พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานเนื่องจากโจทก์ไม่นำสืบตามนัด และประเด็นค่าส่งประเด็น
หมายนัดมีข้อความว่า "นัดฟังประเด็นกลับและสืบพยาน" แม้มีการพิมพ์เพิ่มเติมคำว่า "และสืบพยาน" และ ไม่มีการลงลายมือชื่อกำกับไว้ แต่ข้อความในหมายนัดดังกล่าวมีข้อความถูกต้องตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไว้ในหนังสือส่งประเด็นคืนของศาลจังหวัดปทุมธานี ทั้งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นได้ลงลายมือชื่อไว้ในหมายนัดตามระเบียบ การออกหมายนัดดังกล่าวจึงชอบแล้ว
แม้หมายนัดจะมีข้อความว่านัดสืบพยานโดยมิได้ระบุให้ชัดเจนว่านัดสืบพยานโจทก์ แต่คดียังอยู่ในขั้นตอนการสืบพยานโจทก์ และโจทก์มีพยานบุคคลอีกหลายปากที่เป็นพยานนำ ซึ่งโจทก์จะต้องนำมาสืบต่อศาลชั้นต้น ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานไว้จึงหมายถึงนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์จะต้องนำพยานมาสืบตามนัดหากมีเหตุขัดข้องไม่อาจนำพยานมาสืบได้ โจทก์ก็ควรยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี แต่ทนายโจทก์เพียงแต่มอบฉันทะให้เสมียนทนายโจทก์มาฟังประเด็นกลับ กำหนดวันนัดสืบพยาน และรับทราบคำสั่งศาลเท่านั้น โดยมิได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีด้วย แสดงว่าโจทก์มิได้เอาใจใส่คดีของตนว่าศาลชั้นต้นนัดมาเพื่อพิจารณาในเรื่องใด ไม่นำพยานมาสืบตามหน้าที่นำสืบและตามที่ ศาลชั้นต้นนัด ที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์ชอบแล้ว
แม้เจ้าพนักงานศาลจัดส่งประเด็นไปศาลอื่นตามคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขอส่งประเด็นยังมิได้ชำระค่าส่งประเด็นก็ตาม การส่งประเด็นนั้นก็ชอบแล้ว เพราะศาลมีอำนาจเรียกให้โจทก์ชำระค่าส่งประเด็นในภายหลังได้
แม้หมายนัดจะมีข้อความว่านัดสืบพยานโดยมิได้ระบุให้ชัดเจนว่านัดสืบพยานโจทก์ แต่คดียังอยู่ในขั้นตอนการสืบพยานโจทก์ และโจทก์มีพยานบุคคลอีกหลายปากที่เป็นพยานนำ ซึ่งโจทก์จะต้องนำมาสืบต่อศาลชั้นต้น ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานไว้จึงหมายถึงนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์จะต้องนำพยานมาสืบตามนัดหากมีเหตุขัดข้องไม่อาจนำพยานมาสืบได้ โจทก์ก็ควรยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี แต่ทนายโจทก์เพียงแต่มอบฉันทะให้เสมียนทนายโจทก์มาฟังประเด็นกลับ กำหนดวันนัดสืบพยาน และรับทราบคำสั่งศาลเท่านั้น โดยมิได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีด้วย แสดงว่าโจทก์มิได้เอาใจใส่คดีของตนว่าศาลชั้นต้นนัดมาเพื่อพิจารณาในเรื่องใด ไม่นำพยานมาสืบตามหน้าที่นำสืบและตามที่ ศาลชั้นต้นนัด ที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์ชอบแล้ว
แม้เจ้าพนักงานศาลจัดส่งประเด็นไปศาลอื่นตามคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขอส่งประเด็นยังมิได้ชำระค่าส่งประเด็นก็ตาม การส่งประเด็นนั้นก็ชอบแล้ว เพราะศาลมีอำนาจเรียกให้โจทก์ชำระค่าส่งประเด็นในภายหลังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีซ้ำๆ และการไม่นำสืบพยานสนับสนุนข้อต่อสู้ ทำให้จำเลยต้องรับผิดตามเช็ค
