คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไม่ปฏิบัติตามสัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1188/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดินและอาคารเนื่องจากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามสัญญา โดยไม่ต้องบอกกล่าวกำหนดเวลา
จำเลยก่อสร้างอาคารไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา และจนถึงเวลาที่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลย จำเลยก็ยังก่อสร้างอาคารไม่แล้วเสร็จ พฤติการณ์เช่นนี้โจทก์หาจำต้องบอกกล่าวกำหนดเวลาให้จำเลยชำระหนี้ก่อนบอกเลิกสัญญาไม่ เพราะถึงอย่างไรจำเลยก็ไม่อาจหรือไม่มีเจตนาที่จะชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสัญญาได้อยู่ดี โจทก์ชอบที่จะบอกเลิกสัญญาเสียได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน การบอกเลิกสัญญาของโจทก์ชอบแล้ว เมื่อสัญญาเลิกกันคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม จำเลยจึงต้องคืนเงินที่ได้รับไว้และเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ด้วยนับแต่เวลาที่ได้รับไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7732/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาซื้อขายเนื่องจากจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา และโจทก์ไม่ต้องบอกกล่าวให้ทำตามสัญญา
หลังจากโจทก์ชำระเงินงวดที่ 11 ให้จำเลยที่ 1 แล้วโจทก์ไม่ได้ชำระเงินส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารพิพาทไม่แล้วเสร็จจนปัจจุบันนี้เพราะมีปัญหาเรื่องการเงิน กรณีจึงเป็นที่เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าโดยพฤติการณ์แห่งคดีหรือโดยสภาพหรือโดยเจตนาของจำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะปฏิบัติตามสัญญาแล้ว จึงไม่มีเหตุผลอย่างใดที่โจทก์จะต้องบอกกล่าวกำหนดเวลาให้จำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารพิพาทต่อไปอีก เพราะถึงอย่างไรจำเลยที่ 1 ก็ไม่ทำการก่อสร้างอาคารพิพาทต่อไปอันเป็นการไม่ชำระหนี้อยู่ดีและหากยังคงให้โจทก์ต้องชำระเงินส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยที่ 1 อีก ย่อมเป็นการยังความเสียหายแก่โจทก์เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น โจทก์จึงชอบที่จะบอกเลิกสัญญาเสียได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้จำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารพิพาทให้แล้วเสร็จอีก การบอกเลิกสัญญาของโจทก์จึงชอบแล้วและถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจะซื้อจะขายต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6851/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาซื้อขายและจ้างพัฒนาที่ดินเมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา และสิทธิในการเรียกดอกเบี้ย
แม้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและสัญญาว่าจ้างให้พัฒนาที่ดิน จะมิได้กำหนดเวลาสำหรับการเริ่มต้นและการเสร็จสิ้นการพัฒนาที่ดินไว้ก็ตาม แต่สัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวได้กำหนดเวลาชำระค่างวดไว้เป็น 12 งวด งวดละ 30 วัน และโจทก์ได้ชำระค่างวดดังกล่าวเสร็จสิ้นครบถ้วนตามสัญญาแล้ว ดังนั้น จำเลยก็ควรจะต้องพัฒนาที่ดินให้แล้วเสร็จในระยะเวลาอันสมควร ไม่ควรปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมานานเกือบ 