พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงอาคารโดยไม่ขออนุญาตและฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น ศาลพิจารณาโทษตามกฎหมายที่ใช้บังคับขณะกระทำผิดและกฎหมายใหม่ที่เป็นคุณ
การสอบสวนดำเนินคดีนิติบุคคลจำต้องสอบสวนผ่านทางกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการผู้จัดการจำเลยที่ 1 แม้ไม่ได้ระบุแจ้งชัดว่าได้แจ้งข้อหาและสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ด้วยก็ถือว่าพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาแก่จำเลยที่ 1 ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 แล้ว เมื่อจำเลยทำการดัดแปลงอาคารหลังจากใบอนุญาตสิ้นอายุจึงเป็นการดัดแปลงอาคารโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 22มิใช่เป็นความผิดตามมาตรา 31 ที่เป็นเรื่องการดัดแปลงภายในระยะเวลาตามใบอนุญาต แต่กระทำผิดไปจากแบบรายการที่ได้รับอนุญาต แม้แบบคำสั่งท้ายกฎกระทรวงจะกำหนดให้มีคำว่า "ตราส่วนราชการ"ไว้ และคำสั่งที่เจ้าพนักงานใช้แจ้งคำสั่งให้จำเลยทั้งสองไม่ปรากฏตราส่วนราชการแต่คำสั่งดังกล่าวมีข้อความครบถ้วนทุกรายการให้จำเลยทั้งสองทราบและเข้าใจคำสั่งแล้ว จึงไม่ทำให้คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่ชอบแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2992/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารโดยไม่ขออนุญาต และอำนาจการสั่งรื้อถอนของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
จำเลยที่ 1 ได้ก่อสร้างต่อเติมอาคารจาก 3 ชั้นเป็น 5 ชั้นโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่มีทางเดินหลังอาคารและแนวอาคารไม่ร่นหลบแนวเขตถนน จึงเป็นการก่อสร้างอาคารโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจแห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ โจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 วรรคหนึ่งพระราชบัญญัติ ญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 40 วรรคสองกำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารโดยมิชักช้าและต้องไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันที่ได้มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้าง แต่คำสั่งให้รื้อถอนอาคารที่ออกภายหลังคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างเกินกว่า 30 วัน ก็ไม่ทำให้อำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่สามารถแก้ไขดัดแปลงให้ถูกต้องหมดไป โจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวเมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างได้
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารพิพาท เมื่อโจทก์มีคำสั่งให้จำเลยที่ 4 ทำการรื้อถอน ย่อมถือว่าได้มีคำสั่งแจ้งให้เจ้าของที่ดินและอาคารดังกล่าวทราบโดยไม่ต้องแจ้งเจ้าของร่วมทุกคนทราบ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารพิพาท เมื่อโจทก์มีคำสั่งให้จำเลยที่ 4 ทำการรื้อถอน ย่อมถือว่าได้มีคำสั่งแจ้งให้เจ้าของที่ดินและอาคารดังกล่าวทราบโดยไม่ต้องแจ้งเจ้าของร่วมทุกคนทราบ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2480/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารโดยไม่ขออนุญาตและฝ่าฝืนข้อบัญญัติควบคุมอาคาร ศาลพิพากษาสั่งรื้อถอนได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้ต่อเติมดัดแปลงตึกแถวด้านหลังออกไปกว้าง 2.50 เมตร ยาว 6.50 เมตร อันเป็นการสร้างเชื่อมปิดคลุมทางเดินด้านหลังอาคารต่อจากอาคารด้านหลังไปถึงรั้วหลังอาคารทั้งสองด้าน และมุงหลังคากระเบื้อง โดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯมาตรา 22 ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการควบคุมการก่อสร้างอาคารข้อ 76 จำเลยให้การเพียงว่าจำเลยได้ทำการต่อเติมดัดแปลงอาคารในส่วนด้านหลังของอาคารจริง แต่มิได้ทำเชื่อมปิดคลุมทางเดินด้านหลังอาคารตามฟ้อง คำให้การของจำเลยเท่ากับยอมรับว่าฝ่าฝืน พ.ร.