จำเลยตั้งทนายความไว้ 2 คน คือ ธ.และ อ. การเลื่อนคดีครั้งแรก จำเลยอ้างเหตุว่า ธ.ทนายความเจ็บป่วยท้องเสียเพราะอาหารเป็นพิษโจทก์ไม่ค้าน ความจริงจำเลยที่ 1 อาจให้ อ.เข้าทำหน้าที่ได้เพราะไม่ปรากฏว่าในวันดังกล่าว อ.มีภาระกิจหรือความจำเป็นอื่นใด ต่อมาในการสืบพยานจำเลยครั้งที่ 2 จำเลยขอเลื่อนคดีอ้างว่าตัวจำเลยที่ 1 ติดประชุม โดยตัวจำเลยที่ 1ก็ทราบวันนัดในครั้งนี้ล่วงหน้านานแล้ว ตามบัญชีระบุพยานจำเลยนอกจากจะอ้างจำเลยเป็นพยานแล้ว ยังอ้าง ว.และสมุห์บัญชีธนาคาร ก.เป็นพยานอีกด้วยโดยเฉพาะ ว.เป็นพยานนำ แต่จำเลยก็มิได้นำพยานเหล่านี้มาสืบแสดงให้เห็นความไม่ขวนขวายเท่าที่ควรอยู่ในตัว ในการเลื่อนครั้งที่ 2 นี้ ศาลได้กำชับว่าให้จำเลยเตรียมพยานมาให้พร้อม มิฉะนั้นถือว่าไม่ติดใจสืบพยานเนื่องจากจำเลยได้เลื่อนคดีติดกันเป็นครั้งที่ 2 แล้ว ต่อมาในวันสืบพยานจำเลยครั้งที่ 3 จำเลยขอเลื่อนคดีอีกโดยอ้างว่า ธ.ทนายความป่วยกล้ามเนื้อขาอักเสบ ตามรายงานแพทย์ไม่มีรายละเอียดอื่น แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้นำพาต่อคำสั่งกำชับของศาล ทั้งจำเลยที่ 1 อาจให้ทนายคนอื่นซักถามพยานแทนได้ แต่ไม่ทำเช่นนั้น ประกอบกับโจทก์คัดค้านการขอเลื่อนคดี ที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานจำเลยที่ 1 นั้นชอบแล้ว
โจทก์ได้รับแลกเช็คพิพาทซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นผู้อาวัล โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คและได้รับประโยชน์แห่งข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่าเป็นผู้ทรงโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 6ประกอบกับมาตรา 904 เมื่อจำเลยมีหน้าที่นำสืบว่าโจทก์ไม่สุจริตคบคิดกันฉ้อฉลกับจำเลยที่ 2 ดังที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การต่อสู้คดี เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้นำสืบในข้อนี้จึงต้องรับผิด
โจทก์ได้รับแลกเช็คพิพาทซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นผู้อาวัล โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คและได้รับประโยชน์แห่งข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่าเป็นผู้ทรงโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 6ประกอบกับมาตรา 904 เมื่อจำเลยมีหน้าที่นำสืบว่าโจทก์ไม่สุจริตคบคิดกันฉ้อฉลกับจำเลยที่ 2 ดังที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การต่อสู้คดี เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้นำสืบในข้อนี้จึงต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1139/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกจ้างไม่เป็นธรรม: จำเลยอ้างเหตุทุจริต แต่ไม่นำสืบตามคำให้การ ศาลแรงงานพิพากษาให้จ่ายค่าเสียหาย
คดีแรงงาน จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำการจงใจให้จำเลยได้รับความเสียหายและทุจริตต่อหน้าที่ในการยื่นประมูลงานรับเหมาก่อสร้างที่จังหวัด ล.โดยโจทก์สมรู้กับผู้เข้าร่วมประมูลงานรับเหมาก่อสร้างรายอื่น เพื่อให้ผู้ประมูลงานรายนั้นได้งานก่อสร้างดังกล่าวไปอันเป็นเหตุให้จำเลยเสียหาย และเป็นการทุจริตต่อหน้าที่อย่างร้ายแรง ในชั้นพิจารณาจำเลยไม่สืบพยานตามคำให้การ แต่กลับนำสืบว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ในการประมูลงานก่อสร้างศาลากลาง จังหวัด อ. โดยโจทก์รับเงินจากผู้ประมูลรายอื่นมาเป็นประโยชน์ส่วนตน แล้วโจทก์ไม่ยื่นซองประมูลประกวดราคางานก่อสร้าง โดยอ้างว่าโจทก์คำนวณแบบศาลากลางในรายละเอียดไม่ทัน ซึ่งเป็นการนำสืบนอกคำให้การ ดังนี้ศาลแรงงานจะยกเรื่องที่โจทก์กระทำการทุจริตตามที่จำเลยนำสืบมาวินิจฉัยว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่หาได้ไม่
