พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5600/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดโจทก์, การดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบ, การเพิกถอนการพิจารณา, ผลของการไม่คัดค้าน
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยทั้งสามซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อน จำเลยทั้งสามขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและถือว่าจำเลยทั้งสามไม่มีพยานมาสืบ แล้วพิพากษาให้จำเลยทั้งสามรับผิดตามฟ้อง จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยทั้งสามฎีกา ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองในส่วนของจำเลยที่ 3 ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้จำเลยที่ 3 นำพยานเข้าสืบต่อไปและให้โจทก์นำพยานเข้าสืบหักล้างแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ย่อมหมายถึงว่าศาลฎีกาได้อนุญาตให้จำเลยที่ 3 ได้เลื่อนคดีตามที่ร้องขอ และวันสืบพยานตามความหมาย ป.วิ.พ. มาตรา 1 (10) คือวันที่ศาลชั้นต้นเริ่มทำการสืบพยานจำเลยที่ 3 ในการดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่นี้ โจทก์ทราบกำหนดวันนัดสืบพยานจำเลยที่ 3 โดยชอบแล้ว เมื่อโจทก์และทนายโจทก์ไม่มาศาลในวันนัด จึงถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 197 วรรคสอง (เดิม) ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 201 (เดิม) กล่าวคือ ศาลต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ แต่หากจำเลยที่ 3 ขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ศาลต้องมีคำสั่งแสดงว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาก่อน แล้วจึงจะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียวตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 205 ถึงมาตรา 209 เดิม ซึ่งเป็นบทบัญญัติพิเศษโดยเฉพาะของวิธีพิจารณาวิสามัญอันว่าด้วยการพิจารณาโดยขาดนัดซึ่งแตกต่างโดยสิ้นเชิงจากกระบวนวิธีพิจารณาสามัญ ดังนั้น การที่โจทก์ขาดนัดพิจารณาแต่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างวิธีพิจารณาสามัญโดยมีคำสั่งว่าให้จำเลยที่ 3 สืบพยาน แล้วเลื่อนคดีไปให้โจทก์ซักค้านในนัดหน้า จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดระเบียบที่เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายที่เสียหายเนื่องจากการปฏิบัติผิดระเบียบนั้นร้องขอ ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง อย่างไรก็ตาม มาตรา 27 วรรคสอง กำหนดกรอบระยะเวลาและเงื่อนไขการที่คู่ความจะร้องขอให้ศาลเพิกถอนการพิจารณาผิดระเบียบว่า "ข้อคัดค้านเรื่องผิดระเบียบนั้น คู่ความฝ่ายที่เสียหายอาจยกขึ้นกล่าวได้ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น แต่ทั้งนี้คู่ความฝ่ายนั้นต้องมิได้ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่หลังจากที่ได้ทราบเรื่องผิดระเบียบแล้ว หรือต้องมิได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบนั้น ๆ" เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ได้คัดค้านหรือร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบ กลับนำตัวจำเลยที่ 3 เข้าเบิกความจนจบคำซักค้าน แล้วต่อมาเพียงแต่ยื่นคำแถลงคัดค้านว่า ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 201 วรรคสอง โดยไม่ได้ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวจึงเข้าลักษณะเป็นการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาเพื่อจะได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา 226 (2) เท่านั้น หลังจากนั้นจำเลยที่ 3 ก็ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปจนเสร็จการพิจารณา กรณีต้องถือว่าจำเลยที่ 3 มิได้ร้องขอให้ศาลเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบภายในกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 27 วรรคสอง อีกทั้งจำเลยที่ 3 ได้ดำเนินการพิจารณาต่อไปหลังจากได้ทราบเรื่องผิดระเบียบนั้น จำเลยที่ 3 จึงไม่อาจอุทธรณ์หรือฎีกาขอให้ศาลสูงมีคำสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบเช่นว่านี้ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม: ข้อจำกัดเฉพาะความเสียหายของตนเอง และผลของการไม่คัดค้านคำพิพากษา
โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายที่ 1 เป็นผู้เสียหายเฉพาะข้อหาบุกรุกมิได้เป็นผู้เสียหายในข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ โดยมิได้ระบุว่าอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดฐานบุกรุกซึ่งโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายด้วยเท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์มิได้อุทธรณ์ ข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ร่วมไม่มีอำนาจอุทธรณ์ ขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมในข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 และพิพากษาลงโทษจำเลยจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2680/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับชำระหนี้ตามคำพิพากษา แม้จำเลยอ้างเหตุโอนกรรมสิทธิ์ไม่ได้ ศาลอนุญาตได้หากจำเลยไม่คัดค้าน
จำเลยนำเงินมาวางศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาโดยอ้างว่าไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเนื่องจากยังมีผู้เช่านาทำประโยชน์และผู้เช่านาประสงค์จะซื้อที่ดินดังกล่าว ในวันนัดพร้อมจำเลยแถลงไม่คัดค้านที่โจทก์จะขอรับเงินที่จำเลยนำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้นจึงสั่งอนุญาตให้โจทก์รับเงินจำนวนดังกล่าวไป แม้ในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้ก็ตาม เมื่อจำเลยมาศาลและไม่คัดค้านการที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้โจทก์รับเงินที่จำเลยนำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาจึงเป็นการสั่งโดยชอบ กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ที่จำเลยจะขอให้ศาลสั่งเพิกถอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4334/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีราคาที่ดินพิพาทเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกา: ศาลไม่อนุมัติการเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินหลังโจทก์ไม่คัดค้านในชั้นต้น
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นปรากฎว่าในวันนัดสืบพยานโจทก์จำเลยได้เสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ฟ้องแย้งโดยตีราคาที่ดินพิพาท32,000บาทศาลชั้นต้นสอบโจทก์แล้วโจทก์ไม่ค้านราคานี้ประกอบกับเมื่อโจทก์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เพราะคดีมีทุนทรัพย์พิพาทชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทและเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงศาลอุทธรณ์ก็ได้มีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นคำสั่งศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา236โจทก์จะมายื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นตีราคาที่ดินพิพาทให้สูงขึ้นเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อไปหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2477/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้จากทรัพย์จำนอง: คำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์, ดอกเบี้ยทบต้น, และผลของการไม่คัดค้าน
ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้าน แม้จะกล่าวถึงมูลหนี้ว่า ลูกหนี้ได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับผู้ร้องในวงเงิน 300,000 บาทโดยยอมเสียดอกเบี้ยทบต้นในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันในวงเงินดังกล่าว หลังจากนั้นมีการเดินสะพัดทางบัญชีและต่อมาผู้ร้องได้บอกกล่าวให้ลูกหนี้ชำระหนี้ซึ่ง ณ วันที่14 มกราคม 2534 ลูกหนี้เป็นหนี้ผู้ร้องจำนวน 546,895.54 บาท ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองหลักประกันตามสัญญาจำนองพร้อมดอกเบี้ยก่อนเจ้าหนี้อื่น และวินิจฉัยว่า ผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราต่าง ๆนับตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2531 เป็นต้นไปก็ตาม แต่เมื่อที่สุดผู้คัดค้านมีคำสั่งให้ผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองภายในต้นเงิน 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยนับแต่วันที่ 