10 ปี นับแต่วันทำสัญญา โดยจำเลยยังไม่ได้เริ่มก่อสร้างสระว่ายน้ำ สโมสร และสนามเทนนิสเลย จำเลยคงเพียงแต่กันพื้นที่ไว้เท่านั้น จึงเป็นที่เห็นได้ชัดว่า แม้โจทก์จะบอกกล่าวกำหนดเวลาให้จำเลยก่อสร้าง จำเลยก็คงไม่สามารถก่อสร้างให้แล้วเสร็จในเวลาที่โจทก์กำหนดได้อย่างแน่นอน และจำเลยก็ยืนยันมาตลอดแล้วว่าไม่จำต้องสร้างสระว่ายน้ำ สโมสร และสนามเทนนิสให้เสร็จก่อน ดังนั้น การที่โจทก์บอกเลิกสัญญาจึงไม่จำต้องกำหนดระยะเวลาพอสมควรเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาอีกต่อไป ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาชอบแล้ว
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยจำเลยต้องคืนเงินที่ได้รับไว้จากโจทก์พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่จำเลยได้รับชำระเงินค่างวดสุดท้ายไปจากโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4022/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาว่าจ้างก่อสร้าง: การไม่ปฏิบัติตามสัญญา, การยึดหน่วงค่าจ้าง, และการหักค่าเสียหาย
เมื่อโจทก์มิได้ก่อสร้างห้องใต้ดินและถังน้ำใต้ดินตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคาร จำเลยทั้งสามชอบที่จะไม่ชำระสินจ้างในส่วนนี้ให้แก่โจทก์ได้ แต่ในส่วนอื่นๆ ที่โจทก์ก่อสร้างงานงวดที่ 2 และงวดที่ 3 ไว้แล้ว แต่ไม่แล้วเสร็จนั้น ถือว่างานก่อสร้างของโจทก์มีความชำรุดบกพร่องหลายรายการ จำเลยทั้งสามชอบที่จะยึดหน่วงสินจ้างงวดที่ 2 และงวดที่ 3 ไว้จนกว่าโจทก์จะซ่อมแซมความชำรุดบกพร่องแล้วเสร็จตาม ป.พ.พ. มาตรา 599 หากโจทก์ไม่จัดทำจนจำเลยทั้งสามบอกเลิกสัญญา จำเลยทั้งสามชอบที่จะหักเป็นค่าซ่อมแซมความเสียหายตามควรค่าแห่งการนั้นได้เท่านั้น หากมีสินจ้างเหลือก็ต้องคืนให้แก่โจทก์ไป ไม่ชอบที่จำเลยทั้งสามจะไม่ชำระค่าสินจ้างเสียเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1645/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการสินสมรสหลังหย่า: สิทธิในการขอเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่ฝ่ายเดียวเมื่อคู่สัญญาไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอม
คดีก่อนโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมโดยตกลงหย่าขาดและแบ่งทรัพย์สิน แต่จำเลยปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ครบถ้วนสถานภาพของการสมรสระหว่างโจทก์จำเลยยังคงมีผลตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขอเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่ฝ่ายเดียว โดยมีเหตุจำเลยปลอมลายมือชื่อโจทก์ในการจัดการที่ดินสินสมรสชอบที่โจทก์จะขอเช่นนั้นได้ จึงมิใช่เรื่องที่โจทก์ขอให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมและเป็นคนละประเด็นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1429/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแต่งตั้งผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมัน: ความรับผิดทางสัญญาและค่าปรับจากการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาแต่งตั้งจำเลยทั้งสองเป็นผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง โดยตกลงว่าจำเลยทั้งสองต้องผูกพันการขายน้ำมันเชื้อเพลิงต่อโจทก์ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 70,000 ลิตร ถ้าขายต่ำกว่านั้นต้องเสียค่าปรับแก่โจทก์เป็นเงิน 