พบผลลัพธ์ทั้งหมด 61 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8241/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีและการเปลี่ยนแปลงฐานะโจทก์จำเลยหลังโจทก์ไม่มาศาล
หลังจากศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยแล้ว ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ โจทก์ไม่ไปศาลตามกำหนด ศาลแรงงานมีคำสั่งว่า ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ดำเนินคดีต่อไป ให้จำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความ จึงเท่ากับว่าไม่มีฟ้องเดิมของโจทก์อยู่ในศาลแล้ว คงเหลือเฉพาะฟ้องแย้งของจำเลยเท่านั้น และฐานะของจำเลยเท่ากับเป็นโจทก์ และโจทก์เท่ากับเป็นจำเลย แม้เมื่อศาลแรงงานกลางพิจารณาเกี่ยวกับฟ้องแย้งของจำเลยโดยเปิดโอกาสให้โจทก์ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งเข้ามา ในคำให้การของโจทก์ส่วนที่ว่าฟ้องแย้งของจำเลยไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมเพราะเป็นคำขอที่แตกต่างคนละเรื่องกันขอให้ยกฟ้องแย้งของจำเลยเสียนั้น ไม่มีฟ้องเดิมอีกต่อไปแล้ว คำให้การของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่เกิดเป็นประเด็นว่าฟ้องแย้งของจำเลยจะเกี่ยวกับฟ้องเดิมหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางไม่กำหนดประเด็นนี้ไว้ ไม่พิจารณาในเรื่องฟ้องแย้งเกี่ยวกับฟ้องเดิมหรือไม่ แต่กลับพิจารณาในประเด็นอื่นอันเป็นเนื้อหาสาระคดีคือ โจทก์ค้างจ่ายค่าจ้างแก่จำเลยอยู่จริงหรือไม่ จำนวนเท่าใด ต้องจ่ายดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดหรือไม่ จำนวนเท่าใดนั้น เป็นการถูกต้องด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1967/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่มาศาลตามนัดเนื่องจากเข้าใจผิดว่ามีทนายความมาแทน แม้จะอยู่ในบริเวณศาลแล้วก็ถือเป็นความประมาทเลินเล่อ ไม่เป็นเหตุให้พิจารณาคดีใหม่ได้
ศาลนัดสืบพยานโจทก์เวลา 9 นาฬิกา โจทก์มีหน้าที่ต้องมาศาลตามกำหนดนัด แม้ น. พนักงานอัยการโจทก์เจ้าของสำนวนจะมาที่ศาลแล้วแต่ก็มิได้เข้าห้องพิจารณา น. คงไปทำหน้าที่แทนพนักงานอัยการในคดีอื่นและทำหน้าที่อื่น โจทก์อ้างว่าจะมีพนักงานอัยการคนอื่นมาว่าความแทนโจทก์โดยโจทก์เองไม่ได้ใส่ใจว่าที่แท้จริงแล้วมีพนักงานอัยการคนอื่นมาทำหน้าที่แทนหรือไม่ ทั้งที่เจ้าหน้าที่ศาลได้ประกาศเรียกโจทก์ให้เข้าห้องพิจารณาตั้งแต่เวลา 9 นาฬิกา ศาลรอจนกระทั่งเวลา 11.15 นาฬิกา โจทก์ก็ไม่เข้าห้องพิจารณาคดีแถลงให้ศาลทราบถึงเหตุขัดข้องของโจทก์ ดังนี้โจทก์จะอ้างว่าโจทก์เชื่อว่าจะมีพนักงานอัยการคนอื่นมาทำหน้าที่แทนแล้วเพื่อให้เห็นว่าโจทก์มิได้มีเจตนาที่จะจงใจหรือไม่ใส่ใจในกำหนดนัดของศาลหาได้ไม่ เหตุที่โจทก์เชื่อดังกล่าวจึงไม่ใช่เรื่องที่จะนำมาเป็นข้ออ้างเพื่อให้ศาลยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1967/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่มาศาลตามนัด สืบเนื่องจากความเข้าใจผิดเรื่องการมอบหมายทนายความ ศาลไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลนัดสืบพยานโจทก์เวลา 9 นาฬิกา โจทก์ทราบนัดโดยชอบแล้ว มีหน้าที่ต้องมาศาลตามกำหนดนัด แม้ น. พนักงานอัยการโจทก์เจ้าของสำนวนจะมาที่ศาลแล้วแต่ก็มิได้เข้าห้องพิจารณา คงไปทำหน้าที่แทนพนักงานอัยการในคดีอื่นและทำหน้าที่อื่น โจทก์อ้างว่าจะมีพนักงานอัยการคนอื่นมาว่าความแทนโจทก์โดยโจทก์เองไม่ได้ใส่ใจว่าที่แท้จริงแล้วมีพนักงานอัยการคนอื่นมาทำหน้าที่แทนหรือไม่ ทั้งที่เจ้าหน้าที่ศาลได้ประกาศเรียกโจทก์ให้เข้าห้องพิจารณาตั้งแต่เวลา 9 นาฬิกา ศาลรอจนกระทั่งเวลา 11.15 นาฬิกา โจทก์ก็ไม่เข้าห้องพิจารณาคดีแถลงให้ศาลทราบถึงเหตุขัดข้องของโจทก์ ทั้งที่โจทก์ได้มาอยู่ในบริเวณศาลแล้ว ดังนี้ โจทก์จะอ้างว่า โจทก์เชื่อว่าจะมีพนักงานอัยการคนอื่นมาทำหน้าที่แทนแล้วเพื่อให้เห็นว่าโจทก์มิได้มีเจตนาที่จะจงใจหรือไม่ใส่ใจในกำหนดนัดของศาลหาได้ไม่ พฤติการณ์ของโจทก์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่เอาใจใส่หรือเล็งเห็นถึงความสำคัญในเวลานัดของศาล เหตุที่โจทก์เชื่อดังกล่าวจึงไม่ใช่เรื่องที่จะยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวหรือยกมาเป็นข้ออ้างเพื่อให้ศาลยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1751/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในคดีที่ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ยกฟ้องโจทก์เนื่องจากไม่มาศาลตามกฎหมาย
ป.วิ.อ. มาตรา 220 ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในคดีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกฟ้องเพราะโจทก์ไม่มาศาลตาม ป.วิ.อ. มาตา 166 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8872/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่มาศาลตามนัด แม้มีเหตุพนักงานอัยการป่วย ศาลไม่ยกฟ้อง เหตุโจทก์ละเลยการมอบหมายสำนวน
โจทก์เคยขอเลื่อนคดีมาครั้งหนึ่งแล้ว โดยอ้างเหตุไม่มีพยานมาศาล เพราะโจทก์ยังไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยาน ซึ่งศาลชั้นต้นอาศัยหลักประโยชน์แห่งความยุติธรรมอนุญาตให้เลื่อนคดี เมื่อถึงวันนัดซึ่งโจทก์ทราบนัดโดยชอบแล้ว แต่โจทก์ก็ยังไม่มาศาลอีก โดยข้อเท็จจริงปรากฏตามสำนวนได้ความว่า โจทก์ยังไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยาน นอกจากนี้ศาลชั้นต้นได้ให้เจ้าหน้าที่ประกาศเรียกโจทก์หลายครั้งตั้งแต่เวลา 9 นาฬิกา จนถึง 11.50 นาฬิกา และยังให้เจ้าหน้าที่ติดตามโจทก์ตามห้องพิจารณาต่าง ๆ อีกตั้งแต่เวลา 11 นาฬิกา ถึง 11.50 นาฬิกา ทั้งยังได้โทรศัพท์แจ้งโจทก์ถึงเหตุที่ไม่มาศาลเพื่อให้โจทก์ดำเนินการอย่างไรต่อไปกับคดีนี้ที่สำนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ด แต่โจทก์ก็ยังไม่มาศาล แม้โจทก์จะอ้างว่า ก. พนักงานอัยการโจทก์เจ้าของสำนวนเจ็บป่วยซึ่งโดยพยาธิสภาพของ ก. ทำให้หลงลืมที่จะมอบสำนวนคดีนี้ให้พนักงานอัยการคนอื่นดำเนินการแทน กรณีเป็นเรื่องภายในของโจทก์ที่จะต้องมอบหมายสำนวนให้พนักงานอัยการผู้อื่นดำเนินคดีแทน ซี่งสามารถกระทำได้ เพราะวันดังกล่าว ก. ยังมาทำงานที่สำนักงานอัยการอยู่ ถ้าป่วยเจ็บจนถึงขนาดไม่สามารถมาศาลเพื่อสีบพยานโจทก์ได้ ก็น่าจะมอบหมายให้พนักงานอัยการผู้อื่นทำหน้าที่แทนหากกลับบ้านไปพักรักษาตัว แต่ก็หาได้กระทำไม่ อันเป็นความบกพร่องของโจทก์เอง พฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่มาศาลเพราะไม่สนใจต่อเวลานัดของศาลและไม่ได้มาศาลตามกำหนดนัด หาใช่ไม่ได้มาศาลเพราะมีเหตุอันสมควรไม่ จึงไม่มีเหตุจะยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8233-8236/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่มาศาลโจทก์ในวันนัดสืบพยานจำเลย ไม่ถือเป็นการสละสิทธิฟ้องคดี แรงงาน
ศาลแรงงานกลางสั่งรับคดีของโจทก์ทั้งสี่ไว้พิจารณาและได้กำหนดนัดพิจารณาและนัดสืบพยานโจทก์ในครั้งที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 แม้ศาลแรงงานกลางจะกำหนดให้นัดสืบพยานโจทก์รวมไปกับวันนัดพิจารณาดังกล่าวด้วย ก็เป็นเพียงวิธีการเร่งรัดการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงานให้รวดเร็วยิ่งขึ้น วันนัดพิจารณาคดีทั้งสามครั้งของศาลแรงงานกลางเป็นการกำหนดนัดพิจารณาตามที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 37 บัญญัติไว้ เพื่อให้โจทก์ทั้งสี่และจำเลยมาศาลพร้อมกันแล้วให้ศาลแรงงานกลางไกล่เกลี่ยให้คู่ความตกลงกัน