บ. ควบคุมฯ มาตรา 22 แต่จำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ต่อเติมอาคารด้านหลังเป็นแนวไปถึงรั้วหลังอาคารทั้งสองด้านและมุงหลังคากระเบื้องตามฟ้องเท่ากับจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวตามฟ้อง มีผลเป็นการฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องการควบคุมการก่อสร้างอาคารฯ ข้อ 76(4) ซึ่งบัญญัติให้อาคารตึกแถวดังกล่าวต้องมีที่ว่างโดยปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกันกว้างไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2480/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารโดยไม่ขออนุญาตและฝ่าฝืนข้อบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยทั้งสองให้การว่า ได้ ทำการต่อเติมดัด แปลงอาคารในส่วนด้านหลังของอาคารจริง แต่ มิได้ทำเชื่อมปิดคลุมทางเดินด้านหลังอาคารตาม ฟ้องโจทก์จำเลยเข้าใจโดย สุจริตว่าไม่ต้องขออนุญาตจากใคร เนื่องจากได้ต่อเติม อาคารของตนเองในที่ดินของตนเอง และอาคารใกล้เคียงก็ได้ มีการต่อเติม ไว้ก่อนแล้วเช่นกันจำเลยจึงต้องต่อเติม อาคารของตนเองด้วย เพื่อมิให้เกิดความเสียหายโดย จำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่า ไม่ได้ต่อเติม อาคารด้านหลังเป็นแนวไปถึง รั้วหลังอาคารทั้งสองด้าน และมุงหลังคากระเบื้องตาม ฟ้อง คำให้การของจำเลยมีผลเท่ากับเป็นการรับว่าได้ กระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 22 และฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 ข้อ 76(4) แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2881/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้น พ.ร.บ.ขนส่งทางบก: รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 12 ที่นั่ง ไม่ต้องขออนุญาตประกอบการขนส่ง
การที่จำเลยนำรถยนต์ตู้มาแล่นรับส่งคนโดยสารเพื่อสินจ้างอันมีลักษณะเป็นการประกอบการขนส่งประจำทางในเส้นทางที่บริษัทขนส่ง จำกัด ได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งประจำทางนั้น เมื่อปรากฏว่ารถยนต์ของจำเลยดังกล่าวเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินสิบสองคน ซึ่งมีพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ.2522 มาตรา 5(2) บัญญัติไว้ว่าเป็นรถยนต์ที่ไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3531/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดกักตุนสินค้าควบคุม: จำเลยมีสินค้าเกินปริมาณที่ประกาศและไม่ขออนุญาต
ความผิดฐานกักตุนสินค้าควบคุม.ตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.ศ.2522เป็นเรื่องมีสินค้าควบคุมไว้ในความครอบครองเกินปริมาณที่กำหนดไว้ในประกาศของคณะกรรมการตามมาตรา 24(14)จำเลยมีน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ซึ่งเป็นสินค้าควบคุมไว้เกินกำหนด จำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา 30,45 ด้วยแต่เป็นการกระทำผิดกรรมเดียวกับความผิดฐานมีสินค้าควบคุมไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่กำหนดโดยไม่ขออนุญาตตามมาตรา 24(14),43
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่อเติมอาคารโดยไม่ขออนุญาต: จำเลยคืนเงินล่วงหน้าพร้อมดอกเบี้ย, โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย
โจทก์ตกลงจ้างจำเลยต่อเติมอาคารโดยไม่ได้มีการรับอนุญาตจากเทศบาลถ้าหากจำเลยทำการก่อสร้างโดยไม่ขออนุญาตเสียก่อนข้อสัญญานี้ก็หาคุ้มครองให้จำเลยพ้นความผิดในฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่รับอนุญาตอันเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารไม่เหตุนี้การที่จำเลยมิได้เริ่มลงมือก่อสร้างตามกำหนด เพราะมิไดัรับอนุญาตจากเทศบาล โจทก์จะอ้างว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดเพราะไม่ชำระหนี้ตามเวลากำหนดหาได้ไม่เพราะตามข้อกำหนดมิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่จำเลยต้องจัดให้ได้รับอนุญาตเพื่อทำการก่อสร้างโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยไม่ก่อสร้างตามสัญญา เมื่อจำเลยไม่ทำการก่อสร้างเพราะไม่มีใบอนุญาต จำเลยจะเอาเงินค่าจ้างล่วงหน้าไว้ไม่ได้ต้องคืนให้โจทก์ผู้ว่าจ้างแต่จำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยในเงินจำนวนนี้ตั้งแต่วันฟ้องมิใช่ตั้งแต่วันที่รับเงินนั้นไปจากโจทก์ เพราะมิใช่กรณีที่จำเลยทำผิดสัญญา อันโจทก์จะบอกเลิกสัญญาได้