2 กันยายน 2531 จนถึงวันขายทอดตลาดทรัพย์จำนองซึ่งไม่ได้ระบุให้ผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น ก็จะแปลว่าคำสั่งของผู้คัดค้านมีความหมายให้ผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นมาได้ไม่ หากคำสั่งของผู้คัดค้านดังกล่าวไม่ถูกต้องอย่างใด ชอบที่ผู้ร้องจะใช้สิทธิคัดค้านตาม พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 146 เมื่อผู้ร้องไม่ได้ใช้สิทธิคัดค้านภายในกำหนดเวลาตามบทบัญญัติดังกล่าว คำสั่งของผู้คัดค้านย่อมถึงที่สุด ผู้ร้องจะคัดค้านอีกหาได้ไม่และเมื่อตามบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงิน ผู้คัดค้านได้คำนวณให้ผู้ร้องมีสิทธิไดรับชำระหนี้จากเงินที่ขายทอดตลาดทรัพย์ตามคำสั่งของผู้คัดค้าน บัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินของผู้คัดค้านจึงถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8077/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตฟ้องคดี: การสันนิษฐานตามหนังสืออนุญาตและการไม่คัดค้านในชั้นศาล
พนักงานอัยการโจทก์ได้บรรยายฟ้องมาแล้วว่าได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีจากอัยการสูงสุดแล้วตามหนังสืออนุญาตท้ายฟ้อง ย่อมสันนิษฐานได้ว่าพนักงานอัยการโจทก์ได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีจากอัยการสูงสุดแล้ว เมื่อจำเลยไม่คัดค้านโดยเสนอหรือนำสืบเป็นข้อต่อสู้ไว้ก็ถือว่าไม่มีข้อโต้เถียงกัน และตามสำนวนไม่มีข้อเท็จจริงใดที่แสดงว่าพนักงานอัยการโจทก์ได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีจากอัยการ-สูงสุดนั้นไม่ชอบ จำเลยเพิ่งมาคัดค้านในชั้นอุทธรณ์และฎีกา ย่อมไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะรับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8077/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและการสันนิษฐานตามกฎหมาย: การที่จำเลยไม่คัดค้านการได้รับอนุญาตให้ฟ้องของโจทก์ในชั้นต้น ทำให้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พนักงานอัยการโจทก์ได้บรรยายฟ้องมาแล้วว่าได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีจากอัยการสูงสุดแล้วตามหนังสืออนุญาตท้ายฟ้องย่อมสันนิษฐานได้ว่าพนักงานอัยการโจทก์ได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีจากอัยการสูงสุดแล้วเมื่อจำเลยไม่คัดค้านโดยเสนอหรือนำสืบเป็นข้อต่อสู้ไว้ก็ถือว่าไม่มีข้อโต้แย้งกันและตามสำนวนไม่มีข้อเท็จจริงใดที่แสดงว่าพนักงานอัยการโจทก์ได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีจากอัยการสูงสุดนั้นไม่ชอบจำเลยเพิ่งมาคัดค้านในชั้นอุทธรณ์และฎีกาย่อมไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะรับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7268/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ถูกต้องและผลของการไม่คัดค้านเอกสารพยานหลักฐาน
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า "....ฯลฯ.... ข้าพเจ้า อ.ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตึกแถวเลขที่ 1/11 ซอยวัฒนโยธิน ถนนราชวิถี แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ขอมอบอำนาจให้ ม. ....ฯลฯ....เป็นผู้รับมอบอำนาจให้มีอำนาจกระทำการแทนข้าพเจ้าในกิจการดังต่อไปนี้ ข้อ 1.ให้มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้อง ว.ผู้เช่าตึกแถวดังกล่าวเป็นจำเลยต่อศาลแพ่ง รวมทั้งมีอำนาจแก้ฟ้องแย้งของจำเลย และให้มีอำนาจดำเนินคดีแทนข้าพเจ้าได้ทุกประการ...." การมอบอำนาจตามข้อความที่ระบุไว้ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่โจทก์มอบอำนาจให้กระทำการครั้งเดียว มิใช่มอบอำนาจทั่วไปให้แก่ ม. จึงต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 10 บาท ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 104 และบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7 (ก) ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าหนังสือมอบอำนาจฉบับนี้ ได้ปิดอากรแสตมป์10 บาท ครบถ้วนแล้วในวันยื่นฟ้อง ศาลจึงรับฟังหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีได้โดยชอบด้วยกฎหมาย และแม้ภายหลังโจทก์นำหนังสือมอบอำนาจนั้นไปติดอากรแสตมป์เพิ่มอีก 20 บาท โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือขออนุญาตปิดอากรแสตมป์จากศาล ก็หามีผลทำให้หนังสือมอบอำนาจนั้นกลับเป็นหนังสือมอบอำนาจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใดไม่