หรือประนีประนอมยอมความกันโดยถือว่าคดีแรงงานมีลักษณะพิเศษอันควรระงับลงได้ด้วยความเข้าใจอันดีต่อกันเพื่อที่ทั้งสองฝ่ายจะได้มีความสัมพันธ์กันต่อไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 38 ในวันนัดพิจารณาตามที่บัญญัติในมาตรา 37 นี้ หากโจทก์ได้ทราบคำสั่งให้มาศาลโดยชอบแล้ว แต่โจทก์ไม่ไปศาลตามกำหนดโดยไม่แจ้งให้ศาลแรงงานทราบถึงเหตุที่ไม่ไปศาล ให้ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป ศาลแรงงานกลางต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์จากสารบบความตามมาตรา 40 วรรคหนึ่ง แต่ปรากฏว่าในวันนัดพิจารณาและนัดสืบพยานโจทก์ทั้งสามครั้งโจทก์ทั้งสี่ไปศาลตามกำหนดนัดทุกครั้งจึงไม่มีกรณีที่จะถือว่าโจทก์ทั้งสี่ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป อันจะอ้างเป็นเหตุจำหน่ายคดีของโจทก์ตามมาตรา 40 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยไม่อาจตกลงกัน การที่ศาลแรงงานกลางได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทและวันนัดสืบพยานตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 39 วรรคหนึ่ง ก็เพื่อที่ศาลแรงงานกลางจะได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปในอันที่จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดีดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 45 ดังนั้น การที่โจทก์ทั้งสี่ไม่ไปศาลในวันนัดสืบพยานจำเลยนัดแรกเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2546 คงมีผลเพียงทำให้โจทก์ทั้งสี่เสียสิทธิที่จะขออนุญาตศาลแรงงานกลางถามพยานจำเลยเพื่อทำลายน้ำหนักพยานจำเลยเท่านั้น ไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ตามมาตรา 40 วรรคหนึ่งได้ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานกลางจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4366/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำพิพากษายกฟ้องจากเหตุผลการไม่มาศาล ศาลต้องไต่สวนก่อนตัดสิน
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์เพราะเห็นว่าโจทก์จงใจไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์นั้น เป็นการยกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 166 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 181 ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงในสำนวนความปรากฏว่าศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2545 โจทก์มายื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำพิพากษาดังกล่าว ซึ่งมีผลเท่ากับเป็นการขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2545 หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพียง 7 วัน ยังไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ทั้งคำร้องของโจทก์ก็ได้แสดงเหตุยืนยันว่าโจทก์ได้มาศาลตามกำหนดนัดแล้วเพียงแต่โจทก์ยังติดการดำเนินคดีอาญาอื่น ซึ่งศาลได้นัดพิจารณาไว้ในวันเวลาเดียวกันก่อน เสร็จแล้วจึงจะมาดำเนินคดีนี้ต่อไป ซึ่งหากเป็นความจริงตามคำร้องก็นับว่ามีเหตุสมควรที่โจทก์ไม่ได้มาดำเนินคดีนี้ตามกำหนดนัด ศาลชอบที่จะไต่สวนคำร้องของโจทก์เสียก่อน จึงจะวินิจฉัยได้ว่าที่โจทก์ไม่มาดำเนินคดีนี้ตามกำหนดนัดมีเหตุสมควรหรือไม่ การที่ศาลล่างทั้งสองด่วนวินิจฉัยสั่งยกคำร้องของโจทก์โดยไม่ไต่สวนให้ได้ความจริงเสียก่อน จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 166 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 181
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2085/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่มาศาลตามนัดและเหตุผลการขอเลื่อนคดี: ศาลพิจารณาจากความตั้งใจและการประวิงคดี