เมื่อการก่อสร้างมิได้กระทำลง เพราะต่างก็ตกลงกันจะทำโดยไม่ขอรับอนุญาตจากเทศบาลจำเลยจะอ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ได้จำเลยจึงไม่มีมูลหนี้อย่างใดที่จะอ้างให้โจทก์ต้องรับผิดในความเสียหายที่จำเลยอ้างว่าได้รับนั้น
จำเลยทำสัญญารับจ้างโดยใช้แบบพิมพ์ของจำเลย แต่ได้ขีดฆ่าชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการผู้หนึ่งออกจากแบบพิมพ์สัญญา ข้อความในสัญญายังมีความชัดอยู่ว่าห้างหุ้นส่วนจำเลยเป็นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง หาได้ขีดฆ่าข้อความตอนนี้ออกด้วยไม่พฤติการณ์ที่ปรากฏจึงเป็นการที่ห้างหุ้นส่วนจำเลยแสดงออกว่าหุ้นส่วนผู้จัดการนั้นเป็นตัวแทนของจำเลยจำเลยต้องรับผิดในการที่หุ้นส่วนผู้จัดการได้รับเงินของโจทก์ไว้
เมื่อการก่อสร้างมิได้กระทำลง เพราะต่างก็ตกลงกันจะทำโดยไม่ขอรับอนุญาตจากเทศบาลจำเลยจะอ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ได้จำเลยจึงไม่มีมูลหนี้อย่างใดที่จะอ้างให้โจทก์ต้องรับผิดในความเสียหายที่จำเลยอ้างว่าได้รับนั้น
จำเลยทำสัญญารับจ้างโดยใช้แบบพิมพ์ของจำเลย แต่ได้ขีดฆ่าชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการผู้หนึ่งออกจากแบบพิมพ์สัญญา ข้อความในสัญญายังมีความชัดอยู่ว่าห้างหุ้นส่วนจำเลยเป็นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง หาได้ขีดฆ่าข้อความตอนนี้ออกด้วยไม่พฤติการณ์ที่ปรากฏจึงเป็นการที่ห้างหุ้นส่วนจำเลยแสดงออกว่าหุ้นส่วนผู้จัดการนั้นเป็นตัวแทนของจำเลยจำเลยต้องรับผิดในการที่หุ้นส่วนผู้จัดการได้รับเงินของโจทก์ไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 264/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่อเติมอาคารโดยไม่ขออนุญาต: สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญา, การผิดนัด, และความรับผิดของหุ้นส่วน
โจทก์ตกลงจ้างจำเลยต่อเติมอาคารโดยไม่ได้มีการรับอนุญาตจากเทศบาล ถ้าหากจำเลยทำการก่อสร้างโดยไม่ขออนุญาตเสียก่อน ข้อสัญญานี้ก็หาคุ้มครองให้จำเลยพ้นความผิดในฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่รับอนุญาตอันเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารน ไม่ เหตุนี้ การที่จำเลยมิได้เริ่มลงมือก่อสร้างตามกำหนด เพราะมิได้รับอนุญาตจากเทศบาล โจทก์จะอ้างว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดเพราะไม่ชำระหนี้ตามเวลากำหนดหาได้ไม่ เพราะตามข้อกำหนดมิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่จำเลยต้องจัดให้ได้รับอนุญาตเพื่อทำการก่อสร้าง โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยไม่ก่อสร้างตามสัญญา เมื่อจำเลยไม่ทำการก่อสร้าง เพราะไม่มีใบอนุญาต จำเลยจะเอาเงินค่าจ้างล่วงหน้าไว้ไม่ได้ ต้องคืนให้โจทก์ผู้ว่าจ้าง แต่จำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยในเงินจำนวนนี้ตั้งแต่วันฟ้อง มิใช่ตั้งแต่วันที่รับเงินนั้นไปจากโจทก์ เพราะมิใช่กรณีที่จำเลยทำผิดสัญญา อันโจทก์จะบอกเลิกสัญญาได้
เมื่อการก่อสร้างมิได้กระทำลง เพราะต่างก็ตกลงกันจะทำโดยไม่ขอรับอนุญาตจากเทศบาล จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีมูลหนี้อย่างใดที่จะอ้างให้โจทก์ต้องรับในความเสียหายที่จำเลยอ้างว่าได้รับนั้น
จำเลยทำสัญญารับจ้างโดยใช้แบบพิมพ์ของจำเลย แต่ได้ขีดฆ่าชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการผู้หนึ่งออกจากแบบพิมพ์สัญญา ข้อความในสัญญายังมีความชัดอยู่ว่าห้างหุ้นส่วนจำเลยเป็นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง หาได้ขีดฆ่าข้อความตอนนี้ออกด้วยไม่ พฤติการณ์ที่ปรากฏจึงเป็นการที่ห้างหุ้นส่วนจำเลยแสดงออกว่าหุ้นส่วนผู้จัดการนั้นเป็นตัวแทนของจำเลย จำเลยต้องรับผิดในการที่หุ้นส่วนผู้จัดการได้รับเงินของโจทก์ไว้