โจทก์ได้ระบุอ้างหนังสือให้ความยินยอมเป็นพยานและได้นำต้นฉบับเอกสารดังกล่าวมาสืบเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ในวันสืบพยาน การที่โจทก์มิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่จำเลยก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน ตามป.วิ.พ.มาตรา 90 วรรคหนึ่ง อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น หากจำเลยเห็นว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเป็นผิดระเบียบจำเลยจะต้องยื่นคัดค้านเสียภายใน 8 วัน ตามมาตรา 27 แห่ง ป.วิ.พ. เมื่อจำเลยทราบตั้งแต่ขณะที่โจทก์นำต้นฉบับเอกสารดังกล่าวมาสืบแล้วว่าเป็นการผิดระเบียบ แต่จำเลยก็มิได้คัดค้านเสียภายใน 8 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้ทราบเช่นนั้น จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุดังกล่าวขึ้นมาอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านในภายหลังได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ได้ระบุอ้างหนังสือให้ความยินยอมเป็นพยานและได้นำต้นฉบับเอกสารดังกล่าวมาสืบเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ในวันสืบพยาน การที่โจทก์มิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่จำเลยก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน ตามป.วิ.พ.มาตรา 90 วรรคหนึ่ง อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น หากจำเลยเห็นว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเป็นผิดระเบียบจำเลยจะต้องยื่นคัดค้านเสียภายใน 8 วัน ตามมาตรา 27 แห่ง ป.วิ.พ. เมื่อจำเลยทราบตั้งแต่ขณะที่โจทก์นำต้นฉบับเอกสารดังกล่าวมาสืบแล้วว่าเป็นการผิดระเบียบ แต่จำเลยก็มิได้คัดค้านเสียภายใน 8 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้ทราบเช่นนั้น จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุดังกล่าวขึ้นมาอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านในภายหลังได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7017/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ถามค้านพยานข้ามฝ่ายและการรับฟังเอกสารประกอบคำเบิกความ ศาลไม่ต้องห้ามรับฟังเอกสารหากอีกฝ่ายไม่คัดค้าน
แม้จำเลยผู้มีหน้าที่นำสืบภายหลังมิได้ถามค้านตัวโจทก์ที่นำสืบก่อนเกี่ยวกับบันทึกถ้อยคำ(ท.ด.16)ไว้ขณะที่โจทก์เบิกความเป็นพยานก็ตามแต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้คัดค้านเสียในขณะที่จำเลยอ้างส่งเอกสารดังกล่าวประกอบคำเบิกความจำเลยจึงไม่ต้องห้ามรับฟังเอกสารนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6655/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสืบพยานผู้พิการและการไม่คัดค้านการเลื่อนสืบพยาน
ศาลชั้นต้นให้โจทก์ใช้คำถามนำในการซักถามผู้เสียหายที่เป็นพยานโจทก์ซึ่งเป็นอัมพาตไม่อาจพูดจาหรือเปล่งเสียงได้ แต่ตอบคำถามโดยวิธีพยักหน้า ยักคิ้ว หรือการนิ่งเฉย เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 118 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ทนายจำเลยถามค้านพยานปากผู้เสียหายบ้างแล้ว ผู้เสียหายหลับไป ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ว่า ทนายจำเลยหมดคำถามก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยคัดค้านว่ายังมีคำถามและขอถามค้านต่อไป หรือขอเลื่อนไปถามค้านต่อนัดหน้าก็ได้ เมื่อโจทก์ขอเลื่อนไปสืบพยานที่เหลือนัดหน้าจำเลยก็ไม่ค้าน ศาลรับฟังคำเบิกความของผู้เสียหายได้หาเป็นการขัดต่อกฎหมายไม่
ทนายจำเลยถามค้านพยานปากผู้เสียหายบ้างแล้ว ผู้เสียหายหลับไป ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ว่า ทนายจำเลยหมดคำถามก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยคัดค้านว่ายังมีคำถามและขอถามค้านต่อไป หรือขอเลื่อนไปถามค้านต่อนัดหน้าก็ได้ เมื่อโจทก์ขอเลื่อนไปสืบพยานที่เหลือนัดหน้าจำเลยก็ไม่ค้าน ศาลรับฟังคำเบิกความของผู้เสียหายได้หาเป็นการขัดต่อกฎหมายไม่