25 สตางค์ต่อลิตร หลังทำสัญญาจำเลยทั้งสองประพฤติผิดสัญญาคือสั่งซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ถึงยอดรับรองที่ตกลงกันไว้ และปลายปี 2541 จำเลยทั้งสองไม่ได้สั่งซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากโจทก์โดยไม่มีเหตุอันสมควรแต่ยังเปิดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์เรื่อยมาโดยสั่งซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากผู้ค้ารายอื่นมาจำหน่ายแทน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายคือทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจผิดว่าจำเลยทั้งสองยังประกอบกิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ ในชั้นพิจารณาโจทก์ก็มี ธ. ซึ่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดมาเบิกความยืนยันว่า การสำรองน้ำมันของโจทก์จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสัญญาที่โจทก์ทำไว้กับผู้ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละราย โดยโจทก์ต้องสั่งซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งจากในและต่างประเทศมาสำรองไว้ ดังนั้น หากจำเลยทั้งสองสั่งซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ถึงยอดที่ตกลงไว้โจทก์จะได้รับความเสียหาย ฝ่ายจำเลยทั้งสองไม่ได้นำสืบหักล้างให้เห็นว่าการที่จำเลยที่ 1 ซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากโจทก์ต่ำกว่าที่ตกลงกันไว้ไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย นอกจากนั้น การที่จำเลยที่ 1 ยินยอมทำสัญญาว่าถ้าสั่งซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากโจทก์ต่ำกว่า 70,000 ลิตรต่อเดือน ยอมเสียค่าปรับ 25 สตางค์ต่อลิตร แสดงว่าจำเลยที่ 1 รู้อยู่ว่าถ้าจำเลยที่ 1 สั่งซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงต่ำกว่าที่ตกลงกันไว้จะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับซึ่งเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าฐานผิดสัญญาส่วนนี้จากจำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อ สัญญาทางศาสนสมบัติ และผลของการไม่ปฏิบัติตามสัญญา
โจทก์ให้ ส. เป็นผู้ลงชื่อทำสัญญาก่อสร้างตึกแถวในที่ดินของจำเลยที่ 1 ตามเอกสารหมาย จ.2 มี ศ. ซึ่งเป็นไวยาวัจกรของจำเลยที่ 1 ลงชื่อเป็นคู่สัญญา โจทก์เคยรู้จักกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสของจำเลยที่ 1 มาก่อน เคยเจรจาตกลงกับจำเลยที่ 2 เรื่องโจทก์ปรับปรุงที่ดินของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 เขียนข้อความว่า "อาตมารับทราบแล้ว" และลงชื่อไว้ท้ายสัญญาเอกสารหมาย จ.2 เป็นการยืนยันได้ว่า จำเลยที่ 2 ให้สัตยาบันหนังสือดังกล่าวให้มีผลสมบูรณ์ผูกพันจำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญา อีกทั้งหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.1 ระบุให้ ศ. มีอำนาจดูแลรักษาและจัดการศาส์นสมบัติของวัด การที่ ศ. ไปลงชื่อตามสัญญาเอกสารหมาย จ.2 โดยมีจำเลยที่ 2 ลงชื่อรับทราบไว้ท้ายสัญญาเพื่อให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างตึกแถวในที่ดินของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นการจัดการศาสนสมบัติของวัดแล้ว กรณีไม่จำต้องทำหนังสือมอบอำนาจเป็นการเฉพาะเรื่องอีก จึงฟังได้ว่าโจทก์เป็นตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อของ ส.
กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ข้อ 2 ระบุว่า การกันที่ดินซึ่งเป็นที่วัดให้เป็นที่จัดประโยชน์จะกระทำได้ต่อเมื่อกรมการศาสนาเห็นชอบและได้รับอนุมัติจากมหาเถรสมาคม และข้อ 4 ระบุว่า การให้เช่าที่ธรณีสงฆ์ ที่กัลปนาหรือที่วัดที่กันไว้เป็นที่จัดประโยชน์ที่มีกำหนดระยะเวลาเช่าเกิน 3 ปี จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนา แม้สัญญาก่อสร้างตึกแถวเอกสารหมาย จ. 2 จะไม่ใช่สัญญาเช่าโดยตรง แต่เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขในอนาคต เพราะขณะทำสัญญาโจทก์ยังไม่ได้ปลูกสร้างอาคารและอาคารเหล่านั้นก็ยังไม่มี แต่การกระทำของจำเลยที่ 1 ก็มีผลให้เห็นได้ในอนาคตว่า หากโจทก์ปลูกสร้างอาคารแล้วเสร็จตามสัญญาย่อมจะมีผลให้จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติตามสัญญา คือให้โจทก์มีสิทธิหาผู้เช่ามาจดทะเบียนการเช่ามีกำหนด 30 ปี กับจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเป็นจะต้องขอความเห็นชอบจากกรมการศาสนาก่อน เมื่อสัญญาก่อสร้างตึกแถวดังกล่าวยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนาตามกฎกระทรวงจึงยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์ยังไม่สามารถนำสัญญาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ แต่การที่จำเลยที่ 1 รับเงินค่าหน้าดินจากโจทก์และโจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการฟ้องขับไล่ผู้เช่าเดิมเป็นเงินเจ็ดแสนกว่าบาท แล้วจำเลยที่ 1 ไม่ยอมให้โจทก์เข้าทำการก่อสร้างอาคารต่อไป ย่อมทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3259/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาซื้อขายอาคารชุด กรณีผู้ขายไม่ปฏิบัติตามสัญญา และสิทธิในการเลิกสัญญาตามบทบัญญัติกฎหมาย
ป.พ.พ. มาตรา 386 วางหลักในเรื่องการเลิกสัญญาไว้ 2 กรณี คือ เลิกสัญญาโดยข้อสัญญาและเลิกสัญญาโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ดังนั้น แม้จะมีข้อสัญญากำหนดไว้ให้เลิกสัญญาได้ในกรณีใดบ้าง หากมีกรณีที่ไม่ตรงตาม ข้อสัญญา แต่ตรงตามบทบัญญัติของกฎหมายก็เลิกสัญญาได้
ตามเอกสารแนบท้ายเงื่อนไขการจะซื้อจะขาย ที่ระบุไว้ว่า "ในกรณีที่ผุ้จะขายนั้นไม่สามารถทำการก่อสร้างอาคารชุดหรือห้องชุดผู้จะซื้อให้แล้วเสร็จหรือไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดจะซื้อภายในเวลที่กำหนดในสัญญานี้และการผิดสัญญาดังกล่าวดำเนินต่อไปภายหลังจากผู้จะซื้อส่งหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้จะขายไม่น้อยกว่าหกเดือน ผู้จะซื้ออาจบอกเลิกภาระผูกพันของผู้จะซื้อตามสัญญานี้?" เป็นการกำหนดให้ผู้จะซื้อบอกเลิกสัญญาได้ 2 กรณี คือ ผู้จะขายก่อสร้างห้องชุดไม่แล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด หรือไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ห้องชุดได้ การที่ผู้จะขายมิได้ก่อสร้างฝ้าเพดานให้ถูกต้องตามข้อตกลงในสัญญา ผู้จะซื้อจึงเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาไม่ได้
โจทก์ทำสัญญาจะซื้ออาคารชุดจากจำเลยและชำระเงินแก่จำเลยตามสัญญาบางส่วนในวันทำสัญญา ส่วนที่เหลือจะชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์ ตามเงื่อนไขในสัญญากำหนดให้ผู้จะขายใช้วัสดุและอุปกรณ์อื่นแทนได้เฉพาะ รายการก่อสร้างและวัสดุและอุปกรณ์ที่จะใช้ในการก่อสร้างห้องชุดของผู้จะซื้อเท่านั้น และตามสัญญาระบุไว้ใน รายการฝ้าเพดานระบุว่าห้องทั่วไปเป็นคอนกรีต แต่งผิว ทาสี ส่วนกลางเป็นโครงสร้างอะลูมิเนียมทีบาร์บุยิปซัมบอร์ด ดังนั้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิก่อสร้างโดยใช้วัสดุและอุปกรณ์อื่นในทรัพย์ส่วนกลาง ยิ่งไปกว่านั้นจำเลยมิได้ทำฝ้าเพดาน จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา และฝ้าเพดานอันเป็นทรัพย์ส่วนกลางนี้ แม้โจทก์ยังมิได้เป็นผู้มีส่วนถือกรรมสิทธิ์รวมเพราะยังมิได้รับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดก็ตาม แต่โจทก์ก็มีสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ทำกับจำเลยในอันที่จะบังคับให้จำเลยต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวได้
ตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 216 เป็นเรี่องการผิดนัดชำระหนี้และผลของการผิดนัดทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับประโยชน์จากการชำระหนี้ ส่วนกรณีที่เป็นเรื่องที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ซึ่งรวมถึงการชำระหนี้ที่ไม่ถูกต้องตามสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้โดยให้ก่อสร้างฝ้าเพดานอันเป็นทรัพย์ส่วนกลางให้ถูกต้องภายในกำหนดระยะเวลา 1 เดือน อันเป็นระยะเวลาพอสมควร แต่จำเลยไม่ก่อสร้างให้ถูกต้อง จึงเท่ากับจำเลยไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนด โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อกรณีเป็นการเลิกสัญญาโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงไม่ต้องบอกกล่าวโดยกำหนดระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน ตามที่ระบุไว้ในเงื่อนไขในสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6990/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยโดยปริยาย เนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง และการไม่ติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้สัญญาสิ้นผล
หนังสือข้อตกลงระบุถึงการเลิกสัญญาว่า "ถ้าผู้รับโครงการไม่ดำเนินการใด ๆหรือดำเนินการไม่เป็นไปตามข้อผูกพันในข้อตกลงแม้ข้อหนึ่งข้อใด ภายในกำหนด 90 วันถือว่าข้อตกลงนี้สิ้นสุดลงโดยมิต้องบอกกล่าวให้ผู้รับโครงการทราบ คุรุสภาจะสรรหาผู้จะรับเป็นผู้รับโครงการอื่นต่อไป" ดังนี้ แม้ ก. และ ห. พยานโจทก์จะเบิกความเพื่อแสดงให้เห็นว่าหนังสือข้อตกลงยังไม่มีการยกเลิกก็ตาม แต่พยานเหล่านี้เบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่า เมื่อโครงการประสบความล้มเหลว โจทก์ได้จัดให้ผู้อื่นเข้าดำเนินการ ส่วนจำเลยที่ 1 นำป้ายโครงการออกแล้วใช้ชื่อ "หมู่บ้านเดชา" ดำเนินการต่อมา โจทก์กับจำเลยทั้งสองไม่ได้ติดต่อกันทางเอกสารเป็นเวลาประมาณ 5 ปี พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นว่าทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสองต่างไม่ติดใจที่จะปฏิบัติตามหนังสือข้อตกลงต่อไป หนังสือข้อตกลงดังกล่าวย่อมยกเลิกกันโดยปริยายโจทก์ไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ตามหนังสือข้อตกลงที่เลิกกันไปแล้วได้
เมื่อหนังสือข้อตกลงดังกล่าวได้ยกเลิกไปแล้ว ไม่มีผลบังคับ จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ว่าหนังสือข้อตกลงเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษ มิใช่สัญญาต่างตอบแทนธรรมดา เพราะไม่เป็นสาระแก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4611/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสัญญาต่างตอบแทน การไม่ปฏิบัติตามสัญญาทำให้คู่สัญญาไม่สามารถเรียกร้องบังคับได้
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยแต่ละฝ่ายยอมให้อีกฝ่ายหนึ่งรับโอนมรดกตามส่วนที่ตกลงแบ่งกัน จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนเมื่อโจทก์ไปคัดค้านมิให้จำเลยได้รับโอนมรดกตามสัญญาประนีประนอมยอมความแสดงว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญายอมซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะให้ศาลบังคับให้จำเลยต้องปฏิบัติตามสัญญายอมเช่นกัน
of 6