พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11996/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาและการไกล่เกลี่ยในคดีทรัพย์สินทางปัญญา ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
การไกล่เกลี่ยเป็นการใช้อำนาจของศาลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 30 ประกอบด้วยข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญหาและการค้าระหว่างประเทศ ข้อ 27 (1) แม้จะไม่ปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาว่า ศาลได้ดำเนินการไกล่เกลี่ยในวันดังกล่าวตามที่ศาลนัดไว้หรือไม่ ก็หาใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย สำหรับการไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถานั้นเนื่องจากคำร้องดังกล่าวเป็นคำขอจึงตกอยู่ภายใต้บังคับแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ฯ มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 156 และมาตรา 21 เมื่อคดียังอยู่ในชั้นไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาและคู่ความทุกฝ่ายมาศาล ประกอบกับจำเลยทั้งสองได้ยื่นบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นของจำเลยที่ 2 โดยมีการนำจำเลยที่ 2 เข้าตอบคำถามค้านและคำถามติงถือว่าคู่ความทุกฝ่ายได้มีโอกาสดำเนินคดีเกี่ยวกับคำร้องดังกล่าวในระหว่างที่ศาลออกนั่งพิจารณาคดีแล้วกระบวนพิจารณาของศาลจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าเมื่อคู่สมรสไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงหลังการไกล่เกลี่ย และมีพฤติกรรมฉันสามีภริยากับผู้อื่น
โจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันต่อมาจำเลยไปได้ม.เป็นภริยาโจทก์ได้ฟ้องหย่าจำเลยศาลไกล่เกลี่ยโจทก์จำเลยตกลงกันว่าจำเลยจะต้องกลับมาอยู่ในบ้านหลังเดียวกับโจทก์ห้ามเกี่ยวข้องกับหญิงอื่นต่อไปโจทก์จึงได้ถอนฟ้องไปปรากฏว่าหลังจากถอนฟ้องแล้วจำเลยยังคงอยู่ร่วมกับม. ฉันสามีภริยาต่อมาการที่โจทก์ยอมถอนฟ้องก็เพราะจำเลยตกลงเงื่อนไขกับโจทก์ไว้เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขจึงมิใช่กรณีที่โจทก์ยอมให้อภัยจำเลยการกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรงอันเป็นเหตุฟ้องหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1516(6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 317/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้ที่เกิดจากการไกล่เกลี่ยคดีอาญา มีผลเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ เช็คชำระหนี้ตามสัญญามีผลผูกพัน
แม้เอกสารที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ จะใช้ชื่อว่า หนังสือรับสภาพหนี้แต่การทำหนังสือดังกล่าวเกิดขึ้นจากการที่โจทก์ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย และโจทก์เข้าเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการศาลทหารกรุงเทพดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ออกเช็คชำระหนี้แก่โจทก์และโจทก์ไม่ได้รับเงินตามเช็ค เมื่อมีการไกล่เกลี่ย โจทก์และจำเลยตกลงในยอดหนี้ใหม่กันได้ จำเลยตกลงชำระหนี้ให้โจทก์เป็นเช็ครวม 37 ฉบับ โจทก์จึงถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาดังกล่าว กรณีเป็นที่เห็นได้ชัดว่า หนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยเพื่อที่จะระงับข้อพิพาทที่มีขึ้นตามมูลหนี้ซึ่งโจทก์และจำเลยได้พิพาทกันจนมีการดำเนินคดีอาญาให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน เอกสารดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอม-ยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 เมื่อเช็คพิพาทที่นำมาฟ้องคดีนี้เป็นคดีที่จำเลยชำระหนี้ตามมูลหนี้ในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ และเมื่อจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงมิใช่การออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่เกิดจากการกู้ยืมเงินและเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราอันเป็นเช็คที่มีมูลหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังที่จำเลยนำสืบต่อสู้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3904/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้อง, ประเด็นพิพาท, การสละข้อหา, อำนาจไกล่เกลี่ย, และการไม่จำเป็นต้องแก้ไขคำให้การ
โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องภายหลังยื่นคำฟ้อง ศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาต ในวันนัดพิจารณา ศาลแรงงานมีอำนาจไกล่เกลี่ยคู่ความให้ตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกัน และโจทก์แถลงสละข้อหาตามคำฟ้องเพิ่มเติมดังกล่าวในวันนี้ได้การที่ศาลแรงงานกำหนดประเด็นพิพาทแห่งคดีและมีคำสั่งให้โจทก์นำพยานเข้าสืบในวันเดียวกัน จึงชอบด้วยวิธีพิจารณาความแล้ว
เมื่อโจทก์ได้สละข้อหาตามคำฟ้องเพิ่มเติมไปแล้ว จำเลยจึงไม่จำต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในประเด็นดังกล่าวเข้ามาอีก เพราะไม่เป็นสาระแก่คดี
เมื่อโจทก์ได้สละข้อหาตามคำฟ้องเพิ่มเติมไปแล้ว จำเลยจึงไม่จำต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในประเด็นดังกล่าวเข้ามาอีก เพราะไม่เป็นสาระแก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5061/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทแรงงานและการดำเนินการตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ การยื่นข้อเรียกร้องและการไกล่เกลี่ย
การที่บริษัทนายจ้างยื่นข้อเรียกร้องต่อผู้ร้องซึ่งเป็นสหภาพแรงงาน แล้วผู้ร้องไม่ยอมรับข้อเรียกร้องและไม่ยอมเจรจานั้นถือว่าได้มีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้น เมื่อบริษัทนายจ้างได้แจ้งข้อพิพาทแรงงานต่อพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานอันเป็นการดำเนินการตาม พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 21 แล้ว ย่อมเป็นหน้าที่ของพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานที่จะพิจารณาข้อเรียกร้องดังกล่าวและดำเนินการไกล่เกลี่ย ให้ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องและฝ่ายรับข้อเรียกร้องตกลงกันต่อไปตามมาตรา 22 หากไม่อาจตกลงกันได้บริษัทนายจ้างและผู้ร้องชอบที่จะดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22 วรรคท้าย ต่อไป จะใช้สิทธิทางศาลขอให้วินิจฉัยชี้ขาดว่าการยื่นข้อเรียกร้องดังกล่าวไม่ชอบหาได้ไม่ เพราะตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 หาได้มีบทบัญญัติให้บุคคลใช้สิทธิทางศาลสำหรับกรณีนี้แต่ประการใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3038/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินที่ไม่ได้จดทะเบียนตกเป็นโมฆะ แม้มีเจตนาซื้อขายและมีบันทึกการไกล่เกลี่ย
โจทก์และ ม. เอาที่ดินพิพาทไปขายฝากไว้กับจำเลยแล้วไม่ไถ่คืนตามกำหนดระยะเวลาในสัญญาที่ดินพิพาทตกเป็นของจำเลยโดยเด็ดขาดเป็นเรื่องการทำนิติกรรมขายฝากที่ดินโดยทั่วไป มิได้ก่อให้เกิดกรณีพิพาทระหว่างโจทก์ ม. และจำเลย การที่โจทก์ไปร้องทุกข์ต่อสำนักนายยกรัฐมนตรีขอให้ทางราชการไกล่เกลี่ยให้จำเลยขายที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ นายอำเภอจึงทำการไกล่เกลี่ยตามคำร้องทุกข์ของโจทก์ ก็มิใช่กรณีพิพาทระหว่างโจทก์จำเลย เพราะจำเลยไม่มีเรื่องอะไรที่จะพิพาทกับโจทก์แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ต้องการซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยโดยขอให้ทางราชการช่วย ไกล่เกลี่ยให้ ทั้งให้บันทึกคำเปรียบเทียบของนายอำเภอ ก็ไม่มีข้อความระบุว่านายอำเภอไกล่เกลี่ยเนื่องจากมีข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลย และเป็นการไกล่เกลี่ยเพื่อระงับข้อพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ดังนี้จึงไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ แม้จำเลยจะลงลายมือชื่อในเอกสารก็ไม่มีความผูกพันที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงในเอกสารดังกล่าว เอกสารนั้นมีข้อความเพียงว่า จำเลยตกลงขายที่ดินพิพาทคืนให้โจทก์ในราคา 30,000 บาท ไม่มีข้อความตอนใดระบุว่าโจทก์จำเลยจะชำระเงิน และไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเมื่อไร ข้อตกลงของโจทก์จำเลยดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท แต่เป็นสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทเสร็จเด็ดขาด เมื่อทรัพย์ที่ซื้อขายเป็นที่ดินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์จำเลย จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคแรก จำเลยจึงไม่มีความผูกพันที่จะต้องขายที่ดินพิพาทให้โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5599/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกเงินชดใช้ค่าเสียหายโดยมีผู้ใหญ่บ้านไกล่เกลี่ย ไม่เป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ หากเป็นการใช้สิทธิสุจริต
