 240 เป็นเรื่องอายุความในกรณีเพิกถอนการฉ้อฉลอันลูกหนี้ได้กระทำนิติกรรมลงโดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ส่วนเรื่องผู้จัดการมรดกคนก่อนสมยอมขายที่ดินอันเป็นมรดกให้แก่ภรรยาของต้นนั้น จะใช้อายุความตาม ม.240 มายันแก่ผู้จัดการมรดกคนใหม่ไม่ได้
เมื่อจำเลยเป็นผู้ก่อเหตุขึ้นจนไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทกลับคึนสู่ฐานะเดิมได้เช่นนี้ จึงเกิดเป็นหนี้ผูกพันจำเลยให้ต้องรับผิดใช้เงินราคาที่ดินแก่โจทก์รวมทั้งดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่เป็นราคาที่ดินนั้นอีกด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 513/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกทรัพย์จากประกันหนี้: การโอนโฉนดโดยไม่ได้รับความยินยอมของผู้ให้ยืม
เอาโฉนดที่ดินที่เขามอบให้ไว้เป็นประกันหนี้ไปโอนขายย่อมถือได้ว่า ทุจริตเบียดบังเอาทรัพย์ที่เขามอบหมายไว้ไปผิดความประสงค์ของผู้เป็นเจ้าของ เป็นความผิดฐานยักยอกตาม มาตรา 314
จำเลยแสดงตนว่า เป็นผู้รับมอบอำนาจให้ทำการโอนที่ดินของผู้อื่นและแจ้งแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่า การมอบอำนาจนั้นเป็นจริงซึ่งความจริงเจ้าของที่ดินมิได้มอบอำนาจให้โอนแต่ประการใด ดังนี้ จำเลยมีความผิดฐานแจ้งความเท็จตามมาตรา 118
จำเลยแสดงตนว่า เป็นผู้รับมอบอำนาจให้ทำการโอนที่ดินของผู้อื่นและแจ้งแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่า การมอบอำนาจนั้นเป็นจริงซึ่งความจริงเจ้าของที่ดินมิได้มอบอำนาจให้โอนแต่ประการใด ดังนี้ จำเลยมีความผิดฐานแจ้งความเท็จตามมาตรา 118
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินสืบต่อจากมรดก ไม่จำต้องโอนโฉนด หากครอบครองต่อเนื่อง
บิดาได้ครอบครองถืออำนาจเป็นเจ้าของที่ดินมาช้านานถึง 30 ปี แล้วถึงแก่กรรมลง บุตรได้รับมรดกดคงปกครองที่ดินั้นต่อมาอีก 5,6,ปี โดยมิได้โอนโฉนดทางทะเบียนก็ถือได้ว่า บุตรได้รับช่วงการครอบครองที่ดินสืบต่อบิดา หาจำต้องโอนโฉนดทางทะเบียนก็ได้กรรมสิทธิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการรับมรดกต่อเนื่อง: กรรมสิทธิที่ดินไม่ต้องโอนโฉนด
บิดาได้ครอบครองถืออำนาจเป็นเจ้าของที่ดินมาช้านานถึง 30 ปี แล้วถึงแก่กรรมลงบุตรได้รับมรดกคงปกครองที่ดินนั้นต่อมาอีก 5,6 ปี โดยมิได้โอนโฉนดทางทะเบียนก็ถือได้ว่า บุตรได้รับช่วงการครอบครองที่ดินสืบต่อบิดา หาจำต้องโอนโฉนดทางทะเบียนก็ได้กรรมสิทธิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้โอนโฉนดหลังครอบครอง ย่อมเป็นการรับรองกรรมสิทธิ์เดิมและทำลายสิทธิครอบครอง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนดที่ดินและใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แทนโดยอ้างว่าซื้อที่พิพาทมาจากมารดาจำเลย แล้วครอบครองมา 10 ปีเศษ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าตอนที่จำเลยประกาศขอรับมรดกมารดานั้น โจทก์ยอมให้จำเลยโอนโฉนดรับมรดก ดังนี้จึงเท่ากับโจทก์รับรองกรรมสิทธิ์ของจำเลยและทำลายสิทธิครอบครองของโจทก์ก่อนวันโอนแก้โฉนดอยู่ในตัว โจทก์จึงจะต้องนำสืบให้ได้ความมั่นคงถึงเรื่องซื้อขายและเหตุที่ยอมให้จำเลยโอนรับมรดกไป มิฉะนั้นโจทก์ก็ชนะคดีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 668/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอโอนโฉนดขัดแย้งกับพินัยกรรมและคำอ้างของโจทก์ เจ้าพนักงานที่ดินชอบที่จะไม่จัดการตามคำขอ
ฝ่ายโจทก์ยื่นคำร้องขอโอนโฉนดโดยอ้างว่า ผู้ตายทำพินัยกรรม์ตั้งพวกตนเป็นผู้จัดการมฤดก แต่พวกโจทก์กลับขอให้เจ้าพนักงานลงชื่อพวกตนเป็นผู้รับมฤดกโดยตรง คำขอของโจทก์จึงขัดต่อคำอ้างและเป็นคำขอที่ขัดต่อพินัยกรรม์ เจ้าพนักงานที่ดินชอบที่จะไม่จัดการให้ตามคำขอของโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1154/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินจากการครอบครองต่อเนื่อง แม้ไม่มีการโอนโฉนด
บิดาจำเลยได้ขายนาให้แก่มารดาโจทก์เมื่อ 20 ปีเศษแล้ว โดยทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเอง ตกลงกันจะไปโอนโฉนดในภายหลังได้มอบโฉนดและการครอบครองให้แก่ผู้ซื้อทำกินเป็นเจ้าของตลอดมาต่อมาขโมยลักโฉนดนี้ไป เลยไม่ได้โอนโฉนดกัน ดังนี้ โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในทางครอบครองตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2488
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โอนโฉนดโดยไม่สุจริต ผู้ซื้อรับซื้อโดยสุจริตและจดทะเบียนแล้ว เจ้าของเดิมเพิกถอนสิทธิไม่ได้
มีผู้ไปขอใบแทนโฉนดโดยไม่สุจริต แล้วเอาไปโอนขายผู้ซื้อรับซื้อไว้ โดยสุจริตและได้จดทะเบียนแล้ว เจ้าของอันแท้จริงจะขอให้เพิกถอนไม่ได้
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2488
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2488
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2480
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษายกฟ้องกรณีขอให้โอนโฉนด
ขอให้โอนโฉนด
ยกฟ้อง
ยกฟ้อง