โจทก์ที่ 1 ทราบกำหนดนัดไต่สวนมูลฟ้องโดยชอบแล้ว มีหน้าที่จะต้องมาศาลตามกำหนดนัด แต่ในวันนัดฝ่ายโจทก์ที่ 1 กลับไม่มีผู้ใดมาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนคดี ถึงแม้จะปรากฏว่าการส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 โดยวิธีปิดหมายยังไม่มีผลใช้ได้ตามกฎหมายดังที่ฝ่ายโจทก์ที่ 1 กล่าวอ้าง ก็หาทำให้ฝ่ายโจทก์ที่ 1 หมดหน้าที่ที่จะต้องมาศาลตามกำหนดนัดไม่
ทนายโจทก์ที่ 1 ไปให้แพทย์ตรวจอาการป่วยตามที่อ้างเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2539 อันเป็นวันก่อนวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง แสดงว่าทนายโจทก์ที่ 1 รู้ตัวว่าตนมีอาการป่วยไม่สามารถมาศาลได้ตั้งแต่ก่อนวันนัดแล้ว และย่อมทราบดีว่าเหตุป่วยเจ็บเป็นเหตุที่อาจขอเลื่อนคดีได้ เพราะเป็นเหตุอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ ทนายโจทก์ที่ 1 ก็น่าจะติดต่อให้โจทก์ที่ 1 มาศาล หรือมานำคำร้องขอเลื่อนคดีที่สำนักงานทนายความของทนายโจทก์ที่ 1 มายื่นต่อศาลอันอยู่ในวิสัยที่จะกระทำได้ แต่ทนายโจทก์ที่ 1 ก็หาได้ยื่นคำร้องแจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบถึงเหตุแห่งความจำเป็นดังกล่าวเพื่อขอเลื่อนคดีไม่ พฤติการณ์ของฝ่ายโจทก์ที่ 1 ส่อลักษณะเป็นการประวิงคดี ทำให้ฝ่ายจำเลยได้รับความเดือดร้อน ทั้งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลล่าช้า กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้ยกคดีในส่วนของโจทก์ที่ 1 ขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่
ทนายโจทก์ที่ 1 ไปให้แพทย์ตรวจอาการป่วยตามที่อ้างเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2539 อันเป็นวันก่อนวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง แสดงว่าทนายโจทก์ที่ 1 รู้ตัวว่าตนมีอาการป่วยไม่สามารถมาศาลได้ตั้งแต่ก่อนวันนัดแล้ว และย่อมทราบดีว่าเหตุป่วยเจ็บเป็นเหตุที่อาจขอเลื่อนคดีได้ เพราะเป็นเหตุอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ ทนายโจทก์ที่ 1 ก็น่าจะติดต่อให้โจทก์ที่ 1 มาศาล หรือมานำคำร้องขอเลื่อนคดีที่สำนักงานทนายความของทนายโจทก์ที่ 1 มายื่นต่อศาลอันอยู่ในวิสัยที่จะกระทำได้ แต่ทนายโจทก์ที่ 1 ก็หาได้ยื่นคำร้องแจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบถึงเหตุแห่งความจำเป็นดังกล่าวเพื่อขอเลื่อนคดีไม่ พฤติการณ์ของฝ่ายโจทก์ที่ 1 ส่อลักษณะเป็นการประวิงคดี ทำให้ฝ่ายจำเลยได้รับความเดือดร้อน ทั้งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลล่าช้า กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้ยกคดีในส่วนของโจทก์ที่ 1 ขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1578/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่มาศาลตามนัดโดยไม่แจ้งเหตุ ทำให้ศาลจำหน่ายคดีได้ และไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินกู้ยืมและจำนอง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิจารณาคดีเป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยาก จำเลยให้การต่อสู้คดี ครั้นถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์ไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องหรือร้องขอเลื่อนคดี ต้องถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 193 ทวิ วรรคหนึ่งได้ กรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์มีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ ดังนั้น โจทก์จึงไม่อาจยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3182/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งนัดไต่สวนและผลของการไม่มาศาล: ศาลย่อมถือว่าจำเลยทราบคำสั่งเมื่อทนายรับรอง และการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลย่อมมีผลทางกฎหมาย
จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์พร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์ในวันที่ 7 ตุลาคม 2541 และทนายจำเลยได้ลงชื่อรับรองข้อความที่ว่าให้มาทราบคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในวันที่ 14 ตุลาคม 2541 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นได้เกษียณคำสั่งไว้ที่คำร้องว่า ให้รับคำร้อง และนัดไต่สวนวันที่ 14 ธันวาคม 2541 เวลา 8.30 นาฬิกา โดยบันทึกวันที่เกษียณคำสั่งในวันที่ 12 ตุลาคม 2541 ซึ่งเป็นการมีคำสั่งไว้ก่อนวันที่กำหนดให้จำเลยมาทราบคำสั่งศาล ย่อมมีผลว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลที่นัดไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในวันที่ 14 ธันวาคม 2541 ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2541 แล้ว แม้ในวันที่14 ตุลาคม 2541 จำเลยยังมิได้สาบานตัว ศาลก็กำหนดนัดวันไต่สวนคำร้องได้
จำเลยทราบกำหนดวันนัดไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาชั้นอุทธรณ์แล้วไม่มาศาล การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันนัดไต่สวนคำร้องว่า ให้งดการไต่สวน แล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 37 และมาตรา 133 ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นให้งดการไต่สวน ก็ถือว่าคดีเสร็จการพิจารณา จึงมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยเสียได้ และคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ว่าหากจำเลยประสงค์ที่จะอุทธรณ์ ให้นำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาวางศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันนี้ มิฉะนั้นถือว่าไม่ติดใจอุทธรณ์ ถือเป็นส่วนหนึ่งของคำวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ซึ่งถือว่าจำเลยได้ทราบแล้วในวันดังกล่าว โดยศาลชั้นต้นไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบอีก การที่จำเลยมิได้นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ไปวางศาลภายในเวลาที่กำหนดไว้ ทั้งมิได้นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาล ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องอุทธรณ์
จำเลยทราบกำหนดวันนัดไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาชั้นอุทธรณ์แล้วไม่มาศาล การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันนัดไต่สวนคำร้องว่า ให้งดการไต่สวน แล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 37 และมาตรา 133 ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นให้งดการไต่สวน ก็ถือว่าคดีเสร็จการพิจารณา จึงมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยเสียได้ และคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ว่าหากจำเลยประสงค์ที่จะอุทธรณ์ ให้นำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาวางศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันนี้ มิฉะนั้นถือว่าไม่ติดใจอุทธรณ์ ถือเป็นส่วนหนึ่งของคำวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ซึ่งถือว่าจำเลยได้ทราบแล้วในวันดังกล่าว โดยศาลชั้นต้นไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบอีก การที่จำเลยมิได้นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ไปวางศาลภายในเวลาที่กำหนดไว้ ทั้งมิได้นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาล ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องอุทธรณ์