เมื่อจำเลยไม่นำสืบให้เห็นอย่างชัดแจ้งตามคำให้การต่อสู้คดี และศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า ในขณะโจทก์ยื่นซองประกวดราคารับเหมาก่อสร้างศาลากลางจังหวัด ล.ที่จำเลยให้การไว้ โจทก์ได้ถูกคนร้ายขัดขวางและทำร้ายได้รับบาดเจ็บ จำเลยจึงไม่ให้โจทก์ไปทำงานอีกเพราะเกรงจะเป็นอันตราย ดังนี้ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมาจึงเป็นยุติว่า โจทก์ไม่ได้กระทำการจงใจให้จำเลยได้รับความเสียหาย และจำเลยมิได้ทุจริตต่อหน้าที่ในการยื่นประมูลงานรับเหมาก่อสร้างศาลากลางจังหวัด ล.ตามที่จำเลยให้การ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุสมควรและไม่มีเหตุเพียงพอเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายในส่วนนี้ และเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำความผิดอย่างร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 แก่โจทก์
เมื่อจำเลยไม่นำสืบให้เห็นอย่างชัดแจ้งตามคำให้การต่อสู้คดี และศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า ในขณะโจทก์ยื่นซองประกวดราคารับเหมาก่อสร้างศาลากลางจังหวัด ล.ที่จำเลยให้การไว้ โจทก์ได้ถูกคนร้ายขัดขวางและทำร้ายได้รับบาดเจ็บ จำเลยจึงไม่ให้โจทก์ไปทำงานอีกเพราะเกรงจะเป็นอันตราย ดังนี้ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมาจึงเป็นยุติว่า โจทก์ไม่ได้กระทำการจงใจให้จำเลยได้รับความเสียหาย และจำเลยมิได้ทุจริตต่อหน้าที่ในการยื่นประมูลงานรับเหมาก่อสร้างศาลากลางจังหวัด ล.ตามที่จำเลยให้การ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุสมควรและไม่มีเหตุเพียงพอเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายในส่วนนี้ และเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำความผิดอย่างร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่นำสืบพยานสนับสนุนข้อต่อสู้ถือเป็นการประวิงคดี
จำเลยให้การว่า ไม่เคยทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์ ลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าวเป็นลายมือปลอม แต่ปรากฏว่าจำเลยกลับไม่สนใจมาเบิกความเป็นพยานต่อศาลเพื่อสนับสนุนข้อต่อสู้ของตน ที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องและแถลงขอให้ศาลชั้นต้นส่งประเด็นไปสืบ ส.และ ศ.ที่ศาลอื่นก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยจะสืบในข้อใดและเกี่ยวแก่ประเด็นข้อต่อสู้ของจำเลยเพียงใด คงกล่าวลอย ๆ ว่า ขอให้ส่งประเด็นไปสืบเท่านั้น ในฎีกาของจำเลยก็มิได้กล่าวให้ชัดแจ้งว่าจำเลยจะสืบพยานทั้งสองปากในข้อใด เกี่ยวแก่ประเด็นข้อพิพาทแค่ไหน เพียงใด พฤติการณ์ของจำเลยจึงเป็นการประวิงคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2937/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำคดีล้มละลาย: ประเด็นหนี้สินเดิมที่โจทก์มิได้นำสืบครบถ้วนในคดีก่อน
โจทก์ฟ้องคดีล้มละลายคดีก่อนโดยอ้างและนำสืบหนี้สินที่จำเลยมีอยู่แต่เพียงบางส่วน และหนี้สินส่วนที่โจทก์ขอเพิ่มในการฟ้องคดีนี้นั้น ล้วนแต่เป็นหนี้สินที่จำเลยมีอยู่แล้วในขณะที่โจทก์ฟ้องและนำสืบในคดีล้มละลายคดีก่อน ซึ่งโจทก์ชอบที่จะอ้างและนำสืบได้แต่โจทก์ก็มิได้กระทำเพื่อประกอบการวินิจฉัยของศาลเอง ดังนี้จำนวนหนี้สินที่จำเลยมีอยู่จริงเพียงใด จำเลยสามารถชำระหนี้ได้หรือไม่ ทั้งสองคดีที่โจทก์ฟ้องจึงเป็นประเด็นที่อาศัยข้อเท็จจริงในจำนวนหนี้สินเดียวกัน แต่ด้วยความบกพร่องของโจทก์ในการดำเนินคดีก่อนเป็นเหตุให้ศาลมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นพิพาทโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยสามารถชำระหนี้ได้ และคำวินิจฉัยดังกล่าวนี้ได้ถึงที่สุดแล้ว คำฟ้องโจทก์คดีนี้อ้างเหตุจำนวนหนี้สินเพิ่มเติม เป็นการอาศัยข้อเท็จจริงในจำนวนหนี้สินของจำเลยที่มีอยู่จริงซ้ำกับคดีก่อนจึงเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินตามเช็ค: การไม่นำสืบพยานทำให้สิทธิขาดอายุความ