ป.เป็นผู้ใหญ่บ้านที่จำเลยขอให้ช่วยสืบหาคนร้ายที่ลักกระบือของตน เมื่อ ป.นัดผู้เสียหายซึ่งเป็นลูกบ้านให้มาเจรจากับจำเลย ย่อมมีมูลทำให้จำเลยเข้าใจว่าผู้เสียหายเป็นคนร้าย การที่จำเลยเรียกเงินจากผู้เสียหายเป็นค่ากระบือที่ถูกลักเอาไปเพื่อที่จะไม่ดำเนินคดีแก่ผู้เสียหาย โดยมี ป.ผู้ใหญ่บ้านฝ่ายผู้เสียหายเป็นคนกลางช่วยไกล่เกลี่ยให้จนผู้เสียหายยอมให้เงินแก่จำเลยตามที่ ป.พูดไกล่เกลี่ยเป็นการใช้สิทธิของตนโดยสุจริต ไม่เป็นความผิดฐานกรรโชคทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5599/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกค่าเสียหายจากผู้ต้องสงสัยในคดีลักทรัพย์โดยมีผู้ใหญ่บ้านไกล่เกลี่ย ไม่เป็นกรรโชกทรัพย์
ป. เป็นผู้ใหญ่บ้านที่จำเลยขอให้ช่วยสืบหาคนร้ายที่ลักกระบือของตนเมื่อ ป. นัดผู้เสียหายซึ่งเป็นลูกบ้านให้มาเจรจากับจำเลย ย่อมมีมูลทำให้จำเลยเข้าใจว่าผู้เสียหายเป็นคนร้ายการที่จำเลยเรียกเงินจากผู้เสียหายเป็นค่ากระบือที่ถูกลักเอาไปเพื่อที่จะไปดำเนินคดีแก่ผู้เสียหายโดยมี ป. ผู้ใหญ่บ้านฝ่ายผู้เสียหายเป็นคนกลางช่วยไกล่เกลี่ยให้จนผู้เสียหายยอมให้เงินแก่จำเลยตามที่ ป. พูดไกล่เกลี่ย เป็นการใช้สิทธิของตนโดยสุจริต ไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3115/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำผ่านไกล่เกลี่ยของพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน มีผลผูกพันสมาชิกสหภาพแรงงาน
พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานระหว่างจำเลยกับสหภาพแรงงานของจำเลยตกลงกันได้ว่า จำเลยตกลงนำเงินค่าครองชีพเดือนละ 500 บาท ไปรวมกับเงินเดือนของพนักงาน และพนักงานไม่ติดใจที่จะนำปัญหาการคิดคำนวณค่าล่วงเวลาย้อนหลังไปฟ้องร้องต่อไปอีก บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดขึ้นจากการแจ้งข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานของจำเลยต่อจำเลย ผู้แทนทั้งสองฝ่ายลงลายมือชื่อในบันทึกข้กตกลงที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้บันทึกไว้ แล้วคู่กรณีนำไปจดทะเบียนต่ออธิบดีกรมแรงงานจึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดขึ้นโดยชอบตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มีผลใช้บังคับและผูกพันคู่กรณีรวมทั้งโจทก์ทั้งหมดซึ่งเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน ไม่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าล่วงเวลาค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด โดยนำค่าครองชีพไปรวมกับเงินเดือนเป็นฐานคำนวณย้อนหลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิจากการตกลงไกล่เกลี่ยคดีเลิกจ้าง: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายซ้ำ
โจทก์เคยฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ขอให้ศาลบังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายให้ ศาลไกล่เกลี่ยจนตกลงกันได้โดยจำเลยยอมจ่ายค่าชดเชยให้และโจทก์ถอนฟ้องไป คดีถึงที่สุด ดังนี้ การที่โจทก์มาฟ้องใหม่ว่าจำเลยเลิกจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า ขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านั้น แม้จะไม่เป็นฟ้องซ้ำเพราะคดีก่อนศาลมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีก็ตาม แต่การที่โจทก์ฟ้องคดีก่อนและตกลงกันดังกล่าวนั้น แสดงให้เห็นว่าโจทก์ยินยอมสละสิทธิอื่น ๆ อันจะพึงเรียกร้องจากจำเลยเนื่องมาจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์นั้นทั้งสิ้นนอกจากค่าชดเชยความตกลงเช่นนี้ย่อมผูกพันโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ขึ้นมาใหม่