เมื่อการก่อสร้างมิได้กระทำลง เพราะต่างก็ตกลงกันจะทำโดยไม่ขอรับอนุญาตจากเทศบาล จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีมูลหนี้อย่างใดที่จะอ้างให้โจทก์ต้องรับในความเสียหายที่จำเลยอ้างว่าได้รับนั้น
จำเลยทำสัญญารับจ้างโดยใช้แบบพิมพ์ของจำเลย แต่ได้ขีดฆ่าชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการผู้หนึ่งออกจากแบบพิมพ์สัญญา ข้อความในสัญญายังมีความชัดอยู่ว่าห้างหุ้นส่วนจำเลยเป็นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง หาได้ขีดฆ่าข้อความตอนนี้ออกด้วยไม่ พฤติการณ์ที่ปรากฏจึงเป็นการที่ห้างหุ้นส่วนจำเลยแสดงออกว่าหุ้นส่วนผู้จัดการนั้นเป็นตัวแทนของจำเลย จำเลยต้องรับผิดในการที่หุ้นส่วนผู้จัดการได้รับเงินของโจทก์ไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1321/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความสมบูรณ์ แม้ไม่ได้ลงสารบบ การขุดเหมืองเพื่อการเกษตรกรรมไม่เกิน 200 ไร่ ไม่ต้องขออนุญาต
เอกสารที่ถือว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว
โจทก์ขุดลำเหมืองจากทางน้ำเพื่อส่งน้ำไปใช้ในการทำนาเมื่อที่ดินของโจทก์มีเนื้อที่ไม่เกินสองร้อยไร่โจทก์ไม่จำต้องขอและได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อนตามพระราชบัญญัติการชลประทานราษฎร์ พ.ศ.2482 มาตรา 7 และเมื่อลำเหมืองนี้ผ่านที่ดินซึ่งจำเลยเข้าจับจอง จำเลยถมเหมืองเสียแล้วโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยเปิดเหมืองให้โจทก์ใช้น้ำได้ตามปกติ ดังนี้ จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ขุดเหมือง โดยไม่ได้รับอนุญาตสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีลำเหมืองเป็นวัตถุประสงค์ผิดกฎหมายเป็นโมฆะ ย่อมฟังไม่ขึ้น
แม้ในตอนท้ายของสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ปลัดอำเภอผู้ทำสัญญาจะได้บันทึกไว้ด้วยว่าคู่กรณียอมไปอำเภอเพื่อลงสารบบความแพ่งและเพื่อเป็นหลักฐานต่อไปก็มิได้หมายความว่าต้องไปลงสารบบเสียก่อน สัญญาจึงจะสมบูรณ์และการที่เมื่อไปอำเภอกันแล้วจำเลยเกิดไม่ยอมปลัดอำเภอจึงจำหน่ายคดีจากสารบบ และบันทึกว่าเปรียบเทียบไม่ตกลงนั้น ก็ไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความเสียไป
โจทก์ขุดลำเหมืองจากทางน้ำเพื่อส่งน้ำไปใช้ในการทำนาเมื่อที่ดินของโจทก์มีเนื้อที่ไม่เกินสองร้อยไร่โจทก์ไม่จำต้องขอและได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อนตามพระราชบัญญัติการชลประทานราษฎร์ พ.ศ.2482 มาตรา 7 และเมื่อลำเหมืองนี้ผ่านที่ดินซึ่งจำเลยเข้าจับจอง จำเลยถมเหมืองเสียแล้วโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยเปิดเหมืองให้โจทก์ใช้น้ำได้ตามปกติ ดังนี้ จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ขุดเหมือง โดยไม่ได้รับอนุญาตสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีลำเหมืองเป็นวัตถุประสงค์ผิดกฎหมายเป็นโมฆะ ย่อมฟังไม่ขึ้น
แม้ในตอนท้ายของสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ปลัดอำเภอผู้ทำสัญญาจะได้บันทึกไว้ด้วยว่าคู่กรณียอมไปอำเภอเพื่อลงสารบบความแพ่งและเพื่อเป็นหลักฐานต่อไปก็มิได้หมายความว่าต้องไปลงสารบบเสียก่อน สัญญาจึงจะสมบูรณ์และการที่เมื่อไปอำเภอกันแล้วจำเลยเกิดไม่ยอมปลัดอำเภอจึงจำหน่ายคดีจากสารบบ และบันทึกว่าเปรียบเทียบไม่ตกลงนั้น ก็ไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความเสียไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลูกสร้างอาคารโดยไม่ขออนุญาตและล้ำที่ดินผู้อื่น ศาลมีอำนาจสั่งรื้อถอนเพื่อคุ้มครองสิทธิและประโยชน์สาธารณะ
จำเลยทำการปลูกสร้างอาคารโดยไม่ได้ขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานเลย และปรากฎว่าชายคาเรือนล้ำที่คนอื่นเข้าไปประมาณ 50 ซ.ม. และเรือนพิพาทปลูกคล่อมทางที่คนอื่นเคยใช้ออกไปสู่ทางสาธารณะอันเป็นการเสียหายเดือนร้อนแก่คนอื่นเช่นนี้ ย่อมเป็นการสมควรที่ศาลจะต้องสั่งรื้อเรือนพิพาทตามที่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นผู้เป็นโจทก์ร้องขอ