การที่คู่ความแถลงต่อศาลขอต่อสู้เฉพาะประเด็นเรื่องอายุความ ไม่ติดใจประเด็นอื่น โดยโจทก์แถลงว่า โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1003 คดีจึงไม่ขาอายุความ ส่วนจำเลยว่าโจทก์ฟ้องคดีเกิน 1 ปี คดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแห่งและพาณิชย์ มาตรา 1003 และต่างฝ่ายต่างไม่ติดใจสืบพยานนั้น เมื่อความปรากฏต่อศาลว่า ตามฟ้องและคำให้การรูปเรื่องยังไม่พอฟังว่าโจทก์ได้รับคืนเช็คพิพาทมาอย่างไรอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1003 ได้ ซึ่งโจทก์จะต้องนำสืบข้อนี้ให้ปรากฏเมื่อโจทก์ไม่ติดใจนำสืบก็ไม่อาจหยิบยกข้อเท็จจริงซึ่งยังไม่ยุติมาเป็นข้อวินิจฉัยได้ ศาลจึงต้องพิพากษายกฟ้อง และเมื่อโจทก์แถลงไม่ติดใจสืบพยานเสียแล้วก็ไม่มีเหตุใด ๆ ที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1955/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับหนังสือทวงหนี้และการปฏิเสธหนี้ภายในกำหนดตามกฎหมายล้มละลาย การไม่นำสืบทำให้ข้ออ้างไม่รับฟัง
แม้จะถือว่าหนังสือของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีการส่งโดยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 76 ตั้งแต่เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2515 แล้วก็ตาม ก็ยังถือเป็นเด็ดขาดไม่ได้ว่าผู้ร้องได้รับในวันที่ส่งนั้นผู้ร้องอาจนำสืบความจริงว่าตนได้รับเมื่อใด เพื่อเป็นข้อแก้ตัวว่าตนได้ตอบปฏิเสธหนี้มาภายใน 14 วันนับแต่วันได้รับหนังสือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะยืนยันให้ถือว่าผู้ร้องไม่ปฏิเสธหนี้ภายในกำหนดในเหตุที่ว่าหนังสือของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ส่งไปยังสำนักทำการงานของผู้ร้องโดยชอบแล้วแต่ประการเดียวหาได้ไม่ แต่การที่ผู้ร้องแถลงไม่ติดใจนำพยานเข้าสืบ และมิได้นำสืบตามข้ออ้างของตนที่ว่าผู้ร้องเพิ่งทราบการเรียกร้องให้ชำระหนี้เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2515 ข้ออ้างดังกล่าวของผู้ร้องจึงไม่อาจรับฟังได้ ต้องถือว่าผู้ร้องรับทราบหนังสือทวงหนี้แล้วตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 2515 นั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1801/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนมูลฟ้องที่โจทก์ไม่นำสืบพยาน ทำให้ศาลยกฟ้องได้ แม้ขอเลื่อนคดี
คดีอาญาเมื่อถึงวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง มีแต่ทนายโจทก์มาศาล ส่วนโจทก์และพยานไม่มาศาล และมิได้แถลงข้อขัดข้องให้ศาลทราบ เช่นนี้ ถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมานำสืบสนับสนุนข้อกล่าวหาของตน ศาลจึงต้องพิพากษายกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 774/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด: การไม่นำสืบประเด็นอายุความถือว่าขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องเรียกเงินอันเกิดแต่มูลละเมิดจากจำเลย เมื่อพ้นปีหนึ่ง โดยอ้างว่าเพิ่งรู้ตัวจำเลยว่าจะต้องรับผิดและจำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความนั้น เป็นหน้าที่โ่จทก์จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าคดีของตนไม่ขาดอายุความ หากไม่สืบก็ต้องถือว่าขาดอายุความแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 774/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด: การไม่นำสืบประเด็นอายุความถือว่าขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องเรียกเงินอันเกิดแต่มูลละเมิดจากจำเลยเมื่อพ้นปีหนึ่ง โดยอ้างว่าเพิ่งรู้ตัวจำเลยว่าจะต้องรับผิดและจำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความนั้น เป็นหน้าที่โจทก์จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าคดีของตนไม่ขาดอายุความหากไม่สืบก็ต้องถือว่าขาดอายุความแล้ว